การตั้งครรภ์ 1-9 เดือน ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายคะ บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการทารกในครรภ์ และสภาวะอาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อเข้าใจอาการต่าง ๆ ว่าที่คุณเป็นนั้นปกติหรือไม่ ว่าที่คุณแม่ทุกคนควรอ่านมากค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน
ติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ทั้ง 40 สัปดาห์ ผ่าน VDO อัปเดตพัฒนาการทารกในครรภ์ และเทคนิคการดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ พร้อมปรึกษาปัญหาสุขภาพที่คุณแม่กังวลในช่วงตั้งครรภ์กับผู้เชี่ยวชาญ ผ่านแชทแบบส่วนตัว และ VDO Call กับคุณหมอเฉพาะทางได้ฟรี ได้ใน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนควรมี ดาวน์โหลดเลย!
พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 1-4 (1 เดือน)
ว่าที่คุณแม่หลายคนผ่านช่วงเวลา 4 สัปดาห์แรกที่แบบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตั้งครรภ์ คู่รักหลายคู่อาจจะได้ใช้เวลาช่วงนี้นั่งลุ้นว่าแบบทดสอบตั้งครรภ์จะขึ้น 2 ขีดหรือไม่ อาการต่าง ๆ ยังไม่ค่อยออกมาเท่าไหร่ แต่ผู้หญิงบางคนก็จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องบ้างแล้ว
พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนแรกนี้ คือการที่อสุจิได้เข้าปฏิสนธิกับไข่และเคลื่อนตัวเข้าไปฝังอยู่ในโพรงมดลูก แพทย์ส่วนใหญ่จะคำนวณวันที่จะคลอดจากวันสุดท้ายที่คุณผู้หญิงมีประจำเดือน หากคู่รักจำไม่ได้ว่าช่วงเวลาวันใดที่มีการผสมปฏิสนธิ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ อาการคนท้อง 2 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ตรวจครรภ์ได้หรือไม่
ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร สามารถอัลตราซาวนด์ได้หรือไม่
ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5-8 (2 เดือน)
ในระยะครรภ์นี้รูปแบบการใช้ชีวิตของคุณจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ การใช้สิ่งเสพติด แอลกอฮอล์หรือสารพิษอื่น ๆ ในระยะนี้จะมีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ แม้แต่ยาที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปก็เข้าข่ายไม่ปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์ซึ่งกำลังเจริญเติบโต หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในชีวิต ถ้าคุณสูบบุหรี่ นี่เป็นโอกาสดีที่จะเลิก ทุกอย่างที่คุณทำอาจส่งผลกระทบต่อลูกได้ทั้งสิ้น
คุณควรดูแลตัวเองอย่างดีระหว่างตั้งครรภ์ สารอาหารที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญต่อลูก หมั่นทานอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นเช่นโปรตีน แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ผักและผลไม้สด ดื่มน้ำมากๆ และเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เลือกอาหารและของว่างซึ่งมีคุณค่าเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกน้อยอย่างเพียงพอ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9-12 (3 เดือน)
ในช่วงเดือนที่ 3 พัฒนาการทารกในครรภ์ของคุณคือจะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นทารก แล้วมีอะไรเกิดขึ้นในครรภ์อีกนะ ร่างกายของคุณจะพบกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขนานใหญ่ บางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ของคุณ ผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เห็นว่านี่เป็นช่วงเดือนที่เลวร้ายที่สุดขณะที่อีกหลายคนไม่รู้สึกอะไรเลย โดยมากผู้หญิงตั้งครรภ์จะพบว่าตนเองเกิดอาการซึมเศร้าหดหู่ได้ง่ายและอารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปได้แก่ความรู้สึกว่าตัวเองไม่สวย รู้สึกขาดตกบกพร่องและกังวลว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ผู้หญิงบางคนไม่ตื่นเต้นกับการตั้งครรภ์ในระยะแรกและกังขากับอาการของตนไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่จะกลุ้มใจง่าย ร้องไห้ด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ขี้หงุดหงิดหรือเหม่อลอย น้ำหนักตัวของคุณอาจเพิ่มขึ้นบ้างแล้วและคุณอาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเช่นเหงือกนิ่มกว่าเคยและต่อมไทรอยด์บวมเล็กน้อย
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13-16 (4 เดือน)
9 เดือนของหนูในท้องแม่ !!! ขอต้อนรับเข้าสู่ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ค่ะ ช่วงนี้คุณคงอยากอาหารบางประเภทแล้วใช่ไหมคะ ความหิวเป็นอีกอาการหนึ่งของการตั้งครรภ์ค่ะ อย่าทานอาหารมากกว่าปกติเป็นเท่าตัวเพราะคิดว่าต้องทานเผื่ออีกชีวิต คุณควรทานมากกว่าที่เคยเพียงเล็กน้อย หัวนมของคุณอาจคล้ำขึ้นและแลเห็นเส้นเลือดได้ชัดเจนกว่าเก่า ผิวหน้าของคุณอาจเริ่มมีดวง ๆ ขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่านี่เป็นเรื่องปกติแต่หลายคนก็มองว่าเป็นสัญญาณว่าคุณได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หัวใจของคุณทำงานหนักกว่าเดิมเพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงมดลูก ผิวและไต ซึ่งต้องการเลือดมากกว่าปกติเท่าตัว ความจุของปอดลดลงเพราะมดลูกขยายใหญ่เกินอุ้งเชิงกรานและเบียดเข้าไปในช่องท้อง แม้จะทำกิจกรรมตามปกติแต่คุณจะรู้สึกเหนื่อยหอบง่ายกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์ คุณควรใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องชี้ว่าเมื่อใดควรชะลอหรือเลิกทำกิจกรรมนั้น ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ตั้งครรภ์ 13 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17-20 (5 เดือน)
ความเจริญอาหารเป็นพายุบุแคมคืออาการธรรมดาสามัญของครรภ์ที่แข็งแรงในช่วงเดือนที่ 5 เวลานี้หน้าท้องของคุณเริ่มป่องให้เห็นเด่นชัด น้ำหนักตัวควรจะเพิ่มขึ้นราว 2-4.5 กิโลกรัมและคุณอาจสังเกตว่าความอยากอาหารของคุณเพิ่มขึ้น
ในช่วงนี้ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 22 คุณหมออาจอัลตราซาวด์ ดูครรภ์เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการทารกในครรภ์รวมทั้งระบุวันครบกำหนดครรภ์ที่แน่นอน หากทารกอยู่ในท่าที่ถูกต้อง การตรวจอัลตราซาวด์ยังอาจบอกเพศของลูกน้อยได้ด้วย หัวใจของคุณต้องทำงานมากกว่าปกติร้อยละ 40-50 เพื่อรองรับการตั้งครรภ์
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24 (6 เดือน)
พัฒนาการทารกในครรภ์ ลูกน้อยของคุณตัวโตแล้วและน้ำหนักจะอยู่ที่ราว 0.5 กิโลกรัมเมื่อครรภ์อายุได้ 24 สัปดาห์ ยังมีความเปลี่ยนแปลงอะไรอีกนะ นอกเหนือจากผิวเหี่ยวย่นสีออกแดง ความยาวตัวอยู่ที่ 28-35 เซนติเมตรและหนัก 0.5 กิโลกรัมแล้ว ลูกน้อยของคุณดูเหมือนเด็กทั่วไปทุกประการ แม้รูปร่างจะยังผอมบางอยู่แต่ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว เปลือกตาทั้งสองข้างกำลังปริแยกเตรียมพร้อมสำหรับวันที่จะลืมตามาดูโลก
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
อายุครรภ์ 22 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25-28 (7 เดือน)
9 เดือนของหนูในท้องแม่!!! ยินดีต้อนรับว่าที่คุณแม่เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายค่ะ เวลานี้มดลูกของคุณใหญ่มากจนอาจเบียดเข้าไปในบริเวณอุ้งเชิงกรานและทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อย ขนาดของมดลูกยังอาจส่งผลให้คุณเริ่มปวดหลัง การจัดระเบียบร่างกายให้เหมาะสม สวมรองเท้าส้นเตี้ยและท่าบริหารอุ้งเชิงกราน (Pelvic Rocking) จะช่วยลดอาการปวดหลังลงได้
ในช่วงเดือนที่ 7 นี้ ขนาดของครรภ์ที่ขยายใหญ่อาจทำให้คุณนอนหลับได้ไม่ค่อยสบายนัก ขอแนะนำให้ใช้หมอนช่วยหนุน หากคุณเริ่มมีอาการท้องผูกและเป็นริดสีดวงทวาร ลองใช้ม้านั่งเตี้ย ๆ รองใต้เท้าระหว่างนั่งโถเพื่อจัดให้ร่างกายอยู่ในท่าขับถ่ายที่สบายขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29-32 (8 เดือน)
เมื่อถึงเดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ คุณอาจรู้สึกถึงแรงบีบหดที่ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริง นอกจากนี้คุณยังอาจมีอาการอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่จะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของคุณ
รู้สึกว่าครรภ์เริ่มปวดเตือนหรือคะ นั่นแปลว่ามดลูกกำลังออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงเตรียมคลอด กระดูกเชิงกรานของคุณขยายออกแล้วและคุณอาจรู้สึกปวดอุ้งเชิงกราน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะลูกน้อยของคุณเริ่มเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน ความกลัวเป็นเรื่องปกติเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนนี้ ลองคุยกับใครสักคนที่มีลูกแล้วและสามารถบอกเล่าประสบการณ์ให้คุณฟังได้ กุญแจสำคัญคือต้องหาคนที่มีประสบการณ์ด้านบวกเพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวคุณเองค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร
ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33 เป็นต้นไป (9 เดือนขึ้นไป)
ช่วงนี้คือเป็นช่วงที่ดูบวมไปหมด ทำอะไรก็ลำบาก เนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงการคลอด นอกจากนี้มักจะมีสัญญาณที่บ่งบอกว่าใกล้คลอดแล้วมาเตือนอยู่บ่อย ๆ อีกด้วย
อาการทั่วไป
- อาการท้องลด หรือตำแหน่งหน้าท้องที่ต่ำลง เนื่องจากการเคลื่อนตัวของทารกที่ลงมาใกล้กระดูกเชิงกรานที่มากขึ้น
- มีมูกสีขาวไหลออกมาจากช่องคลอด
- ข้อเท้าและเท้าบวม
- ปวดหลัง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
เตรียมพร้อมก่อนคลอด !!!
ระหว่างนี้หากมีอะไรหากคุณแม่ไม่แน่ใจให้โทรปรึกษาแพทย์ด้วยตัวเอง พูดคุยกับสามีหรือคนในครอบครัว เพื่อวางแผนการเดินทางหากวันที่เจ็บครรภ์คลอดนั้นมาถึง ตั้งครรภ์เดือนที่ 9 แล้วทารกพร้อมที่จะคลอดได้ตลอดเวลา คุณแม่ต้องจดเบอร์โทรศัพท์ของแพทย์ที่ดูแลท่านไว้ให้ใกล้โทรศัพท์หรือในตำแหน่งที่หยิบง่าย และอาจจะต้องจดเบอร์โทรของโรงพยาบาลที่ใกล้ คุณแม่ต้องของคำแนะนำจากแพทย์ว่าเมื่อไรจึงจะต้องรีบเข้าโรงพยาบาล
บทความที่เกี่ยวข้อง :
ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 39 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร
ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 41 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 42 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
เทคนิคดูแลตัวเองให้ถูกวิธีตลอด 9 เดือน
การฝากครรภ์
- ดูแลรักษาสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพดีตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงการคลอด
- คลอดบุตรที่มีสุขภาพที่ดี
- ลดอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนของตัวแม่และทารกในครรภ์
อาหารที่เหมาะแก่แม่ท้อง
- แคลอรีต้องเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 20
- เพิ่มโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน เน้นเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผักและผลไม้
- งดอาหารรสจัด แอลกอฮอล์ ยาเสพติด
- ไม่สูบบุหรี่
ใช้ชีวิตให้ถูกหลัก
- รักษาความสะอาด ใส่เสื้อผ้าที่สะดวกสบาย
- ไม่สวมรองเท้าส้นสูง
- ดูแลรักษาฟันให้มีสุขภาพฟันที่ดี
- ดูแลหน้าท้อง และระบบการขับถ่าย
- มีเพศสัมพันธ์ด้วยท่าที่เหมาะสม
- พักผ่อนให้เพียงพอ
ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ
- ไม่ทำงานหนักจนเกินไป
- ไม่ออกกำลังกายจนเหนื่อย
- ออกกำลังกายควรทำหลังตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน
อาการที่คุณแม่ควรระวังระหว่างตั้งครรภ์
- น้ำหนักขึ้นมากกว่าปกติ
- เปลือกตาบวม
- ปวดศีรษะตรงหน้าผากและขมับขวา
- ตาพร่า
- ปัสสาวะไม่ออก
- เลือดออก
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน
อาการแพ้ท้องในแต่ละเดือน อาการของคนท้อง พร้อมวิธีรับมือ บรรเทาอาการ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!