X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

บทความ 8 นาที
ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ก่อนอื่นเลยต้องขอแสดงความยินดีกับว่าที่คุณแม่มือใหม่ทุกท่าน แม้ว่าในช่วง ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ คุณแม่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ เนื่องจากยังไม่เกิดอาการใด ๆ ให้ได้สังเกต อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ หากแต่จะมีอาการเหนื่อยล้ากว่าปกติ เจ็บบริเวณเต้านม และอาจจะเป็นตะคริวบ้างเล็กน้อย

โดยทั่วไปทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนับการ ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ หรือ ท้อง 1 สัปดาห์ จากวันแรกของรอบเดือนสุดท้ายของผู้หญิง แม้ว่าขณะนั้นจะยังไม่มีการปฏิสนธิหรือการตั้งครรภ์จริง แต่ทางการแพทย์จะเริ่มนับจากวันนั้น เพื่อที่จะสามารถนับกำหนดการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน วันนี้เรามาดูกันค่ะว่า อาการตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ เป็นอย่างไร แล้วต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

 

ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ?

แม้ว่าการทดสอบการตั้งครรภ์เบื้องต้น จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพิจารณาว่าตนเองนั้น ตั้งครรภ์จริงหรือไม่ แต่ในช่วงสัปดาห์แรก อาการคนท้อง 3 วัน จะยังไม่สามารถทราบผลได้ในทันที จะเริ่มตรวจได้ก็ต่อเมื่อพ้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายไป 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์

 

การตรวจสอบการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 1 สัปดาห์

  • สำหรับคนที่มีอาการ อาการคนท้อง 1 สัปดาห์

เมื่อรู้สึก หรือสงสัยว่าตนเองมีอาการที่ผิดปกติไปจากเดิม และสงสัยว่า ตนเองจะตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถตรวจสอบด้วยการ ซื้อที่ตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง มาเช็กเบื้องต้นได้ หากผลการตรวจทดสอบออกมาเป็นเพียงขีดเดียว หรือเป็นลบ ให้ทำการทดสอบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หลังจากผ่านไปอีก 1 สัปดาห์ เพื่อความชัดเจนเนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกาย ยังไม่มีการเปลี่ยนมากจนสามารถตรวจสอบได้ทันที

แต่หากตัวคุณแม่ใจร้อน อยากทราบว่าตนเองท้องหรือไม่ แต่ไม่สามารถตรวจได้จากที่ตรวจการตั้งครรภ์ที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปนั้น ก็สามารถตรวจได้จากผลเลือดที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจหาค่า HCG ในเลือด ซึ่งจะสามารถแสดงผลได้เร็วกว่าการตรวจปัสสาวะ และอัตราค่าตรวจนั้น อยู่ประมาณ 300 – 500 บาท ต่อครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ที่ตรวจครรภ์ ใช้ยังไง ที่ตรวจครรภ์แบบไหนดี ตรวจการตั้งครรภ์ได้เมื่อไหร่

 

  • คนที่ไม่มีอาการ

ในขณะที่บางรายที่ไม่มีอาการใด ๆ แต่อยากรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ดังนี้

  1. วิธีนับวันไข่ตก : วันตกไข่จะอยู่ในช่วง 14 – 15 วัน หรือประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนที่ประจำเดือนรอบใหม่จะมา โดยเราสามารถจดบันทึก และนับวันได้ง่าย ๆ ตาม เทคนิคทำให้ท้องด้วย การนับวันไข่ตก
  2. การตรวจสอบ ด้วยชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์ อย่างต่อเนื่อง : การใช้เครื่องมือตรวจสอบการตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายและมีความแม่นยำ และที่สำคัญหาซื้อชุดตรวจได้ง่ายมาก ส่วนจะรู้ผลช้าหรือเร็วใช้เวลากี่วัน เช็กที่นี่
  3. ประจำเดือนขาด : อีกหนึ่งอาการที่สามารถสังเกตได้ง่ายก็คือประจำเดือนขาด การที่เราประจำเดือนขาดประจำเดือนไม่มาก็สามารถบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายได้หลายอย่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องประจำเดือนขาดกี่วัน ถึงจะตรวจพบว่าตั้งครรภ์ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 1

 

 

10 อาการคนท้องระยะแรก อาการก่อนรู้ว่าท้อง 1 สัปดาห์

  • มีเลือดซึมทางช่องคลอดเล็กน้อย

การที่มีเลือดออกมาทางช่องคลอดนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่เป็นเลือดในลักษณะของประจำเดือน แต่เป็นเลือดที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ ที่ผนังมดลูก แต่หากมีเลือดออกมาเป็นจำนวนมาก โดยที่ผลตรวจออกมาว่าคุณตั้งครรภ์อยู่นั้น อาจจะมีความเป็นไปได้ที่คุณจะเกิดการแท้ง หรือแท้งนอกมดลูก ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

  • เป็นตะคริวเล็กน้อย

คุณผู้หญิงอาจจะรู้สึกเป็นตะคริวเล็กน้อย แต่จะเป็นบ่อย หรือถี่ ในระยะนี้ เนื่องจากตัวอ่อน มีการเข้ายึดกับผนังมดลูก ซึ่งบริเวณที่จะรู้สึกเป็นตะคริวอยู่บ่อยครั้ง จะได้แก่ บริเวณหน้าท้อง หรือท้องน้อย อุ้งเชิงกราน และบริเวณหลังส่วนล่าง หรือบั้นเอว ซึ่งอาการนี้ จะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2 – 3 วัน อาจจะทำให้มีอาการไข้อ่อน ๆ สำหรับบางคน

  • มีอาการคลื่นไส้ อาจจะอาเจียน หรือไม่อาเจียนก็ได้

ตั้งครรภ์1สัปดาห์ อาจจะรู้สึกคลื่นไส้ ซึ่งอาการคลื่นไส้นั้น มาจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และประสาทสัมผัสที่เริ่มรับรู้ได้ไวขึ้นกว่าเดิม ในกรณีของการคลื่นไส้นี้ อาจจะเป็นเพียงการพะอืดพะอม และอาจจะถึงขั้นอาเจียนในบางคนได้เช่นกัน

 

ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์

 

  • เต้านม และหัวนม มีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อประจำเดือนขาด อาการที่จะสังเกตได้ง่ายอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการเจ็บบริเวณหน้าอก หรือหัวนม คัดเต้านม มักจะรู้สึกได้เมื่อคุณใส่เสื้อชั้นใน แล้วเกิดความรู้สึกระคายเคือง ทั้ง ๆ ที่ปกติจะไม่รู้สึกแบบนั้น เส้นเลือดบริเวณเต้านม จะมีสีเข้ม และชัดเจนมากขึ้น แต่อาการเหล่านี้ จะเริ่มทุเลาลง หลังจากอายุครรภ์ครบ 3 เดือนค่ะ

 

  • มีไข้ต่ำเล็กน้อย

ในระยะแรกที่ร่างกายมีการปรับเปลี่ยน จะทำให้เกิดอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว แบบอ่อน ๆ และมักจะเป็นช่วงเย็น ๆ หรือหัวค่ำ ถือว่าเป็นอาการปกติ ที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปค่ะ ดังนั้น ไม่ต้องเป็นกังวล เพียงแค่ ดื่มน้ำให้เยอะขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ แค่นี้อาการก็จะบรรเทาลงค่ะ ในที่นี้ รวมถึงอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น จะรู้สึกร้อน เหงื่อออกง่ายกว่าเดิม แม้ว่าตัวคุณแม่จะไม่ได้เป็นไข้ก็ตาม ถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ

 

  • มีตกขาวมากกว่าปกติ

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้เกิดอาการตกขาวมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งตกขาวลักษณะนี้ ไม่ได้บ่งชี้ถึงภยันตรายใด ๆ ทั้งสิ้นค่ะ แต่หากตกขาวนั้น มีสีที่ไม่พึงประสงค์ เช่น สีเขียว หรือ สีเหลืองเข้ม ยิ่งถ้ามีกลิ่น หรือเกิดอาการคันด้วยแล้ว ควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วนค่ะ

 

  • มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

อาการนี้จะเริ่มเกิดขึ้นง่าย และอาจจะต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสหลัง ๆ ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นของร่างกาย จะทำให้เกิดลมในท้องมากยิ่งขึ้น จนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ สิ่งที่จะช่วยให้อาการนี้ดีขึ้นได้ คือการเลือกดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้อง ให้ได้มาก เพื่อการปรับสมดุลของร่างกายคุณแม่นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง :  วิธีเลือก รพ. ก่อนฝากครรภ์ ต้องเลือกอย่างไรถึงจะดีและวิธีการเตรียมเอกสาร

 

ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์

 

  • การรับรู้รสชาติอาหารเปลี่ยนไป

คุณจะมีการรับรู้รสชาติอาหารที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมาก จะมีเริ่มรับรู้รสขม หรือรสโลหะ มาก และไวยิ่งขึ้น จนส่งผลให้ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกเบื่ออาหาร จนเป็นสาเหตุให้เกิดการลดลงของน้ำหนักในช่วงแรก แต่หากคุณแม่ เริ่มทราบว่าตนเองตั้งครรภ์แล้วนั้น ต่อให้ไม่อยากอาหารอย่างไร สิ่งที่ควรทำคือ ขอข้อมูลเรื่องอาหารเสริม หรือวิตามิน ที่จำเป็น เพื่อจะสามารถบำรุงทั้งตัวคุณแม่เอง และเด็กในครรภ์ และควรฝืนตัวเอง ให้สามารถทานอาหารได้บ้าง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด

 

  • ตัวจะเริ่มมีอาการบวมขึ้นเล็กน้อย

แม้ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักมากนักในระยะแรก แต่จะสามารถเห็นอาการบวมของร่างกายได้ในระดับหนึ่ง หรือที่เราเรียกว่ามีน้ำมีนวล เราจะรู้สึกได้จากผิว ที่จะรู้สึกนุ่มขึ้น บางคนถึงกับเหมือนมีออร่าความขาวเกิดขึ้น ที่จริงคือเกิดจากอาการบวมของร่างกายค่ะ ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

 

  • ประจำเดือนขาด สัญญาณเตือนว่าท้อง 1 สัปดาห์

ลักษณะของการขาดของประจำเดือนนั้น จะสามารถสังเกตได้ชัดเจน หากบุคคลนั้นมีประจำเดือนมาเป็นปกติในทุก ๆ เดือน เมื่อถึงกำหนดของประจำเดือนที่จะต้องมา และขาดหายไปประมาณ 7-10 วัน ก็ควรหาซื้อชุดตรวจครรภ์เบื้องต้นมาทดสอบ เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาบ่งบอกว่า คุณนั้นกำลังตั้งครรภ์อยู่นั่นเอง แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ประจำเดือนมา ขาด ๆ หาย ๆ อยู่เป็นปกติ ก็จะไม่สามารถสังเกตด้วยวิธีนี้ เพราะการที่ประจำเดือนมาแบบขาด ๆ หาย ๆ นั้น อาจจะเป็นผลจาก การใช้ยาคุมกำเนิด มีความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายขาดสารอาหาร หรือผลจากโรคประจำตัวนั่นเอง

 

ตั้งครรภ์

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เรื่องอาการตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง โดยอาการของการตั้งครรภ์ในระยะแรกนั้น จะแตกต่างกันออกไปในผู้หญิงแต่ละคน บางคนอาจจะสังเกตเห็นอาการได้ชัดเจน ในขณะที่บางคนกลับไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้นเลย ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการเฝ้าสังเกต ร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และทำการทดสอบการตั้งครรภ์ เมื่อเกิดความสงสัย หรือปรึกษาแพทย์เบื้องต้น

หากคุณทราบว่า ตัวคุณเองนั้นตั้งครรภ์แล้ว ไม่ว่าอายุครรภ์ จะน้อย หรือมากแค่ไหนก็ตาม สิ่งที่ควรทำอันดับแรก คือการฝากครรภ์ เพื่อให้แพทย์สามารถ เข้าถึงการดูแล และช่วยควบคุม ทั้งอาหาร ยา หรือการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่ เพื่อการพัฒนาการที่ดี และปลอดภัยสำหรับตัวคุณแม่ และเด็กในครรภ์นั่นเอง

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร และควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

ฝากครรภ์ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ที่ไหนดีกว่ากัน

อาหารคนท้องอ่อน แบบไหนบำรุง แบบไหนแสลง อะไรห้ามกิน อะไรกินได้

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 1
  • /
  • ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
แชร์ :
  • ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ