X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

บทความ 8 นาที
ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

เมื่อเช้าสู่ สัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีอาการอย่างไร พัฒนาการของทารกจะตอบสนองให้คุณแม่รับรู้มากน้อยแค่ไหนไปดูกันเลย

ทารกในครรภ์กำลังมีพัฒนาการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 6 สัปดาห์ และคุณแม่ก็มีการแสดงอาการอย่างชัดเจน อาการคนท้อง 6 สัปดาห์ จะมีอาการอะไรบ้าง คุณแม่จะรับมือกับอาการเหล่านี้อย่างไร พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร พร้อมวิธีดูแลตัวเองในช่วงนี้

 

ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน ?

เวลาคุณแม่ไปหาคุณหมอ ส่วนใหญ่คุณหมอก็จะนับเป็นสัปดาห์มากกว่าเป็นเดือน แต่ถ้าจะเปรียบเทียบ คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 6 เดือน ก็จะเท่ากับ อายุครรภ์ประมาณ 1 เดือน กับอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งโดยทั่วไปนับการตั้งครรภ์ เริ่มต้นจาก วันสุดท้ายของการมีรอบเดือนครั้งล่าสุด ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่ จะทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้ตัว จนเริ่มสังเกตได้ชัด ๆ ว่าประจำเดือนไม่มา ในช่วงสัปดาห์ที่ 5

คนท้องท้องเสีย ปวดท้องบิด อาการแบบนี้ส่งผลต่อลูกในท้องหรือไม่

แม่ท้องลงทะเบียนลุ้นรับ iPad Pro 11 นิ้ว ฟรี! >>คลิก<<

อาการคนท้อง 6 สัปดาห์ มีอาการอะไรบ้าง ? 

  • น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

การตั้งครรภ์ก็มาพร้อมกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะขึ้นทุกสัปดาห์ โดยช่วงแรกของการตั้งครรภ์นี้ น้ำหนักตัวคุณแม่จะเพิ่มขึ้น ประมาณ 1 – 2 กิโลกรัม

  • อารมณ์แปรปรวน

ช่วงนี้ฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้รู้สึกว่าอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ การที่คุณแม่มีอารมณ์เหวี่ยง วีน ออกมา นั่นก็เป็นเพราะว่าการเหนื่อยล้า และการแปรปรวนของระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

  • เหนื่อยล้า

ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หมดแรง เกิดจากร่างกายของคุณแม่กำลังปรับตัวให้เข้ากับฮอร์โมนที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่

  • เจ็บหน้าอก คัดตึงเต้านม

ในช่วงสัปดาห์นี้ ต่อมน้ำนมจะมีการเตรียมผลิตน้ำนม เกิดการไหลเวียนของเลือดที่เปลี่ยนไปเลี้ยงเต้านมมากขึ้น จึงทำให้เต้านมของคุณแม่ขยายและคัดตึงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : คัดเต้านม 100 สิ่งแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 44 สามารถบรรเทาอาการเต้านมแข็งได้อย่างไร ?

  • อาการคลื่นไส้ อาเจียน

ในช่วง 6 สัปดาห์นี้ จะมีอาการคลื่นไส้รุนแรงกว่าสัปดาห์อื่น ๆ คุณแม่บางท่านอาจจะมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ เฉพาะในช่วงเช้า ในขณะที่คุณแม่อีกหลาย ๆ ท่าน ก็อาจจะเจอกับอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ ไปตลอดทั้งวันเลยก็มี คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง เนื่องจากการที่คุณแม่ท้องว่างอาจจะทำให้คุณแม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้

  • ปัสสาวะบ่อย

คุณแม่เริ่มปัสสาวะบ่อยจากเดิมมากขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ปกติ แต่หากคุณแม่มีอาการปวด หรือปัสสาวะติดขัด ก็ควรพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกของกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

  • จุดเสียดแน่นท้อง

ท้องไส้คุณแม่จะปั่นป่วน มีอาการจุกเสียดท้อง เนื่องจากกรดไหลย้อน คุณแม่ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ และกินอาหารที่มีกากใยสูง และเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

  • จะพบจุดเลือด บริเวณกางเกงใน

เมื่อคุณแม่เข้าห้องน้ำ อาจจะพบจุดเลือด หรือกางเกงในเปื้อนเลือดเป็นจุดเล็ก ๆ เนื่องจากทารกฝังตัวในมดลูก หากมีเลือดมากเกินไปบวกกับมีอาการปวดท้องร่วมด้วย คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ทันที

 

ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ แต่ไม่มีอาการแพ้ท้อง ผิดปกติหรือไม่ ?

การที่ผู้หญิงส่วนใหญ่แพ้ท้อง ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่ไม่มีอาการจะพบความผิดปกติ หรืออันตรายต่อทารกในครรภ์ เป็นเรื่องปกติที่บางคนไม่แพ้ท้อง และการที่คุณแม่ไม่แพ้ท้อง ก็ไม่ได้ส่งผลอันตรายเด็ก ยกเว้น คุณแม่ที่แพ้ท้องมากเกินไป จนไม่สามารถกินอะไรได้เลย แบบนี้จะส่งผลต่อเด็ก คุณแม่จะต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับน้ำเกลือและสารอาหาร

 

ท้อง 6 สัปดาห์ แพ้ท้องหนักมากต้องทำอย่างไร ?

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ควรปล่อยให้ท้องไว้ เนื่องจากการปล่อยให้ท้องว่างอาจจะทำให้คุณแม่คลื่นไส้อาเจียนได้
  • พกขนม หรือผลไม้ ไว้กินเวลาที่หิว
  • เลี่ยงการกินอาหารรสจัด ของทอด หรือ อาหารที่มีกลิ่นฉุน และคาว
  • หลังจากที่คุณแม่อาเจียนแล้ว ควรบ้วนปากทันที เพื่อลดอาการแพ้ท้อง
  • ดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำผลไม้ เพื่อลดการแพ้ท้อง

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 6 เป็นอย่างไร ? 

อาการคนท้อง 6 สัปดาห์

พัฒนาการของทารกในช่วง 6 สัปดาห์เป็นอย่างไร ท้อง6สัปดาห์ อายุครรภ์ 6 สัปดาห์

เมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเริ่มมีพัฒนาการอย่างเช่น

  • ทารกในสัปดาห์ที่ 6 จะมีขนาดเท่ากับ เม็ดถั่ว และจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ภายในท้อง
  • หัวใจของเจ้าตัวน้อยเริ่มเต้นอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 150 ครั้งต่อนาที โดยจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ทั่วไปประมาณ 2 เท่า และจะเต้นช้าลงเมื่อทารกในครรภ์ตัวโตขึ้น
  • ไม่เพียงแต่หัวใจของทารกเต้นเร็วเพราะเลือดที่กำลังไปหล่อเลี้ยงร่างกายเท่านั้น แต่ลำไส้และตับก็กำลังค่อย ๆ พัฒนาขึ้นตามลำดับ
  • สามารถมองเห็นหู จมูก ปาก และแขนขาของทารกได้แล้วเมื่อดูผ่านอัลตราซาวด์ อีกทั้งยังสามารถเห็นรูปทรงของศีรษะและรอยโค้งของกระดูกสันหลังได้แล้ว

 

เด็กอายุ 6 สัปดาห์ในท้องแม่มีขนาดเท่าไหร่?

ท้อง 6 สัปดาห์ ลูกมีขนาดเท่าไหร่

ในช่วงเวลา 2 เดือนนี้ ลูกในท้องจะเริ่มมีหน้า เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เขาจะเริ่มมีกราม คาง แก้ม และ จะค่อย ๆ กลายเป็นใบหน้า แบบที่สมบูรณ์ รูหูก็จะเริ่มสร้างขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน ในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ลูกก็จะมี ตา และ จมูก

อวัยวะภายในของลูกน้อยก็จะเริ่ม เป็นรูปเป็นร่างขึ้นเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ไต ตับ ปอด และ หัวใจดวงน้อย ๆ ที่เริ่มเต้น และจะเต้นแรงขึ้น ในทุก ๆ วัน

เวลา 6 วีค ลูกจะมีขนาดประมาณ 0.51 – 0.64 เซน หรือ เทียบเท่ากับถั่วเขียว เมื่อถึงในช่วงสัปดาห์นี้ ก็แสดงว่าเหลือเวลาอีกเพียง 7 เดือนเท่านั้น คุณแม่ก็จะได้พบกับลูกน้อยแล้ว

 

อัลตราซาวด์ในช่วง 6 สัปดาห์ ได้หรือไม่ ?

หากคุณแม่ไปพบแพทย์ เมื่อครรภ์อายุ 6 สัปดาห์ คุณหมอจะให้คุณแม่ฝากครรภ์ และเริ่มตรวจครรภ์ทันที แต่คุณแม่บางคนคุณหมอก็อาจจะให้รอไปสัก 2 – 3 สัปดาห์ก่อน หากได้รับการตรวจอัลตราซาวด์ทันที คุณแม่ก็จะเห็นตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในท้อง หากแพทย์ไม่เห็นการเต้นของหัวใจ หรือตัวอ่อน คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป แพทย์จะทำการนัดมาอีกครั้ง

 

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

เรื่องที่คุณแม่ควรทำตอนท้อง 6 สัปดาห์ 

  • ควรทานอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้ง แทนที่การทานอาหารมื้อใหญ่วันละ 3 เวลา
  • หากมีอาการแพ้ท้องควรนอนพักผ่อนเพิ่มมากขึ้น ทำใจให้สบาย ไม่เครียด
  • หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ในช่วงนี้
  • ระยะนี้ ต้องระวังการแท้งบุตรเป็นพิเศษ ไม่ควรกินกาแฟ งดสุรา และบุหรี่ หากมีเลือดออกร่วมปวดท้องต้องระวังภาวะแท้ง
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายเป็นประจำ ระวังการใช้สารเคมี เช่น น้ำยาย้อมผม เครื่องสำอาง และน้ำหอม

บทความที่เกี่ยวข้อง : เคล็ดลับดูแลแม่ท้องอ่อน การดูแล คุณแม่ท้องอ่อน ดูแลตัวเองยังไง?

 

สัปดาห์ที่ 6 คุณแม่ไม่ควรทำอะไร ?

  • เลี่ยงอาหารไม่สุก ควรกินอาหารที่ปรุงสุก เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องเสีย
  • ระวังการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์
  • คุณแม่ไม่ควรอดอาหาร ควรรับประทานอาหารครบถ้วน และมีประโยชน์
  • หลีกเลี่ยงการซาวน่า เนื่องจากความร้อนจะทำให้ร่างกายของคุณแม่ขาดน้ำได้
  • ห้ามเครียด การเครียดจะยิ่งทำให้ฮอร์โมนของคุณแม่แย่ลง และอาจทำให้แท้งได้

 

เคล็ดลับแม่ท้อง 6 สัปดาห์

อาหารทะเลเป็นแหล่งที่ดีของสารอาหารมากมายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของสมอง

อาหารทะเลเป็นแหล่งที่ดีของสารอาหารมากมายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของสมอง

  • ทานอาหารทะเลได้

คุณแม่อาจจะต้องลดปลา ที่มีสารปรอทสูงลง  แต่ไม่ใช่ว่าอาหารทะเลทุกชนิด จะแย่กับแม่ท้องไปซะหมด หอยที่ปรุงจนสุก หรือ ปลาแซลมอน ก็ยังคงเป็นปลาทะเล ที่มีประโยชน์ กับคนท้องในช่วงนี้อยู่

 

  • ระวังการติดเชื้อโรค

ถ้าคุณแม่ มีอาการเจ็บเวลาที่ปัสสะวะ เบ่งเท่าไหร่ ก็ไม่มีอะไรออกมา นั่นอาจจะเป็นสัญญาณว่า กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ เมื่อมีอาการแบบนี้ คุณแม่ควรที่จะปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อที่หมอจะได้ตรวจรักษา และ จ่ายยา ที่ปลอดภัยต่อเด็กให้มาทานต่อไป ช่วงเวลา 6 สัปดาห์นี้ เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงมากที่สุด

 

  • ทานอาหารจืด

ถ้าอาหาร บางชนิด ทำให้คุณแม่ ยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ ให้ลองเปลี่ยนอาหาร มาเป็นอาหารรสจืดดู เพื่อช่วยลดอาการแพ้ท้อง ลองดูนะคะคุณแม่ อาหารเหล่านี้ จะช่วยลดอาการ คลื่นไส้ อาเจียนได้

 

  • ออกกำลังกาย

ท้อง6สัปดาห์ หรือ ตั้งครรภ์6สัปดาห์ ลูกมีขนาดเท่าไหร่

ถ้าคุณแม่ ยังอยากที่จะออกกำลังกายอยู่ ให้ลองออกในเวลาที่จะไม่กระทบกับ อาการแพ้ท้อง เพื่อที่ทุกวัน คุณแม่จะสามารถออกกำลังกาย เป็นกิจวัตรประจำวันได้ ต่อเนื่องในทุก ๆ วัน แต่อย่าลืมว่า อย่าหักโหมเกินไปนะคุณแม่

 

  • เปลี่ยนของกินเล่น

เรารู้แหละว่า คุณแม่คงอยากที่จะทานอาหารที่มีรส เค็ม หรือ รสหวานบ้าง แต่เราอยากให้คุณแม่ลองเปลี่ยนมาเป็น การทานของว่างที่มีประโยชน์แทน ของว่างบางชนิด อาจจะทำมาจากวัตถุดิบเดียวกัน แต่คุณแม่ ควรจะเลือกทาน ของที่มีรสชาติเบากว่าปกติที่เคยกิน เพื่อความสบายตัวของคุณแม่เอง

ถ้าคุณแม่ อยากทานไอติม ให้ลองเปลี่ยนเป็น โยเกิร์ตแทนไปก่อน อดทนอีกนิดเดียวนะคะคุณแม่

 

ท้อง 6 สัปดาห์ หรือ ครรภ์6สัปดาห์ มีเลือดออกอันตรายไหม สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้?

ตั้งครรภ์6สัปดาห์มีเลือดออก หรือ ท้อง6สัปดาห์มีเลือดออก  สำหรับคุณแม่คนไหนที่มีอาการเหล่านี้ เราไม่ควรที่จะปล่อยไว้นานจนเกินไป หรือไม่ควรที่จะชะล้าใจไป เพราะสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลไม่ดีต่อลูกในท้องของเราได้ ส่วนอาการเรานี้เกิดจากสาเหตุอะไรบ้างนั้น เรามาไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันได้เลย

เลือดออกตอนท้องเป็นอะไรมั๊ย?

เลือดออกตอนท้อง เป็นอะไรมั๊ย?

 

1. รกเกาะต่ำ

แน่นอนว่าการที่คุณแม่มีเลือดไหลออกมาในช่วงตั้งครรภ์ หรือ ท้อง6สัปดาห์มีเลือดออก มานั้นอีกหนึ่งสาเหตุน่าจะเกิดจากการที่รกของเราเกาะอยู่บริเวณที่ต่ำจนเกินไป ส่งผลทำให้รกมาอยู่ใกล้กับบริเวณปากมดลูก จากนั้นก็จะส่งผลทำให้มีเลือดออกทางบริเวณช่องคลอดนั่นเอง เพราะฉะนั้นใครที่กำลังมีอาการแบบนี้อยู่ควรรีบทำการรักษาทันที ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เราคลอดก่อนกำหนดขึ้นมาได้เลย

 

2. ท้องลม

หลายคนน่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับอาการท้องลมกันมาบ้างแล้ว โดยอาการท้องลมจะมีลักษณะคล้าย ๆ กับตั้งครรภ์ตามปากติทั่วไป อาทิเช่น มีการคลื่นไส้อาเจียน หรือแพ้ท้อง เป็นต้น แต่ที่แตกต่างกันคือการตั้งครรภ์ของเราจะไม่มีตัวอ่อนอยู่ด้านในมดลูก หรือเรียกง่าย ๆ ว่าภาวะไข่ฝ่อ และเมื่อคุณแม่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ก็อาจจะส่งผลทำให้คุณแม่มีเลือดออกบริเวณช่องคลอดนั่นเอง

 

3. แท้งคุกคาม

อีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้คุณแม่ ตั้งครรภ์6สัปดาห์มีเลือดออก นั่นคือ ภาวะแท้งคุกคาม โดยอาการเหล่านี้จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดเกร็งบริเวณมดลูกรวมถึงมีเลือดออกมาจากช่องคลอดอยู่เรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นถ้าคุณแม่คนไหนมีอาการเหล่านี้อยู่ แต่เราไม่รีบทำการรักษา สิ่งนี้อาจจะส่งผลทำให้เราเกิดอาการแท้งและตกเลือกได้

 

4. ช่องคลอดมีการติดเชื้อ

อย่างที่รู้กันดีว่าเมื่อไหร่ที่เราตั้งครรภ์ฮอร์โมนในร่างกายของเราก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ช่องคลอดของเราเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นคุณแม่คนไหนที่ไม่อยากให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวเอง เราก็อาจจะต้องดูแลรักษาร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอนะคะ

 

5. ท้องนอกมดลูก

อีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้คุณแม่หลายคนมีอาการเลือดออกในช่วง ตั้งครรภ์6สัปดาห์ นั่นคือการท้องนอกมดลูก โดยอาการเหล่านี้จะเกิดจากการที่ตัวอ่อนไม่ได้เข้าไปฝังตัวในมดลูกของเรา ส่งผลทำให้ตัวอ่อนค้างอยู่ที่บริเวณท่อนำไข่และไม่ได้รับการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ แน่นอนว่าเมื่อไหร่ที่คุณแม่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ก็อาจจะทำให้มีเลือดไหลบริเวณช่องคลอดตามมานั้นเอง

 

*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

 

ที่มา : 1

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ท้องอ่อนๆมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม จะเสี่ยงแท้งหรือเปล่า? มีเซ็กส์ตอนท้องอ่อนๆ

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ