X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

บทความ 5 นาที
ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ รู้ไหมลูกในท้องโตแค่ไหนแล้ว แน่นอนว่าลูกโตขึ้นคนเป็นแม่ก็จะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเริ่มเหนื่อยง่าย ปวดเมื่อยมากขึ้น แล้วยังมีอาการอื่นๆ อีกมายมาย คนท้องต้องเจออะไรบ้างน้า

ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์เท่ากับหกเดือน คุณแม่จะรู้สึกว่าระยะนี้ลูกน้อยในท้องมีพัฒนาการทางร่างกายใหญ่ขึ้น นั่นคือลักษณะท้องเกือบ 7 เดือน ซึ่งมดลูกค่อยๆ ขยายตัวขึ้นทุกวัน เพื่อให้พอดีกับตัวทารก ทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว ที่สำคัญช่วงขาเริ่มมีเส้นเลือดขอดขึ้น เวลาหายใจก็จะเริ่มเหนื่อยหอบและถี่เพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ อีก มือเท้าก็เริ่มบวมเป็นเพราะว่าลูกในท้องโตขึ้นนั่นเอง แล้วมีอะไรอีกบ้างที่คน ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ ต้องเจอ มาดูกันค่ะ

 

ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ (Credit: motherandbaby.co.uk)

 

คุณแม่ท้อง 27 สัปดาห์ มีอาการทั่วไปอย่างไร

โดยทั่วไปท้องของคุณแม่เริ่มใหญ่ขึ้น เนื่องจากต้องรองรับลูกในท้องที่โตขึ้นเรื่อยๆ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยึดตึง ไม่ว่าจะช่วงหลัง เชิงกราน ด้านข้างของช่วงท้องหรือแม้กระทั่งขาก็เจ็บปวดไปหมด ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ส่งผลต่อร่างกายทำให้กล้ามเนื้อตึงและปวดเมื่อย คุณแม่ควรควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป

  • อาการปวด คือ อาการ ปวดหน่วง บริเวณมดลูกประมาณ 2-3 นาที เนื่องจากการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณมดลูก
  • บวมตามมือตามเท้า ซึ่งเกิดจากการสะสมของเหลวในร่างกายที่มาจากการไหลเวียนเลือด
  • เป็นเส้นเลือดขอด ในระหว่างนี้สิ่งที่คุณทำได้คือนวดขาไปพลาง ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ส่วนการใส่รองเท้าก็ควรเปลี่ยนจากส้นสูงมาเป็นส้นเตี้ย เพื่อสร้างความสมดุลให้ตัวคุณกับลูกน้อย ๆ ในท้องได้มากขึ้น
  • ตะคริวขึ้นขา ทำให้เจ็บปวดขามาก คุณสามารถบรรเทาอาการได้โดยการยืดกล้ามเนื้อขา และงอเท้า ที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก
  • หอบเหนื่อยง่าย หายใจสั้น เนื่องจากมดลูกกดทับซี่โครงและกะบังลม จึงทำให้หายใจได้ไม่เต็มที่เหมือนเก่า
  • น้ำหนักเพิ่ม ซึ่งน้ำหนักที่เหมาะสมช่วงตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ควรเพิ่มจากเดิมราว 10-12 กิโลกรัมเท่านั้น โดยรวมทั้งตัวทารก รกและถุงน้ำคร่ำ ปริมาณเลือดและของเหลวที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย ตลอดจนเต้านมที่ขยายและไขมันทั้งหมดรวมกันนั่นเอง

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: 9 เดือนเท่ากับกี่สัปดาห์ ท้องกี่เดือน นับอายุครรภ์อย่างไรถึงจะถูก

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 27

อายุครรภ์27สัปดาห์ น้ำหนักลูก ในครรภ์จะอยู่ที่ประมาณ 875.4 กรัม ดังนั้นเรามาดูพัฒนาการลูกในท้องกันค่ะ ตอนนี้ทารกอายุ 27 สัปดาห์ลูกกำลังฝึกหายใจเข้าและหายใจออกด้วยปอดที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว เขาจะแสดงถึงกิจกรรมทางสมองอย่างเป็นทางการตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป สมองของลูกจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ตัวอ่อนอายุ 27 สัปดาห์มีความเฉลียวฉลาดมากขึ้นกว่าเดิม เช่น

  • ลูกในท้องจะมีพัฒนาการ ทางการได้ยินที่ดีขึ้น ช่วงนี้คุณแม่ลองเปิดเพลงและอ่านหนังสือให้ลูกฟังบ่อยๆ นะคะ
  • บางครั้งคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกในท้องดิ้นแปลกไป ทุกครั้งหลังจากกินข้าว ซึ่งจริงๆ แล้วอาการที่เกิดนั้นอาจเป็นเพราะว่าลูกสะอึกก็ได้
  • หากคุณแม่ไปตรวจครรภ์ เวลาที่คุณหมออัลตร้าซาวน์อาจจะเห็นลูกน้อยกำลังดูดนิ้วโชว์คุณพ่อคุณแม่อยู่ในท้อง
  • ลูกในท้องมีขนาดเกือบ 1 กิโลกรัม มีความยาวตัวประมาณ 36 ซม. เป็นช่วงที่พวกเขากำลังเหยียดยืดตัวกันสุดๆ ไปเลย

 

คุณแม่ต้องดูแลตัวเองอย่างไรขณะตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

ตอนนี้ท้องคุณแม่ท้องเกือบ 7 เดือนแล้ว เริ่มท้องใหญ่และอุ้ยอ้ายการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก็ตามมาทำให้ไม่สบายตัวแถมยังมีผลกระทบมากมายเช่น

1. หากเป็นตะคริว

ช่วงนี้น้ำหนักขึ้น จึงทำให้คุณแม่เป็นตะคริว ลองเหยียดขาบ่อยๆ การยืดเท้าก็สามารถช่วยได้ รวมถึงการดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อป้องกันอาการเจ็บเหล่านี้ด้วย

2. ถ้าปวดหลังมาก

เนื่องจากรับน้ำหนักเยอะอาการปวดหลังก็มาให้คุณแม่ยืดเหยียดหลังสามารถช่วยได้ ลองหาหมอนใบใหญ่ๆ มาช่วยพยุงตอนนอนจะช่วยบรรเทาแรงกดตรงช่วงสะโพกและช่วยให้คุณแม่อยู่ในท่าทางที่สบายช่วงหลังได้ การเล่นโยคะก็เป็นการยืดเหยียดร่างกายที่ดีค่ะ

3. หากมีอาการท้องผูก

ช่วงนี้คุณแม่ท้องผูกบ่อย ลองปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร เช่น กินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ดื่มน้ำเยอะๆ และเดินบ่อย ๆ ให้ลองปรึกษาคุณหมอเพื่อขออาหารเสริมที่มีไฟเบอร์หรือยาถ่ายที่ปลอดภัย ที่สำคัญเดินและออกกำลังเบาๆ สม่ำเสมอ ค่ะ

 

ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

(Credit: freepik.com)

4. เริ่มมีริดสีดวงทวาร

สืบเนื่องมาจากการที่คุณแม่ท้องผูก แล้วมีการเบ่งเวลาเข้าห้องน้ำและแรงกดที่ลูกมีต่ออวัยวะในช่องท้องส่วนล่างสามารถทำให้เกิดอาการริดสีดวงทวาร ซึ่งไม่อันตรายมากแต่ก็เป็นโรคเรื้อรังได้ หากใครเป็นมากๆ ตอนผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติลองปรึกษาคุณหมอว่าสามารถตัดออกไปทีเดียวได้หรือไม่

5. การเปลี่ยนแปลงของผิว ผม เล็บและฟันผุ

เพราะการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและต้องแบ่งสารอาหารกับลูกน้อย จึงเป็นหนึ่งในอาการที่ไม่คาดคิดซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ผิว ผม และเล็บของคุณแม่อาจจะหนาขึ้นหรือยาวเร็วขึ้น แต่กลับเปราะง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้คุณแม่บางคนอาจมีปัญหาเรื่องเหงือกอักเสบ เลือดไหลตามไรฟัน ฟันผุ ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้น และพยายามรักษาความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน หรือบ้วนปาก หรือใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังทานข้าว

6. ถ้าคุณแม่เกิดปัสสาวะเล็ด

มีบ้างเวลาคุณแม่จามแรงๆ เนื่องจากลูกน้อยในท้องสร้างแรงกดมหาศาลต่อกระเพาะปัสสาวะ และคุณแม่ก็แทบจะทำอะไรไม่ได้เลยด้วยซ้ำ นอกจากแวะฉี่บ่อยๆ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะมีที่ว่าง บางครั้งเวลาไปข้างนอกคุณแม่อาจจะใส่แผ่นอนามัยเอาไว้ค่ะ

7. เตรียมตัวคลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ถ้าคุณแม่สังเกตเห็นอาการที่ผิดปกติ เช่น มีเลือดออก มีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด ปวดท้อง หรือมดลูกบีบตัวถี่ รีบไปโรงพยาบาลทันทีค่ะ

 

ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

(Credit: motherandbaby.co.uk)

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

เรียกว่าเป็นช่วงเตรียมตัวของคุณแม่อย่างเข้มข้น ตั้งแต่เตรียมตัวคลอด เตรียมตัวเป็นคุณแม่ และเรื่องอื่นๆ ที่จะตามมาเป็นระยะในการเลี้ยงลูกต่อไปใอนาคต

 

1. เก็บรกไว้ดีไหม

คุณแม่ควรปรึกษากับคุณหมอจะเก็บรกไว้ในธนาคารเลือดเพื่อทำสเต็มเซลล์หรือจะบริจาคแทนขณะเดียวกันควรคิดว่าตัวเองจะให้นมลูกอย่างไร หากตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการให้o,ลูกด้วยตัวเองนั้นมีประโยชน์ต่อตัวลูกและคุณแม่มากมาย ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมนมแม่ให้ลูก รวมถึงหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร และวิธีการเรียกน้ำนมแม่ ทั้งนี้ต้องได้แรงสนับสนุนจากครอบครัวที่จะช่วยให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองได้นานและมีความสุขค่ะ

 

2. วางแผนกับโรงพยาบาล

นอกจากเตรียมกระเป๋าคลอดแล้ว คุณแม่ต้องเตรียมกับโรงพยาบาลและเลือกแผนกคลอดได้แล้วค่ะ บางโรงพยาบาลต้องมีการจองล่วงหน้าก่อนและจัดเตรียมเอกสารหลายอย่าง นอกจากนี้ควรศึกษาเรื่องคาร์ซีทหรือเบาะนั่งนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็ก ดูว่ายี่ห้อไหนพอดีกับรุ่นรถเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยเวลาเดินทาง

 

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด

ช่วงแห่งความเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมความพร้อม คุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27 อาจรู้สึกถึงความอึดอัดไม่สบายตัวไปเกือบทุกส่วนของร่างกาย เช่น ช่วงท้อง ช่วงขา หลัง เชิงกรานซึ่งเป็นอาการปกติมากๆ ดังนั้น ช่วงนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ส่วนลูกน้อยคุณแม่จะรู้สึกว่าเขาเริ่มเหยียดตัวมากขึ้น ดิ้นสุดๆ  ยังไงใครมาถึงช่วงนี้ต้องดูแลตัวเองให้ดีนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ:

ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

คนท้องอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน จัดฟันได้ไหม ลูกในท้องจะเป็นอันตรายหรือเปล่า

คนท้องกินเนื้อมะพร้าวได้ไหม จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

    ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  • น่าทึ่ง! คุณแม่ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ โชว์แดนซ์ฮิพฮอพสกิลขั้นเทพ (มีคลิป)

    น่าทึ่ง! คุณแม่ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ โชว์แดนซ์ฮิพฮอพสกิลขั้นเทพ (มีคลิป)

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

    ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  • น่าทึ่ง! คุณแม่ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ โชว์แดนซ์ฮิพฮอพสกิลขั้นเทพ (มีคลิป)

    น่าทึ่ง! คุณแม่ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ โชว์แดนซ์ฮิพฮอพสกิลขั้นเทพ (มีคลิป)

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ