X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

บทความ 5 นาที
ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ ลูกในท้องโตขึ้นอีกแล้ว แถมยังชอบดิ้นแรงๆ ด้วย บางครั้งตัวแม่เองก็ตกใจเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีอาการจุกแน่นเพิ่มมาอีก เป็นแม่ไม่ง่ายเลย

ยินดีต้อนรับคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ หรือ ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ เราตอนนี้หน้าท้องของคุณก็เริ่มจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากเรื่อย ๆ พร้อมกับอาการต่าง ๆ ที่เริ่มจะทำให้คุณแม่เริ่มทรมานแล้วเช่นกัน นอกจากนี้คุณแม่ยังจะสามารถสัมผัสได้ถึงทารกในครรภ์ได้มากขึ้นอีกด้วย มาดูกันดีกว่า ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์ นั้นเป็นอย่างไรบ้าง

 

ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน

สำหรับคุณแม่ที่เข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์เท่ากับ 6 เดือน 1 สัปดาห์นั้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าหน้าท้องจะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยในสัปดาห์นี้ทารกจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.15 กิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 38.6 เซนติเมตร หรือถ้าเทียบกับผักผลไม้จะมีขนาดเท่ากับ ฟักทองลูกเล็ก หรือ Acorn Squash นั่นเอง

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 29

  • ศีรษะของลูกน้อยจะโตมากขึ้นเพื่อรองรับสมองที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • กล้ามเนื้อและปอดของลูกได้โตเต็มที่แล้ว
  • ลูกน้อยจะได้ยินชัดเจนมากขึ้น
  • การไหลเวียนเลือดของลูกดีขึ้น เนื่องจากร่างกายมีการสร้างเลือดขึ้นได้เองแล้ว
  • ไขที่ผิวหนังของลูกก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย

 

อาการแม่ท้อง 29 สัปดาห์ มีอะไรบ้าง?

เมื่อคุณแม่เริ่มท้องในสัปดาห์ที่ 29 คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น และนอกจากการขยับตัวของทารกในครรภ์มากยิ่งขึ้นแล้ว การขยับตัวของทารกยังส่งผลกระทบทำให้คุณแม่เกิดอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ปวดหัว

คุณแม่ที่อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ระยะนี้มักจะประสบปัญหาการอดนอนอยู่บ่อยครั้ง ทำให้มีอาการปวดหัว หรือรู้สึกหน้ามืดได้ในบางครั้ง เพราะหนูน้อยในครรภ์มักจะกวนเวลานอนของคุณอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาที่คุณเข้านอน แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกที่อาจทำให้คุณรู้สึกปวดหัวหรือวิงเวียนศีรษะ อาจเป็นเพราะระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำลง ดังนั้นคุณควรทานอาหารอย่างสม่ำเสมอ และมีประโยชน์ต่อทารกในครรภ์

 

อาการแม่ท้อง 29 สัปดาห์

 

  • คันหน้าท้อง

เมื่อหน้าท้องของคุณเริ่มขยาย ผิวของคุณที่ยืดออกก็จะมีความบางลงไปด้วย ทำให้คุณอาจรู้สึกไวต่อความรู้สึก และจะมีอาการคันบริเวณหน้าท้อง ซึ่งคุณแม่สามารถแก้ได้ด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ หรือทาโลชั่นเพื่อให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวบริเวณนั้นเพื่อลดอาการคัน แต่ทั้งนี้หากคุณแม่อาการคันหรือมีผื่นขึ้นที่รุนแรง ก็ควรเข้าพบแพทย์ในทันที เพราะความคันอาจมาจากสาเหตุอื่นอีกก็เป็นได้

  • ปวดหลัง ปวดขา ปวดสะโพก

อาการปวดตามร่างกายของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 29 นี้เป็นเรื่องที่ปกติมาก เพราะว่าร่างกายของคุณแม่มีน้ำหนักที่มากขึ้น ทารกในครรภ์เริ่มมีการขยับตัวที่มากขึ้น นอกจากนี้ตำแหน่งของลูกน้อยของคุณจะเริ่มเปลี่ยนไปเพื่อเตรียมตัวที่จะลืมตาดูโลกในไม่ช้า รวมถึงข้อต่อและเอ็นของคุณจะเริ่มอ่อนตัวลง และผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นเพื่อเตรียมตัวคลอด จึงส่งผลทำให้คุณอาจรู้สึกปวดเมื่อยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

  • ริดสีดวงทวาร

ลูกน้อยของคุณกำลังจะเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้สอดรับกับการคลอดในอนาคต ส่งผลทำให้ตัวของพวกเขามากดทับอวัยวะในส่วนด้านล่างของคุณแม่ทำให้การทำงานของระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะทวารหนัก และนอกจากนี้ฮอร์โมนภายในร่างกายของคุณแม่นั้นจะทำให้กล้ามเนื้อลำไส้คลายตัว ทำให้เกิดริดสีดวงทวารได้ คุณแม่ในไตรมาสสุดท้ายนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อป้องกันการเป็นริดสีดวงทวารนั่งเอง

 

ริดสีดวงทวารตอนท้อง

 

  • ปัสสาวะบ่อย

ยิ่งมดลูกของคุณขยายใหญ่เท่าไหร่ คุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะต้องยิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยมากขึ้นเท่านั้น และก็ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะต้องลดการดื่มน้ำของตัวเองลง แต่คุณควรที่จะดื่มน้ำเพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการขาดน้ำ นอกจากนี้การดื่มมาก ๆ ยังช่วยในเรื่องของการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย เพราะว่าในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29 นั้นมีความเสี่ยงที่จะมีความแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้สูงและเป็นเหตุทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

บทความที่น่าสนใจ : อาการท้องผูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ หากแก้ไขไม่ทันอาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด

  • คันปากช่องคลอด

อาการคันที่เกิดในระหว่างการตั้งครรภ์ เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่จะเกิดจากการ ติดเชื้อรา หรือ แบคทีเรียชนิดต่าง ๆ วิธีรักษาคุณแม่อาจจะต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี อีกสาเหตุหนึ่งก็อาจจะมาจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ก็มีส่วนเหมือนกัน การที่ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ เช่นกัน

  • หายใจลำบาก หายใจไม่ออก

ในช่วงใกล้คลอดนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกว่า ตัวเองมีอาการหายใจไม่ออก หายใจลำบากเกิดขึ้นกับตัวบ้าง แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะอาการนี้เกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลายคน เนื้อจาก ขนาดของคุณลูกเริ่มมีความใหญ่ขึ้น ทำให้ช่องคลอดขยายและไปกดทับ กะบังลม บีบบริเวณปอดทำให้คุณแม่หายใจได้ลำบากขึ้นค่ะ สิ่งที่จะช่วยคุณแม่ให้หายใจได้สะดวกคือ นั่งให้ถูกท่า หลังตรง ออกกำลังกาย พยายามอย่าเครียดจนมากเกินไป ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นค่ะ

 

ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ 1

 

การดูแลตัวเองตอน ท้อง 29 สัปดาห์

สำหรับคุณแม่ที่กำลังอยากทราบว่า ถ้าหากตัวเองเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์แล้วจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร จะต้องทานอาหารเสริมอะไร หรือต้องระวังอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ เราได้รวบรวมมาให้แล้วค่ะ ไปอ่านกันเลย

 

  • ทานแคลเซียมเพิ่มมากขึ้น

ในช่วงนี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณกำลังอยู่ในช่วงของการสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยกระบวนการดังกล่าวจะต้องใช้แคลเซียมจำนวนมากคุณแม่ และแน่นอนว่าคุณแม่นั้นจะถูกคุณลูกแบ่งแคลเซียมไป ดังนั้นคุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงจากอาหารต่าง ๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์จากนม เต้าหู้ ผักใบเขียว และอาหารเสริมแคลเซียมที่คุณหมอแนะนำ เป็นต้น

บทความที่น่าสนใจ : แคลเซียมคนท้อง แหล่งแคลเซียมสำหรับคนท้อง มีอะไรบ้าง? บำรุงอย่างไรดี?

 

  • การเปลี่ยนแปลงของเต้านม

หน้าอกของคุณแม่ในช่วงนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง คุณแม่อาจรู้สึกคัน แน่นและหนัก หรืออาจมีผดร้อน และน้ำนมสีเหลืองไหลออกมา ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากยิ่งขึ้น คุณแม่อาจต้องใส่ใจเรื่องของการเลือกชุดชั้นในที่ใส่สบายและระบายอากาศได้เป็นอย่างดี หรือถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องซื้อใหม่ควรพิจารณาซื้อขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดปัจจุบัน 1-2 เบอร์ เพราะเต้านมของคุณแม่อาจมีการขยายขึ้นได้อีกในอนาคต อีกทั้งยังต้องเริ่มมองหาแผ่นซับน้ำนมในกรณีที่มีน้ำนมรั่วไหลออกมาด้วย

 

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
  • ระวังเรื่องผื่น หรืออาการแพ้

ช่วงของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจะทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่นั้นมีผิวที่ไวต่อสิ่งรอบข้างได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เคยทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือไม่ก็ตาม ก็อาจทำให้คุณแม่เกิดผื่นแดงตามร่างกายได้จากสิ่งรอบตัว อาทิ แสงแดด ความร้อน สารซักฟอก คลอรีน หรือแม้แต่อาหารบางชนิด ซึ่งจะต้องระวังเป็นพิเศษ หากพบว่าอาการเริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้นควรพบแพทย์ในทันที หรือควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ไม่เคยทาน และอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะคุณแม่ คุณกำลังมีอาการแบบนี้อยู่หรือเปล่าเอย ซึ่งถ้าคุณแม่กำลังประสบปัญหาในช่วงของการตั้งครรภ์ที่ดูผิดแปลกไปจากชีวิตประจำวันก็อยากให้คุณแม่ไปพบแพทย์ทันทีนะคะ เพราะเราไม่มีทางทราบได้เลยว่าอาการเหล่านั้นจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ของเราหรือเปล่า อย่างไรก็ตามคุณแม่สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในแต่ละช่วง และข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับแม่และเด็กได้ที่เว็บไซต์ของเรานะคะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

10 อาหารโฟเลตสูง ที่คนท้องบำรุงได้ทันทีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

วิธีเล่นกับลูกในท้อง สนุก เล่นแบบนี้หนูช้อบชอบ ลูกได้ประโยชน์ เกิดมาฉลาด

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

    ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  • ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

    ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  • ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ