วันที่(25 ธ.ค. 65) ผู้ใช้ แอปพลิเคชัน Facebook รายหนึ่งใช้ชื่อว่า “Phanom Bangpradog” ได้ไลฟ์สดขอความช่วยเหลือและขอคำแนะนำวิธีนำนิ้วออกจากรูคล้องแม่กุญแจ หลังจากมีเด็กชายวัย 11 ปีนำนิ้วมือแหย่เข้าไปในรูล็อกกุญแจ จนกระทั่งทำให้ นิ้วติด รูอย่างที่เห็นตามภาพในวิดีโอ และไม่สามารถนำนิ้วมือออกได้

(คลิกเพื่อดูวิดีโอต้นฉบับ)
ผู้ใหญ่ที่อยู่บริเวณนั้น เพื่อนบ้าน และญาติพี่น้อง ที่อยู่บ้านใกล้เคียงกัน ได้เร่งเข้ามาช่วยเหลือเด็กชายคนดังกล่าว ทั้งเอาใช้น้ำมันพืช และน้ำยาล้างจาน มาทาบริเวณนิ้วมือที่ติด เพื่อจะให้หล่อลื่นและสามารถดึงออกได้ง่าย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ได้ทำการช่วยเด็กทุกวิถีทางแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถนำนิ้วมือออกได้ จนเด็กชายผู้ประสบเหตุ ร้องออกมาด้วยความเจ็บปวด จึงได้ตัดสินใจนำเลื่อยมาตัดเหล็กออกในที่สุด

ขณะที่นำเลื่อยมาตัด ก็อาจเสี่ยงที่จะพลาดโดนนิ้วมือของเด็กชายได้ เนื่องด้วยเหล็กติดกับนิ้วของเด็กชาย จึงค่อย ๆ ทำไปทีละนิดอย่างทุลักทุเล ตัดไปอย่าง ช้า ๆ ในขณะที่ตัดต้องคอยหยดใช้น้ำใส่ไปด้วย เพราะขณะตัดอาจทำให้เหล็กร้อนและอาจจะลวกมือเด็กได้ เวลาผ่านไปนานพอสมควร กินเวลาไปราว 30 นาที กว่าจะตัดเหล็กให้ขาดและสามารถนำนิ้วมือของเด็กออกมาได้ ทราบชื่อภายหลัง ชื่อเด็กชายทินวัตร ยามรัมย์ อาย 11 ปี อยู่บ้านเบง ตำบลศรีณรงค์ อำเภอ ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ อย่างไรก็ตาม อยากฝากให้ผู้ปกครองเด็กดูไว้เป็นอุทาหรณ์เพื่อเตือนภัย และบอกสอนลูก หลานของท่าน ไม่ควรเล่นซนเช่นนี้เพราะอาจเกิดอันตราย และสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ปกครองตามมา
บทความที่เกี่ยวข้อง :แม่ช็อก! ลูก 3 เดือน ตกที่นอนหน้าคว่ำ ดับสลด อุทาหรณ์คนเลี้ยงห้ามประมาท
ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง เด็กดื้อ พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด!!!
การเป็นเด็กดื้อไม่เชื่อฟังเป็นอย่างไร?
ลูกดื้อเอาแต่ใจ ถ้าว่าการตามนิยามแล้ว การเป็นเด็กดื้อคือการจงใจปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง การขัดขืนต่อต้านอย่างเปิดเผย แต่การถามว่า “ทำไม” ไม่ถือว่าเป็นการไม่เชื่อฟังหรือเป็นเด็กดื้อ แต่หมายถึงการถามข้อมูลและความเข้าใจเพิ่มเติม การเป็นเด็กดื้อไม่เชื่อฟังไม่ได้หมายถึงการโต้เถียงตลอดเวลา แต่เป็นอะไรที่มากกว่านั้นหน่อย แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการขัดขืนอย่างเปิดเผยชัดเจนและจงใจแล้วล่ะก็ ลูกของคุณจะแสดงอาการต่อต้านเหล่านั้นออกมา
จัดการอย่างไร ? เมื่อลูกดื้อไม่เชื่อฟัง
มีวิธีการเฉพาะสำหรับใช้จัดการกับเด็กดื้อในแต่ละช่วงวัยให้เหมาะสม แต่ก็มีสองสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องจำให้ขึ้นใจเอาไว้ ในการจัดการกับเด็กดื้อที่ไม่เชื่อฟัง สิ่งนั้นก็คือ “ทันที” และ “ชัดแจ้ง”
เมื่อลูกดื้อมาก ต้องจัดการทันที!!!
หากลูกมีอาการดื้อขึ้นมา ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะพูดขู่โดยไร้น้ำหนักและขาดความน่าเชื่อ เช่น “รอพ่อกลับมาบ้านก่อนเถอะ” หรือ “รอให้ออกจากร้านก่อนเถอะ” หรือ “ลูกจำไว้เลยนะว่า ครั้งหน้าที่ลูกอยากได้…..” เมื่อลูกดื้อไม่เชื่อฟังขึ้นมา จะต้องได้รับการอบรมหรือโดนทำโทษ คุณต้องทำให้ลูกได้เรียนรู้ ในทันทีว่าผลของการกระทำที่ไม่ดีเป็นอย่างไร เราจะไม่เถียงกันเรื่องการตีลูกในตอนนี้ แต่ไม่ว่าการลงมือทำโทษนั้นจะเป็นการแยกให้ลูกไปนั่งคนเดียวกับเก้าอี้ การให้ลูกหยุดทำอะไรบางสิ่งหรือออกจากสถานที่ใดที่หนึ่งอย่างทันที การห้ามไม่ให้เล่นของเล่น กินของว่าง หรืออะไรก็ตาม คุณต้องลงมือทำทันที มิเช่นนั้นความสำคัญของการพยายามสร้างวินัยให้กับลูกจะลดทอนลงไปตามกาลเวลาด้วย (แม้แต่กับเด็กที่โตขึ้นแล้ว)
เด็กดื้อ อย่างชัดแจ้ง ลูกดื้อเอาแต่ใจ
การลงโทษเด็กดื้อต้องทำอย่างชัดเจน และการลงโทษนั้นต้องเหมาะสมกับความผิดที่ลูก ๆ ได้กระทำลงไป เช่น หากลูกน้อยวัยสี่ขวบไม่ยอมกินข้าว (โดยการทิ้งอาหาร) การงดอาหารลูกก็เป็นการลงโทษที่เหมาะสม หากลูกวัยหกขวบไม่ยอมเก็บของเล่นที่เล่นแล้ว คุณก็ยึดของเล่นลูกไปเลย จะได้ไม่มีอะไรต้องเก็บ หากลูกที่ยังเล็กอยู่มีอาการดื้อในที่สาธารณะ (พยายามวิ่งวุ่นไปมาหรือแสดงอาการหยาบคาย) คุณต้องพาลูกออกจากสถานที่เหล่านั้นหรือควบคุมโดยการอุ้มไว้หรือจับใส่รถเข็นเด็ก

อายุก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ: สำหรับเด็กวัยคลาน
การได้แสดงอาการต่อต้านคุณพ่อคุณแม่ เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยคลาน ลูกจะทดสอบกรอบที่คุณวางไว้เพื่อดูว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่เข้มงวดแค่ไหน การที่เด็กในวัยนี้ดื้อไม่ใช่เรื่องเลวร้าย การทดสอบขีดจำกัดเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงการเติบโตทางจิตใจว่าลูกวัยคลานของคุณกำลังคิดด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะใช้เหตุผล และตัดสินใจเลือก ในฐานะพ่อแม่ ควรเตรียมตัวเตรียมใจให้ดี คุณต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อปรับให้ลูกที่ดื้อกลับมาอยู่ในโอวาท ว่านอนสอนง่าย แผนที่ว่าควรใช้ความนุ่มนวล อธิบายให้ลูกฟังว่าทำไมลูกไม่ควรดื้อ ให้โอกาสลูกได้ตั้งหลักและเริ่มต้นใหม่ แต่คุณต้องไม่ลืมว่าความนุ่มนวลที่ว่าต้องเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวินัย อย่าให้ความนุ่มนวลเข้ามาแทนที่ “ทันที” และ “ชัดแจ้ง”
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง เด็กดื้อ พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด!!!
เด็กวัยอนุบาลและเด็กประถม
หากลูกอายุสี่ขวบ ลูกก็จะมีภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าอะไรถูกอะไรผิด ลูกจะรู้แล้วว่าการตี การโกหก การขโมย และการเป็นเด็กดื้อเป็นสิ่งที่ไม่ดี ลูกจะวางตัวและทำตัวได้อย่างเหมาะสมในสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อเด็กในวัยนี้ต่อต้านหรือเป็นเด็กดื้อขึ้นมา ลูกกำลังทำมากกว่าการทดสอบกรอบ ลูกกำลังทดสอบคุณพ่อคุณแม่ ว่าจะสามารถรักษากรอบนี้ไว้ได้หรือไม่ ลูกอยากรู้ว่ากรอบที่ว่าอยู่ตรงไหนและมีช่องว่างอยู่มากแค่ไหน ดังนั้นคุณควรเตรียมตัวรับมือหรือไม่ก็ยอมแพ้ไปเลย แต่เราเตือนคุณไว้ก่อนว่าถ้าคุณแพ้ตั้งแต่ตอนนี้ คุณจะสามารถที่จะชนะ ได้เลยในอนาคตที่คุณต้องรับมือกับลูกในวัยรุ่น

ช่วงวัยรุ่น
ช่วงวัยรุ่น เป็นช่วงที่ลูกไม่ได้แค่ทดสอบกรอบและความมุ่งมั่นของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องรักษากรอบนั้นไว้เท่านั้น ลูกยังกำลังทดสอบเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังกรอบที่คุณตีเอาไว้อีกด้วย ลูกกำลังสำรวจความคิด ศีลธรรม และอุดมการณ์ของตัวเอง เด็กในวัยนี้จะต้องจัดการกับเรื่องภาพลักษณ์ของตัวเอง อิทธิพลจากคนรอบข้าง และแรงกดดันของการตัดสินใจสำหรับอนาคตของตัวเอง การต่อต้านไม่เชื่อฟังของวัยรุ่นอาจมาจากความหงุดหงิด อารมณ์โมโห ความสับสน ความสงสัยในตัวเอง หรือความเกลียดชังตัวเอง และรวมถึงแม้กระทั่งความต้องการสร้างความเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ของตัวเองอีกด้วย
ไม่ว่าลูกของคุณจะอายุเท่าไหร่ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น การเป็นเด็กดื้อเป็นสิ่งที่รับไม่ได้และต้องได้รับการจัดการ เพื่อให้การจัดการกับเด็กดื้อไม่เชื่อฟังเป็นไปอย่างเหมาะสมและก่อประโยชน์สูงสุด คุณต้องนึกไว้เสมอว่าการลงโทษต้องเป็นบทเรียนสอนลูกว่าทำไมสิ่งที่ลูกทำลงไปจึงไม่เหมาะสม ลูกควรที่จะทำอะไรแทนที่จะทำตัวไม่เหมาะสมเช่นนี้ และลูกจะตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่ดีกว่าได้อย่างไร
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พฤติกรรมเด็กที่ดี ต้องฝึกฝนอย่างไร เปลี่ยนเด็กดื้อให้เป็นเด็กดี
ลูกซน ลูกดื้อ ลูกอยู่ไม่นิ่งชอบการปีนป่าย ต้องทำอย่างไรดี ?
สอนลูกให้เชื่อฟัง ต้องทำยังไง อยากให้ลูกคิดเป็น มีเหตุผล ไม่ต่อต้านพ่อแม่
ที่มา : 1, 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!