X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วัคซีน RSV คนท้อง จำเป็นไหม? ปกป้องลูกรักจาก RSV ตั้งแต่ก่อนคลอด

บทความ 5 นาที
วัคซีน RSV คนท้อง จำเป็นไหม? ปกป้องลูกรักจาก RSV ตั้งแต่ก่อนคลอด

RSV ไวรัสร้ายส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของทารกและเด็กเล็ก ที่อาจนำไปสู่ภาวะปอดอักเสบ วัคซีน RSV คนท้อง จะช่วยปกป้องลูกน้อยจาก RSV ตั้งแต่ในครรภ์

ในแต่ละปี เชื้อไวรัส RSV ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวล เพราะ RSV ไม่ใช่แค่หวัดธรรมดา แต่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก ที่อาจนำไปสู่ภาวะปอดอักเสบรุนแรง วัคซีน RSV คนท้อง จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการปกป้องลูกน้อยจาก RSV ตั้งแต่ในครรภ์

 

รู้จักไวรัสร้าย RSV

RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus คือ เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมักมีอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ และมีไข้ โดยส่วนใหญ่อาการจะเริ่มปรากฏหลังได้รับเชื้อประมาณ 2-8 วัน 

เชื้อ RSV สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านทางละอองฝอยจากการไอ จาม รวมถึงการสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ แล้วนำมือไปสัมผัสกับตา จมูก หรือปาก โดยในประเทศไทย RSV มักระบาดหนักในช่วงฤดูฝนไปจนถึงต้นฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กเล็กและทารกมีความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ

 

ทำไม RSV จึงอันตรายต่อทารก?

คำตอบคือ ระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้อย่างเต็มที่ เมื่อทารกติดเชื้อ RSV มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น

  • หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) คือการอักเสบและบวมของหลอดลมฝอยเล็กๆ ในปอด ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี้ด
  • ปอดอักเสบ (Pneumonia) หากเชื้อลุกลามลงไปในปอด จะทำให้ถุงลมปอดอักเสบ ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนในเลือดผิดปกติ ทารกจะหายใจเหนื่อยหอบมาก ซึมลง และอาจมีอาการตัวเขียวได้

ในกรณีที่อาการรุนแรง ทารกอาจมีภาวะหายใจล้มเหลว จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล บางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดอาจถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ 

นอกจากนี้ การติดเชื้อ RSV อย่างรุนแรงในวัยทารกยังอาจส่งผลกระทบระยะยาว เช่น เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นหอบหืดในวัยเด็ก อีกด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการป้องกัน RSV ในทารกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

 

วัคซีน rsv คนท้อง

 

วัคซีน rsv คนท้อง : ภูมิคุ้มกันที่ส่งผ่านจากแม่สู่ลูก

นอกจากการรักษาเมื่อเจ็บป่วยแล้ว การป้องกันย่อมดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มทารกที่ยังคงมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ การฉีดวัคซีน RSV ในคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อส่งผ่าน “ภูมิคุ้มกันจากแม่สู่ลูก” โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับ วัคซีน RSV คนท้อง จะสร้างภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดี) ขึ้นในร่างกาย แล้วส่งผ่านภูมิคุ้มกันเหล่านั้นทางสายสะดือไปยังทารกในครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันแบบ passive immunity หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปตั้งแต่แรกเกิด และจะคงอยู่ไปได้อีกหลายเดือนหลังจากคลอดออกมา

ดังนั้น วัคซีน RSV คนท้อง จึงไม่ใช่เพียงแค่การปกป้องสุขภาพของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังเป็นการ ลดความเสี่ยงของทารก จากการติดเชื้อ RSV ที่รุนแรงในช่วงเดือนแรกๆ ของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีความเปราะบางที่สุดและมีความเสี่ยงสูงสุดต่อภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดอักเสบ หรือแม้กระทั่งการต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู การที่ทารกได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ตั้งแต่ในครรภ์ จึงเป็นเกราะป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงตั้งแต่แรกเกิดก่อนที่พวกเขาจะเผชิญกับไวรัส RSV ในโลกภายนอก

 

ประสิทธิภาพของวัคซีน RSV คนท้อง

ในด้านประสิทธิภาพ วัคซีน RSV สำหรับคนท้อง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องลูกน้อย โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือ ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ RSV ที่รุนแรงในทารกแรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เปราะบางที่สุดและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง

ผลการศึกษาทางคลินิกขนาดใหญ่ทั่วโลก รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มประชากรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่น่าพึงพอใจ โดยวัคซีนสามารถ ลดอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเข้าห้องฉุกเฉิน ของทารกจากการติดเชื้อ RSV ได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งบ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนให้คุณแม่ไม่เพียงช่วยป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดภาระด้านสาธารณสุขและสร้างความมั่นใจให้แก่ครอบครัวอีกด้วย 

 

ความปลอดภัยและผลข้างเคียงของวัคซีน RSV ในคุณแม่ตั้งครรภ์

หนึ่งในข้อกังวลหลักที่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมี คือ เรื่องความปลอดภัยและผลข้างเคียงของวัคซีน RSV ซึ่งจากข้อมูลความปลอดภัยที่ได้จากงานวิจัยขนาดใหญ่ทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า วัคซีน RSV มีข้อมูลความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในหญิงตั้งครรภ์ โดยมีโปรไฟล์ด้านความปลอดภัยที่ เทียบเคียงได้กับวัคซีนอื่น ๆ ที่แนะนำให้ฉีดในหญิงตั้งครรภ์อยู่แล้ว เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และวัคซีนไอกรน

 

วัคซีน rsv คนท้อง

 

ผลข้างเคียงจากวัคซีน RSV คนท้อง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ส่วนใหญ่มักเป็นอาการทั่วไปที่ไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 1-2 วัน ได้แก่

  • อาการปวด บวม แดง หรือคันบริเวณที่ฉีด
  • มีไข้ต่ำๆ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดศีรษะเล็กน้อย
  • อ่อนเพลีย

สำหรับ ผลข้างเคียงที่รุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก และเป็นเหตุการณ์ที่ไม่พบบ่อยเท่าอาการข้างเคียงทั่วไป การฉีดวัคซีนทุกชนิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงได้ แต่กรณีเหล่านี้พบได้น้อยมากและมักจะได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดทันที

 

วัคซีน RSV คนท้องควรฉีดช่วงไหน?

โดยทั่วไป แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีน RSV ในช่วงสัปดาห์ที่ 24-36 ของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ 32-36 สัปดาห์ จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด เพราะจะทำให้ร่างกายของคุณแม่มีเวลาเพียงพอในการสร้างและส่งผ่านภูมิคุ้มกันจำนวนมากไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ลูกน้อยได้รับเกราะป้องกันที่แข็งแรงตั้งแต่แรกเกิด

 

วัคซีน RSV สำหรับคนท้อง จำเป็นไหม?

วัคซีน RSV คนท้องเหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนที่ต้องการปกป้องลูกน้อย จากความเสี่ยงของโรค RSV โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่คุณแม่มีความกังวลหรือมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม เช่น

  • คุณแม่ที่มีบุตรคนโตอยู่ในวัยเรียน ซึ่งอาจนำเชื้อ RSV กลับมาแพร่ให้ทารกได้ง่าย
  • คุณแม่ที่แพทย์คาดการณ์ว่าอาจคลอดก่อนกำหนด เพราะทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีปอดและระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่าหากติดเชื้อ RSV

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

ข้อควรปรึกษาแพทย์

การตัดสินใจฉีดวัคซีนทุกชนิดในระหว่างตั้งครรภ์ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เสมอ ดังนั้น คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์สูตินรีแพทย์ประจำตัว คุณหมอจะช่วยพิจารณาความเหมาะสมและตอบข้อซักถามต่างๆ เพื่อให้คุณแม่มั่นใจในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

 

วัคซีน RSV คนท้อง ราคาปี 2568

โรงพยาบาล/คลินิก ราคา หมายเหตุ
โรงพยาบาลกรุงเทพสนามจันทร์ 9,000 บาท โปรโมชั่นถึง 31 ธันวาคม 2568
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 9,200 บาท ไม่รวมค่าแพทย์ แต่รวมค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
โรงพยาบาลเจ้าพระยา 9,700 บาท รวมค่าบริการแล้ว
โรงพยาบาลนครธน 9,900 บาท รวมค่าบริการแล้ว
โรงพยาบาลนวเวช 9,900 บาท รวมค่าบริการแล้ว
โรงพยาบาลบีเอ็นเอช 9,900 บาท รวมค่าบริการแล้ว
โรงพยาบาลพญาไท 2 9,880 บาท รวมค่าบริการแล้ว
โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา 8,900 บาท รวมค่าบริการแล้ว
โรงพยาบาลเมดพาร์ค 11,900 บาท รวมค่าบริการแล้ว
โรงพยาบาลศิครินทร์ 8,500 บาท ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี 8,888 บาท รวมค่าบริการแล้ว
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา 8,900 บาท โปรโมชั่นถึง 31 มกราคม 2569
โรงพยาบาลเอกชัย 9,200 บาท ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
แฮปปี้เบิร์ธคลินิก 8,500 บาท รวมค่าบริการแล้ว
Woman Care Clinic 8,000 บาท แนะนำจองล่วงหน้า

 

เนื่องจากเป็นวัคซีนที่เพิ่งเริ่มมีการใช้ในวงกว้างสำหรับกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ในประเทศไทย ข้อมูลเรื่องราคาและเงื่อนไขอาจมีการเปลี่ยนแปลง  แนะนำให้ติดต่อสอบถามกับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่สนใจโดยตรง เพื่อขอข้อมูลล่าสุดและนัดหมายล่วงหน้าค่ะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วัคซีนคนท้อง สำคัญอย่างไร? วัคซีนที่คนท้อง ต้องฉีด vs ต้องห้าม

ข่าวดี! ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2568 ฟรี! ที่ศูนย์บริการฯ ของ กทม. 69 แห่ง

ข่าวดีมากแม่! วัคซีน RSV มาแล้ว เช็กรูปแบบและราคาพร้อมกันที่นี่!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • วัคซีน RSV คนท้อง จำเป็นไหม? ปกป้องลูกรักจาก RSV ตั้งแต่ก่อนคลอด
แชร์ :
  • ทายเพศลูกจากการเต้นของหัวใจ หัวใจเต้นเร็วได้ลูกสาว เต้นช้าได้ลูกชาย จริงไหม?

    ทายเพศลูกจากการเต้นของหัวใจ หัวใจเต้นเร็วได้ลูกสาว เต้นช้าได้ลูกชาย จริงไหม?

  • 5 สัญญาณอันตรายในทารก พ่อแม่อย่ารอช้า! รีบพาไปโรงพยาบาลทันที

    5 สัญญาณอันตรายในทารก พ่อแม่อย่ารอช้า! รีบพาไปโรงพยาบาลทันที

  • วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ คนท้องห้ามทำ 7 กิจกรรมเหล่านี้ ที่อาจทำอยู่ทุกวัน

    วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ คนท้องห้ามทำ 7 กิจกรรมเหล่านี้ ที่อาจทำอยู่ทุกวัน

  • ทายเพศลูกจากการเต้นของหัวใจ หัวใจเต้นเร็วได้ลูกสาว เต้นช้าได้ลูกชาย จริงไหม?

    ทายเพศลูกจากการเต้นของหัวใจ หัวใจเต้นเร็วได้ลูกสาว เต้นช้าได้ลูกชาย จริงไหม?

  • 5 สัญญาณอันตรายในทารก พ่อแม่อย่ารอช้า! รีบพาไปโรงพยาบาลทันที

    5 สัญญาณอันตรายในทารก พ่อแม่อย่ารอช้า! รีบพาไปโรงพยาบาลทันที

  • วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ คนท้องห้ามทำ 7 กิจกรรมเหล่านี้ ที่อาจทำอยู่ทุกวัน

    วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ คนท้องห้ามทำ 7 กิจกรรมเหล่านี้ ที่อาจทำอยู่ทุกวัน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว