พัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์ ร่างกายคนท้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

อาการคนท้องแต่ละสัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์รายสัปดาห์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 - สัปดาห์ 40 ลูกในท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง แม่ท้องควรรับมืออย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์ ลูกน้อยในท้องมีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในแต่ละสัปดาห์ มาติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์กันเลยค่ะแม่ๆ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์

 

สัปดาห์ที่ 1 และ 2

ในช่วงสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจจะมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายค่ะ ในทางการแพทย์ สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์จะเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยที่ฟอลลิเคิล (follicle) ซึ่งเป็นที่อยู่ของไข่ภายในรังไข่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการตกไข่ ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 14 วัน หลังจากมีประจำเดือนค่ะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 1-2 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 3

หลังจากที่มีการตกไข่ หรือการที่ไข่ของผู้หญิงถูกปล่อยออกมาเพื่อให้ไปปฎิสนธิกับอสุจิของผู้ชาย และเกิดการปฎิสนธิขึ้น ซึ่งการปฎิสนธินี้จะเป็นตัวกำหนดเพศ สีผม สีตา และลักษณะอื่นๆ ของทารก จากโครโมโซมของพ่อและแม่ค่ะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3 ต่อ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 4

หลังจากนั้น ตัวอ่อนน้อย ๆ จะเริ่มเดินทางผ่านท่อนำไข่ และฝังตัวลงบนผนังมดลูกเพื่อรับสารอาหาร ในตอนนี้ทารกในครรภ์จะเริ่มมีความยาวประมาณ 1/25 นิ้ว  พร้อมๆ กับหัวใจ ดวงตา แขน ขา สมอง และไขสันหลังที่เริ่มกำลังก่อตัวขึ้น

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 5

หากคุณแม่อยากรู้ว่าตอนนี้ลูกน้อยมีขนาดเท่าไหร่ ให้ลองมองดูที่ปลายปากกาค่ะ โดยพัฒนาการของทารกในตอนนี้คือ ตัวอ่อนจะแยกเป็นสามชั้นชัดเจน ได้แก่ เนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) ที่พัฒนาไปเป็นผิวหนังและระบบประสาทของทารก เนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) ที่พัฒนาไปเป็นกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบสืบพันธ์ุ และเนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) ที่พัฒนาไปเป็นเยื่อบุชั้นในของทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจในหลอดลม ขั้วปอด และปอด ตับ กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5 ต่อ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 6

ในช่วงสัปดาห์นี้ ถ้าคุณแม่ไปอัลตร้าซาวด์ จะพบว่าทารกในครรภ์เริ่มมีการสั่นไหวอย่างรวดเร็วจากการเต้นของหัวใจค่ะ ซึ่งหัวใจของเจ้าตัวน้อยเริ่มเต้นอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 150 ครั้งต่อนาที โดยจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ทั่วไปประมาณ 2 เท่า และจะเต้นช้าลงเมื่อทารกในครรภ์ตัวโตขึ้น

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6 ต่อ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 7

ในสัปดาห์นี้ ขาและแขนของทารกในครรภ์และเริ่มใหญ่ขึ้น รวมถึงมีพัฒนาการทางด้านใบหน้า ส่วนฟันและลิ้นก็เริ่มพัฒนาขึ้นทีละน้อย รวมถึงใบหูด้วยค่ะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 8

ตอนนี้ทารกจะเริ่มมีการพัฒนาจากตัวอ่อนเป็นทารกน้อย เริ่มมีการสร้างเปลือกตา และต่อมรับรส หัวใจ และกระดูกมีความแข็งแรงขึ้น โดยทารกจะมีความยาวประมาณ 1.6 เซนติเมตร

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 8 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 9

หัวใจของทารกมีโครงสร้างที่สมบูรณ์มากขึ้น นิ้วมือและนิ้วเท้าเริ่มงอก ส่วนทางด้านสมองและศีรษะยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากทำการอัลตราซาวนด์ดู จะพบว่าลูกน้อยเริ่มเคลื่อนไหว ขยับแขน ขยับขาอยู่ภายในท้องของคุณแม่แล้ว แต่ยังเร็วเกินไปที่คุณแม่จะรับรู้ได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกในท้อง

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 10

สัปดาห์นี้ อวัยเพศของลูกน้อยจะเริ่มพัฒนาขึ้นทำให้สามารถรู้ได้ว่าเพศอะไร อย่างไรก็ตาม การอัลตราซาวนด์ดูเพศนั้นอาจยังมองเห็นได้ไม่ชัด แต่อาจได้ยินเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ผ่านทางเครื่องช่วยฟังของคุณหมอแทนค่ะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 11

ลูกน้อยจะเริ่มมีความยาวประมาณ 2 นิ้ว โดยที่น้ำหนักและความยาวส่วนใหญ่จะอยู่ที่ศีรษะของทารก ทั้งยังเริ่มมองเห็นเค้าโครงใบหน้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งคุรแม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของทารกจากอาการซะอึก โดยวิธีอัลตร้าซาวด์ค่ะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 11 ต่อ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์ที่ 12

เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของไตรมาสแรก ในสัปดาห์นี้ เด็กจะมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว และเริ่มมีพัฒนาการด้านการขับถ่ายของเสียจากไต เสียง และต่อมรับรส ทั้งยังเริ่มมีการขยับนิ้วมือ กำมือ แบมือได้แล้ว

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12 ต่อ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 13

คุณแม่เริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 แล้ว โอกาสที่คุณแม่จะแท้งลูกก็ลดน้อยลง มีเพียง 1 – 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากไปนะคะ นอกจากนี้ ลูกน้อยของคุณแม่จะมีการถ่ายปัสสาวะในน้ำคร่ำ เริ่มได้ยินเสียงของคุณแม่ และคุณแม่เองก็จะได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจลูกน้อยชัดขึ้นเช่นกันค่ะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 14

ลูกน้อยเริ่มมีการแสดงออกทางสีหน้า ไม่ว่าจะการยิ้มหรือการขมวดคิ้ว ส่วนผมก็เริ่มงอกออกมาให้เห็น ทั้งยังมีการขยับแขนขา ดูดนิ้ว และกระดิกเท้า ไม่แน่ว่าเวลาที่คุณแม่ไปตรวจอัลตร้าซาวด์อาจจะภาพเหล่านี้ก็ได้ค่ะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 15

ลูกสามารถสะอึกได้แล้ว การสะอึกของทารกในครรภ์เกิดขึ้นก่อนการหายใจได้เสียอีก ช่วงนี้หนูจะมีคิ้วและผมให้เห็นชัดขึ้น ร่างกายของลูกน้อยก็เริ่มสมส่วนมากขึ้น

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 16

ลูกน้อยของคุณมีความยาวตั้งแต่ 4 ถึง 5 นิ้วจากหัวจรดเท้า กระดูกชิ้นน้อยๆ ของทารกมีการพัฒนาขึ้นเพื่อสอดคล้องกับพัฒนาการการได้ยินของทารกน้อย โดยที่เปลือกตาของลูกตรวจจับแสงได้แล้วเช่นกัน

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 17

ลูกน้อยจะมีความยาวประมาณ 5 นิ้วครึ่ง โดยที่ลูกน้อยจะเริ่มมีการสะสมไขมันเพื่อสร้างความอบอุ่นและพลังงานอยู่ใต้ผิวหนัง มีการสร้างเยื่อไมอีลิน (Myelin) เปลือกหุ้มเส้นใยประสาทมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าเพิ่มความเร็วในการรับและส่งสัญญาณ ซึ่งสำคัญมากกับระบบประสาททารก

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 18

หูของลูกน้อยยังคงพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลูกน้อยจะได้ยินเสียงคุณที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดวงตาของพวกเขาอาจเริ่มตรวจจับแสงได้ดีขึ้น แม่ท้องจะรับรู้การเคลื่อนไหวของลูกน้อยครั้งแรกก็ช่วงนี้นะคะ ลูกน้อยในท้องแม่หาวได้แล้วนะ ถ้าคุณแม่โชคดีคงได้เห็นลูกหาวในอัลตราซาวด์ก็เป็นได้

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18 ต่อ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 19

ร่างกายของลูกน้อยจะเริ่มมีไขทารกแรกเกิด (vernix caseosa) ปกคลุมเคลือบร่างกายขึ้น ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี นอกจากนี้ ผิวหนังของทารกเริ่มพัฒนาเม็ดสี ซึ่งเป็นตัวกำหนดสีผิวของลูกแล้วค่ะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 20

ตอนนี้คุณแม่ผ่านมาครึ่งทางแล้ว ผิวของลูกน้อยหนาขึ้น ในร่างกายของลูกมี ขี้เทา (meconium) เกิดจากการกลืนน้ำคร่ำ รวมกับพวกน้ำย่อย น้ำดี ทำให้เกิดเป็นสีดำมีลักษณะเหนียวข้น ซึ่งขี้เทานี้จะสะสมอยู่ในลำไส้ของลูก แล้วทารกก็จะถ่ายขี้เทาหลังคลอด หรืออาจถ่ายขี้เทาออกมาปนในน้ำคร่ำได้ ถึงตอนนี้คุณควรรู้สึกถึงการเตะในครรภ์ของคุณ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 21

ตอนนี้ลูกน้อยในท้องมีการนอนเทียบเท่ากับทารกแรกเกิด เกือบ ๆ 12 – 14 ชั่วโมงต่อวันเลย การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เริ่มแรงขึ้นจนแม่รู้สึกถึงลูกในท้องได้ ลูกน้อยสามารถกลืนได้ และไขกระดูก ตับ และม้าม ของลูกเริ่มทำงานแล้ว

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 22

ใบหน้าของทารกได้รับการพัฒนามากขึ้น โดยที่จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับเด็กทารกแรกเกิดแล้ว นอกจากนี้ ลูกในท้องได้พัฒนารูปแบบการนอนและการตื่น วนเป็นรอบ ๆ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 22 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 23

คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงอาการลูกเตะในท้อง ประสาทสัมผัสการได้ยินของลูกพัฒนาได้อย่างดี ดวงตาของทารกพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว และอีกไม่นาน ก็สามารถลืมตาได้แล้ว

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 24

ดวงตาและขนตาของลูกน้อยก็พัฒนาแล้ว แม้ว่าเปลือกตาจะยังปิดอยู่ และลูกเริ่ม REM (rapid eye movement) หรือการนอนหลับแบบที่มีการกรอกของลูกตาแบบเร็ว ภายในสัปดาห์นี้ สมองของลูกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24 ต่อ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 25

ลูกในท้องมีการตอบสนองที่ดี สามารถแยกแยะเสียงระหว่างคุณพ่อและคุณแม่ได้ เริ่มมีการขับถ่ายอุจจาระ แต่มันจะไม่ออกมาจนกว่าลูกน้อยจะคลอด ลูกในท้องอาจจะมีอาการสะอึกบ้าง เนื่องจากช่วงนี้ลูกกำลังฝึกการหายใจ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 26

ตอนนี้น้ำหนักตัวของลูกอยู่ที่ 600-800 กรัม ใกล้จะแตะ 1 กิโลกรัมเข้าไปทุกทีแล้วค่ะ การได้ยินของทารกจะดีขึ้นจนถึงขั้นที่พวกเขาอาจจำเสียงของคุณได้ เพื่อความสนุกสนานแนะนำให้คุณแม่ลองร้องเพลงหรืออ่านหนังสือนิทานให้ลูกในท้องฟังนะคะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 27

ปอดและระบบประสาทของทารกพัฒนาต่อไปในสัปดาห์นี้ บางครั้งคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกในท้องดิ้นแปลกไป ทุกครั้งหลังจากกินข้าว ซึ่งจริงๆ แล้วอาการที่เกิดนั้นอาจเป็นเพราะว่าลูกสะอึกก็ได้ หากช่วงนี้ คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลงในปรึกษาคุณหมอนะคะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 28

สมองของลูกน้อยยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระดูกต่างๆ ทั่วร่างกายของลูกน้อยจะค่อยๆ พัฒนาให้แข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งลูกน้อยในท้องจะเริ่มกระพริบตา สามาถมองเห็นรอบๆ ขนตาก็เริ่มมีแล้วนะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 29

สัปดาห์นี้เป็นช่วงเริ่มต้นของไตรมาสที่ 3 ลูกในท้องมีน้ำหนักมากขึ้น กล้ามเนื้อและปอดของลูกได้โตเต็มที่แล้ว การไหลเวียนเลือดของลูกดีขึ้น เนื่องจากร่างกายมีการสร้างเลือดขึ้นได้เองแล้ว

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29 ต่อ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 30

ทารกในครรภ์จะสร้างไขมันใหม่ขึ้นเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้ลูกน้อยสามารถรักษาความอบอุ่นร่างกายได้แล้ว โดยที่ขนอ่อนของทารกที่เคยมีจะหลุดร่วงออกไป ส่วนสมองของลูกน้อยจะเริ่มมีรอยหยักขึ้นแล้ว

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 31

ดวงตาของลูกน้อยสามารถโฟกัสได้ดีขึ้น และมีการตอบสนองได้ดีเช่นกัน อวัยวะของลูกน้อยยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ลูกน้อยยังคงมีการดิ้นออกแขน ขา ไปตามผนังมดลูก รวมถึงการดูดนิ้วมือด้วย

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 32

ระบบประสาทของพวกทารกพัฒนาเพียงพอที่จะควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้เอง ส่วนระบบย่อยอาหารของลูกน้อยพร้อมที่จะทำงานแล้ว อีกทั้งผิวของลูกน้อยจะเริ่มเนียนนุ่ม เนื่องจากเส้นขนที่ปกคลุมร่างกายได้หลุดร่วงไปหมดแล้ว

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 32 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 33

ลูกน้อยในท้องจะสามารถแยกกลางวันกลางคืนได้จากแสงที่ผ่านผนังโพรงมดลูก และสามารถกระพริบตาเวลาเจอแสงได้แล้ว ซึ่งเวลานอนทารกในครรภ์เริ่มมีความฝันแล้วค่ะ และเริ่มที่จะเรียนรู้การหายใจได้ดวยตัวเองแล้ว

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 34

ลูกน้อยในท้องกำลังพัฒนาชั้นไขมันเพิ่มขึ้น เพื่อให้ร่างกายอบอุ่น เล็บมือกับเล็บเท้าของลูกน้อยมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ปอดของลูกน้อยยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนใกล้จะสมบูรณ์แล้ว

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 34 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 35

ลูกในท้องน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ 15% ของร่างกายลูกน้อยจะเป็นไขมัน ลูกจะดิ้นและเตะแรงขึ้น หากคลูกน้อยมีน้ำหนักตัวน้อย แนะนำให้คุรแม่เพิ่มน้ำหนักช่วงนี้ได้เลยค่ะ เพราะเป็นช่วงเวลาที่เพิ่มน้ำหนักได้เร็วที่สุด

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 35 ต่อ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์

สัปดาห์ที่ 36

ตอนนี้ทารกน้อยตัวโตมากจนแน่นมดลูกแล้ว ทำให้ลูกน้อยเริ่มขยับตัวไม่ค่อยสะดวก มีการเคลื่อนตัวและเตะน้อยลง ร่างกายของลูกน้อยในท้องจะผลัดผมและสร้างไขทารกขึ้นมาห่อหุ้มร่างกายจากน้ำคร่ำ และเริ่มเคลื่อนตัวไปยังบริเวณอุ้งเชิงกรานของคุณแม่

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 37

ทารกกลับหัวลงมาแล้ว และส่วนหัวตอนนี้อยู่ในตำแหน่งช่องเชิงกราน อวัยวะส่วนต่างๆ ของทารกก็เริ่มพร้อมที่จะทำงานแล้วเช่นกัน ระยะนี้คุณแม่จึงมีอาการเจ็บท้องหลอกบ่อยๆ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 37 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 38

ลูกน้อยจะมีความยาวประมาณ ลูกจะมีความยาวมากกว่า 18 ถึง 20 นิ้ว อวัยวะภายในของทารกส่วนใหญ่พัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ยกเว้นปอดที่ยังไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นัก ลูกน้อยยังคงใช้เวลาในการพัฒนาระบบการหายใจของตัวเองอยู่

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 39

เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายใกล้คลอดแล้ว กระดูกกะโหลกของลูกพร้อมสำหรับการคลอดแล้ว และสามารถเลื่อนเข้ามาเกยกันเพื่อให้ศีรษะลอดผ่านช่องเชิงกรานได้

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39 ต่อ

 

สัปดาห์ที่ 40

ในสัปดาห์นี้ลูกน้อยในครรภ์นั้นเติบโตเต็มที่และพร้อมที่จะออกมาดูโลกภายนอกแล้ว คุณแม่เตรียมตัวคลอดได้เลยค่ะ

อ่านพัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40 ต่อ

 

ที่มา: healthline

 

บทความที่น่าสนใจ:

อาการท้องแรกกับท้องสองต่างกันไหม ท้องสองคลอดเร็วกว่าท้องแรกจริงหรือเปล่า

อาการคนท้องในแต่ละเดือน คนท้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ต้องเจอกับอะไรบ้าง

10 สัญญาณตั้งท้อง อาการบ่งบอกว่าคุณกำลังจะท้อง ลองสังเกตดู

บทความโดย

Khunsiri