X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการท้องแรกกับท้องสองต่างกันไหม ท้องสองคลอดเร็วกว่าท้องแรกจริงหรือเปล่า

บทความ 5 นาที
อาการท้องแรกกับท้องสองต่างกันไหม ท้องสองคลอดเร็วกว่าท้องแรกจริงหรือเปล่า

คำถามเหล่านี้มักจะผุดขึ้นมา หลังจากที่คุณแม่ตั้งครรภ์ลูกน้อยคนที่สอง นั่นก็คือ อาการท้องแรกกับท้องสองต่างกันไหม โดยถึงแม้ว่าคุณแม่จะเคยผ่านประสบการณ์การท้องแรกมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีความกังวลอยู่บ้าง บางคนอาจจะกังวลมากขึ้น เพราะการตั้งครรภ์ท้องแรก อาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่หวัง หรือได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี แล้วแบบนี้ท้องนี้จะเป็นอย่างไร มีอะไรให้กังวลบ้าง เรามาหาคำตอบกันค่ะ

 

จริงหรือไม่ ? ที่ขนาดท้องสองมักจะใหญ่กว่าท้องแรก ?

  • น้ำหนักและขนาดครรภ์ ของคุณแม่ท้องสอง

คุณแม่หลายท่านที่กำลังท้องสอง อาจจะกำลังรู้สึกว่า ท้องสองของเรานั้น แตกต่างกันกับตอนท้องแรกหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น มากกว่าตอนท้องแรกแบบเห็นได้ชัดมาก นอกจากนี้ ขนาดของหน้าท้องก็ยังใหญ่มากกว่าเดิมอีกด้วย โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักและขนาดครรภ์ของคุณแม่ท้องสอง มีขนาดใหญ่กว่าท้องแรก อาจมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายปรับตัวไม่มากพอ โดยเฉพาะเมื่อผ่านการคลอดแรกไปไม่นาน จึงทำให้ท้องสองมีน้ำหนักขึ้นและท้องใหญ่กว่าท้องแรกได้อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และระบบเผาผลาญในร่างกาย นั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทำให้การลดน้ำหนักหลังคลอดยังทำได้ยากกว่าท้องแรกอีกด้วยค่ะ

 

  • ตำแหน่งของลูกในท้องสอง อยู่ต่ำกว่าท้องแรก

หลังจากคุณแม่คลอดลูกคนแรกแล้ว โดยธรรมชาติของร่างกายของคุณแม่ จะทำให้มดลูกมีการขยายตัว และมักจะไม่หดตัวลงมาเป็นเหมือนตอนก่อนคลอด ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ท้องสองของคุณแม่ อาจมีการขยายใหญ่ขึ้นรวดเร็ว และมีขนาดใหญ่มากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ หน้าท้องของคุณแม่อาจมีอาการหย่อนคล้อยหลังจากที่คลอดลูกคนแรก ทำให้ตำแหน่งของทารกในครรภ์อยู่ต่ำกว่าท้องแรกนั่นเองค่ะ แม้ว่าอาจจะมองดูไม่ดี แต่จริง ๆ แล้วสิ่งนี้จะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจของคุณแม่ และยังช่วยให้แม่ท้องสามารถทานอาหารได้ดีขึ้นอีกด้วย! แต่ทั้งนี้ พอตำแหน่งของลูกในท้องสองอยู่ต่ำกว่าในท้องแรก ก็อาจจะทำให้มีอาการเจ็บอุ้งเชิงกราน และอาจทำให้มีอาการปวดหลังมากกว่าท้องแรกนั่นเองค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตอบทุกปัญหายอดฮิต ทุกคำถามเกี่ยวกับการฝากครรภ์ครั้งแรก !

Advertisement

 

อาการท้องแรกกับท้องสองต่างกันไหม

 

อาการท้องแรกกับท้องสองต่างกันไหม ต่างกันอย่างไรบ้าง

แน่นอนอยู่แล้วว่า ในการตั้งครรภ์ท้องครั้งที่สองของคุณแม่ จะรู้สึกได้ว่า มีความแตกต่างอย่างไรจากครั้งแรกบ้าง แต่สำหรับคุณแม่ที่ยังมีความกังวลอยู่ ว่าจะมีอาการอะไรบ้าง เราสรุปมาให้แล้ว ไปอ่านกันเลยค่ะ

 

  • รู้สึกได้ว่า ลูกดิ้นได้เร็ว

ในส่วนนี้ คุณแม่ท้องสองจะสามารถรู้สึกถึงลูกน้อยได้เร็วขึ้น และสามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วขึ้นนั้น มีสาเหตุง่าย ๆ มาจากการที่เรามีความคุ้นเคยมาก่อนจากท้องแรก ดังนั้น เมื่อลูกดิ้นหรือขยับตัว คุณแม่ก็จะสามารถทราบได้ทันทีค่ะ

 

  • มีอาการแพ้ท้องเหมือนเดิม

อาการประจำของเหล่าคนท้องต้องพบเจอเป็นประจำ นั่นก็คือ อาการแพ้ท้อง นั่นเอง หากท้องแรกคุณแม่มีอาการแพ้ท้องที่หนัก ในท้องที่สอง ก็มีแนวโน้มที่จะแพ้หนักเช่นกันค่ะ และแน่นอนว่า หากท้องแรกคุณแม่ไม่แพ้ท้อง ท้องสองก็อาจจะไม่แพ้เหมือนกันค่ะ ทั้งนี้ อาการเหล่านี้จะแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละคนค่ะ

  • ปวดเตือนมากขึ้น

ในช่วงราวสัปดาห์ที่ 28 ของอายุครรภ์ คุณแม่อาจจะมีอาการเจ็บท้องเตือน หรือการเจ็บท้องหลอก ซึ่งนั่นมีสาเหตุมาจากการที่มดลูกบีบตัว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดนั่นเองค่ะ อาการนี้จะเป็นทั้งในท้องแรกและท้องสอง แต่ในท้องสองอาจจะรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าท้องแรก แนะนำให้ลุกขึ้นเดินบ่อย ๆ นะคะ

 

  • ท้องสองขนาดใหญ่กว่า

สาเหตุที่ท้องแรกใหญ่กว่าท้องสองนั้น เป็นเพราะว่า กล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณแม่เคยยืดขยายจากท้องแรกมาแล้ว ดังนั้นเมื่อท้องสอง จึงสามารถขยายออกได้ง่ายกว่าเดิม และทำให้เห็นหน้าท้องได้ชัดเจนกว่าท้องแรกค่ะ

 

  • คลอดลูกได้ง่ายขึ้น

ในท้องแรกสำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกเอง คุณแม่จะใช้เวลาในการคลอดลูกนานมาก เพื่อรอให้ปากมดลูกเปิด และขยายให้กว้างพอ เพื่อให้ลูกน้อยคลอดออกมา ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากถึง 8 ชั่วโมง แต่สำหรับในท้องที่สอง คุณแม่จะใช้เวลาที่น้อยลง โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 ชั่วโมง และพอในช่วงของระยะการคลอดลูกในท้องแรก คุณแม่จะใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ชั่วโมง ในขณะที่ท้องสอง จะใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 2 ชั่วโมง ทำให้การคลอดลูกในท้องสองง่ายกว่า

 

  • รับมือกับอาการต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น

ในท้องแรกคุณแม่จะกังวลเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การเจ็บป่วย การดูแลตนเอง และอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ พอมาท้องที่สองคุณแม่จะรู้แล้วว่า ควรทานอาหารอย่างไร นอนท่าไหน นั่งท่าไหน ถ้าเกิดอาการต่าง ๆ ตั้งรับมืออย่างไร และรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ตนเองควรไปหาหมอ

 

อาการท้องแรกกับท้องสองต่างกันไหม

 

เคล็ดลับเล็ก ๆ ที่จะช่วยดูแลให้คุณแม่ท้องสองมีสุขภาพที่ดี

  • ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง

เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน สุขภาพแข็งแรง และควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์

 

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

หากแม่จำเป็นที่จะต้องหยิบของที่อยู่บนพื้น เราแนะนำว่า อย่าก้มลงไปหยิบแบบตรง ๆ แต่ให้คุณแม่ค่อย ๆ ย่อเข่าลงเล็กน้อย แล้วค่อย ๆ หยิบของขึ้นมาแบบไม่รีบร้อนนะคะ

 

  • นอนตะแคงซ้าย และหาหมอนข้างมาวางรองระหว่างขา

คุณแม่อาจจะรู้สึกปวดเมื่อยมากขึ้น เนื่องจากน้ำหนักและขนาดหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ควรจัดท่าทางการนอนให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้สุขภาพการนอนที่ดีนะคะ การที่น้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ลูกคนที่สองจะขึ้นอย่างรวดเร็วและท้องใหญ่กว่าท้องแรกนั้นเป็นเรื่องปกติ คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไป แต่ถ้าแม่ท้องมีอาการการผิดปกติอื่น ๆ ก็ควรรีบไปหาคุณหมอเพื่อตรวจรักษาจะดีที่สุด

 

โดยสรุปแล้ว อาการของอาการท้องแรกกับท้องสอง นั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยท้องสอง อาการจะเหมือนกับท้องแรก แต่คุณแม่จะสามารถสัมผัสถึงลูกน้อยได้ง่ายกว่า และมีอาการปวดต่าง ๆ ที่มากกว่าท้องแรก แต่ในด้านของการคลอดนั้น ท้องสองจะสามารถคลอดได้ง่ายกว่าท้องแรก เพราะมีขนาดท้อและอวัยวะที่เคยมีการขยายตัวมาแล้วในท้องแรกนั่นเองค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

8 ข้อต้องรู้ แม่ท้องเตรียมตัวก่อนคลอด ตอนไหนเหมาะ ทำอย่างไร

คุณแม่ต้องรู้ วิธี เตรียมพร้อม คลอดธรรมชาติ ก่อนคลอดต้องเตรียมตัวยังไง?

22 สิ่งที่ควรทำในเดือนสุดท้าย เช็คลิสต์ก่อนคลอด มีอะไรบ้างไม่ควรพลาด

ที่มา : tommys, chularat3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • อาการท้องแรกกับท้องสองต่างกันไหม ท้องสองคลอดเร็วกว่าท้องแรกจริงหรือเปล่า
แชร์ :
  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว