คุณแม่ ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ แล้วนะ เตรียมตัวเข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย เจ้าตัวน้อยเองก็เติบโตมากแล้ว คุณแม่คงจะสงสัยว่า ตอนนี้ลูกในครรภ์เติบโตไปแค่ไหนแล้ว แล้วเจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้างนะ ในการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่24 นี้ ช่วงนี้ทารกในครรภ์จะมีความยาว 30 เซนติเมตร ขนาดเทียบเท่ากับฝักข้าวโพดเชียวล่ะ
ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ พัฒนาการของลูกเป็นอย่างไร ?
- ใบหน้าพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ใบหูก็อยู่ถูกตำแหน่ง การได้ยินก็ชัดเจน
- ดวงตา และขนตาของลูกน้อยก็พัฒนาแล้ว
- แม้ว่าเปลือกตาจะยังปิดอยู่ แต่ลูกเริ่มนอนหลับแบบที่มีการกรอกของลูกตาแล้วล่ะ
- สมองของลูกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ต่อมรับรสของลูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว
- ปอดของลูกกำลังพัฒนาเพื่อเตรียมการหายใจ
ดูเหมือนว่าในสัปดาห์นี้ ลูกจะมีพัฒนาการเต็มที่ มีความสมบูรณ์หลายอย่าง ว่าแต่ว่า มีพัฒนาการด้านใดอีกที่แม่ควรรู้ ไปอ่านกันต่อเลยค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 24
- ใบหน้าของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 24 พัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ใบหูของลูกก็อยู่ถูกตำแหน่ง ส่วนการได้ยินของลูกก็ชัดเจนดีแล้ว
- ดวงตา และขนตาของลูกน้อยก็พัฒนาแล้ว แม้ว่าเปลือกตาจะยังปิดอยู่ และลูกเริ่ม REM (rapid eye movement) หรือการนอนหลับแบบที่มีการกรอกของลูกตาแบบเร็ว ภายในสัปดาห์นี้
- สมองของลูกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ตุ่มรับรสของลูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว
- ปอดของลูกกำลังพัฒนาเพื่อเตรียมการหายใจ
- หากลูกในท้องจำเป็นต้องคลอดในสัปดาห์ที่ 24 ลูกมีโอกาสรอด 50 – 50
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
วิดีโอจาก : Nurse Kids
อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์
- ช่วงนี้ท้องของคุณแม่ จะโดดเด่น และเตะตา เช่นเดียวกับสะดือที่ปูดขึ้นมา เพราะมดลูกขยายใหญ่จนดันทุกอย่าง แม่บางคนมีน้ำหนักขึ้นระหว่างตั้งครรภ์รวมแล้ว 7 – 8 กิโลกรัม
- ร่องรอยแตกลายที่เคยซ่อนตัว จะปรากฏให้เห็น ทั้งบนหน้าท้อง และหน้าอก ทั้งยังเห็นเส้นสีดำกลางท้อง อยู่ระหว่างสะดือ และกระดูกหัวหน่าว
- จากที่มีอารมณ์ทางเพศในช่วงไตรมาสที่สอง ตอนนี้อารมณ์คุณแม่ลดฮวบ ๆ เพราะแม่จะเริ่มปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว และรู้สึกเหนื่อยล้าง่ายมาก ๆ
- แม่คนไหนยังไม่เจอตกขาว ช่วงนี้จะเริ่มมีแล้ว ซึ่งอาการตกขาวระหว่างตั้งครรภ์ ถือเป็นเรื่องปกติ พอเข้าไตรมาสสุดท้าย การตกขาวจะเพิ่มขึ้นได้ ถ้าไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็ไม่เป็นอันตราย
- สังเกตได้ว่าบริเวณตุ่มฐานของหัวนม จะเริ่มมีสิวเสี้ยนเล็ก ๆ ที่เป็นต่อมผลิตไขมันที่ช่วยบำรุงหัวนมของคุณแม่ให้อ่อนนุ่มชุ่มชื้น
- ในช่วงนี้คุณแม่อาจจะมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ แนะนำให้คุณแม่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มคาเฟอีน ของหวาน เนื่องจากของพวกนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้แม่ ๆ มีอาการปวดหัวขึ้นมาได้
- เมื่อเข้าสู่ช่วง 6 เดือน คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองมีน้ำลายที่เยอะขึ้น จะต้องกลืนน้ำลายบ่อย ๆ กว่าปกติ แม่หลายคนอาจจะตกใจ แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องปกตินะคะ แนะนำให้ลองเคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมลูกกวดแทนดูค่ะ
การดูแลตัวเองตอนท้อง 24 สัปดาห์
- เพื่อให้สุขภาพคนท้องแข็งแรง ได้รับโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์อย่างครบถ้วน แม่ท้องต้องเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ทั้งโปรตีน ผักผลไม้ แล้วเสริมด้วยวิตามินบำรุงครรภ์ที่คุณหมอจ่ายให้ ที่สำคัญ ต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ร่างกายแม่ท้องชุ่มชื้นอยู่เสมอ ทั้งยังช่วยลดรอยแตกลายที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วย
- ร่างกายแม่ท้องบอบบาง ระวังการเกิดผื่นตั้งครรภ์ หากมีผื่นขึ้นขณะท้อง ให้ไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นผื่นชนิดไหน อย่าซื้อยาทาหรือทานยาเองนะคะ
- หันมาเลือกเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูง มีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและช่วยต่อสู้กับแบคทีเรีย สาเหตุของการติดเชื้อ
อาหาร การกิน สำหรับคนท้อง 24 สัปดาห์ ต้องกินอะไร งดอะไร
- ถ้าคุณแม่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ระวังตัวเองไม่ให้น้ำหนักมากเกินไป ก็จะไม่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แต่หากคุณหมอพบว่า แม่มีความเสี่ยง ในช่วงนี้ ก็จะเริ่มมีการตรวจเบาหวานเกิดขึ้น
- คนท้องที่ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์แล้ว ต้องหมั่นดื่มน้ำให้มาก เติมความชุ่มชื้น อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะช่วงนี้แม่ท้องจะกระหายน้ำมากเป็นพิเศษ
- พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ต้องกังวลหรือเครียดมากจนเกินไป และมองหาวิธีผ่อนคลายความเครียดต่าง ๆ เพื่อรับมือกับอาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
- ในสัปดาห์นี้ให้คุณแม่เน้นอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อป้องกันน้ำหนักตัวที่มากเกินไป รวมถึงโรคริดสีดวงทวาร ครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง
ร่ำลาไตรมาส 2 เพื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาส 3 คุณแม่ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ บางท่าน เริ่มเจออาการคนท้องไตรมาสสุดท้ายมาเยี่ยมเยือนแล้ว ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนคลอด คุณแม่ต้องดูแลตัวเองให้มาก ๆ ลดความเสี่ยงต่าง ๆ และหมั่นไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง คุณหมอจะได้ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์คุณแม่ ทั้งยังช่วยระแวดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ที่มา : babycenter, mamastory
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!