X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จุดสังเกต การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ลูกเราโตขนาดไหนกันแล้วนะ

บทความ 8 นาที
จุดสังเกต การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ลูกเราโตขนาดไหนกันแล้วนะ

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มักจะเต็มไปด้วยความสุขใจ และเฝ้าดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ พัฒนาการของทารกในครรภ์จะมีกระบวนการเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงไปเรียกว่าทุกอาทิตย์ ทุกเดือน มาแอบดูเจ้าตัวน้อยกันค่ะว่ามีการเจริญเติบโต หรือมีพัฒนาการในครรภ์ของคุณแม่อย่างไร ติดตามอ่าน

หลังจากที่เกิดการปฏิสนธิตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกแล้ว กระบวน การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ก็จะค่อย ๆ เกิดขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกเดือน เริ่มสร้างอวัยวะต่าง ๆ ไปจนกระทั่งสมบูรณ์เมื่อครบเก้าเดือนและพร้อมลืมตาดูโลกเมื่อถึงวันคลอด มาค่ะ คุณพ่อคุณแม่มาแอบดู การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ กัน เจ้าหนูมีการเจริญเติบโตอย่างไร

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

จุดสังเกต การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ลูกเราโตขนาดไหนกันแล้วนะ

 

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสแรก

จุดสังเกตเดือนแรก : การก่อตัวของชีวิตน้อย ๆ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

1. เมื่อการปฏิสนธิสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตัวอ่อนฝังตัวแล้วเซลล์ไข่จะกลายสภาพเป็นไข่แดงผูกติดกับตัวอ่อนและเริ่มพัฒนาสายรกเพื่อเชื่อมต่อกับระบบเลือด เซลล์เกิดการเพิ่มจำนวน สร้างเนื้อเยื่อ เริ่มมีส่วนของศีรษะและลำตัว มองดูคล้าย ๆ ลูกอ๊อดเหมือนกันนะเนี่ย !!!

2. ภายในลำตัวจะมีการแบ่งเนื้อเยื่อ เพื่อสร้างเป็นอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ สมอง หัวใจ ตา ปาก ทางเดินอาหาร หูชั้นใน แขน ขา ที่สำคัญหัวใจของลูกน้อยเริ่มทำงานแล้วนะคะเมื่ออายุประมาณ 25 วันเท่านั้นเอง

Advertisement

3. ในช่วงเดือนแรกนี้คุณแม่บางคนหรือหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า ได้มีชีวิตน้อย ๆ กำเนิดขึ้นแล้ว เพราะยังไม่สัมผัสถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่เมื่อทราบว่าประจำเดือนขาด และทำการตรวจแล้วว่า ท้องชัวร์ !!!! รีบไปฝากครรภ์เลยนะคะ พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอในการดูแลตนเองเพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และลูกค่ะ

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

จุดสังเกตเดือนที่สอง : ระบบประสาทและหลอดเลือดเริ่มพัฒนาแล้วนะ

1. ในช่วงเดือนที่สอง การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ตัวอ่อนจะพัฒนาจากขนาดเท่าลูกอ๊อดมาเป็นทารกตัวจิ๋วขนาด 1 นิ้วฟุตกะขนาดประมาณผลราสเบอร์รี่ หากทำการอัลตราซาวด์จะเห็นรูปทรงโค้งของกระดูกสันหลังชัดเจน มีศีรษะขนาดโตขึ้นเท่าส่วนหน้าอก เริ่มเห็นจุดสีดำ ๆ จะพัฒนากลายเป็นตาและหูต่อไปแล้วค่ะ

2. การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในเดือนที่สองนี้มีความสำคัญมากเลยนะคะคุณพ่อคุณแม่ เพราะว่าเจ้าหนูกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาระบบประสาทและหลอดเลือดค่ะ กลุ่มเซลล์สมองที่มีเนื้อเยื่อบาง ๆ พร้อมของเหลวห่อหุ้มไว้ เจริญเติบโตแบ่งออกเป็นสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา และเริ่มทำงานด้วยตนเอง มีการแตกสาขาเส้นประสาทออกไปสู่กระดูกสันหลัง

3. อวัยวะภายในจะแยกพัฒนาเนื้อเยื่อเพื่อเจริญเติบโตไปตามหน้าที่แต่ละส่วนของอวัยวะ ได้แก่ ปอด ตับ ไต ระบบทางเดินอาหาร หากอัลตราซาวด์จะเริ่มเห็นเป็นปาก แขน ขา แยกเป็นอวัยวะชัดเจนมากขึ้น

4. ในเดือนนี้ท้องของคุณแม่จะยังไม่โตเท่าใดนัก แต่คุณแม่เองจะเริ่มรู้สึกคัดเต้านม เต้านมเริ่มขยายใหญ่ขึ้น คลำได้เป็นก้อน รู้สึกเหนื่อยง่ายและอยากจะพักผ่อน เริ่มแล้วค่ะสำหรับอาการ “แพ้ท้อง” ส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารไม่ค่อยลง แต่ควรรับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยขึ้น อาจจะแบ่งอาหารออกเป็น 6 มื้อก็ได้นะคะ ที่สำคัญควรงดสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองนะเพราะยาบางชนิดจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

จุดสังเกตเดือนที่ 3 : ดุ๊กดิ๊ก ๆ ทารกน้อยเริ่มเคลื่อนไหวแล้วนะ

1. ในช่วงเดือนที่สาม ทารกตัวจิ๋วจะอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักแขวนติดกับสายรกอยู่ในถุงน้ำคร่ำ พัฒนาอวัยวะทุกส่วนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ระบบโครงสร้างกระดูกเริ่มพัฒนาโครงสร้างได้สมบูรณ์

2. มีตุ่มฟัน 20 ตุ่มเกิดขึ้นใต้เหงือกแล้วนะคะ เพื่อจะพัฒนาเป็นฟันน้ำนมต่อไป มีริมฝีปาก อวัยวะเพศเริ่มพัฒนาแต่ในเดือนนี้อัลตราซาวด์จะยังไม่ไม่เห็นอวัยวะเพศของเจ้าหนูนะคะว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง อดใจรออีกนิดนึง ไตทั้งสองข้างเริ่มทำงาน เจ้าหนูเริ่มถ่ายปัสสาวะแล้ว โดยปัสสาวะที่ลูกถ่ายออกมา ลูกน้อยจะกลืนเข้าทางเดินอาหาร และถูกดูซึมเข้ากระแสเลือด ส่งผ่านสายสะดือไปยังแม่ เพื่อให้คุณแม่ขับของเสียต่อไป

3. ทารกน้อยเริ่มเคลื่อนไหวแล้วนะคะ เริ่มเตะ กำหมัด หันหัวไปมา ตาเริ่มเคลื่อนไหวมองไปมาได้

4. ในช่วงเดือนที่สามนี้อาการแพ้ท้องของคุณแม่จะเริ่มดีขึ้นแล้วค่ะ มดลูกขยายขนาดขึ้น แต่อาจจะยังอยู่ในอุ้งเชิงกรานของคุณแม่นะคะ แต่คุณแม่จะสังเกตได้ว่ารอบเอวใหญ่ขึ้นแล้ว

อ่าน จุดสังเกตการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสสอง คลิกหน้าถัดไป

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสสอง

จุดสังเกตเดือนที่สี่ : ร่างกายทารกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

1. ในช่วงเดือนที่สี่นี้ ตัวอ่อนจะโตเป็นทารกเต็มตัวมีความยาวประมาณ 6.5 นิ้วฟุต มีน้ำหนักประมาณ 130 กรัมเมื่อนอนขดตัวจะมีขนาดเท่าผลอโวคาโด มีอวัยวะครบทุกส่วน

2. พัฒนาการด้านร่างกายของทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้เริ่มมีขนคิ้วและเส้นผมแล้วนะ แต่ผิวยังบอบบางมากจนมองเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนัง ระบบกระดูกพัฒนาไปพร้อมกับกล้ามเนื้อ กระดูกเริ่มมีความแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะไหปลาร้าและกระดูกขา นิ้วมือ นิ้วเท้าแยกออกจากกันครบทุกนิ้ว เริ่มมีเล็บและลายนิ้วมือ

3. ศีรษะเริ่มตั้งตรง ใบหูยื่นออกมาจากศีรษะ ส่วนตาทั้งสองข้างที่เคยอยู่ตำแหน่งค่อนไปทางซ้าย ก็จะค่อย ๆ เคลื่อนมาอยู่บนใบหน้า แม้ว่าเปลือกตาจะปิดสนิทอยู่ แต่เค้าโครงกระดูกใบหน้าพัฒนาไปตามสัดส่วน เริ่มมีกล้ามเนื้อใบหน้า หากทำอัลตราซาวด์แบบ 4 มิติ จะสามารถเห็นทารกแสดงสีหน้าตามอารมณ์ได้ เพราะเจ้าหนูเริ่มรับรู้สิ่งภายนอกด้วยประสาทสัมผัสจากการได้ยิน ทากรเริ่มได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่

บทความแนะนำ พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์

4. ในช่วงเดือนนี้จะตัวน้อยจะรู้จักหลับและตื่นสลับกัน ส่วนหัวใจแบ่งออกเป็นสี่ห้องแล้ว ในเดือนที่สี่นี้คุณหมอสามารถฟังเสียงหัวใจของทารกโดยใช้หูฟังธรรมดาไม่ต้องพึ่งเครื่องมือพิเศษใด ๆ หากคุณแม่คุณพ่ออยากฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ก็สามารถทำได้นะคะ แต่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยฟังที่มีขายตามแผนกเด็กอ่อนก็สามารถได้ยินเสียงหัวใจทารกได้เช่นกันค่ะ

5. น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดของท้อง โดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 กิโลกรัม เมื่อสิ้นสุดเดือนที่สี่น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นจากก่อนที่ตั้งครรภ์ประมาณ 3 – 4 กิโลกรัม

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

จุดสังเกตเดือนที่ห้า : ระบบสืบพันธุ์พัฒนารู้แล้วนะว่าหนูเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง

1. ในช่วงเดือนที่ 5 นี้ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตทั้งขนาดและรูปร่าง เริ่มพัฒนาระบบสืบพันธุ์ หากทารกน้อยเป็นเพศหญิงช่วงนี้ร่างกายอยู่ในระหว่างพัฒนามดลูก ช่องคลอด และท่อนำไข่ หากเป็นเพศชายก็กำลังสร้างถุงอัณฑะ เมื่อครบห้าเดือนทารกเพศชายจะเริ่มมีการเคลื่อนย้ายอัณฑะ ส่วนทารกเพศหญิงก็จะเริ่มจัดวางตำแหน่งของมดลูกและรังไข่เข้าที่ รวมทั้งช่องคลอดก็มีการพัฒนามากขึ้น

2. ระบบต่าง ๆ เริ่มเจริญเติบโตมีพัฒนาการมากขึ้น ได้แก่

– ระบบทางเดินหายใจและระบบปอด สามารถขยับหน้าอกขึ้น – ลง เพื่อสูดเอาน้ำคร่ำเข้าไปในปอด

– ระบบผิวหนังทั่วร่างกายเริ่มมีชั้นไขมันมาสะสม ทำให้ทารกตัวใหญ่ขึ้นได้อย่างชัดเจน

– เซลล์สมองยังเพิ่มจำนวนต่อไปไม่หยุดจนเริ่มเติมพื้นที่ในกะโหลกศีรษะแล้ว

– ระบบประสาทรับรู้ทางรสและเสียงพัฒนาขึ้นมาก เริ่มได้ยินเสียงคนพูด เริ่มแยกแยะและจดจำเสียงพูดได้

– แขน ขา มีแรงมากขึ้น เริ่มดูดนิ้วมือ ทารกจะเคลื่อนไหวไปมาในถุงน้ำคร่ำจนกระทบผนังหน้าท้องด้านใน ทำให้คุณแม่เริ่มรับรู้ถึงการดิ้นของทารกน้อยแล้วค่ะ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

3. เดือนนี้ร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนขนาด ไม่ใช่เฉพาะบริเวณหน้าท้องเท่านั้นนะคะ แต่ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นทั้งตัว หน้าอก เต้านม จะขยายใหญ่ขึ้นต้องเปลี่ยนคัพเสื้อชั้นในแล้วนะคะ หัวนมและลานนมจะมีสีเข้ม บั้นท้ายและสะโพกกลมอิ่ม เส้นกลางท้องเริ่มเห็นชัดเจนสีเข้มขึ้น

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

จุดสังเกตเดือนที่หก : เจ้าหนูในครรภ์เริ่มเตะทักทายคุณแม่แล้วนะ

1. ทารกจะเจริญเติบโตจนมีลักษณะและสัดส่วนเหมือนทารกแรกเกิดแล้ว มีศีรษะเหมาะสมกับขนาดของลำตัว แขน ขา ยาวได้สัดส่วน เริ่มเห็นลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า เล็บมือ เล็บเท้า หากทำอัลตราซาวด์จะเห็นใบหน้าชัดเจนแล้วค่ะ มีขนคิ้วบาง ๆ เพิ่งเริ่มเปิดเปลือกตา มีปฏิกิริยาหันหน้าไปหาแสงส่องทะเลุผ่านหน้าท้องได้ คุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้โดยการใช้ไฟฉายส่องไปที่หน้าท้อง จะรู้สึกว่าเจ้าตัวน้อยมีการตอบสนองค่ะ

2. ชั้นผิวหนังไม่โปร่งแสงเหมือนเดิมแล้วนะ เพราะมีไขมันมาสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ระบบสั่งงานของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นพัฒนาไปมากขึ้น สามารถบิดขี้เกียจ ยืดแขน ยืดขา ดิ้นไปดิ้นมาในถุงน้ำคร่ำ ทารกน้อยจะออกแรงดิ้นเป็นรอบ ๆ ไป รอบละประมาณ 45 นาที สลับกับนอนพักอีก 45 นาที

3. พัฒนาการสมองเป็นไปอย่างชัดเจน ระบบการฟังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคยอย่างสังเกตได้ชัดเสียงคุณแม่ เสียงคุณพ่อ เสียงดนตรีที่ได้ฟังเป็นประจำ เรียกชื่อลูกน้อยบ่อย ๆ พร้อมกับลูบท้องไปด้วยจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างดี

บทความแนะนำ ดนตรีช่วยพัฒนาสมองลูกตั้งแต่ในครรภ์

4. ในเดือนนี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกอึดอัด หายใจได้ไม่เต็มปอด หายใจได้ไม่สะดวก แน่นหน้าอก หายใจได้เพียงเบา ๆ เป็นต้น เหมือนกะบังลมดันหน้าอกขึ้นมา อึดอัดแม้กระทั่งจะนั่งในท่าปกติ ในเดือนนี้จะเริ่มมีเจ็บท้องหลอกเพื่อชิมลางแล้วนะคะ เกิดจากกล้ามเนื้อหดเกร็งพร้อมกับมดลูกหดรัดตัวเป็นจังหวะถี่ ๆ ติด ๆ กัน 2 – 3 วินาที แต่ไม่สม่ำเสมอ การเจ็บหลอกจะไม่เจ็บเพิ่มขึ้นนะคะ และม่เจ็บร้าวไปที่หลังด้วย เรียกว่าเป็นการเตรียมความพร้อมซ้อมไว้ก่อนนะแม่!!!

บทความแนะนำ เจ็บท้องหลอกVSเจ็บท้องจริง แม่ท้องต้องดูยังไง

 

อ่าน จุดสังเกตการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสสาม คลิกหน้าถัดไป

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสสาม

จุดสังเกตเดือนที่ 7 : ระบบหายใจของหนูทำงานเต็มที่สมบูรณ์แล้วนะ

1. ในเดือนที่เจ็ดนี้ ทารกน้อยพัฒนาระบบต่าง ๆ เกือบสมบูรณ์แล้ว ทารกน้อยจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตราประมาณ 100 กรัม / สัปดาห์ จากน้ำหนักประมาณ 600 กรัม สูง 33 เซนติเมตร เมื่อต้นเดือนที่เจ็ด ไปเป็นสูง 38 เซนติเมตรหนัก 100 กรัม เมื่อสิ้นสุดเดือนที่เจ็ด

2. ระบบต่าง ๆ ในร่างกายพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง ปอดเริ่มทำงาน ทารกน้อยจะขยับหน้าอกขึ้นลงเพื่อสูดน้ำคร่ำเข้าปอด จนบางครั้งคุณแม่จะรู้สึกได้ว่า ลูกน้อยกำลังสะอึกน้ำคร่ำอยู่

3. ทารกน้อยยังคงดิ้นแรงอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถขยับร่างกาย แขน ขา และอวัยวะภายนอกทุกส่วนได้อิสระ แต่ยังอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่มีบริเวณจำกัด ปริมาณน้ำคร่ำน้อยลงเมื่อเทียบกับขนาดของทารกที่โตขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเย็นเป็นเวลาที่ทารกน้อยตื่นและมีการเคลื่อนไหวมากที่สุด โอกาสทองที่จะกระตุ้นพัฒนาการเจ้าหนูให้คุณแม่ คุณพ่อลูบท้อง พูดคุยทักทายลูกนะคะ จะกระตุ้นพัฒนาการด้านการได้ยินและสมอง รวมถึงการเคลื่อนไหวอีกด้วย

บทควมแนะนำ แม่จ๋ารู้ไหม!!!ลูบท้องกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์

4. ในช่วงเดือนนี้พัฒนาการของทารกในครรภ์จะเริ่มเตรียมความพร้อมเพื่อคลอดออกมาสู่โลกภายนอก จะเริ่มมีการตีลังกากลับหัวลง แต่ก็มีที่ยังไม่กลับหัวลงก็ได้นะคะ ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละคน หากทารกที่คลอดก่อนกำหนดในเดือนนี้จะมีโอกาสรอดชีวิตสูง เพราะทารกมีระบบการหายใจสมบูรณ์แล้ว

5. ในเดือนที่เจ็ดนี้คุณแม่จะเริ่มมีรูปร่างอุ้ยอ้าย เริ่มรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อยเพลียและง่วงนอนบ่อย ๆ มีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ บ้างบางคนมีอาการไมเกรนร่วมด้วยเพราะเส้นเลือดในสมองขยายตัวสืบเนื่องจากฮอร์โมนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การได้งีบนอนในช่วงกลางวันจะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ค่ะ

 

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

จุดสังเกตเดือนที่แปด : ระบบประสาทสัมผัสพร้อมแล้ว

1. การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มีอวัยวะสมบูรณ์ทุกอย่าง ผมยาวขึ้น เล็บยาวขึ้น ไขมันห่อหุ้มตัวหนาขึ้น ผิวเรียบเนียนแม้จะมีรอยย่นอยู่บ้าง เซลล์ประสาทและสมองกำลังพัฒนามากขึ้น รับรู้สภาพแวดล้อมทั้งการได้ยิน การมองเห็น และการรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ เริ่มจัดท่าทางการคลอดพร้อมออกมาดูโลกแล้วด้วยนะคะ

บทความแนะนำ ท่าทารกในการคลอด

2. ในช่วงเดือนนี้ลูกน้อยจะดิ้นน้อยลงเพราะร่างกายที่ใหญ่โตขึ้นจนแคบพื้นที่ในถุงน้ำคร่ำและหน้าท้องของคุณแม่ เมื่อพลิกตัวหรือขยับแขนขาแต่ละครั้งจะสะเทือนทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บท้องได้นะคะ

3. น้ำหนักของทารกในครรภ์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นสองเท่า เฉลี่ยสัปดาห์ละ 200 กรัม จนเมื่ออายุครรภ์ครบแปดเดือนเต็ม เจ้าหนูจะเริ่มกลับหัวลงไปด้านล่างของมดลูกบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยมีน้ำหนักประมาณ 1,800 กรัม มีความยาวประมาณ 42 เซนติเมตรเมื่อนอนอยู่ในท้องคุณแม่จะมีขนาดเท่าผลแคนตาลูป

4. สำหรับคุณแม่จะอุ้ยอ้ายมากขึ้น ลุกนั่งลุกนอนลำบากมากขึ้น ก้าวเดินช้า ๆ เหมือนนกเพนกวิน แขนใหญ่ ขาใหญ่ ตัวเริ่มบวม มือ เท้าบวม ไม่ต้องกังวลค่ะเพราะร่างกายเริ่มสะสมน้ำและไขมันเอาไว้ในเซลล์ทั่วร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด อาจจะมีอาการนอนไม่ค่อยหลับเพราะกลางคืนต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำบ่อย แบบนี้ควรหาเวลางีบในช่วงกลางวัน และจัดท่าทางในการนอนให้เหมาะสม โดยท่านอนตะแคงจะเป็นท่านอนที่ดีที่สุดหรับคนท้อง

 

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

จุดสังเกตเดือนที่เก้า : สิ้นสุดการรอคอย

1. สิ้นสุดการรอคอยนะคะสำหรับเดือนนี้ เมื่อครบเก้าเดือน ศีรษะของทารกน้อยจะเคลื่อนเข้ามาสู่อุ้งเชิงกราน ร่างกายเจริญเติบโตสมบูรณ์เกือบ 100 % ระบบสั่งการทั้งหมดของร่างกายทำงานอย่างสมบูรณ์ หากดูในอัลตราซาวด์จะเห็นพฤติกรรมของทารกเหมือนกับทารกแรกคลอดออกมาแล้ว เช่น การสะอึก การหายใจ บิดขี้เกียจ กะพริบตา การแสดงออกทางสีหน้า เป็นต้น

2. ทารกจะนอนอยู่ในท่างอตัว เข่าชิดคางและจมูก ต้นขาพับมาด้านบนหน้าท้อง เมื่อมดลูกบีบตัวจะเป็นแรงผลักให้ลูกค่อย ๆ เคลื่อนเข้าสู่อุ้งเชิงราน เวลาคลอดศีรษะจะนำมาก่อน แล้วไหล่จะคลอดออกมาตามลำดับ

3. ในช่วงเดือนที่เก้านี้คุณหมอจะนัดคุณแม่เพื่อตรวจสุขภาพความพร้อมของร่างกายบ่อยขึ้น อาจจะถี่ขึ้นถึงหนึ่งครั้ง / สัปดาห์ เพื่อตรวจดูความพร้อมของทารกในครรภ์ หากทารกไม่กลับศีรษะลงสู่อุ้งเชิงกราน หรือมีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุณหมอจะได้ดำเนินการรักษาหรือาจจะต้องผ่าตัดคลอดได้ทันท่วงที

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

ถึงกำหนดคลอด

เมื่อผ่านระยะเก้าเกือนหรือ 40 สัปดาห์แล้ว เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่สามารถคลอดได้ตลอด จริงอยู่แม้ว่าคุณหมอจะกำหนดวันคลอดไว้อย่างคร่าว ๆ แต่คุณแมสามารถคลอดทารกได้ตั้งแต่ครบสัปดาห์ที่ 37 เป็นต้นไป ถึงสัปดาห์ที่ 42 ดังนั้น สิ่งที่คุณแม่ควรสังเกตที่จะบ่งบอกว่าจะคลอดแล้วนะ คือ การเจ็บท้องหลอก หรือเจ็บท้องจริงที่จะเจ็บขึ้นเรื่อย ๆ และมีอาการอื่น ๆร่วมด้วย เช่น ปวดท้องน้อยและทวารหนัก ปวดหลังส่วนล่างตลอดเวลา บางคนมีอาการท้องเสียร่วมด้วย เพราะลำไส้ถูกรบกวนโดยมดลูกที่เคลื่อนต่ำลงมา มูกในช่องคลอดเหนียวข้น และมีมูกปนเลือดสดไหลออกจากช่องคลอด แบบนี้คุณแม่พร้อมที่จะคลอดภายใน 24 – 48 ชั่วโมงแล้วค่ะ รีบไปโรงพยาบาลได้เลยนะคะ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ เรื่องน่ารู้คู่มือแม่ท้อง ผู้เขียนหมอโอ๋

หนังสือ เตรียมตัวคลอดอย่างไรให้ปลอดภัย ทั้งแม่และเด็ก ผู้เขียน พ.ญ.ภักษร เมธากูล

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปีที่น่าจับตา

22 สุดยอดภาพ พัฒนาการทารกในครรภ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • จุดสังเกต การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ลูกเราโตขนาดไหนกันแล้วนะ
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว