X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

บทความ 3 นาที
น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์

ภาวะน้ำคร่ำน้อยคืออะไร น้ำคร่ำน้อยเกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยอันตรายแค่ไหน มีผลอย่างไรกับทารกในครรภ์ พบคำตอบได้ที่นี่

น้ำคร่ำน้อย

น้ำคร่ำสำคัญอย่างไร

ในการตั้งครรภ์นั้นน้ำคร่ำมีบทบาทสำคัญหลายประการ อาทิเช่น เป็นการสร้างพื้นที่ให้ทารกสามารถขยับตัว เคลื่อนไหวได้ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ทารกสามารถกลืนน้ำคร่ำได้ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทารกสามารถหายใจได้ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาทางเดินหายใจ น้ำคร่ำยังทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากการกดทับสายสะดือหรือการบาดเจ็บจากการชน เป็นต้น

น้ำคร่ำมาจากไหน

ในช่วงเริ่มต้นน้ำคร่ำจะมาจากสารน้ำที่ซึมผ่านรกเข้ามาจากหลอดเลือดของทารก ต่อมาเมื่อทารกเริ่มพัฒนาระบบปัสสาวะจึงมีน้ำคร่ำมาจากน้ำปัสสาวะของทารกเป็นสำคัญ อีกส่วนน้อยนั้นมาจากสารน้ำของปอดที่สร้างและหลั่งออกมาทางหลอดลม โดยทั่วไปเมื่อครรภ์ครบกำหนดจะมีปริมาตรน้ำคร่ำประมาณ 2,800 มิลลิลิตร

ภาวะน้ำคร่ำน้อยคืออไร

ภาวะน้ำคร่ำน้อย หมายถึง ภาวะที่ปริมาตรน้ำคร่ำของทารกในครรภ์ลดลง เหลือน้อยกว่าร้อยละ 5 ของปริมาตรน้ำคร่ำปกติในอายุครรภ์นั้นๆ ซึ่งอาจตรวจทราบได้เบื้องต้นจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวน์) โดยทั่วไปพบร้อยละ 1-2 ของการตั้งครรภ์ เมื่อสงสัยภาวะนี้จำเป็นต้องแยกโรคจากน้ำคร่ำเดิน ซึ่งมักจะมีประวัติมีน้ำไหลออกทางช่องคลอดร่วมกับมีมูกเลือดปน หรือมีเจ็บครรภ์ร่วมด้วย

ภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดได้อย่างไร

ในกรณีที่พบมีน้ำคร่ำน้อย อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ทารกมีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไม่มีไต หรือ มีการอุดตันของท่อปัสสาวะ
  • มีความผิดปกติของรก เช่น ภาวะรกเสื่อมทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซและสารอาหารไม่ดี
  • ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
  • มีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ อายุครรภ์เกินกำหนด
  • ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยาแก้ปวดลดอักเสบ (ponstan, brufen)

น้ำคร่ำน้อยอันตรายแค่ไหน

เมื่อสตรีตั้งครรภ์มีภาวะน้ำคร่ำน้อย มักจะสัมพันธ์กับผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ค่อยดี

  • เพิ่มโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด
  • เพิ่มโอกาสการสำลักขี้เทาของทารก
  • เพิ่มโอกาสผ่าตัดคลอดและการตายขณะคลอดของทารก
  • การที่มีน้ำคร่ำน้อยตั้งแต่เริ่มต้นตั้งครรภ์ จะส่งผลถึงการพัฒนาการของปอดทารกอีกด้วย ทำให้ปอดไม่พัฒนาจากไม่มีน้ำคร่ำที่ทำหน้าที่ถ่างขยายถุงลมและหลอดลม เป็นต้น

เมื่อตั้งครรภ์สูติแพทย์จะมีการตรวจอัลตร้าซาวน์เพื่อวัดปริมาตรน้ำคร่ำ ในกรณีที่พบภาวะน้ำคร่ำน้อย ก็จะมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุต่อไป จะมีการตรวจติดตามและเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์ รวมทั้งแจ้งพยากรณ์โรคให้ทราบ รวมทั้งการวางแผนการคลอดที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของทารกต่อไป

Advertisement

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

น้ำคร่ำกดทับอวัยวะลูก เรื่องจริงที่มีโอกาสเกิดขึ้น 1 ใน 2000 คน

น้ำคร่ำตีกลับขณะคลอด ทำให้เธอกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • น้ำคร่ำน้อย ส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว