X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การทำงานของมดลูกตั้งแต่เจ็บครรภ์จนคลอด

บทความ 5 นาที
การทำงานของมดลูกตั้งแต่เจ็บครรภ์จนคลอด

คุณแม่ที่ใกล้คลอดแล้ว และมีความตั้งใจที่จะคลอดเอง ถือเป็นความตั้งใจที่ดีค่ะ เพราะการคลอดเองตามธรรมชาตินั้น ส่งผลดีต่อคุณแม่ทำให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วและส่งผลดีต่อลูกคือจะได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ในขณะที่คลอด มาดูกันว่าขั้นตอนการคลอดลูก มดลูกมีการทำงานอย่างไรตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์ไปจนถึงคลอด อยากรู้แล้วใช่ไหมคะ ติดตามอ่าน

การทำงานของมดลูกตั้งแต่เจ็บครรภ์จนคลอด

ระยะการทำงานของมดลูกตั้งแต่คุณแม่เริ่มเจ็บครรภ์  หมายถึง  เจ็บครรภ์จริงนะคะ  ไปจนถึงการคลอด และคลอดรก  เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ  แบ่งออกเป็น  3 ระยะที่สำคัญ ดังนี้

ระยะที่ 1 มดลูก : ปากมดลูกเริ่มเปิด

มดลูก การคลอดลูก

ในระยะแรกเริ่มนี้  จะเริ่มตั้งแต่เจ็บครรภ์จริงจนถึงปากมดลูกเปิดหมด สำหรับท้องแรกระยะนี้จะยาวนานสักหน่อยนะคะ  กินเวลาประมาณ 12 – 14 ชั่วโมง  และการคลอดครั้งต่อ ๆ ไป จะมีระยะแรกนี้เพียง 6 – 8 ชั่วโมง สามารถแบ่งได้ดังนี้

ระยะย่อยที่ 1

1. (แรกเริ่ม) เริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 4 เซนติเมตร มักจะมีการหดรัดตัวของมดลูกทุก 15 – 30 นาที เป็นระยะเวลานาน/ครั้ง นาน

15 – 40 วินาที

2. คุณแม่จะมีอาการปวดแบบตะคริวแต่ไม่มากและมีอาการปวดหลังร่วมด้วย แต่ยังสามารถพูดคุยได้ปกติ

ระยะย่อยที่ 2

1. (เร่ง) ปากมดลูกในช่วงนี้จะเปิดประมาณ 3 – 9 เซนติเมตร มดลูกจะหดรัดตัวทุก 3 – 5 นาที หดรัดตัวอยู่นาน 60 – 90 วินาที  ความเจ็บปวดจะอยู่ระยะปานกลางค่ะ

2. การหดรัดตัวของมดลูกในช่วงนี้ เอ็นดอร์ฟินจะเริ่มหลั่งออกมาเพื่อช่วยให้คุณแม่สามารถดำเนินการคลอดต่อ

Advertisement

3. ในช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มเงียบลง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม แสดงว่า  ระดับเอ็นดอร์ฟินในร่างกายของคุณแม่มีเพียงพอที่จะคลอด

ระยะย่อยที่ 3

1. (ระยะเปลี่ยนถ่าย) ในระยะนี้การหดตัวของมดลูกจะเกิดขึ้นทุก ๆ 1 – 3 นาทีเป็นระยะเวลา/ครั้ง 45 – 90 วินาที โดยจะหดตัวรุนแรงที่สุดทำให้เจ็บปวดมาก

2. การสร้างเอ็นดอร์ฟินจะสูงที่สุดในระยะนี้เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด

3. เมื่อปากมดลูกเปิด 9 – 10  เซนติเมตร มดลูกจะหดรัดตัวทุก 2-3 นาที ถือว่ามีความรุนแรงระดับปานกลาง คุณหมอจะคอยมาดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น  เพราะอาจเกิดการหดรัดตัวของมดลูกแบบไม่คลายได้ ทำให้ทารกขาดออกซิเจนและเสียชีวิตได้ ในระหว่างนี้หากคุณแม่สามารถอดทนต่อความเจ็บปวดได้  อย่าเพิ่งขอใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด ในระยะนี้มดลูกกำลังเปลี่ยนแปลงสถานะจากการขยายของปากมดลูก  เป็นการผลักดันให้ทารกคลอดผ่านช่องคลอด  ความรู้สึกในขณะนี้ คุณแม่จะมีอาการปวดอยากเบ่งเหมือนปวดอุจจาระแต่ยังไม่ต้องรีบเบ่งคลอดนะคะ

บทความแนะนำ  เรื่องน่ารู้!!! ช่วยแม่คลอดด้วยการคีบและดูด

ระยะที่ 2  มดลูก : การคลอด

มดลูก การคลอดลูก

แบ่งออกเป็น 2 ระยะย่อย ดังนี้

ระยะย่อยที่ 1 ระยะเฉื่อย 

ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 10 – 30 นาทีเท่านั้น  ถือว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับระยะที่ 1 มดลูกในขณะนี้จะมีการหดตัวน้อยลงหรือไม่หดตัวเลย จึงเรียกว่า ระยะเฉื่อย   ในช่วงนี้คุณแม่ปล่อยตามธรรมชาติค่ะ ไม่ต้องเบ่งคลอดแต่อย่างใด

ระยะย่อยที่ 2 ระยะเร่ง

1. มดลูกในระยะนี้มีการหดตัวทุก 3 – 5 นาที เป็นระยะเวลาประมาณ 45 – 70 วินาที เป็นระยะเวลาของการเบ่งคลอดค่ะ เอ้า ฮึบ!!! เบ่งคลอดค่ะ  อุแว๊ !!!!! ยินดีด้วยค่ะคุณแม่  ทารกน้อยคลอดออกมาแล้ว

2. ระยะที่ 2 ของการคลอดสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอดออกมา  ในท้องแรกระยะเวลานี้กินเวลาอยู่ที่ประมาณ 1 ชั่วโมง  แต่สำหรับครรภ์ต่อ ๆ ไป จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที

ระยะที่ 3  มดลูก :การคลอดรก

มดลูก การคลอดลูก

1. เริ่มตั้งแต่ทารกน้อยคลอดออกมาจนถึงระยะคลอดรกออกมาหมด ในช่วงนี้มดลูกจะหดตัวไม่สม่ำเสมอ คุณแม่จะรู้สึกแน่น ๆ เมื่อรกลอกตัวและเคลื่อนตัวคลอดออกมา  ทำให้คุณแม่รู้สึกบีบ ๆ อยากเบ่ง

2. ในระยะนี้สามารถคลอดรกเองได้จากการทำงานของออกซิโทซินที่ช่วยให้มดลูกหดรัดตัวบีบไล่รกออกจากโพรงมดลูก ซึ่งกินเวลาประมาณ 20 นาที

คลิปการคลอดที่สุดแสนประทับใจ (ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด)

ได้ทราบกันแล้วนะคะถึงขั้นตอนการคลอด  ตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริง  เป็นขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นในการคลอดแบบธรรมชาติ  จวบจนกระทั่งคลอดทารกและคลอดรกออกมา ทุกขั้นตอนจะมีคุณหมอและทีมแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิดและมีความปลอดภัยสูง  ไม่ต้องกังวลใด ๆ นะคะ นึกถึงเจ้าหนูที่คลอดออกมาแค่นี้ก็ชื่นใจแล้ว

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

หนังสือ คู่มือคุณแม่เตรียมตัวก่อนคลอดและการปฏิบัติตนหลังคลอด  ปาริชาติ  ชมบุญ ผู้แต่ง

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

10 เคล็ดลับ ก่อนและหลังการคลอดลูกที่แม่มือใหม่ควรรู้

ภาพชุดที่สื่อช่วงเวลาคลอดลูกได้สวยงามที่สุด

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การทำงานของมดลูกตั้งแต่เจ็บครรภ์จนคลอด
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว