X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

บทความ 5 นาที
ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

หากคุณแม่ท้องมีอาการไม่สบายตัว ปวดหัว มีไข้ ไอ เป็นหวัดคัดจมูก เจ็บคอ ปวดท้อง อาเจียน แพ้ท้อง อาการทั่วๆ ไปแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะสามารถรับประทานยาที่คุ้นเคยได้เสมอไป มาดูกันว่ายาอะไรที่คนท้องไม่ควรกิน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้

ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

เภสัชกร ธีรวุฒิ พงศ์เศรษฐไพศาล นายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) กล่าวว่า องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้แบ่งประเภทของยาสำหรับสตรีมีครรภ์เอาไว้ 5 กลุ่ม ได้แก่

1.กลุ่ม A – ยาที่ปลอดภัย สามารถรับประทานได้ เช่น paracetamol โดยรับประทานในปริมาณปรกติ คือรับประทานครั้งละ 1 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรรม) วันละ 4 ครั้ง และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกิน 5 วัน

2.กลุ่ม B – ยาที่ไม่ควรรับประทาน แต่หากจำเป็นก็รับประทานได้ ได้แก่ ยาแก้อักเสบ เช่น  amoxicillin , ampicillin แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร

3.กลุ่ม C – ยาไม่ค่อยมีความปลอดภัยในสตรีมีครรภ์ เช่น ยาแก้อักเสบบางชนิด ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องใช้ ควรเลี่ยงไปใช้ยาในกลุ่ม B แทน

4.กลุ่ม D –  ยาที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความผิดปรกติต่อทารกในครรภ์ เช่น ยาต้านอาการชัก ยารักษาโรคธัยรอยด์ ยาในกลุ่ม Sulfa ยาควบคุมความดันโลหิต และ Tetracycline ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องใช้เพื่อช่วยชีวิตมารดา แพทย์จะพิจาณาใช้เป็นราย ๆ ไป

5.กลุ่ม X –  ยาที่เป็นอันตรายต่อสตรีมีครรภ์ เช่น ยานอนหลับ ยาคุมกำเนิด (ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ของทารกมีปัญหา) ยารักษาไมเกรน (ทำให้แท้งได้) ยารักษามะเร็ง (อาจทำให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่) ยารับประทานรักษาสิวในกลุ่มวิตามิน A สงเคราะห์ (ทำให้เกิดความพิการในทารก)

ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

สำหรับยาสามัญประจำบ้านตัวอื่น ๆ เช่นยาแก้แพ้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ยาแก้แพ้ท้อง (dimenhydrinate หรือ วิตามิน B6) เป็นยาที่สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้ ส่วนยาแก้ไข้ในกลุ่ม aspirin, Ibuprofen เป็นยาที่ไม่ควรใช้ เพราะอาจทำให้เกิดเลือดออกหรือจ้ำเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

ดูรายชื่อยาที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ที่คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยง คลิกหน้าถัดไป

ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

ศ.(คลินิก) นพ. สุวชัย อินทรประเสริฐ ได้ยกตัวอย่างยาที่เป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ดังนี้

  1. ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ

บางครั้งที่คุณแม่อาจมีอาการเจ็บคอหรือเป็นหวัด ก็อาจหาซื้อยาแก้อักเสบมาทานเอง แต่ทราบไหมว่า เชื้อไวรัสหวัดนั้นใช้ยาแก้อักเสบไม่ได้ผล และยาแก้อักเสบบางชนิดยังเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ เช่น

  1. เตตราซัยคลีน ที่ชาวบ้านเรียกยาแคปซูลสีแดง-เหลืองใช้รักษาอาการติดเชื้อ จะมีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูก ถ้าใช้ไปลูกของคุณจะมีฟันออกสีเหลืองไปชั่วชีวิต ไม่สามารถแก้ไขได้เลยครับ
  2. ซัลฟา ถ้าใช้ยาช่วง 2-3 อาทิตย์ก่อนคลอดอาจจะทำให้ทารกคลอดออกมาแล้วตัวเหลือง
  3. คลอแรม กดการทำงานของไขกระดูกที่สร้างเม็ดเลือดทำให้เลือดจาง เด็กที่เกิดมาจะตัวเขียว (Gray Syndrome) ซีด ท้องป่อง และอาจจะช็อกเสียชีวิต
  4. สเตรปโตมัยซิน อาจจะทำให้ลูกหูตึงหรือหูหนวก
  5. คลอโรควิน และควินิน ที่ใช้รักษาโรคมาลาเรียหรือไข้จับสั่น อาจจะทำให้แท้งบุตร
  6. หากจำเป็นต้องใช้ ยากลุ่มเพนนิซิลิน และแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับแม่ท้อง ยกเว้นผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น อย่างไรก็ตามไม่ควรซื้อยากินเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  1. ยาบรรเทาอาการปวดและลดไข้
  1. แอสไพรินและไอบูโพรเฟน ถ้าทานในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร 5-6 เท่า ถ้าทานในช่วงใกล้คลอด อาจจะไปยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของทารกในครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุด
  2. ยารักษาโรคไมเกรนกลุ่มเออโกตามีน ยากลุ่มนี้ทำให้มดลูกบีบตัว อาจจะทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
  3. พาราเซตามอล เป็นยาแก้ปวดและลดไข้ที่ใช้ได้ปลอดภัยในผู้ตั้งครรภ์ เพราะยังไม่มีรายงานว่าทำให้ลูกน้อยเกิดความพิการหรือผิดปกติแต่อย่างใด
  1. ยาแก้คัน แก้แพ้

ยาแก้แพ้ คลอเฟนิรามีน ถ้าใช้ชั่วคราวอาจไม่ส่งผลมากนัก แต่ถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจจะมีเลือดไหลผิดปกติได้

ยา

  1. ยาแก้ไข้หวัด

มักประกอบด้วยยาลดไข้พวกพาราเซตามอล และยาแก้แพ้ หรือยาลดน้ำมูก โดยทั่วไปมักไม่มีอันตราย หากใช้เพียงชั่วคราว แต่หากเป็นยาชุดแก้หวัดอาจมีสเตียรอยด์ปนมาด้วยควรหลีกเลี่ยง

  1. ยานอนหลับและยากล่อมประสาท

หากคุณแม่นอนไม่หลับ ควรขอคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น ไม่ควรซื้อมาใช้เอง เพราะถ้าใช้ยาในขนาดมากๆ จนคุณแม่เกิดอาการติดยา ลูกที่เกิดมาอาจจะมีอาการหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า มีอาการคล้ายคนติดยา ชักกระตุก นอกจากนี้อาจจะทำให้มีเลือดออกผิดปกติในตัวเด็กอีกด้วย

  1. ยารักษาเบาหวาน

ถ้าคุณแม่เคยใช้ยาฉีดพวกอินซูลินก็ยังใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นยารับประทานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำให้น้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ และมีรายงานว่ายากลุ่มนี้ทำให้ทารกพิการได้ ควรปรึกษาคุณหมอว่าควรดูแลสุขภาพอย่างไรจะปลอดภัยที่สุด

  1. ยากันชัก

อาจทำให้เกิดความพิการทารกโดยมีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิดอาจจะทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า

  1. ยาบรรเทาอาการไอ

ยาแก้ไอชนิดที่ไม่มีไอโอดีน ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้

ควรใช้ยากลุ่มละลายเสมหะ ชนิดที่ไม่ดูดซึมไปสู่ลูกในครรภ์ เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว ละลายออกมาได้ง่ายจะปลอดภัยกว่า

  1. ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจจะทำให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อเด็กในท้องได้

  1. ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง

ควรให้หมอเป็นผู้สั่งยา อย่าซื้อทานเองเด็ดขาด

บทความจากพันธมิตร
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้

แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกชนิด ยกเว้นเมื่อจำเป็นจริงๆ หรือแจ้งคุณหมอหรือเภสัชกรว่าตั้งครรภ์ทุกครั้ง เพื่อที่จะได้จ่ายยาที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

อ้างอิงข้อมูลจาก

www.prema.or.th

หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด โดย ศ.(คลินิก) นพ. สุวชัย อินทรประเสริฐ

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

8 อาหารเสริมแคลเซียมสำหรับคนท้องที่ไม่ชอบดื่มนม

ใช้เครื่องสำอางอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูกในท้อง

คนท้องกินยาอะไรได้บ้าง ป่วยแล้วต้องทำยังไง กินยาอะไรไม่ให้กระทบลูกในท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้องไม่ควรกินยาอะไร ยาแก้ปวดที่คนท้องห้ามกิน มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดลูกในท้อง

    คนท้องไม่ควรกินยาอะไร ยาแก้ปวดที่คนท้องห้ามกิน มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดลูกในท้อง

  • คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง ? มาดู 24 อาหารที่คนท้องห้ามกิน!

    คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง ? มาดู 24 อาหารที่คนท้องห้ามกิน!

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

app info
get app banner
  • คนท้องไม่ควรกินยาอะไร ยาแก้ปวดที่คนท้องห้ามกิน มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดลูกในท้อง

    คนท้องไม่ควรกินยาอะไร ยาแก้ปวดที่คนท้องห้ามกิน มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดลูกในท้อง

  • คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง ? มาดู 24 อาหารที่คนท้องห้ามกิน!

    คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง ? มาดู 24 อาหารที่คนท้องห้ามกิน!

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ