X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์

บทความ 3 นาที
พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์

ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ทราบดีว่าการพูดคุยกับลูกน้อยในครรภ์สามารถเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูกได้ คุณแม่บางคนจึงเปิดเพลงคลาสสิกให้ลูกฟัง บ้างร้องเพลง บ้างอ่านหนังสือ แต่คุณแม่ทราบไหมว่า จริงๆ แล้วลูกในท้องได้ยินเสียงตอนกี่เดือน ติดตามพัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ไปพร้อมกับเรา

พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์

พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร ลูกในท้องได้ยินเสียงตอนกี่เดือน และคุณแม่จะสามารถกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินของลูกน้อยได้อย่างไร เรามีคำตอบ

  • สัปดาห์ที่ 4-5 เซลล์ภายในตัวอ่อน เริ่มพัฒนาไปเป็น ใบหน้า สมอง จมูก หู และตา ของทารก
  • สัปดาห์ที่ 9 รอยเว้าเล็กๆ ปรากฏที่ด้านข้างของลำคอทารก เพื่อพัฒนาเป็นหูทั้งด้านในและด้านนอก จากนั้นค่อยๆ เลื่อนขึ้นด้านบน และกลายเป็นขดหูเล็ก ๆ ในไตรมาสที่ 1 และ 2 หูของทารกยังคงพัฒนาต่อไป โดยหูชั้นในจะเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทในสมองที่รับผิดชอบการประมวลผลเสียงและกระดูกเล็กๆ ของหูชั้นกลาง ซึ่งทำหน้าที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง
  • สัปดาห์ที่ 18 ลูกน้อยได้ยินเสียงเป็นครั้งแรก
  • สัปดาห์ที่ 24 หูน้อยๆ พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทารกจะมีความไวต่อเสียงมากขึ้น โดยเสียงที่ทารกได้ยินในช่วงนี้เป็นเสียงภายในตัวคุณแม่ เช่น เสียงหัวใจคุณแม่ เสียงอากาศที่เข้าและออกจากปอด เสียงคุณแม่ท้องร้องโครกคราก หรือแม่แต่เสียงเลือดไหลเวียนผ่านสายรก
  • สัปดาห์ที่ 25-26 ทารกสามารถตอบสนองต่อเสียงโดยหันศีรษะหาเสียงได้แล้ว แต่ลูกจะได้ยินเสียงจากภายนอกไม่ชัด เนื่องจากถูกล้อมรอบด้วยน้ำคร่ำและชั้นของร่างกาย เสียงจากภายนอกจึงลดลงครึ่งหนึ่งก่อนจะผ่านเข้าไปถึงลูกน้อย

แต่เสียงที่ทารกได้ยินชัดที่สุดคือเสียงของแม่ ในไตรมาสที่สามลูกน้อยสามารถจดจำเสียงของแม่ได้แล้ว เมื่อได้ยินเสียงของแม่ อัตราการเต้นของหัวใจลูกจะสูงขึ้นทำให้ลูกตื่นตัวมากขึ้นเมื่อคุณแม่กำลังพูด

พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์

พัฒนาการการได้ยินของเด็กในครรภ์

คุณแม่จะช่วยเสริมพัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ ได้อย่างไร?

Advertisement

ทารกจะได้ยินเสียงได้ดีตั้งแต่เดือนที่ 5 เป็นต้นไป เนื่องจากเครือข่ายใยประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการได้ยินของลูกมีพัฒนาการดีขึ้น คุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยวิธีง่ายๆ

  1. คุยกับลูกบ่อยๆ เพียงน้ำเสียงปกติในชีวิตประจำวันของคุณแม่ รวมถึงการร้องเพลง หรืออ่านหนังสือ ก็ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกได้แล้ว
  2. การเปิดเพลงให้ลูกฟัง ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นเพลงแนวไหน โมสาร์ท คลาสสิก ป๊อบ ร็อค ลูกทุ่ง ขอให้เป็นเพลงที่ฟังสบาย จะช่วยให้ลูกรู้สึกถึงจังหวะซึ่งจะไปกระตุ้นพัฒนาการได้ยิน พัฒนาการทางอารมณ์ และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เมื่อลูกดิ้น หรือขยับตัวตามจังหวะดนตรี
  3. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังตลอดเวลา หรือดังซ้ำๆ บ่อยๆ เนื่องจากเสียงรบกวนอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูก และอาจทำให้ลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโตสูญเสียการได้ยิน หากคุณแม่ต้องทำงานในที่ที่มีเสียงรบกวนยาวนาน 8 ชั่วโมงต่อวัน แนะนำให้คุยกับหัวหน้างาน เพื่อย้ายแผนกชั่วคราว

คุณแม่ได้ทราบแล้วว่าพัฒนาการการได้ยินของลูกน้อยเริ่มต้นอย่างไร ดังนั้น อย่าพลาดโอกาสทองในการกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์นะคะ

ที่มา www.healthline.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

โมสาร์ท VS คลาสสิคเพลงแนวไหนสร้างลูกให้ฉลาดตั้งแต่ในครรภ์

รวมเพลงสําหรับคนท้อง ฟังได้ทั้งแม่และลูก

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง ช่วยคุณแม่รับมืออาการผิดปกติช่วงตั้งครรภ์แบบได้ผล

parenttown

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว