X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ผลวิจัยเผย เนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากให้นมลูก

บทความ 10 นาที
ผลวิจัยเผย เนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากให้นมลูก

หลังจากร่างกายไม่ได้ผลิตน้ำนมเพื่อเป็นอาหารของลูกแล้ว ร่างกายคุณแม่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งขั้นตอนนั้นอาจจะใช้ยับยั้งโรคมะเร็งเต้านมได้นะคะ

ระหว่างกระบวนการให้นมของคุณแม่ ผู้หญิงเราจะผลิตน้ำนมที่มีทั้งคุณค่าอาหารที่สูง และภูมิคุ้มกันเพื่อเป็นอาหารให้ลูกแข็งแรง เป็นปริมาณเกือบ 1 ลิตรต่อวัน ดังนั้นเนื้อเยื่อที่อยู่ในใต้ผิวหนังจะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อการผลิตน้ำนมให้ได้ปริมาณเยอะๆ และเนื้อเยื่อจะเปลี่ยนแปลงอีกครั้งนึง เมื่อลูกหย่านม และร่างกายรับรู้แล้วว่า ร่างกายไม่จำเป็นต้องผลิตน้ำนม

ลูกหย่านม แม่ก็หยุดผลิตนม

หลังจากการหย่านมลูก ร่างกายจะรับรู้ว่าลูกไม่ดูดนมแล้ว ไม่มีความจำเป็นในการผลิตน้ำนมอีกต่อไป เซลล์ที่ผลิตน้ำนมจะตายลง ซึ่งขั้นตอนนี้เรียกว่า apoptosis หรือรูปแบบการตายของเซลล์ ซึ่งจะลำเลียงสารที่ไม่ใช้ในการผลิตน้ำนม โดยเซลล์ภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่กลืนกินเซลล์เหล่านั้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่กินพื้นที่เป็นวงกว้างและใช้เวลานาน โดยผลการวิจัยเผยว่า ระหว่างที่กระบวนการนี้คุณแม่จะเกิดอาการเจ็บปวดและเกิดความเสียหาย ณ บริเวณนั้นๆ

shutterstock_298403315

ความหวังของการรักษามะเร็งเต้านม

ซึ่งจากการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ที่เปลี่ยนแปลงตามความต้องการใช้งานของร่างกายมนุษย์นี้เอง ทีมงานวิจัยทำการติดตามขั้นตอนเหล่านี้ เนื่องจากหวังว่าอาจจะค้นพบวิธีรักษามะเร็งเต้านม ถ้าเซลล์ที่แข็งแรงสามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้ เหมือนกับการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่กลืนกินเซลล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วนั่นเองค่ะ

รับมือ!!!ร่างกายเปลี่ยนแปลงเมื่อตั้งครรภ์

Advertisement

แม้ว่ารูปร่างของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงไปมากก็ตาม แต่อย่ากังวลไปเลยคะเพราะมันเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อคลอดเจ้าตัวน้อยแล้ว คุณแม่เตรียมฟิตแอนด์เฟิร์ม ไม่นานก็กลับมาสวยเซี้ยะ!!! ได้เหมือนเดิมแล้วค่ะ มาดูกันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง เตรียมพร้อมรับมือได้เลยค่ะ

1. เส้นผมและหนังศีรษะ

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

ในช่วงตั้งครรภ์เส้นผมและหนังศีรษะจะมีการเปลี่ยนแปลง เกิดจากได้รับอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะอยู่ในระดับสูงติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้คุณแม่มีเส้นผม เส้นขนดกดำขึ้น หนังศีรษะมีความมัน จนบางครั้งผมจะดูลีบแบนจัดทรงยาก แต่เมื่อคลอดแล้ว ในเวลาอีกไม่เกิน 2 – 3เดือน ผมของคุณแม่จะเริ่มหลุดร่วง เพราะฮอร์โมนในร่างกายเริ่มปรับลดลงเข้าที่ ช่วงนี้ผมจะร่วงมากสักหน่อยแต่ไม่นานก็จะกลับมาเป็นปกติ

รับมืออย่างไร : ไหน ๆ ผมก็มันเยิ้ม และแถมจัดทรงยาก อย่าปล่อยให้ยาวรุงรังเลยค่ะ มาเปลี่ยนลุคส์ ตัดผมให้เข้ากับใบหน้า ผมสั้นเหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะจะดูทะมัดทะแมง แถมยังดูแลง่ายอีกด้วย แต่ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรก ห้ามย้อมสีผมหรือแม้แต่ทำไฮไลท์ที่ผมก็ตาม เพราะสารเคมีจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่ทารกน้อยได้อาจเกิดอันตรายต่อทารกน้อยได้นะคะ

บทความแนะนำ ฝันร้ายของคนท้อง เมื่อฉันผมร่วงหมดศีรษะขณะตั้งครรภ์

2. ผิวหนัง

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

ผิวหนังคล้ำ (hyperpigmentation)

สีผิวจะเปลี่ยนไป คือ สีจะคล้ำลง สีผิวเปลี่ยนเกิดจากเมลาโนลินในชั้นผิวหนังเพิ่มมากขึ้น จากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนในช่วงที่ท้อง ทำให้ผิวหนังคล้ำขึ้น พบบ่อยบริเวณรอบสะดือ อวัยวะเพศ และข้อพับต่าง ๆ ถ้าเป็นที่บริเวณแนวกลางหน้าท้อง (linea nigra) ถ้าสะสมบริเวณใบหน้าจะกลายเป็นฝ้าสีน้ำตาล

ผิวหนังลาย (striae gravidarum)

อาการผิวหนังลาย พบได้บ่อยเฉลี่ยร้อยละ 50 ของแม่ท้อง มักเกิดในบริเวณท้อง ต้นขา เต้านม และก้น ลักษณะเป็นแนวเส้นสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีเงินจาง ๆ ตอนหลังคลอด เป็นลักษณะที่เรียกว่า ท้องลาย (stretch mark) นอกจากนี้ ยังมีผิวที่นูนขึ้นคล้ายใยแมงมุม สีแดง มักเกิดขึ้นบ่อยที่ใบหน้าและแขนขา ผิวลายนั้นเป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ คุณแม่บางคนจะพบว่า มีเส้นเลือดขอดและริดสีดวงทวารได้ง่าย และมีสิวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีต่อมเหงื่อและต่อมไขมันบริเวณใบหน้าเพิ่มขึ้น

บทความแนะนำ แม่ตั้งครรภ์ท้องลายVSท้องไม่ลาย เกิดจากอะไร

รับมืออย่างไร : ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนังสม่ำเสมอด้วยการทาโลชั่น แต่ควรหลีกเลี่ยงชนิดที่เป็นไวเทนนิ่ง เพราะจะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า จะยิ่งทำให้ผิวคล้ำง่ายขึ้น สำหรับเรื่องท้องลาย สิ่งสำคัญ คุณแม่ต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้นมากเกินไป เพื่อให้ผิวหนังบริเวณท้อง ต้น ขา และก้น ขยายตัวไม่ทันกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดผิวแตกลาย เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ก็ควรทาโลชั่นบำรุงผิวได้เลยคะ อาจจะใช้เป็นน้ำมันมะพร้าวก็ดีนะคะปลอดภัยด้วย หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทาในช่วงตั้งครรภ์โดยเฉพาะก็ได้

3. ตกขาว

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

คนท้องโดยทั่วไปมักมีอาการตกขาวเป็นปกติ เนื่องจากร่างกายจะมีการสร้างของเหลวออกมา เพื่อหล่อลื่นปากช่องคลอดตลอดเวลา และเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากขึ้น จึงทำให้เกิดตกขาวในปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย ลักษณะของตกขาวปกติจะมีสีขาวขุ่นหรือครีม แต่หากตกขาวมีการเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว เหลือง ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพราะอาจเกิดการติดเชื้อได้

บทความแนะนำ ส่องสุขภาพ ตกขาวบอกโรคได้

รับมืออย่างไร : ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ต้องดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศไม่ควรให้อับชื้น ที่สำคัญกางเกงชั้นในควรใส่ชนิดที่เนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี มีความยืดหยุ่นของเนื้อผ้า หมั่นสังเกตด้วยว่า ตกขาวที่ออกมานั้นมีลักษณะผิดปกติหรือไม่ หรือมีเลือดสด ๆ ติดออกมาด้วยหรือไม่ หากเกิดความผิดปกติใด ๆ ควรปรึกษาคุณหมอโดยด่วนนะคะ

4. เต้านมคัดตึง

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

 

เป็นอาการปกติของผู้หญิงส่วนใหญ่ มักจะมีอาการคัดตึงเต้านมได้ในช่วงก่อนมีประจำเดือน แต่อาการคัดตึงเต้านมในแม่ตั้งครรภ์นั้นจะมีอาการมากกว่า และระยะเวลานานกว่า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน นอกจากมีการคัดตึงแล้ว บริเวณหัวนมและลานหัวนมจะมีสีคล้ำขึ้น ลานหัวนมมีขนาดกว้างขึ้น อาการนี้จะสังเกตได้หลังประจำเดือนขาดไป ประมาณ 1 เดือน

รับมืออย่างไร : เต้านมจะขยายเรื่อย ๆ เพื่อรองรับการสร้างน้ำนมในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทารกน้อยหลังคลอด ควรเปลี่ยนไซส์ของชุดชั้นในตามความเหมาะสม ทำให้การสวมใส่สบายขึ้นและรักษาทรวดทรงของคุณแม่อีกด้วย

5. เลือดออกทางช่องคลอด

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

มักมีอาการเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด ในช่วง 11-12 วันหลังจากมีการปฏิสนธิ เนื่องจากตัวอ่อนมีการฝั่งตัวบริเวณเยื้อบุโพรงมดลูก ลักษณะของเลือดที่ออกมาจะมีสีแดงจางและจะหยุดไหลไปเองใน 1-2 วัน โดยจะต้องไม่มีอาการปวดเกร็งท้องร่วมด้วย หากพบว่าเลือดไหลไม่หยุดร่วมกับอาการปวดเกร็งท้องควรรีบปรึกษาคุณหมอ

รับมืออย่างไร : ควรนอนพักผ่อนให้มาก ควรพักนิ่งๆ ไม่ควรใช้กำลังมาก เช่น เดิน วิ่ง หรือออกกำลังกายใด ๆ ทั้งสิ้น และห้ามยกของหนักเด็ดขาด หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น ปวดท้องมากกว่าเดิม หรือเลือดไหลนานเกินกว่า 3 – 4 วัน ควรปรึกษาคุณหมอโดยด่วนค่ะ

บทความแนะนำ วิธีออกกำลังกายง่าย ๆ ได้ตอนตั้งครรภ์

6. อาการปวดท้องน้อยบริเวณเหนือหัวหน่าว

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

อาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย มักจะเกิดขึ้นในช่วง เดือนที่ 4-5 เพราะมดลูกมีขนาดโตขึ้น ทารกน้อยมีขนาดศีรษะที่ใหญ่ขึ้น ตัวโตขึ้น จึงไปกดทับบริเวณกระดูกเชิงกราน อาการปวดจะเป็นเล็กน้อยพอรำคาญ อาจจะมีอาการตึงบริเวณขาหนีบร่วมด้วย

รับมืออย่างไร : นอนเอนหลังพิงในท่าที่สบาย ยกขาสูงขึ้นเล็กน้อย ลดการยืนหรือเดิมนาน ๆ ก็จะดีขึ้น

บทความแนะนำ การปฏิบัติตัวของคนท้อง : ยืน เดิน นั่ง นอน อย่างไรให้ถูกต้อง
อ่าน รับมือ!!!ร่างกายเปลี่ยนแปลงเมื่อตั้งครรภ์ ข้อ 7 – 12 คลิกหน้าถัดไป

7. จมูก

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

คงแปลกใจนะคะว่า การตั้งครรภ์ทำไมเกี่ยวข้องกับจมูกด้วย มาดูกันค่ะว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร

รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ในช่วงตั้งครรภ์อาจเกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูกที่เกิดจากการตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น การเพิ่มปริมาณของเลือดในหลอดเลือดของแม่ รวมถึงอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ซึ่งมีผลในการกระตุ้นระบบประสาทที่มาเลี้ยงเยื่อบุจมูก ทำให้เส้นเลือดในเยื่อบุจมูก มีการขยายตัว และมีการกระตุ้นการทำงานของต่อมสร้างน้ำมูกในเยื่อจมูกมากขึ้น ทำให้เกิดอาการทางจมูก หรือเกิดไซนัสอักเสบได้ง่าย หรืออาจทำให้โรคของจมูกและไซนัสที่มีอยู่แล้วแย่ลงได้ ซึ่งส่วนใหญ่อาการต่าง ๆ ของจมูกและไซนัสจะดีขึ้นเอง 5 วันหลังคลอด

รับมืออย่างไร : ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ควรอยู่ในที่ร้อนอบอ้าวหรือเย็นจัด อาจทำให้ไม่สบายหรือโรคที่เป็นอยู่กำเริบได้ง่าย อย่างไรก็ตามควรปรึกษาคุณหมอหากเกิดโรคไซนัสหรือภูมิแพ้ต่าง ๆ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาดเพราะยาอาจจะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้

8. ช่องปาก

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

มีช่วงตั้งครรภ์การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมาก ส่งผลให้น้ำลายในปากมีมากขึ้น อาจก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ง่าย บางคนในช่วงตั้งครรภ์จะมีการงอกของเหงือกมากกว่าปกติ เมื่อเคี้ยวอาหารบางครั้งไปโดนกระทบกระเทือนทำให้มีเลือดออกได้ สำหรับคุณแม่ที่สุขภาพเหงือกและฟันไม่ดี เช่น มีเลือดออกตามไรฟัน หรือการอักเสบเหงือกอยู่ก่อนแล้วจากมีหินปูนเกาะก็ทำให้เลือดออกง่ายขึ้นด้วย

บทความแนะนำ แม่ท้องมีเลือดออกตามไรฟันจะเป็นอันตรายหรือไม่

รับมืออย่างไร : รักษาความสะอาดของช่องปากอยู่เสมอ แปรงฟันหลังรับประทานอาหารหรือบ้วนปากทุกครั้ง หากมีอาการเสียวฟัน ฟันผุ คราบหินปูน ควรให้คุณหมอตรวจดู ถ้าไม่มีการอักเสบก็ไม่มีปัญหาใด ๆ ถ้ามีหินปูนเกาะหรือเหงือกอักเสบก็สามารถทำฟันได้ขณะตั้งครรภ์

9. อารมณ์ทางเพศ

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่บางคนอาจจะมีอารมณ์ทางเพศมากกว่าปกติเสียด้วยซ้ำ ไม่ใช่เรื่องน่าอายนะคะ นั่นเป็นเพราะผลพวงมาจากเลือดที่ไหลไปเลี้ยงอวัยวะเพศมากขึ้น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการหลั่งของเหลวมากขึ้น และหน้าอกที่ใหญ่และไวต่อสัมผัสมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณแม่จะมีอารมณ์ทางเพศมากขึ้นตามไปด้วย

รับมืออย่างไร : ควรใช้ท่าในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์ ทั้งคู่ควรหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักไปที่มดลูกหรือลงน้ำหนักทั้งตัวไปที่ท้องของหญิงตั้งครรภ์ แม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการนอนหงายหรือนอนตะแคงขวาเป็นเวลานาน เป็นต้น

บทความแนะนำ คำแนะนำการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งท้องสำหรับคุณพ่อ

10. ริดสีดวงทวารหนัก

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

แม่ท้องมีโอกาสที่จะเป็น โรคริดสีดวงทวารหนักมากกว่าคนปกติ ทั้งนี้เนื่องจากฮอร์โมนของคุณแม่ในขณะท้อง จะทำให้มีขยายของเส้นเลือดดำบริเวณลำไส้ใหญ่ เป็นผลทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวช้า และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น มดลูกก็ใหญ่ขึ้น จึงทำให้ไปกดบนเส้นเลือดดำ เกิดการไหลเวียนไม่ดี ทำให้เลือดคั่งบริเวณปลายลำไส้ใหญ่ หากเกิดอาการท้องผูกบ่อย ๆ อาจจะถ่ายเป็นเลือดและปวดทวารหนัก

รับมืออย่างไร : ควรกินอาหารที่มีกากใยอาหารมาก ๆ เช่น ผักตำลึง มะรุม ผลไม้ เช่น ส้ม มะละกอ ลูกพรุน ชมพู่ มะม่วงสุก เป็นต้น อาการริดสีดวงจะหายไปแน่นอนเมื่อคุณแม่คลอดลูกแล้ว

11. อาการปัสสาวะบ่อย

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

ร่างกายในช่วงตั้งครรภ์มีการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมของมดลูกให้เหมาะกับการเติบโตของทารกในครรภ์ มดลูกที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น มีเลือดไหลผ่านไตมากขึ้นทำให้ไตมีการกรองปัสสาวะมากขึ้น ในขณะเดียวกันมดลูกที่อยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะก็มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้พื้นที่ในการเก็บปัสสาวะมีน้อยลงส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นด้วย

รับมืออย่างไร : ดื่มน้ำตามปกติ ไม่ต้องกังวลว่าดื่มน้ำมาก ๆจะยิ่งปวดปัสสาวะบ่อย และควรรักษาความสะอาดให้ดี หลังจากที่ขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และไม่ควรอั้นปัสสาวะอีกด้วยอาจเกิดอันตรายได้

12. ปวดหลัง

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

อาการปวดหลังของคนท้อง สาเหตุเกิดจากการที่ท้องใหญ่ขึ้น มีการแอ่นตัวและมีน้ำหนักของท้องถ่วงด้านหน้า จึงเกิดอาการปวด ยอกหลัง บริเวณเอว และก้นกบ

รับมืออย่างไร : ลดการยืนเดินนาน ๆ ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบ และใส่รองเท้าส้นแบน

บทความแนะนำ วิธีป้องกันและรักษาอาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์

อ่าน รับมือ!!!ร่างกายเปลี่ยนแปลงเมื่อตั้งครรภ์ ข้อ 13 – 17 คลิกหน้าถัดไป

13. มีกลิ่นตัว

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

กลิ่นตัวเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ ระดับของเหลวในร่างกาย และอัตราการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับความเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ซึ่งทำให้คุณแม่เหงื่อออกมากขึ้น เพราะร่างกายอุณหภูมิสูงมากขึ้นกว่าเดิม มีความรู้สึกร้อนง่ายกว่าปกติ จากที่ไม่ชอบพัดลม ก็ต้องมานั่งอยู่หน้าพัดลม นั่นเป็นเพราะมีการเปลี่ยนของร่างกายและมีการใช้พลังงานมากขึ้นนั่นเอง

รับมืออย่างไร : อาบน้ำบ่อย ๆ ขึ้นหากกลัวผิวแห้งผสม Baby Oil ลงในน้ำที่อาบสัก 1-2 หยดก็ได้ค่ะ หมั่นเปลี่ยนเสื้อผ้า ชุดชั้นใน ที่อับชื้นเหงื่อ เพราะอาจทำให้เกิดระคายเคืองผิวหนังได้ จะช่วยลดกลิ่นกายด้วย

บทความแนะนำ 5 วิธีแก้ปัญหามีกลิ่นตัวได้ผลชัวร์

14. ท้องแข็ง

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

อาการท้องแข็ง ในขณะตั้งครรภ์ มดลูกจะมีอาการบีบตัวเป็นครั้งคราว ประมาณ 7-8 ครั้งต่อวัน ขณะที่บีบรัดนี้ คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกแข็งกว่าปกติ คุณแม่อาจจะมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ปวดหัวหน่าว ปวดหลังร่วมด้วย อาการปวดนี้จะอยู่ไม่นานเกิน 1 นาที แล้วจะหายซึ่งเป็นอาการปกติ

บทความแนะนำ 4 พฤติกรรมควรหยุด!!! เมื่อรู้สึกท้องแข็ง

รับมืออย่างไร : ในกรณีที่อาการท้องแข็งเกิดขึ้นทุก 10 นาที ในขณะที่อายุครรภ์ก็ยังไม่ครบกำหนด กรณีนี้ต้องไปพบคุณหมอโดยด่วน อาจเป็นอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้

15. มือ/เท้า บวม

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

อิทธิพลของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ทำให้มีการอมน้ำในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น ที่ปลายมือ หน้าแข้ง และเท้า มักเป็นส่วนที่ห้อยลงต่ำทำให้น้ำไหลลงมากองบริเวณนั้น ทำให้รู้สึกบวมกว่าอวัยวะอื่น ๆ ยิ่งอายุครรภ์แก่มากขึ้นเท่าไร อาการบวมจะมากขึ้น

รับมืออย่างไร : การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ควรนั่งหรือ ยืนนาน ๆ หากเกิดอาการบวมมากผิดปกติ เช่น หน้าบวม มือ เท้า บวมเป่งผิดปกติ อาจเกิดครรภ์เป็นพิษร่วมด้วยควรปรึกษาคุณหมอค่ะ

บทความแนะนำ 5 อาการยอดฮิตช่วงท้องไตรมาส 3

16. แพ้ท้อง

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

คนท้องส่วนใหญ่เมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 1-2 เดือน มักจะเจอกับปัญหาคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หน้ามืดได้ กินอาหารแล้วอาเจียน เหม็นกลิ่นอาหารบางชนิด ชอบกินของเปรี้ยว บางรายแพ้จนใกล้คลอด แต่บางรายก็ไม่แพ้เลยก็มี ซึ่งอาการเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “การแพ้ท้อง” อาการแพ้ท้องนั้นเป็นผลจากร่างกายมีการผลิตฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (HCG) มากขึ้นร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของระบบเผาพลาญในร่างกายที่ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำจึงเกิดอาการเวียนศีรษะหน้ามืดได้

บทความแนะนำ เคล็ดลับบรรเทาอาการแพ้ท้องให้อยู่หมัด

รับมืออย่างไร : การแพ้ท้องเป็นกลไกของธรรมชาติ เหตุผลเพื่อเป็นการปกป้องไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปส่งผลต่อตัวอ่อน ของทารก การแพ้ท้องบางคนมีอาการรุนแรงมาก จนกินอาหารไม่ได้ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะอาการแพ้ท้องเหล่านั้นจะค่อย ๆ ลดลงภายใน 3 เดือน

17. ตะคริว

อาการคนท้อง, สัญญาณการตั้งครรภ์, การเปลี่ยนแปลงรูปร่างช่วงตั้งครรภ์

การเกิดตะคริวขณะตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ระหว่างการตั้งครรภ์แต่ละช่วงกล้ามเนื้อฝืดไม่ยืดหยุ่น เมื่อน้ำหนักตัวคุณแม่เพิ่มขึ้น ขาทั้งสองข้างก็ต้องแบกรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ระบบหมุนเวียนโลหิตที่ตึงแน่นเกินไปบริเวณขาจนเกิดตะคริวจากกล้ามเนื้อที่หดตัวขึ้นมาทันทีทันใด โดยมากมักจะเป็นกล้ามเนื้อบริเวณน่องหรือบริเวณปลายเท้า ไม่เฉพาะแต่การยืนหรือเดินเท่านั้น ท่านั่งก็อาจเกิดตะคริวได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่นั่งทำงานนาน ๆ ทำให้เลือดเดินไม่สะดวกเกิดของเสียบริเวณน่อง ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวจนเกิดตะคริวขึ้นได้

บทความแนะนำ การเกิดตะคริวบริเวณท้องระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติหรือไม่?

รับมืออย่างไร :

1. พยายามอย่ายืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หากเลือดไหลเวียนไม่สะดวกอาจจะเกิดของเสียอยู่ตามกล้ามเนื้อทำให้เป็นตะคริวได้ง่ายเช่นกัน

2. ฝึกยืดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อบ่อยๆ เช่น การนั่งเหยียดเท้าให้สุด แล้วสลับเหยียดกับกระดกปลายเท้าเข้าหาตัว

3. เลือกทานอาหารให้ครบถ้วน 5 หมู่ เน้นแคลเซียมให้มากหน่อยพักผ่อนให้เพียงพอ

4. เลือกรองเท้าให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกร็งของเท้าและกล้ามเนื้อ รองเท้าควรจะมีส้นหนาเล็กน้อยเพื่อรับน้ำหนักตัวได้ดี

 

ได้ทราบกันแล้วนะคะว่า คุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างไรบ้างหรือมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆในช่วงตั้งครรภ์ที่มักจะได้พบเจอ ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อคลอดแล้วเรามาฟิตแอนด์เฟิร์ม รูปร่างก็จะกลับมาสวยได้ดังเดิมค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคน

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

ที่มา medicalnewstoday

 

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ผลวิจัยเผย เนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากให้นมลูก
แชร์ :
  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

    วิจัยชี้! คนท้องเครียด นอนไม่หลับ ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อยหลังคลอด

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว