X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุมน้ำหนักตอนท้อง อย่างไร ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์พอดี

บทความ 5 นาที
คุมน้ำหนักตอนท้อง อย่างไร ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์พอดี

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และกำลังสงสัยเรื่องน้ำหนักตัว ว่าน้ำหนักตัวของแม่นั้นมากหรือน้อยจนเกินไปหรือไม่ แล้วน้ำหนักตัวเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม และถือว่าสุขภาพดีขณะตั้งครรภ์ เรามาดูกันว่า ว่าที่คุณแม่จะ คุมน้ำหนักตอนท้อง อย่างไรให้พอดี วันนี้ TAP มีคำตอบมาให้

 

ทำไมเรื่องน้ำหนักถึงสำคัญ

จริง ๆ แล้ว การลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ หรือการควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เพื่อให้ร่างกายมีความสมดุล ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป และเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์เท่านั้น เนื่องจากแม่ท้องที่ผอมเกินไปมักเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ ลูกที่คลอดออกมามักจะมีน้ำหนักน้อย ในขณะที่คนที่อ้วนเกินไปมักมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคอื่น ๆ ที่คนท้องเสี่ยงที่จะเป็น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อีกทั้งอาจยังเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือคลอดยาก เนื่องจากลูกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ รวมถึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัด และยังมีโอกาสตกเลือดหลังคลอดอีกด้วย

 

คุมน้ำหนักตอนท้อง

 

น้ำหนักช่วงตั้งครรภ์ ของคุณแม่ควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่

น้ำหนักตัวของคุณแม่ท้องตลอดการตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 10 -12 กิโลกรัม โดยแต่ละไตรมาสน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นดังนี้

 

ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก น้ำหนักคุณแม่อาจยังไม่เพิ่มขึ้น หรือบางคนอาจลดลง เพราะอาการแพ้ท้อง ทานอะไรก็อาเจียนออกมาหมด ในช่วงนี้คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลว่าน้องจะไม่ได้รับสารอาหารนะคะ เพราะตัวอ่อนจะมีอาหารของเขาอยู่ในถุงไข่แดง ยังไม่ได้ทานอาหารผ่านทางคุณแม่ค่ะ ตลอด 3 เดือนแรกน้ำหนักคุณแม่มักเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัม ซึ่งมักจะยังดูไม่ออกว่าคุณแม่กำลังมีน้อง

 

ต่อมาในช่วง 4-6 เดือน น้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ ขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัม ซึ่งคนอื่นพอจะสังเกตออกแล้วว่าคุณแม่เริ่มอ้วนขึ้น แต่ยังสามารถใส่ชุดปกติได้ ในบางรายหากน้ำหนักขึ้นมากอาจอึดอัดและต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดคลุมท้องแทน

 

และในช่วง 3 เดือนสุดท้าย น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 5-6 กิโลกรัมตลอด 3 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรไม่ให้อ้วนไปทั้งแม่ทั้งลูก

 

วิธีคุมน้ำหนักตอนท้อง คุมอย่างไรให้อยู่ในเกณฑ์พอดี

น้ำหนักระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่จะเพิ่มมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับ ตารางอาหารคนท้อง ของคุณแม่เป็นสำคัญ คุณแม่ต้องการแคลอรีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ของที่เคยได้รับ ซึ่งอาหารแต่ละหมู่นั้นมีประโยชน์และความจำเป็นสำหรับคุณแม่ท้องไม่เท่ากัน คุณแม่ควรทานโปรตีนเพิ่มขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว เพื่อนำไปใช้ในการสร้างอวัยวะ และส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก ทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลให้น้อยลง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว และขนมหวาน เพราะระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายจะนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้น้อยลง และยิ่งคุณแม่ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ยิ่งมีโอกาสอ้วนได้ง่ายค่ะ นอกจากนี้คุณแม่ยังควรหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวที่ได้จากน้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เพราะทำให้คุณแม่อ้วน แต่ลูกน้อยอาจไม่ได้อ้วนตามคุณแม่ไปด้วย

 

คุมน้ำหนักตอนท้อง

ทำอย่างไรถ้าน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป

คุณแม่ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือลดน้ำหนัก เพราะลูกน้อยในครรภ์จะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะ แต่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบคุณค่าภายใต้การดูแลแพทย์ ควบคุมอาหาร ไม่กินจุบจิบ และควรออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอ โดยยึดหลักการออกกำลังกายสำหรับคนท้อง คือ ไม่รุนแรง ไม่หักโหม และไม่ก่อให้เกิดอันตราย เช่น การว่ายน้ำ เดินเร็ว การเหยียดแขนขา ก้มตัว บิดตัว เป็นต้น นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยคุมน้ำหนักตอนท้องแล้ว คุณแม่ยังได้ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ นอนหลับได้ดี และยังทำให้ระบบขับถ่ายของเสียทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

แต่หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไประหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเพิ่มการรับประทานอาหารให้มากขึ้น ขณะเดียวกันลองปรึกษาแพทย์ ให้แพทย์แนะนำอาหารสุขภาพดีที่จะช่วยคุณเพิ่มน้ำหนักตัวในระหว่างตั้งครรภ์ควบคู่กันไปก็ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้องเล็ก น้ำหนักขึ้นน้อย ลูกในท้องไม่โตหรือเปล่า

มาฟังคุณหมอพูดกัน!

 

รู้ทันร่างกายที่เปลี่ยนแปลงจากการตั้งครรภ์

ร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจทำให้หุ่นสวยของคุณแม่เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล จากที่เคยเอวบางร่างน้อย กลับมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10-12 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย แบ่งเป็น

  • น้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ 3,000 กรัม
  • น้ำหนักของรก 500 – 700 กรัม
  • น้ำหนักน้ำคร่ำ 1,000 กรัม
  • กล้ามเนื้อมดลูก 1,000 กรัม
  • เต้านม 300-500 กรัม
  • ปริมาณเลือดที่เพิ่ม 1,000 กรัม
  • ปริมาณน้ำในร่างกายของคุณแม่ 1,500 กรัม
  • ไขมันที่สะสมในตัวแม่ 3,000 กรัม

เห็นไหมคะว่า ในน้ำหนักตัวของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นมา 10-12 กิโลกรัมนั้น เป็นไขมันที่สะสมในตัวคุณแม่ถึง 3,000 กรัม หากน้ำหนักตัวคุณแม่เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ก็จะกลายเป็นไขมันส่วนเกินที่ยากจะกำจัด ยังไม่รวมถึงท้องลาย และรอยแตกในส่วนอื่น ๆ ที่เกิดจากร่างกายขยายในช่วงตั้งครรภ์อีกต่างหาก เพราะแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายย่อมมีผลต่อจิตใจของคุณแม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

คุณแม่มักจะรู้สึกกังวลต่อรูปร่างของตัวเองที่เปลี่ยนไป กลัวว่าจะไม่กลับมาสวยเหมือนเดิม หากคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ ลดลงเอง คุณแม่หลายคนผอมกว่าตอนก่อนคลอดเสียอีกค่ะ หากคุณแม่ออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยเพื่อลดหุ่นหลังคลอดก็ช่วยให้น้ำหนักลดลงเร็วขึ้นได้อีกด้วย แต่คุณแม่อย่ากังวลไปเลยค่ะ และอย่าลืมว่าความเครียดของคุณแม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์นะคะ หากมีอะไรไม่สบายใจ ให้ปรึกษาคุณหมอที่คุณแม่ฝากครรภ์เพื่อขอคำแนะนำในการคุมน้ำหนักตอนท้องจะดีที่สุดค่ะ

 

 

 

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกในครรภ์โตช้าน้ำหนักน้อยเพราะอะไร?

ฟิตหุ่นสวยเซียะ…ด้วยสูตรลดน้ำหนักหลังคลอด

คนท้อง ต้องบำรุง แต่ บำรุงจนอ้วนเกินไป ลดน้ำหนักได้มั้ยเนี่ย

ที่มา : 1, คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด โดย ศ.(คลินิก) นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ และคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด สำหรับคุณแม่ยุคใหม่ โดย รศ.นพ. วิทยา ถิฐาพันธ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คุมน้ำหนักตอนท้อง อย่างไร ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์พอดี
แชร์ :
  • อาหารคุมน้ำหนักตอนท้อง 5 วิธีดูแลอาหารของตัวเองช่วงท้อง

    อาหารคุมน้ำหนักตอนท้อง 5 วิธีดูแลอาหารของตัวเองช่วงท้อง

  • การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรไม่ให้อ้วนไปทั้งแม่ทั้งลูก

    การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรไม่ให้อ้วนไปทั้งแม่ทั้งลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • อาหารคุมน้ำหนักตอนท้อง 5 วิธีดูแลอาหารของตัวเองช่วงท้อง

    อาหารคุมน้ำหนักตอนท้อง 5 วิธีดูแลอาหารของตัวเองช่วงท้อง

  • การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรไม่ให้อ้วนไปทั้งแม่ทั้งลูก

    การเพิ่มน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์ ทำอย่างไรไม่ให้อ้วนไปทั้งแม่ทั้งลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ