อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ ต้องแยกอาการให้ออก แก้ไขให้ถูกวิธี

สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย บางครั้งอาจพบอาการท้องแข็งในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นอาการเจ็บครรภ์เตือน ในรายที่มีอาการมากอาจจะนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ ซึ่งคุณแม่เองอาจมีความกังวลใจเราจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับอาการท้องแข็งมาฝากกันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ท้องทุกคนค่ะ
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์
อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงช่วงอายุการตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ซึ่งอาการท้องแข็งอาจไม่มีอะไร แต่บางครั้งอาจเป็นสัญญาณการคลอดก่อนกำหนด หรือ อันตรายอื่น ๆ ที่คนท้องต้องใส่ใจ
ลักษณะของอาการท้องแข็ง
ท้องแข็ง เป็นอาการที่พบในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย (อายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป) ซึ่งเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก เมื่อคุณแม่เอามือวางบริเวณหน้าท้อง จะสัมผัสและรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ ขึ้นมา หรือ รู้สึกตึงมากที่หน้าท้องเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้น ๆ เป็นวินาที และ มีช่วงพักเป็นนาทีเมื่อมดลูกคลายตัว บางรายอาจจะมีอาการท้องแข็งอยู่ประมาณทุก 10 นาที/ครั้ง และ เป็นสม่ำเสมออยู่ 4-5 ครั้งได้ กรณีที่ท้องแข็งแล้วมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมด้วย ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
อาการท้องแข็ง เกิดจากสาเหตุใด ?
อาการท้องแข็งในระหว่างตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น
- เวลาที่ทารกในครรภ์ดิ้นแรง ๆ อาจจะชนเข้ากับผนังมดลูก จนทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว
- มดลูกเกิดการบีบรัดตัวขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีสม่ำเสมอ และ ต่อเนื่องอาจเกิดการคลอดก่อนกำหนดขึ้นได้
- เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารหรืออาหารไม่ย่อย ก็ทำให้เกิดท้องแข็งขึ้นมาได้
- แน่นอึดอัดท้องเนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินไป ขนาดทารกที่ใหญ่ขึ้นรวมกับอาหารที่เต็มกระเพาะของคุณแม่ จนไปเบียดมดลูก เป็นผลให้มดลูกถูกกระตุ้นให้บีบรัดตัวขึ้นมา ก็ส่งผลให้เกิดอาการท้องแข็งขึ้นมาได้เช่นกัน
- ในช่วงไตรมาสที่สามขนาดครรภ์จะขยายใหญ่ขึ้นมากตามขนาดตัวของทารกในครรภ์ ซึ่งมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะกดเบียดกับกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย แต่บางคนกลั้นปัสสาวะเพราะไม่สะดวกเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ซึ่งการกลั้นปัสสาวะ ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องแข็งขึ้นมาได้เช่นกันค่ะ
- การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ หากร่วมรักไม่ถูกท่าถูกจังหวะ สามารถส่งผลให้มดลูกเกิดการบีบตัวขึ้นมาได้โดยเฉพาะในช่วงถึงจุดสุดยอด
ลักษณะอาการท้องแข็งแบบไหนที่เป็นอันตราย ! ติดตามอ่านหน้าต่อไป –>>
ลักษณะอาการท้องแข็งแบบไหนที่เป็นอันตราย
- อาการท้องแข็งลวง (เจ็บครรภ์เตือน) มักมีสาเหตุเกิดจากการดิ้น และ การโก่งตัวของทารก ซึ่งหากสังเกตดูลักษณะหน้าท้องจะตึงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง (เช่น หน้าท้องแข็งตึงตรงด้านซ้ายหรือด้านขวา, หน้าท้องแข็งตึงด้านบนหรือด้านล่าง) แต่จะไม่แข็งตึงทั่วทั้งท้อง ส่วนใหญ่อาการท้องแข็งลักษณะนี้ มักเกิดขึ้นเพราะลูกดิ้นขยับตัว หรือโก่งตัว
- อาการท้องแข็งผิดปกติ (เจ็บครรภ์จริง) มีสาเหตุมาจากการบีบหดรัดตัวของมดลูกซึ่งหากสังเกตดูลักษณะหน้าท้องที่นิ่มๆ จะแข็งขึ้นมาทั่วทั้งท้องจนรู้สึกเจ็บ และ จะแข็งนานประมาณ 10 นาที/ครั้ง ติดต่อกัน 4-5 ครั้ง อาการท้องแข็งลักษณะนี้หากเกิดขึ้นถี่ๆ อาจทำให้ปากมดลูกเปิด และ ทำให้คลอดก่อนกำหนดตามมาได้ ทั้งนี้หากพบว่า ตัวเองมีอาการท้องแข็งแบบนี้บ่อย ๆ ให้รีบไปพบสูติแพทย์โดยเร็ว
การดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องแข็ง

ไม่ตวรทานอาหารแน่นจนเกินไป อันเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องแข็งได้เช่นกัน
- ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ หากปวดปัสสาวะให้เข้าห้องน้ำทันที เพราะการกลั้นปัสสาวะนาน ๆ ก็เป็นเหตุให้เกิดท้องแข็งขึ้นมาได้
- ไม่ควรรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้อิ่มจนเกินไป เพราะอาหารที่มากไป ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ รวมทั้งอาหารไม่ย่อย อย่าลืมว่า ช่วงตั้งครรภ์ระบบการย่อยอาหารจะทำงานได้ไม่ดีเท่าช่วงก่อนตั้งครรภ์
- ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย เพราะบางท่าของการร่วมรักอาจไปกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวขึ้นมาได้
- ไม่ควรลูบท้องบ่อย ๆ หรือ สัมผัสกับอวัยวะที่ไวต่อการกระตุ้นให้มดลูกบีบตัว เช่น บริเวณหน้าอก เต้านม เป็นต้น

การลูบท้องบ่อยๆ ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องแข็งได้
แม้ว่าอาการท้องแข็งในระหว่างตั้งครรภ์ จะไม่ได้เกิดขึ้นกับแม่ท้องทุกคน แต่ถึงอย่างไรก็ควรระมัดระวังตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการท้องแข็งขึ้น และ ที่สำคัญหากพบว่าตัวเองมีอาการท้องแข็งขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ควรไปพบสูติแพทย์ เพื่อจะได้รับคำแนะนำในการดูแลครรภ์ให้ปลอดภัยไปจนกว่าจะถึงวันคลอดค่ะ

หากกังวลอาการท้องแข็ง เมื่อมีอาการ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำทันที
ตรวจสอบข้อมูล นายแพทย์เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูตินรีแพทย์
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึง ติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัว ไปจนถึงการดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “ พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง ”
source หรือ บทความอ้างอิง :
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ภาวะรกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน
ลูกไม่ดิ้นกี่ชั่วโมงต้องไปหาหมอ ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน ลูกไม่ดิ้น อันตรายแค่ไหน
อยากรู้ไหม ตอนอยู่ในท้องแม่ ลูกจำอะไรได้บ้าง แล้วสิ่งแรกที่ลูกจำได้คืออะไร