X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิตามินบี 12 มีประโยชน์อย่างไร จำเป็นสำหรับคนท้องหรือไม่?

บทความ 8 นาที
วิตามินบี 12 มีประโยชน์อย่างไร จำเป็นสำหรับคนท้องหรือไม่?วิตามินบี 12 มีประโยชน์อย่างไร จำเป็นสำหรับคนท้องหรือไม่?

วิตามินบี 12 มีส่วนสำคัญในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และบำรุงเพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในดีเมื่อทำงานร่วมกับโฟเลต เราไปดูกันว่า วิตามินบี 12 คืออะไรและพบได้ในอาหารประเภทใด

วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อร่างกายคนเราและคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อย่างมาก โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก การได้รับสารอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ นั้นจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย รวมไปถึง กรดโฟลิค เมื่อทำงานร่วมกับ วิตามินบี 12 ด้วยแล้ว ยิ่งช่วยป้องกันความผิดปกติหรือความพิการที่อาจเกิดกับทารกในครรภ์ได้ เราไปดูกันว่า จำเป็นอย่างไรต่อคนทั่วไป รวมถึงคุณแม่ท้องอย่างไรบ้าง

 

 

วิตามินบี 12

วิตามินบี 12 มีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกายมนุษย์

โคบาลามิน  (Cobalamin) หรือเรารู้จักกันชื่อว่า "วิตามินบี 12" จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายน้ำได้ และหารับประทานได้ง่าย เพราะอยู่ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปลา นม ตับ ไข่ มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง รวมไปถึงช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี หากคนเรารับวิตามินชนิดนี้น้อย ก็ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง ดังนั้น การที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารนี้ต้องผ่านทางการรับประทานอาหารสดหรืออาหารเสริมเท่านั้น ซึ่งการทำงานของวิตามินบี 12 มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ

 

  • บำรุงสมอง บำรุงระบบประสาทให้ทำงานได้ดี
  • ช่วยทำให้ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างปกติ
  • มีความสำคัญในการแบ่งเซลล์ของร่างกาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่วางแผนมีลูก ควรรับวิตามินบี 12 พร้อมกับโฟเลต
  • ทำให้การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายทำงานปกติ ลดภาวะโลหิตจางในคุณแม่ตั้งครรภ์
  • ควบคุมระบบประสาทให้มีสมาธิ เหมาะสำหรับเด็กวัยเรียน เตรียมตัวสอบ
  • ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน
  • ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ลดอาการอ่อนเพลียและความเหนื่อยล้า
  •  ช่วยในการเผาผลาญกรดโฮโมซีสเตอีน ที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดอักเสบ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: วิตามินและ อาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์

 

สาเหตุของการขาดวิตามินบี 12

แม้ว่าการขาดวิตามินบี 12 จะมีผลกระทบรุนแรงทำให้เกิดภาวะโลหิตจางน้อยมาก แต่เราควรป้องกันไว้โดยการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินชนิดดังกล่าว เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ซึ่งการขาดวิตามินบี 12 ใช่ว่าเป็นการขาดสารอาหารสำคัญเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

 

  • ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี 12 เนื่องจากโรคภูมิต้านทานตนเอง
  • เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร ซึ่งอวัยวะที่ช่วยในการดูดซึมวิตามินบี 12
  • ผ่านการผ่าตัดส่วนปลายของลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ร่างกายดูดซึมเอาวิตามินบี 12 ไปใช้
  • ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง จึงขาดเอนไซม์ในการช่วยดูดซึม
  • ผู้ป่วยโรคลำไส้เล็กอักเสบเรื้อรัง จึงทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี 12 ไปใช้ไม่ได้
  • ชาววีแกนหรือมังสวิรัติ ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ จึงทำให้ขาดวิตามินบี 12

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: วิตามิน D หาได้จากไหน มีอาหารหรือผลไม้ชนิดไหนที่มีวิตามินDบ้าง?

 

ผลของการขาดวิตามินบี 12

1. ร่างกายรับสารอาหารไม่เพียงพอ

หากคนเรา หรือแม่ท้อง ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ไม่พอ จนขาดวิตามินบี 12  เช่น คนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ จะส่งผลอาการทางร่างกายอย่างชัดเจน เช่น ผิวพรรณซีดจากภาวะโลหิตจาง คล้ายกับคนตัวเหลือง ระบบประสาทจะทำงานผิดปกติ หลงๆ ลืมๆ การรับรู้ช้าลง ร่วมกับมีอาการเหน็บชาบ่อย ๆ และรู้สึกชาตามมือและเท้า ทั้งนี้จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหารไปด้วย

 

2. โรคโลหิตจางและโรคเรื้อรังต่าง ๆ

นอกจากคนที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอแล้ว ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดอย่างที่กล่าวข้างต้น ก็ทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารบกพร่อง ไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี 12 และไขกระดูกไม่อาจผลิตเม็ดเลือดแดงให้เจริญเต็มที่ได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเม็ดเลือดไม่แบ่งตัว แล้วเกาะกลุ่มกันเป็น เมกกะ โลบลาสท์ (Megalobladst) ถูกปล่อยเข้าสู่กระแสโลหิต ไม่สามารถนำเฮโมโกลบินไปเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ได้ จึงเป็นผลให้เกิดโรคโลหิตจางได้ง่าย โดยจะมีอาการที่ชัดเจนคือ น้ำหนักลด  ผิวหนังซีด คลื่นไส้ ท้องอืด ลิ้นอักเสบ หายใจไม่อิ่ม ระบบประสาทผิดปกติไม่สามารถควบคุมการเดินได้

 

วิตามินบี 12

 

คนท้องกับภาวะโลหิตจาง เมื่อขาดวิตามินบี 12

ในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะระบบหมุนเวียนโลหิต หากแม่ท้องขาดวิตามินบี 12 จนเกิดภาวะโลหิตจางย่อมส่งผลถึงลูกน้อยในครรภ์ จะส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูก ทำให้ทารกมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรืออาจคลอดก่อนกำหนด ส่วนคุณแม่เสี่ยงต่อหัวใจทำงานหนักขึ้น มีโอกาสติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น  บางรายเกิดภาวะช็อค และกลายเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด

 

 

ขาดวิตามินบี 12 จนเป็นโรคโลหิตจาง รักษาได้อย่างไร?

ก่อนอื่นแพทย์จะทำการวินิจฉัยของโรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 หากพบว่ามีระดับเลือดต่ำกว่าปกติจากการขาดวิตามินชนิดนี้ หรือร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ แพทย์จำเป็นต้องฉีดวิตามินบี 12 เข้ากล้ามเนื้อผ่านเส้นเลือดดำ บางรายก็ไม่สามารถแก้ไข้ได้เลย เช่น ผู้ป่วยที่ ผ่านการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กมาส่วนผู้ที่ต้องฉีดทางเส้นเลือดต้องทำการรักษาทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ  ส่วนผู้ที่ขาดวิตามินบี 12 จากการที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ก็สามารถรักษาได้โดยกินวิตามินบี 12 แบบสังเคราะห์เสริมได้เช่นกัน

 

อาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง

1. ไข่

ไข่ เป็นอาหารที่ควรมีไว้ติดบ้าน สามารถรับประทานได้ทุกวัน  ทำเมนูได้หลากหลาย เป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ชั้นดี ซึ่งไข่ 1 ฟองมีวิตามินบี 12 อยู่ 0.44 ไมโครกรัม

 

2. ตับสัตว์

ตับสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น ตับวัว ตับหมู ตับไก่ ล้วนมีวิตามินบี 12 สูง ยิ่งตับวัว มีวิตามินบี 12 ถึง 18 ไมโครกรัม

 

3. เนื้อวัว

เนื้อวัวจะมีวิตามินบี 12 ในส่วนของเนื้อแดงอยู่ 1.5 ไมโครกรัม ต่อเนื้อ 3 ออนซ์ ยังรวมไปถึงโปรตีนและธาตุเหล็กอีกด้วย

 

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

4. นมสด

อุดมไปด้วยโปรตีนและวิตามินนานาชนิด โดยนมสดปริมาณ 1 แก้วหรือ 250 มิลลิลิตรจะ มีวิตามินบี 12 อยู่ 1.1 ไมโครกรัม สามารถดื่มได้เป็นประจำทุกวัน

 

วิตามินบี 12

 

5. ปลาทูและปลาแซลมอน

ปลาที่หารับประทานง่าย ๆ อย่าง ปลาทู มีราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งมีวิตามินบี 12 ถึง 19 ไมโครกรัม นอกจากนี้ปลาราคาแพง อย่างปลาแซลมอน ให้โปรตีนและไขมันที่ดีสูง รวมถึงวิตามินบี 12 ที่มีอยู่ 1.1 ไมโครกรัมต่อเนื้อ 3 ออนซ์

 

6. หอยนางรม

เดี๋ยวนี้หอยนางรมหาซื้อรับประทานง่ายมาก มีวิตามินบี 12 มากถึง 98.9 ไมโครกรัม เรียกว่าเป็นอาหารที่ให้วิตามินชนิดนี้สูงทีเดียว

 

7. ปู

เนื้อปู 100 กรัม ให้วิตามินบี 12 ถึง 11.5 ไมโครกรัม ทั้งนี้ยังเป็นอาหารทะเลที่ให้ธาตุไอโอดีนสูงอีกด้วย

 

8. ปลาซาดีน

ปลาซาดีนสด หรือ ปลากระป๋อง สามารถหารับประทานได้ง่าย ๆ เนื้อปลาแค่ 3 ออนซ์ ให้วิตามินบี 12 อยู่มากถึง 7.6 ไมโครกรัม เป็นแหล่งวิตามินที่น่าสนใจทีเดียว

 

9. ปลาทูน่า

เราอาจคุ้นเคยทูน่ากระป๋อง ซึ่งปลาชนิดนี้ให้ โปรตีนสูง มีไขมันต่ำ เหมาะกับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก แถมยังมีวิตามินบี 12 สูง ถึง 2.5 ไมโครกรัมต่อเนื้อปลา 3 ออนซ์

 

10. เนื้อแกะ

เนื้อแกะ สามารถหาซื้อได้ง่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว โดยเนื้อแกะเป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ถึง 2.07 ไมโครกรัมต่อเนื้อแกะ 3 ออนซ์

 

11. ถั่วเหลือง

ไม่ว่าจะเป็นนมถั่วเหลืองหรือเต้าหู้ ปริมาณ 100 กรัม จะมีวิตามินบี 12 อยู่ถึง 2.4 ไมโครกรัม คุณแม่สามารถดื่มนมถั่วเหลืองได้บ่อย และเต้าหู้ก็เหมาะสำหรับคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ด้วย

 

12. ธัญพืช

ทั้งซีเรียลและธัญพืช แบบสำเร็จรูปที่นำมารับประทานกับนม จะมีการเติมวิตามินบี 12 เข้าไปในระหว่างการผลิต เช่น ซีเรียลปริมาณ 100 กรัม จะมีวิตามินบี 12 อยู่มากถึง 20.0 ไมโครกรัมทีเดียว

 

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่รับประทานอาหารประเภทโปรตีนมาก ควรรับประทานวิตามินบี 12 เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษเพื่อช่วยดูดซึมซึ่งกันและกันและควรรับประทานวันละ 25-2,000 ไมโครกรัม สำหรับเด็ก วันละประมาณ 0.5-3 ไมโครกรัม เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งในคนปกติ และคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ด้วยค่ะ

 

 

บทความที่น่าสนใจ

การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพในช่วงตั้งครรภ์

10 อาหารโฟเลตสูง ที่คนท้องบำรุงได้ทันทีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

แคลเซียมและยาบํารุงเลือด คุณแม่ตั้งครรภ์กินพร้อมกันได้ไหม มีวิธีกินอย่างไร

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยววิตามินบี 12 ได้ที่นี่!

วิตามินบี 12 จำเป็นสำหรับคนท้องไหมคะ แล้วจะหาทานได้ที่ไหนบ้าง

 

 

ที่มา: 1 , 2 , 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วิตามินบี 12 มีประโยชน์อย่างไร จำเป็นสำหรับคนท้องหรือไม่?
แชร์ :
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

app info
get app banner
  • โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
    บทความจากพันธมิตร

    โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

  • ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

    ท้องลายหลังคลอด ปัญหาหนักใจของคุณแม่ ป้องกัน และแก้ไขได้

  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ