การได้มีชีวิตตัวน้อยเพิ่มเข้ามาในร่างกายของคุณแม่ ถือเป็นข่าวดีที่ทุกครอบครัวปรารถนา กว่าเด็กทารกแต่ละคนจะถือกำเนิดมาได้ ก็ต้องได้รับการทะนุถนอมอย่างดี ตลอดเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ การเตรียมตัวเป็นคุณแม่มือใหม่จึงเป็นเรื่องสำคัญและมีความท้าทายไม่ใช่น้อย เพราะฉะนั้น เรามาดูกันดีกว่าครับว่า เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ละช่วงเวลามีสิ่งที่ควรทำอย่างไรบ้างครับ
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ในช่วงก่อนเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่ก็ควรเลิกดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม สุรา เพื่อไม่ให้มีสารแปลกปลอมตกค้างในร่างกาย อย่างเช่น คาเฟอีน และ แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่และฝุ่นควันมลพิษ ซึ่งสามารถสะสมในร่างกายได้เช่นกัน และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสรังสี เช่น เอกซเรย์ ในช่วงที่กำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ เพราะรังสีก็ส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับตัวอ่อนในครรภ์ได้
การตั้งครรภ์ไตรมาส 1
เมื่อได้รับการยืนยันว่าตั้งครรภ์ ด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์แล้ว ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก (3 เดือนแรก) ในช่วงนี้ ตัวอ่อนจะพัฒนาจากกลุ่มเซลล์เล็ก ๆ ไปเป็นอวัยวะสำคัญต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน จึงควรไปรับการฝากครรภ์กับคุณหมอสูตินารีทันทีที่รู้ เพื่อจะได้รับยาบำรุงครรภ์ ซึ่งประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินรวม โฟเลต ที่จะช่วยให้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อย สำหรับตัวคุณแม่เอง ก็อาจจะรู้สึกคลื่นไส้แพ้ท้อง เพราะฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์จะทำให้ลำไส้ภายในเกิดการจัดเรียงตัว เพื่อเตรียมพร้อมกับการตั้งครรภ์ ซึ่งมักจะค่อย ๆ ดีขึ้นในเดือนแรก
แต่หากยังมีอาการแพ้ท้องมาก ก็สามารถปรึกษาคุณหมอสูตินารี เพื่อพิจารณาใช้ยาลดอาการคลื่นไส้ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังอาจรู้สึกอยากกินของเปรี้ยว ๆ เพราะต่อมรับรสบนลิ้นเกิดการขยายตัว ซึ่งเป็นกลไกทางธรรมชาติเพื่อให้หาผลไม้ที่มีวิตามินเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น ก็ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งผลไม้ เพื่อเป็นการบำรุง แต่ควรหลีกเลี่ยงของหมักดอง เพราะไม่มีสารอาหารเพียงพอ และอาจทำให้ปวดท้อง ท้องเสียได้ด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ฮอร์โมนคนท้อง มีอะไรบ้าง ฮอร์โมนสำคัญของคนท้อง ถ้าฮอร์โมนต่ำ มีผลกับลูกในท้องอย่างไร
การตั้งครรภ์ไตรมาส 2
ในไตรมาสที่ 2 (4-6 เดือน) ร่างกายของทารกในครรภ์ก็เริ่มมีอวัยวะเกือบสมบูรณ์แล้ว ในช่วงนี้ คุณแม่หลายคนอาจเริ่มรู้สึกว่า ลูกดิ้น และเมื่อตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ ก็จะเห็นการเคลื่อนไหวของทารกที่ชัดเจน และจะสามารถระบุเพศของทารกได้แล้ว ถึงตอนนี้ คุณหมอสูตินารีก็จะแนะนำให้คุณแม่นับการดิ้นของลูก โดยอาจมีการจดบันทึกในสมุด เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของลูกน้อย และในช่วงนี้ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมผาดโผน เช่น การกระโดดหรือบิดหมุนตัวแรง ๆ เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ แต่ยังสามารถเล่นโยคะเพื่อยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ ได้
การตั้งครรภ์ไตรมาส 3
ในไตรมาสที่ 3 (7-9 เดือน) ทารกในครรภ์จะมีอวัยวะสมบูรณ์และจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะคลอด ณ ช่วงนี้ คุณแม่ไม่ควรออกไปข้างนอกที่มีผู้คนแออัด เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเจ็บป่วย และยิ่งไม่ควรออกเดินทางไปไหนไกล ๆ เพราะอาจกระตุ้นให้มดลูกบีบตัว จนคลอดก่อนกำหนดได้ ในระยะนี้ คุณหมอสูตินารีจะนัดตรวจถี่ขึ้นเป็นทุก 2 สัปดาห์ในช่วงแรก และทุกสัปดาห์ในช่วงใกล้กำหนดคลอด ดังนั้น ควรหมั่นตรวจดูว่ามีอาการปวดครรภ์ถี่ มีน้ำเดิน หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่ หากเกิดอาการเหล่านั้น ต้องรีบไปพบแพทย์ในโรงพยาบาลในทันที
เมื่อทารกน้อยคลอดออกมาแล้ว ก็ถือว่าคุณแม่ประสบความสำเร็จก้าวใหญ่ไปแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อไปก็คือ ให้ทารกน้อยดูดนมแม่จากเต้านมโดยตรง เพราะว่า การสัมผัสแนบเนื้อจากปากทารกจะเป็นการกระตุ้นเต้านม และทำให้ร่างกายของคุณแม่หลั่งฮอร์โมน ออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งถือเป็น “ฮอร์โมนแห่งความรัก” ที่จะทำให้หลั่งน้ำนมมากขึ้นตามธรรมชาติ อีกทั้งยังทำให้คุณแม่มีความรู้สึกรักและอาทรลูกน้อยมากยิ่งขึ้น จึงควรให้ลูกน้อยดูดนมแม่บ่อย ๆ ทุกครั้งที่ลูกหิว เพราะการให้เด็กฝึกดูดนมเองจะยิ่งเพิ่มน้ำนมไปเรื่อย ๆ จะดีที่สุดครับ โดยนมแม่นั้นมีทั้งสารอาหารและภูมิคุ้มกัน ที่ช่วยให้ร่างกายของเด็กแข็งแรงและไม่เจ็บป่วยง่าย กระนั้น หากไม่สะดวกจริง ๆ ก็อาจจะใช้เครื่องปั๊มนมเก็บไว้ก่อนก็ได้ครับ
แม่ ๆ คนไหนยังมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพบ #ทีมหมอGDTT ได้ฟรี ที่ Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน เพียงกดรับสิทธิ์ผ่าน Reward ในแอปพลิเคชัน theAsianparent หรือสามารถกดลิงก์นี้ได้เลยครับ https://community.theasianparent.com/reward/3859/?lng=th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) และ ดิเอเชี่ยนพาเรนท์ (ประเทศไทย) ประกาศความมุ่งมั่นร่วมกัน ให้ความรู้ สนับสนุน และส่งเสริมคุณแม่มือใหม่ผ่านโครงการสุขภาพดิจิทัล
theAsianparent Thailand จับมือ GDT เพิ่มความอุ่นใจให้คุณแม่ อยู่ไหนก็ปรึกษาได้ผ่านแอป พร้อมเป็นเพื่อนคุณแม่ ดูแลลูกน้อยในทุกช่วงวัย
ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!