X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลอดธรรมชาติ เจ็บไหม? วิธีคลอดธรรมชาติอย่างปลอดภัย ต้องทำอย่างไร?

บทความ 5 นาที
คลอดธรรมชาติ เจ็บไหม? วิธีคลอดธรรมชาติอย่างปลอดภัย ต้องทำอย่างไร?

คลอดธรรมชาติ เป็นวิธีหนึ่งของการคลอดตามแบบวิธีปกติของมนุษย์ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานหลายพันปี และมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน มาดูกันดีกว่าว่าวิธีคลอดลูกแบบธรรมชาติอย่างไรให้ปลอดภัย ไปดูกัน

 

คลอดธรรมชาติ เจ็บไหม?

การคลอดธรรมชาติ (Natural birth) หรือเรียกอีกอย่างว่า Active birth เป็นการคลอดลูกด้วยวิธีการเบ่งคลอดเองผ่านทางช่องคลอด ซึ่งอายุครรภ์ที่คลอดจะอยู่ที่ 37 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 42 สัปดาห์ การคลอดลูกแบบธรรมชาตินั้นมักถูกมองว่าเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ของผู้หญิงที่เจ็บปวดมากที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้ โดยอาการเริ่มต้นของการคลอดแบบธรรมชาติคือการอาการเจ็บท้องคลอด ซึ่งความเจ็บปวดของผู้หญิงแต่ละคนนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไป

สำหรับคุณแม่บางท่านอาจมีอาการเหมือนกับปวดท้องประจำเดือน สำหรับบางคนอาจมีอาการปวดแบบรุนแรงเหมือนกับเป็นตะคริว หรือท้องเสียอย่างรุนแรง โดยอาการเจ็บปวดนั้นคุณแม่บางท่านอาจใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง และสำหรับคุณแม่บางท่านอาจต้องใช้ระยะเวลาเป็นวันก่อนที่ทารกจะคลอด ซึ่งหลังจากการคลอดบุตรแล้วคุณแม่จะมีอาการดังต่อไปนี้

 

คลอดธรรมชาติ เจ็บไหม? วิธีคลอดลูกแบบธรรมชาติอย่างไรให้ปลอดภัย?

 

  • หมดแรง การใช้แรงเบ่ง และการรวบรวมพลังงานทั้งหมดเพื่อคลอดบุตรให้ออกมานั้นจะทำให้คุณแม่หมดแรงหลังจากการคลอด และต้องการการพักผ่อนมากที่สุดหลังจากที่ทารกลืมตามาดูโลก
  • ตัวสั่น หรือตัวเย็น เป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติหลังคลอด ซึ่งคุณแม่หลายท่านเป็น
  • เจ็บบริเวณช่องคลอด คุณแม่อาจรู้สึกเหมือนกับเป็นตะคริวในมดลูก หรือมดลูกกำลังบีบรัด

 

 

วิธีคลอดธรรมชาติอย่างปลอดภัย

ถ้าคุณแม่ตัดสินใจว่าจะคลอดธรรมชาติแล้ว การเตรียมพร้อมที่ดี จะนำไปสู่การคลอดธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย

 

  • เลือกโรงพยาบาลที่มีผู้เชี่ยวชาญในการทำคลอดแบบธรรมชาติ
  • ปรึกษาและเตรียมวางแผนการคลอดกับแพทย์
  • ปรึกษาความจำเป็นในการใช้ยา หรืออุปกรณ์ใดช่วยในการทำคลอดบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดอาการตระหนก ตื่นกลัว
  • ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูก และควรศึกษาทั้งการคลอดแบบธรรมชาติ และการผ่าคลอด
  • ทำความเข้าใจวิธีการบรรเทาอาการเจ็บขณะคลอดธรรมชาติ
  • ฝึกปฏิบัติระหว่างเตรียมคลอด เพื่อลดความเครียด และความวิตกกังวล

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัวคุณแม่จะมีการเตรียมพร้อมกับการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติมากพอ แต่เมื่อการคลอดมาถึง อาจจะมีเหตุจำเป็นที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถคลอดได้เอง คุณหมออาจเลือกที่จะใช้วิธีการผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก ดังนั้น การศึกษาการคลอดทั้งสองแบบ จึงมีความสำคัญอย่างมาก

 

 

ขั้นตอนของการคลอดแบบธรรมชาติ

การคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาตินั้นถือเป็นการคลอดที่ใช้เทคโนโลยีน้อยมาก โดยการทำคลอดของแพทย์นั้นเป็นการปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามวิถีของธรรมชาติ แต่อาจมีการช่วยเหลือคุณแม่เพื่อให้สามารถคลอดได้ง่ายขึ้น ดังต่อไปนี้

  • หากคุณแม่มีอาการปวดหลังมาก แพทย์อาจเปลี่ยนวิธีการทำคลอดเป็นการบล็อกหลัง หรือให้ยาแก้ปวดเพื่อระงับอาการปวดให้ลดน้อยลง
  • การแทรกแซงทางการแพทย์เพียงเล็กน้อยเพื่อช่วยเหลือให้คุณแม่คลอดบุตรได้ง่ายมากขึ้น โดยคุณหมอจะเฝ้าสังเกตการณ์ทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่อง หรือมีการทำหัตถการ เมื่อบริเวณระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก ที่เรียกว่า ฝีเย็บ (perineum) ถูกตัดออก เพื่อให้มีช่องว่างสำหรับการคลอดทารก
  • การปล่อยให้คุณแม่เป็นผู้นำในการในการคลอดบุตร และการออกแรง แต่ในบางครั้งแพทย์และพยายามอาจต้องพูด และคอยส่งกำลังใจให้กับคุณแม่ที่กำลังกำหนดลมหายใจ เพื่อทำการเบ่งคลอด

บทความที่เกี่ยวข้อง : บล็อคหลัง ปลอดภัยแค่ไหน มีข้อดี ข้อเสีย ของการบล็อกหลังมีอะไรบ้าง

 

คลอดธรรมชาติ 2

 

เจ็บท้องคลอด สัญญาณของการคลอด

สำหรับการคลอดแบบธรรมชาตินั้น แม้ว่าเราไม่สามารถควบคุมวัน และเวลาในการคลอดได้ แต่ธรรมชาติของร่างกายจะมีการเตือนเพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้กับคุณแม่ทราบว่า ใกล้ถึงเวลาคลอดเจ้าตัวน้อยแล้ว ซึ่งเราเรียกสัญญาณนี้ว่า “อาการเจ็บท้องเตือน”

ในระยะเริ่มต้นคุณแม่อาจรู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกปวดหน่วงท้องคล้ายช่วงปวดประจำเดือน ซึ่งนั่นเป็นเพียงสัญญาณเตือนเริ่มต้น หรือที่เรียกว่าอาการเจ็บท้องเตือน และอาการนี้อาจจะเกิดยาวนานข้ามวันข้ามคืนเลยก็เป็นได้

และเมื่อคุณแม่รู้สึกถึงอาการบีบรัดตัวที่รุนแรง และเกิดขึ้นเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง นั่นคืออาการ “เจ็บท้องคลอดลูก” และอาการนี้จะหายเป็นปลิดทิ้งเมื่อคุณคลอดเจ้าตัวน้อยออกมาแล้วนั่นเอง

 

 

การคลอดบุตรตามธรรมชาติ มีประโยชน์อย่างไร?

ผลดีต่อคุณแม่

  • สร้างความภาคภูมิใจ และความเข้มแข็งให้กับคุณแม่ เพราะการเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดก่อนคลอด และความพยายามในการคลอดบุตรโดยไม่ใช้ยา ทำให้คุณแม่บางท่านรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จ และเป็นคุณแม่อย่างเต็มตัว
  • คุณแม่สามารถขยับตัว และกำหนดท่าทางการเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเพื่อให้รู้สึกสบายตัว เพื่อสามารถเบ่งคลอดได้อย่างสะดวกที่สุด
  • ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และมีอาการเจ็บแผลน้อย ไม่เกิดแผลที่มดลูก
  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อจากบาดแผลมีน้อย เมื่อเทียบกับการผ่าคลอด

 

ผลดีต่อลูกน้อย

  • ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตเต็มที่ และมีอวัยวะที่สมบูรณ์ เพราะอยู่ในครรภ์จนครบกำหนดเวลาทางธรรมชาติ เมื่อคลอดออกมาเด็กคนนี้จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  • ในระหว่างคลอดลูก ผนังมดลูกของคุณแม่จะรีดน้ำคร่ำออกมาจากท้องของทารก ทำให้ทารกสามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทารกได้รับภูมิต้านทานจากแบคทีเรียโพรไบโอติกที่ช่วยในระบบขับถ่าย ผ่านทางปากมดลูก ทำให้ลูกน้อยไม่ประสบปัญหาท้องอืด

 

แม้การคลอดแบบธรรมชาติจะเป็นวิธีที่พบได้บ่อยแต่ถ้าคุณแม่เกิดมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ไม่สามารถคลอดแบบธรรมชาติได้ หรือระหว่างการคลอดอาจเกิดภาวะฉุกเฉินที่ทำให้ต้องผ่าแทนได้เช่นกัน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

 

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

คลอดธรรมชาติ เจ็บไหม? วิธีคลอดลูกแบบธรรมชาติอย่างไรให้ปลอดภัย?

 

ข้อเสียของการคลอดแบบธรรมชาติคืออะไร?

  • ไม่สามารถกำหนดวันคลอดได้อย่างชัดเจน

ในบางครั้งการที่คุณหมอคาดการณ์เกี่ยวกับกำหนดคลอดของคุณแม่บางท่านอาจไม่เป็นไปตามวันที่แพทย์กำหนด อาจมีการคลาดเคลื่อนออกไป หรือเลื่อนเข้ามาเร็วกว่าปกติ

 

  • ต้องรอเวลาคลอด

การคลอดบุตรแบบธรรมชาตินั้นไม่สามารถคลอดได้ทันทีหลังจากที่คุณแม่มีอาการเจ็บท้อง หรือภาวะน้ำเดิน แต่จะต้องรอปากมดลูกเปิดให้ถึงระยะ 10 เซนติเมตรก่อนถึงจะทำการคลอดบุตรได้ คุณแม่บางท่านอาจใช้เวลานานจนกว่าที่จะสามารถคลอดบุตรได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณแม่จะต้องทนอยู่กับอาการเจ็บปวดจนกว่าปากมดลูกจะเปิดเต็มที่นั่นเอง

 

 

ความเสี่ยงของการ คลอดธรรมชาติ คืออะไร?

ความเสี่ยงในการคลอดลูกแบบธรรมชาติของคุณแม่แต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่แน่นอนสำหรับการคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาตินั้นคือความเจ็บปวดระหว่างคลอด

การคลอดลูกทุกครั้ง ไม่ว่าคุณแม่จะใช้ยาแก้ปวดหรือไม่ก็ตาม นั้นอาจเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อาทิ การสูญเสียเลือดจำนวนมาก หรือปัญหาเกี่ยวกับสายสะดือ และจะยิ่งยาก และอาจรุนแรงมากยิ่งขึ้นหากคุณแม่คลอดบุตรโดยไม่ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์

 

คลอดธรรมชาติ 4

 

คลอดธรรมชาติ ไม่เหมาะสมกับใคร?

แพทย์มักจะมีการประเมิน และพูดคุยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในเรื่องของการคลอดบุตร โดยคุณแม่บางท่านจะมีการแนะนำเกี่ยวกับการคลอดที่เหมาะสมให้กับคุณแม่แต่ละท่าน ซึ่งจะมีคุณแม่บางประเภทที่ไม่สามารถคลอดบุตรด้วยวิธีธรรมชาติได้ ดังนี้

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
  • ขณะตั้งครรภ์คุณแม่มีการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพยา
  • คุณแม่ที่เคยผ่าท้องคลอดมาก่อน (C-section)
  • คุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือมีปัญหาการแข็งตัวของเลือด
  • ตั้งครรภ์แฝด หรือการตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คนในครรภ์
  • มีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างในช่วงระหว่างของการตั้งครรภ์ เช่น การจำกัดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หรือปัญหาเกี่ยวกับรก

 

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากการคลอดธรรมชาติ

การคลอดบุตรนั้นเปรียบเสมือนเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในอีกรูปแบบหนึ่ง เหมือนกับช่วงแรกของการตั้งครรภ์ โดยสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย โดยส่วนใหญ่แล้วคุณแม่หลังตลอด จะมีอาการแทรกซ้อนหลังคลอดบุตร ดังต่อไปนี้

  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีไข้
  • เวียนศีรษะ หรือเป็นลม
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • เจ็บอวัยวะเพศเมื่อปัสสาวะ
  • มีอาการปวดบวมที่ขา
  • ปวดท้อง

ทั้งนี้อาการที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เป็นกับคุณแม่ทุกท่าน หรือทุกอาการ แต่ถ้าหากพบอาการหลังการคลอดบุตรที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันให้เข้าพบแพทย์ในทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม

 

การฟื้นตัวของคุณแม่หลังคลอดแบบธรรมชาติ

 

การฟื้นตัวของคุณแม่หลังคลอดแบบธรรมชาติ

การฟื้นตัวหลังคลอดบุตรนั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณแม่แต่ละคน คุณแม่หลายท่านอาจรู้สึกว่าตนเองสามารถฟื้นตัวและกลับมาเป็นปกติได้เต็มที่หลังจากการคลอดแล้วภายในเวลา 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด แต่สำหรับบางท่านอาจใช้เวลานานหลายเดือน ทั้งนี้การฟื้นตัวของคุณแม่ที่คลอดธรรมชาตินั้นเหมือนกับการคลอดแบบการคลอดโดยวิธีอื่น ๆ เพราะอาจมีการเจ็บอย่างน้อย 2-3 วันในช่วงแรก ซึ่งในช่วงแรกนี้คุณแม่สามารถอยู่ไฟ เพื่อขับน้ำคาวปลา และให้มดลูกเข้าอู่ได้

 

การคลอดบุตรแบบธรรมชาติไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คุณแม่หลายท่านคิด แต่สิ่งที่ยากลำบากของการคลอดแบบธรรมชาติคืออาการเจ็บปวดก่อนคลอด เพื่อรอเวลาที่ทารกจะสามารถออกมาลืมตาดูโลกได้นั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

13 เทคนิค ลูกคลอดง่าย ลูกออกมาปลอดภัยคุณแม่หายห่วง

อาหารบำรุงก่อนคลอด กินอะไรให้ได้สุขภาพดี มีน้ำนมมา

5 สารอาหารที่คนท้องควรได้รับก่อนคลอด สำคัญอย่างไร มีสารอาหารอะไรบ้าง

ที่มา : 1, 2, 3, 4

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการคลอดธรรมชาติ ได้ที่นี่!

คลอดธรรมชาติ เจ็บมากไหมคะ แล้วจะทำไงให้ปลอดภัยคะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • คลอดธรรมชาติ เจ็บไหม? วิธีคลอดธรรมชาติอย่างปลอดภัย ต้องทำอย่างไร?
แชร์ :
  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

  • 50 ชื่อลูกจากตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นระฟ้า

    50 ชื่อลูกจากตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นระฟ้า

  • ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

    ยาระงับปวดระหว่างตั้งครรภ์ คนท้องกินยาพาราแก้ปวดได้ไหม อันตรายหรือเปล่า?

  • คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องกินไส้อั่วได้ไหม ไขมันเยอะ พลังงานสูง จะกินอย่างไรให้ปลอดภัย

  • 50 ชื่อลูกจากตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นระฟ้า

    50 ชื่อลูกจากตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย โดดเด่นระฟ้า

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ