X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลอดลูกเจ็บไหม คลอดยังไงไม่ให้เจ็บ วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

บทความ 8 นาที
คลอดลูกเจ็บไหม คลอดยังไงไม่ให้เจ็บ วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

ก่อนคลอดต้องรู้นะแม่ วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บมาก

คลอดลูกเจ็บไหม ก่อนคลอดต้องเตรียมตัวอย่างไร คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด และเคล็ดลับคลอดง่าย ทรมานไม่นาน

 

คลอดลูกเจ็บไหม คลอดธรรมชาติเจ็บไหม

ความเจ็บปวดขณะคลอดแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

  • อาการปวดท้องในระยะเตรียมคลอด เกิดจากมดลูกบีบตัว ทำให้ขาดเลือดหล่อเลี้ยงในมดลูก
  • ความรู้สึกเจ็บในช่วงคลอดลูก เกิดจากเนื้อเยื่อฝีเย็บขยายตัวเพื่อเปิดทางให้ทารกแทรกตัวออกมา

 

แม่คลอดธรรมชาติจะมีสาเหตุความเจ็บปวด รู้สึกไม่สบายตัวจากภายในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น

  • ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis)
  • ฮอร์โมน catecholamine
  • อัตราการเต้นหัวใจสูง
  • ความดันเลือดสูง
  • เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจและมดลูกลดลง

 

วิธีคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ

คุณแม่คลอดธรรมชาติ มักจะเจ็บปวดขณะคลอดลูกอยู่แล้ว แม่ท้องบางคนเจ็บคลอดมาก แม่ท้องบางคนเจ็บแป๊บเดียว ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายขณะตั้งครรภ์ ความพร้อมของแม่ท้องแต่ละคนที่แตกต่างกันไป แถมแม่ท้องแรก ยังรู้สึกกลัวเจ็บ กลัวการคลอดธรรมชาติ ไม่ชิลล์เหมือนแม่ท้องที่ผ่านการคลอดมาแล้ว สำหรับคุณแม่ท้องแรกหรือคุณแม่มือใหม่ มี 2 อย่างหลัก ๆ ที่คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมคือ

 

  1. เตรียมกาย ควรออกกำลังกายง่าย ๆ เบา ๆ อย่างสม่ำเสมอขณะตั้งครรภ์ เช่น โยคะ หรือแค่เดินออกกำลังกาย เพื่อสร้างความยืดหยุ่นแข็งแรงของงร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อและข้อต่อที่เกี่ยวข้องกับการคลอด ได้แก่ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน กระดูกสะโพก หลังและขา
  2. เตรียมใจ การเจ็บท้องคลอดลูกเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ เปรียบเสมือนบททดสอบที่จะพิสูจน์ว่าพร้อมที่จะเป็นแม่คนแล้วหรือยัง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีการหายใจ 4 ขั้นตอนลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

 

คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ คลอดธรรมชาติเจ็บไหม วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด ก่อนคลอดต้องรู้ แม่อยากคลอดลูกเอง คลอดแบบธรรมชาติ แต่ก็กลัวเจ็บ วิธีไหนลดความเจ็บได้

คลอด ลูก เจ็บ ไหม คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ คลอดลูกเจ็บไหม ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

 

คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บด้วยการฝึก 4 ขั้นตอนการหายใจ

นอกจากการเตรียมตัวและเตรียมใจแล้ว ยังมีเรื่องสำคัญที่แม่ต้องฝึก นั่นก็คือ วิธีการหายใจเพื่อลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

 

วิธีการหายใจลดความเจ็บปวดขณะเบ่งคลอด

ระยะที่ 1 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 เซนติเมตร

ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มเจ็บท้องคลอด ให้หายใจเข้าทางปากหรือจมูกก็ได้อย่างช้า ๆ ลึก ๆ โดยใช้ทรวงอก นับจังหวะ 1 – 2 – 3 – 4 (จะหายใจได้ประมาณ 6 – 9 ครั้ง/นาที) อัตราการหายใจจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ นะคะ ตลอดระยะเวลาที่เจ็บท้อง พอมดลูกบีบตัวหดเกร็งก็ให้หายใจเข้าลึกและพอมดลูกคลายตัว และผ่อนอีกหนึ่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าในเวลานั้นคุณแม่ไม่สามารถใช้การหายใจวิธีนี้บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดได้ ให้เปลี่ยนวิธีการหายใจเข้าทางจมูกหรือปากก็ได้ช้า ๆ และค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกทางจมูกหรือปากช้า ๆ โดยจำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 6 – 9 ครั้ง / นาที

 

ระยะที่ 2 : ระยะปากมดลูกเปิดถึง 3 – 7 เซนติเมตร

ในระยะนี้ปากมดลูกเปิดใกล้จะหมดแล้ว การบีบตัวของมดลูกจะค่อย ๆ บีบตัวจากน้อยไปจนถึงบีบตัวเต็มที่ และมีอาการเจ็บครรภ์รุนแรง หลังจากนั้นมดลูกจะค่อย ๆ คลายตัวเต็มที่ที่สุด ในระยะนี้ให้หายใจเข้า – ออกช้า ๆ ควบคู่ไปกับการบีบตัวของมดลูกแล้วค่อย ๆ หายใจเร็วขึ้นตามการบีบตัวของมดลูก และเมื่อมดลูกเริ่มคลายตัวลงก็ให้หายใจช้าลง จนช้าที่สุดเมื่อมดลูกเปิดหมด

 

การหายใจในตอนนี้จะเป็นลักษณะเร็ว ตื้น วิธีปฏิบัติ คือ

  1. เมื่อเริ่มเจ็บท้องให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง แล้วหายใจเข้า ออก ผ่านปากและจมูกแบบเบา ๆ ตื้น ๆ เร็ว ๆ จำนวนครั้งของการหายใจประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที
  2. เมื่ออาการเจ็บท้องขณะเบ่งคลอดทุเลาลง ให้หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ ช้า ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง

 

ระยะที่ 3 : ระยะปากมดลูกเปิดหมด 7 – 9 เซนติเมตร

ในช่วงนี้ปากมดลูกเปิดกว้างเต็มที่เป็นระยะใกล้คลอดและสร้างความเจ็บปวดมากที่สุด จนไม่สามารถใช้วิธีการหายใจตามที่กล่าวมาใน 2 ระยะแรก ขอให้คุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจ ทำใจให้เป็นสมาธิจากความเจ็วปวดไปอยู่ที่ลมหายใจ วิธีปฏิบัติ คือ

  1. เมื่อมดลูกเริ่มหดตัวให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจทางปากช้า ๆ 1 – 2 ครั้ง เพื่อล้างปอด
  2. ต่อจากนั้นให้หายใจแบบตื้น เร็ว เหมือนหายใจหอบค่ะ 3 – 4 ครั้ง ติดต่อกัน ต่อจากนั้น หายใจออกและเป่าลมออกยาว ๆ 1 ครั้ง ในอัตราการหายเข้าเท่ากับหายใจออกทุกครั้ง ทำสลับกันไป จำนวนของการหายใจอยู่ที่ประมาณ 24 – 32 ครั้ง / นาที

 

ระยะที่ 4 : ระยะเบ่งคลอด

  1. ในระยะนี้คุณแม่ควรอยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะและไหล่ยกขึ้น งอเข่า แยกมือไว้ใต้เข่า ดึงต้นขา ให้เข่าชิดหน้าท้องให้มากที่สุด จากนั้นให้หายใจเข้า – ออก ในลักษณะพีระมิด
  2. การหายใจลักษณะพีระมิด ทำได้ดังนี้
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / หายใจออก, หายใจเข้า / เป่า
  • หายใจแบบนี้ไปเรื่อย ๆ คือ หายใจเข้า / หายใจออก,แล้วเป่า ไปจนถึงหายใจเข้า / หายใจออก 5 ครั้งแล้วเป่า จากนั้นให้ลดจำนวนครั้งการหายใจเข้า – ออก แล้วเป่ามาเป็น 5, 4, 3, 2, 1 จนเมื่ออาการเจ็บทุเลาลง

 

ให้หายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ลึก ๆ และหายใจออกทางปากช้า ๆ เพื่อล้างปอด 1 – 2 ครั้ง และเริ่มต้นใหม่เมื่อมดลูกบีบตัวใหม่ การหายใจในช่วงที่มีลมเบ่งคลอด ให้หายใจเข้าให้เต็มที่ให้ลึกที่สุดทั้งทางปากและทางจมูก แล้วกลั้นหายใจไว้ปิดปากให้แน่น ออกแรงเบ่งไปบริเวณช่องคลอดพร้อมกับหายใจออก ทำหลาย ๆ ครั้งติดต่อกัน

 

การหายใจในระยะเบ่งคลอดทั้ง 4 วิธีนี้ ควรฝึกทำทุกวันในช่วงไตรมาสที่ 2 เพื่อให้เกิดความชำนาญ การกระทำซ้ำ ๆ จะทำให้เมื่อถึงเวลาจริงคุณแม่จะได้ใช้ควบคุมตนเองได้เมื่อเวลาเจ็บครรภ์คลอด

 

ส่วนการหายใจในระยะเบ่งคลอดนั้น การฝึกหายใจไม่ต้องออกแรงมาก เพราะจะเกิดแรงดันต่อทารกในท้อง การฝึกหายใจให้คุณแม่สมมติว่าตนเองกำลังอยู่ในระยะเจ็บครรภ์ที่มีการบีบตัวของมดลูกตั้งแต่ ช่วงที่มดลูกเริ่มบีบตัว มดลูกบีบตัวเต็มที่ จนมดลูกเริ่มคลายตัว และคล้ายตัวได้ทั้งหมด ซึ่งจะกินเวลาครั้งละประมาณ 1 นาที คุณแม่จะรู้สึกหายเจ็บไปได้บ้าง ได้พักประมาณ 5 – 10 นาที มดลูกก็จะเริ่มบีบตัวครั้งใหม่เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนคลอด

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 เคล็ดลับช่วยคุณแม่คลอดง่ายขึ้น อยากคลอดลูกง่าย ทำไงดี วิธีให้คลอดลูกง่าย

 

คลอดลูกเจ็บไหม

คลอดลูกเจ็บไหม

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

 

หลักการหายใจเพื่อลดความปวดขณะเบ่งคลอด

หลักการหายใจเพื่อลดความปวดขณะเบ่งคลอด เป็นการหายใจแบบช้าเมื่อเจ็บท้องไม่มากนัก เพียงแต่มดลูกหดรัดตัวและคุณแม่รู้สึกเจ็บปวด ระยะนี้ส่วนใหญ่จะมีสมาธิในการควบคุมการหายใจช้า ๆ ได้ แต่เมื่อความเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น จะไม่สามารถควบคุมการหายใจให้ช้าได้ จึงค่อยเปลี่ยนเป็นการหายใจแบบเร็ว

 

ไม่ว่าคุณแม่จะหายใจแบบเร็วไม่ว่าจะวิธีการใดก็ตามจะต้องหายใจล้างปอด คือ หายใจออกลึก ๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเริ่มใช้เทคนิควิธีการหายใจ และเมื่อสิ้นสุดเทคนิควิธีการหายใจจะต้องปิดท้ายด้วยการหายใจล้างปอดอีก 1 ครั้งเสมอ

 

เคล็ดลับคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ ด้วยวิธีช่วยคุณแม่คลอดง่าย

  • ใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วงช่วยคลอดง่าย

ถ้าคุณหมออนุญาต ในช่วงใกล้คลอดให้คุณพยายามขยับร่างกายในท่าหลังตรง เช่น การยืน เดิน โน้มตัวไปข้างหน้าและย่อตัวลงเล็กน้อยจะทำให้แรงโน้มถ่วงช่วยเคลื่อนตัวลูกน้อยลง ทั้งยังช่วยให้ตัวลูกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการคลอด

 

  • นั่งท่าผีเสื้อแบบมณีเวช

เทคนิคดี ๆ ระหว่างรอมดลูก แม่ต้องลอง นั่งท่าผีเสื้อแบบมณีเวช บรรเทาอาการเจ็บคลอด มดลูกเปิดเร็วมาก โดยคุณหมอแนะนำให้แม่นั่งฝ่าเท้าชิดกัน สองมือกดตรงเข่าไว้ แล้วโน้มตัวไปข้างหน้านับ 1-20 แล้วผ่อนคลาย

 

  • นอนให้มาก ๆ สุขภาพแม่ท้องดีก็คลอดไม่ยาก

คนท้องต้องพยายามนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสูตินรีเวชอเมริกาชี้ให้เห็นว่า คุณแม่ใกล้คลอดโดยเฉพาะช่วงเดือนสุดท้ายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม. ต่อวัน จะใช้เวลาในการคลอดนานกว่า 11 ชม. และมีแนวโน้มที่จะต้องผ่าคลอดมากกว่า 4 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับคุณแม่ที่นอนอย่างน้อยวันละ 7 ชม. นี่จึงเป็นเหตุผลที่สมควรอย่างยิ่ง ที่ควรนอนให้มากขึ้น

 

เพื่อให้แม่นอนได้สบายตัวขึ้น ก็ต้องหาตัวช่วย เช่น หมอนรองคนท้อง เลือกที่คุณภาพดีจะช่วยพยุงท้อง ทำให้แม่ท้องหลับสบายขึ้น แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ท่านอนคนท้อง ที่เหมาะสม

 

วิธีคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำได้ยากค่ะ แต่วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอดที่ได้แนะนำไปนั้น ก็จะช่วยให้แม่คลอดธรรมชาติเจ็บปวดน้อยลง เพราะการคลอดธรรมชาตินั้นจำเป็นต้องรอให้ถึงระยะเจ็บท้องที่อาจกินระยะการเจ็บยาวนานหลายชั่วโมง มดลูกจะมีการบีบตัวที่แข็งและถี่ขึ้น ทำให้คุณแม่ปวดท้องคลอดมากขึ้นจนแทบทนไม่ไหว แต่การคลอดทั่วไปแพทย์จะให้ยาบรรเทาปวดในรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นน้ำเกลือเวลาที่คุณแม่ปวดมาก และช่วงหลังคลอดขณะที่เย็บซ่อมแผลฝีเย็บแพทย์จะฉีดยาชาให้ บางแห่งยังสามารถทำการบล็อคหลังให้คุณแม่ในขณะที่รอคลอด ทำให้แม่ไม่มีความรู้สึกช่วงครึ่งล่างของลำตัว คุณแม่จึงต้องศึกษา และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ก่อนตัดสินใจนะคะ

 

รู้กันไปแล้วถึงการคลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ มาโหวตกันหน่อยว่า ถ้าคุณคลอดธรรมชาติ คุณจะทำการบล็อกหลังหรือไม่ ถ้ากดโหวตไม่ได้ คลิกที่นี่

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ผิดปกติต้องรีบหาหมอ! แพทยสภาเผย 5 สาเหตุ แม่เสียชีวิตจากการคลอดลูก
วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยคุณแม่ลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด
แม่ท้องตอน 30 ลูกหัวไว ฉลาด ไอคิวสูง แข็งแรง เป็นอายุที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์

 


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • คลอดลูกเจ็บไหม คลอดยังไงไม่ให้เจ็บ วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด
แชร์ :
  • สอนลูกยังไงไม่ให้เหยียด ไม่ดูถูกคนอื่น เพราะความคิดต้องปลูกฝังตั้งแต่ลูกยังเล็ก

    สอนลูกยังไงไม่ให้เหยียด ไม่ดูถูกคนอื่น เพราะความคิดต้องปลูกฝังตั้งแต่ลูกยังเล็ก

  • ลดปวดก่อนคลอด ทำอย่างไรได้บ้าง มีอีกหลายวิธี โดยไม่ต้องพึ่งยา

    ลดปวดก่อนคลอด ทำอย่างไรได้บ้าง มีอีกหลายวิธี โดยไม่ต้องพึ่งยา

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • สอนลูกยังไงไม่ให้เหยียด ไม่ดูถูกคนอื่น เพราะความคิดต้องปลูกฝังตั้งแต่ลูกยังเล็ก

    สอนลูกยังไงไม่ให้เหยียด ไม่ดูถูกคนอื่น เพราะความคิดต้องปลูกฝังตั้งแต่ลูกยังเล็ก

  • ลดปวดก่อนคลอด ทำอย่างไรได้บ้าง มีอีกหลายวิธี โดยไม่ต้องพึ่งยา

    ลดปวดก่อนคลอด ทำอย่างไรได้บ้าง มีอีกหลายวิธี โดยไม่ต้องพึ่งยา

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ