X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

บทความ 5 นาที
ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติกทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

คุณแม่คงจะทราบข้อดีของการคลอดธรรมชาติที่มีต่อแม่กันแล้วนะคะ ส่วนข้อดีสำหรับทารกน้อยเรียกได้ว่าดีสุด ๆ ไปเลย คือ ทารกน้อยที่คลอดธรรมชาติจะได้รับโพรไบโอติกทันที มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารกต่อไป แล้วโพรไบโอติก คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร เรามีคำตอบ

ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

การคลอดธรรมชาติ ส่งผลดีต่อทั้งแม่และทารกตั้งแต่แรกคลอดกันเลยทีเดียว เพราะ ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

ทารกวัยคว่ำพ่อแม่ต้องระวัง

ทารกวัยคว่ำพ่อแม่ต้องระวัง

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) สองคำนี้เหมือนกันหรือไม่?

ในร่างกายของเรานั้นมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จุลินทรีย์ที่ไม่ก่อประโยชน์และโทษและจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย หากเกิดความผิดปกติในร่างกาย อาจส่งผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหาร

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากมายในท้องตลาดเกี่ยวกับการรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย โดยคำคุ้นหูที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งคือ “โพรไบโอติกส์” และ “พรีไบโอติกส์” มีความแตกต่างกัน ดังนี้
โพรไบโอติกส์คืออะไร ?

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กซึ่งจัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี สามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร ให้คำจำกัดความว่า โพรไบโอติกส์ คือ “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่างๆ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้”
พรีไบโอติกส์คืออะไร ?

พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติกส์ ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น

เด็กทารก เกิดมาพร้อมกับความสามารถใน การว่ายน้ำ

จริงมั้ย เด็กทารก เกิดมาพร้อมกับความสามารถใน การว่ายน้ำ

ทำไมเราถึงควรได้รับโพรไบโอติกส์เสริม?

โพรไบโอติกส์จัดเป็นจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรือ normal flora อย่างหนึ่งในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีสุขภาพดีก็จะมีการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ให้เป็นปกติ แต่ถ้าหากมีอะไรไปรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย  จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ถูกรุกราน อาจเกิดผลกระทบตามมาได้

ลองจินตนาการดู หากร่างกายได้รับยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานาน ยาเหล่านี้ส่งผลให้จุลินทรีย์ในร่างกายมีจำนวนลดลง เมื่อร่างกายมีการรับเชื้ออื่นซึ่งอาจก่อโรคเข้ามา อาจมีโอกาสสูญเสียจุลินทรีย์ดีในร่างกายได้

ดังนั้นการสร้างสภาวะความสมดุลระหว่าง normal flora และร่างกายนั้นจึงมีความสำคัญ ซึ่งการรับประทานโพรไบโอติกส์จึงเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการเสริมจุลินทรีย์ชนิดดีและรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกาย

 

ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วยภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

เด็กทารก เกิดมาพร้อมกับความสามารถใน การว่ายน้ำ

เด็กทารก เกิดมาพร้อมกับความสามารถใน การว่ายน้ำ

การคลอดธรรมชาติ : โพรไบโอติก

การคลอดตามธรรมชาติ ขณะที่ทารกค่อย ๆ เคลื่อนออกมาจากมดลูกผ่านลงมายังช่องคลอด โพรไบโอติกที่อยู่ในช่องคลอด และในลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง ๆ ใกล้ทวารหนักของคุณแม่จะปนเปื้อนอยู่ในมูกเลือดในช่องคลอด  ทารกจึงมีโอกาสได้รับโพรไบโอติก  ผ่านเข้าทางปากหรือจมูกแล้วลงไปในลำไส้ใหญ่ เพื่อไปกระตุ้นให้ร่างกายทารกแรกเกิด ให้เริ่มพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้สมบูรณ์  ระบบทางเดินอาหารของเด็กแรกเกิดนั้นมีสภาวะปลอดเชื้อ เด็กที่คลอดโดยธรรมชาติจะได้รับโพรไบโอติกทันที ผ่านทางช่องคลอดของแม่ เป็นการเริ่มต้นของการสะสมโพรไบโอติกโดยธรรมชาติ

ทารกผ่าคลอดจะได้รับโพรไบโอติกหรือไม่?

ผลการวิจัยอีกว่า เด็กผ่าคลอดกว่า 118,400 คน ใน 8 ประเทศ มีอัตราการเจ็บป่วยสูงกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติถึง 20%

ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

รศ.น.พ.วิทยา ถิฐาพันธ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ประเทศไทยมีอัตราการผ่าคลอดเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน  “การคลอดโดยวิธีการผ่าตัด ซึ่งทารกจะถูกล้วงและควักผ่านออกมาทางแผลผ่าตัดหน้าท้องโดยไม่ผ่านช่องคลอด ทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับโพรไบโอติกในช่องคลอดและลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง นอกจากนี้ ในการผ่าตัดคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียขณะผ่าตัดด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะทำให้เชื้อแบคทีเรียทั้งเชื้อก่อโรคและโพรไบโอติกถูกฆ่าทำลายไปด้วยกัน ยิ่งเป็นการซ้ำเติมทารกแรกเกิดให้หมดโอกาสที่จะได้รับโพรไบโอติกมากขึ้นไปอีก

ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

ซึ่งจากข้อมูลนี้ คาดการณ์ได้ว่า ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า จะมีเยาวชนและวัยรุ่นที่ไม่แข็งแรง และเป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืดจำนวนมาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะที่เด็กแข็งแรงส่วนใหญ่จะเป็นเด็กต่างจังหวัดที่คลอดเองตามธรรมชาติ” รศ.นพ.วิทยา กล่าว

เมื่อทราบถึงประโยชน์ของโพรไบโอติก ที่ทารกแรกเกิดจะได้รับจากการคลอดธรรมชาติ  แม่ท้องที่กำลังวางแผนการคลอดลูกจะได้ทราบถึงประโยชน์ของการคลอดธรรมชาติที่มีต่อลูกน้อย คือ การสร้างภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืนให้แก่ลูกนั่นเอง  มาสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกด้วยการคลอดธรรมชาติกันค่ะ

Probiotic นี้ช่วยลด “ภูมิแพ้ผิวหนัง” ในเด็กเล็กได้อย่างมาก ปัจจุบันในผลิตภัณฑ์นมหลายชนิดจึงมีการเสริม Probiotic เข้าไป และนำออกมาโฆษณาอย่างครึกโครม แต่เดี๋ยวก่อนครับ ข้อเท็จจริงที่คุณแม่ควรรู้คือในนมแม่นั้นมีแบคทีเรีย Probiotic และ Pre-biotic จากร่างกายของคุณแม่อยู่แล้ว

ดังนั้น หากต้องการให้ลูกในช่วง 1-2 ขวบ ไม่จำเป็นต้องให้ลูกทานนมเสริม Probiotic แต่ให้คุณแม่ทานอาหารเสริมจำนวน Probiotic หรือสามารถเริ่มทานตั้งแต่ตอนที่ตั้งครรภ์ได้เลยครับ ทารกก็จะได้รับ Probiotic เข้าไปส่วนหนึ่งตั้งแต่อยู่ในครรภ์คุณแม่แล้ว เมื่อออกมาจากครรภ์ก็จะมีภูมิต้านทานโรคภูมิแพ้มากกว่าครับ เช่น

1. ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กเล็กๆ

2. ลดโอกาสติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

3. ลดโอกาสเกิดภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจต่างๆ

ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก

อาการข้างเคียงที่อาจพบได้หลังจากรับประทานโพรไบโอติกส์?

ส่วนใหญ่มักพบเมื่อมีการรับประทานในขนาดที่สูงเกินไป โดยอาจจะทำให้เกิดภาวะลมในท้องเพิ่มขึ้น เกิดท้องอืดหรือแน่นท้องได้

อ้างอิงข้อมูลจาก : 1 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

“ซินไบโอติก” ในนมแม่ มีส่วนช่วยคืนภูมิต้านทานให้ลูกน้อยไม่เจ็บป่วยง่าย

แม่ผ่าคลอด ลูกน้อยอาจเจ็บป่วยมากขึ้น 20%* แพทย์แนะคืนภูมิต้านทานตั้งต้นด้วยโภชนาการที่เหมาะสม ได้อย่างไร

https://www.interpharma.co.th

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ทารกคลอดธรรมชาติแข็งแรงด้วย ภูมิคุ้มกันโพรไบโอติก
แชร์ :
  • วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย แค่ปล่อยให้ลูกเล่นสกปรกจริงหรอ!

    วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย แค่ปล่อยให้ลูกเล่นสกปรกจริงหรอ!

  • ข้อดี ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด

    ข้อดี ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย แค่ปล่อยให้ลูกเล่นสกปรกจริงหรอ!

    วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย แค่ปล่อยให้ลูกเล่นสกปรกจริงหรอ!

  • ข้อดี ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด

    ข้อดี ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ