X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม

บทความ 5 นาที
การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม

คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร เลือกคลอดธรรมชาติอันตรายไหม แม่ต้องรู้อะไรบ้าง

การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ หรือคลอดเอง แม่ท้องต้องเตรียมตัวอย่างไร วิธีคลอดธรรมชาติ คลอดธรรมชาติอันตรายไหม

พญ. ธาริณี ลำลึก สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลพญาไท 2 อธิบายถึงการเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ ไว้ในบทความ “คลอดธรรมชาติ” ไม่น่ากลัว..หากเตรียมตัวดี ตอนหนึ่งว่า การคลอดธรรมชาติ หมายถึง การคลอดลูกเองโดยไม่ใช้การผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัยและเหมาะสำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่ที่มีการตั้งครรภ์ปกติและไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่สามารถคลอดเองได้แต่หากมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดก็จำเป็นต้องทำตามข้อบ่งชี้

วิธีคลอดธรรมชาติ คลอดธรรมชาติ กี่วีค

โดยปกติแล้วจะใช้เวลาในการตั้งครรภ์ทั้งหมด 40 สัปดาห์ นับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ถือว่าครบกำหนดตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป คุณแม่ 70-80% จึงมีอาการเจ็บท้องคลอดในระยะนี้

อาการใกล้คลอด จะออกแล้วนะแม่!

อาการใกล้คลอดที่สำคัญของการคลอดธรรมชาติ ที่คุณแม่ต้องสังเกตอาการให้ดี แล้วรีบมาพบแพทย์

  • เจ็บท้องคลอด อาการเจ็บท้องคลอดจะมีการบีบและคลายตัวของมดลูกเป็นจังหวะ ในระหว่างตั้งครรภ์มดลูกจะมีการบีบตัวบ้างเป็นระยะอยู่แล้วเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 3 แต่เป็นอาการที่มาแล้วหายไป เมื่อไรก็ตามที่มดลูกบีบแล้วคลายต่อเนื่อง บีบประมาณ 45-60 วินาที แล้วคลายตัวประมาณ 2-3 นาที จนครบ 1 ยกเป็นเวลา 10 นาที ถ้าเป็นแบบนี้ 2-3 ยกแสดงว่าคุณแม่กำลังจะคลอดแล้วซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
  • มีมูกออกจากช่องคลอด หรืออาจจะมีเลือดปนออกมา โดยปกติมูกจะอุดอยู่บริเวณปากมดลูก พอมดลูกเปิดมูกที่อยู่ปากมดลูกก็จะหลุดออกมา แสดงว่าปากมดลูกเริ่มเปิดแล้ว
  • มีน้ำคร่ำออกมา น้ำคร่ำมีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ไม่จำเป็นต้องรอให้เยอะมากมาก เพราะคุณแม่บางคนก็มีน้ำคร่ำมาก บางคนก็น้อย
  • รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง

สิ่งสำคัญในการคลอดธรรมชาติ ประกอบด้วย ตัวเด็ก ที่ไม่ใหญ่จนเกินไป ช่องทางคลอดหรืออุ้งเชิงกราน จะต้องไม่เล็กกว่าตัวเด็ก แรงของคุณแม่ที่จะเบ่งเด็กออกมา ต้องมีมากพอที่จะส่งลงไปเพื่อให้การคลอดลุล่วงไปได้ด้วยดี

 

เช็กอาการใกล้คลอด แลกเปลี่ยนเทคนิคเตรียมตัวคลอดจากคุณแม่มืออาชีพที่มีประสบการณ์การคลอดลูก และขอคำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพในระหว่างตั้งครรภ์กับพยาบาล และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ผ่านช่องทางแชทแบบกลุ่ม หรือปรึกษาปัญหาสุขภาพแบบส่วนตัวกับคุณหมอเฉพาะทาง ได้ใน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันที่ดีที่สุดของคุณแม่ตั้งครรภ์ ดาวน์โหลดฟรีได้ที่นี่

 

วิธีการเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ

การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติสามารถเริ่มทำได้ทันทีตั้งแต่คุณแม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ โดยการมาฝากครรภ์กับแพทย์ที่โรงพยาบาล เพราะการตั้งครรภ์ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องประสบความสำเร็จเสมอไป บางครั้งก็อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ยิ่งคุณแม่ฝากครรภ์เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีกับเด็กในท้องมากเท่านั้น เพราะทำให้คุณหมอสามารถให้คำแนะนำในการดูและตัวเองได้อย่างตรงจุดและสามารถนำไปสู่การคลอดที่ประสบความสำเร็จได้ หรือหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นในภายหลังแพทย์ก็จะแนะนำการดูแลตัวเองเพื่อเตรียมตัวสำหรับผ่าคลอดให้กับคุณแม่ได้อย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://www.phyathai.com

การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร เลือกคลอดธรรมชาติอันตรายไหม แม่ต้องรู้อะไรบ้าง

วิธีการเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ

ระยะต่าง ๆ ของการคลอดลูกธรรมชาติ

ระยะแรกของการคลอด

ช่วงแรกของการคลอด

ในช่วงแรกของการคลอด เราอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ส่วน สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้น คือตัวปากมดลูกจะเริ่มบางออกและเกิดการขยายตัว คุณจะรู้สึกได้ว่ามดลูกบีบตัวทั้งที่ยังไม่อยู่ในช่วงที่ควรจะเป็น ตอนนี้คุณอาจจะคิดว่าคุณจะคลอดจริง ๆ แต่แล้วก็ไม่ใช่ อาการเจ็บอาจจะเกิดกับบางคน แต่บางคนอาจไม่รู้สึกอะไรเลยแถมก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สำหรับผู้หญิงบางคนที่ปากมดลูกยังไม่ขยาย แต่รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว อย่างไรก็ดีคุณควรจะอธิบายอาการทั้งหมดของคุณให้หมอฟัง หมออาจะแนะนำให้คุณรอจนกว่ามดลูกจะขยายตัวมากกว่านี้ หรืออาจจะให้นอนเฝ้าดูอาการที่โรงพยาบาลเลย

ช่วงเจ็บเตือน

สำหรับผู้หญิงที่ท้อง ช่วงเจ็บเตือนนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ลำบากที่สุดเท่าที่คุณเคยประสบมา ไม่ใช่แค่มดลูกคุณจะขยายตัวมากขึ้นและดูเหมือนว่ามันจะขยายไม่หยุด ในช่วงนี้ปากมดลูกจะขยายตัวจาก 4 เซนติเมตร เป็น 7 เซนติเมตร ช่วงเจ็บเตือนนี้อาจจะนานหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่ และสภาพร่างกายของลูกด้วย พยายามทำตัวเองให้ผ่อนคลาย โดยใช้ทฤษฎีการหายใจ ถ้าคุณรู้สึกสบายตัวขึ้นให้ลองลุกขึ้นยืนหรือเดินไปรอบ ๆ แทนที่จะนอนอยู่บนเตียง ขอให้อดทนไว้ก่อนอย่าเพิ่งเบ่ง

เจ็บพร้อมคลอด

เมื่อมดลูกขยายตัวจาก 7 เซนติเมตร เป็น 10 เซนติเมตร ณ ตอนนี้คุณอยู่ในช่วงเจ็บพร้อมคลอด หรือกำลังเข้าขั้นที่สองของการคลอด ถือว่าเป็นช่วงที่เจ็บที่สุดของการคลอด การหดตัวของมดลูกจะเพิ่มเป็นสองเท่าและทวีความรุนแรงขึ้น ในตอนนี้คุณอาจจะรู้สึกเหนื่อย รำคาญ และรู้สึกไม่สบายตัวอย่างมาก อย่าเพิ่งสิ้นหวัง ทุกอย่างกำลังจะจบแล้ว

 

ระยะที่สองของการคลอด

การคลอดลูก

เมื่อปากมดลูกของคุณได้ขยายตัว ถึง 10 เซนติเมตรหรือขยายตัวเต็มที่แล้ว ในตอนนี้ลูกของคุณจะค่อย ๆ ออกมาตามช่องคลอดเองเนื่องจากการบีบตัว ในตอนนี้เขาจะบอกให้คุณเบ่งเรื่อย ๆ คุณก็เบ่งตามที่เห็นสมควร ระยะเวลาของการคลอดนี้จะนานขนาดไหน ขึ้นอยู่กับขนาดของเด็ก เด็กที่ตัวใหญ่อาจจะต้องใช้เวลานาน

 

ระยะที่สามของการคลอด

การคลอดรก

หลังจากที่ลูกของคุณได้ออกมาแล้ว ทีนี้ก็ถึงตาของการคลอดรกบ้าง คุณอาจจะต้องพัก 10-15 นาที หลังจากคลอดลูกเสร็จ ในช่วงนี้คุณอาจจะรู้สึกถึงการบีบตัวแบบเบา ๆ แต่ไม่มีอะไรที่ควบคุมไม่ได้ ให้พยายามมุ่งความสนใจไปที่เสียงร้องของลูกคุณ สิ่งมหัศจรรย์น้อย ๆ ของคุณได้เกิดมาแล้ว!

 

ระยะที่สี่ของการคลอด

การฟื้นฟู

เมื่อคลอดลูกเสร็จสมบูรณ์และรกเด็กได้ออกมาหมดแล้ว ทีนี้ก็ถึงคราวที่คุณแม่จะเริ่มผ่อนคลายได้แล้ว นี่คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะให้น้ำนมลูกและยังเป็นช่วงเวลาเดียวที่ลูกของคุณจะได้รับน้ำนมในสัดส่วนที่พอเหมาะ การให้น้ำนมในช่วงหลังคลอดนี้ จะช่วยกระตุ้นร่างกาย และมดลูกให้เข้าที และฟื้นฟูได้เร็วขึ้นด้วย

 

การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติที่สำคัญที่สุด แม่ต้องดูแลตัวเองให้ดี เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ อย่าลังเลที่จะมาพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน เพียงเท่านี้ก็ปลอดภัย ไม่อันตรายอย่างที่แม่ท้องกลัว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

วิธีเบ่งคลอด การเบ่งคลอดที่ถูกวิธี เทคนิคการหายใจ หญิงตั้งครรภ์ ก่อนคลอด

เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม คนตัวเล็กคลอดลูกเองได้ไหม คลอดธรรมชาติหรือต้องผ่าคลอด

ราคาแพ็คเกจคลอด ปี 2562 ของโรงพยาบาลในกทม. อัปเดตล่าสุด!!

ซึมเศร้าตอนท้อง หรือแม่ท้องคิดไปเอง อาการซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะซึมเศร้าในคนท้องเป็นอย่างไร

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม
แชร์ :
  • เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?

    เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?

  • อยากมีลูกต้องเตรียมตัวอย่างไร 7 ข้อที่พ่อแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

    อยากมีลูกต้องเตรียมตัวอย่างไร 7 ข้อที่พ่อแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?

    เตรียมตัวก่อนคลอดลูก ต้องทำอะไรบ้าง? ของสิ่งไหนจำเป็น?

  • อยากมีลูกต้องเตรียมตัวอย่างไร 7 ข้อที่พ่อแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

    อยากมีลูกต้องเตรียมตัวอย่างไร 7 ข้อที่พ่อแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ