X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ท้องอ่อนๆ ปวดหลัง อันตรายไหม? มาดู 10 วิธีแก้ปวดหลังของแม่ท้อง

บทความ 5 นาที
ท้องอ่อนๆ ปวดหลัง อันตรายไหม? มาดู 10 วิธีแก้ปวดหลังของแม่ท้องท้องอ่อนๆ ปวดหลัง อันตรายไหม? มาดู 10 วิธีแก้ปวดหลังของแม่ท้อง

คุณแม่ท้องเคยสงสัยไหมคะ ว่าทำไมคนท้องต้องปวดหลัง ซึ่งเป็นอาการที่คุณแม่ต้องเผชิญตลอดช่วงตั้งครรภ์ เราไปดูสาเหตุและวิธีบรรเทาแก้ปวดหลังกันค่ะ

ท้องอ่อนๆ ปวดหลัง คือ อาการปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่ท้องอ่อนๆ ไปจนถึงใกล้คลอด แต่คุณแม่มือใหม่อาจจะมีความกังวลมากสักหน่อย เนื่องจากยังไม่ชินกับอาการดังกล่าว ซึ่งบางรายมีอาการปวดหลังช่วงล่างรุนแรง และลามขึ้นไปถึงหลังส่วนบน คล้ายอาการกล้ามเนื้ออักเสบของนักกีฬา หากปวดมากอาจต้องนอนพักหลายวันเลยทีเดียว

 

ท้องอ่อนๆ ปวดหลัง

ท้องอ่อนๆ อาการปวดหลังของคนท้องอ่อนๆ สาเหตุมาจากอะไร

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางอารมณ์และร่างกาย โดนเฉพาะร่างกายนั้น นอกจากจะรู้สึก ปวดหัว อาเจียน คลื่นไส้ จากการแพ้ท้องแล้ว ยังมีการปวดเมื่อยตามร่างกาย ยิ่งตอนท้องอ่อนๆ ปวดหลัง สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงตั้งครรภ์ถึง 80 % แต่จะปวดมากหรือน้อยนั้น อาการย่อมแตกต่างกันไป โดยจะปวดบริเวณกล้ามเนื้อหลังล่าง ช่วงเอวลงไปถึงก้นกบและหัวหน่าวอวัยวะเพศ บางรายอาจจะปวดนานจนถึงหลังคลอดด้วยซ้ำ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

  • ฮอร์โมนที่ชื่อว่า รีแลกซ์ติน (Relaxtin) ในรังไข่ที่ถูกสร้างขึ้น ส่งผลไปยังไขข้อในร่างกาย เพื่อช่วยกระตุ้นในการยืด ขยายเส้นเอ็นและกระดูกเชิงกรานให้คุณแม่คลอดง่ายขึ้น
  • เหตุผลที่ ท้องอ่อนๆ แล้วปวดหลัง เนื่องจากคุณแม่เริ่มมีความเครียด ความกังวลโดยไม่รู้ตัว ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง เส้นเอ็นตึง ซึ่งทำให้ปวดหลังได้ง่าย
  • น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังแบกรับน้ำหนักในส่วนหน้าท้อง จึงทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหลังมากขึ้น
  • อายุครรภ์ 20 สัปดาห์เป็นต้นไป คุณแม่จะต้องแบ่งแคลเซียมให้ลูกในท้องเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ทารกน้อยนำไปสร้างกระดูกภายในร่างกาย ซึ่งถ้าหากแม่ท้องรับแคลเซียมไม่เพียงพออาจทำให้เป็นโรคกระดูกผุและเกิดอาการปวดหลังได้
  • เมื่อมดลูกขยายใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อกลางลำตัวด้านหลังจะยืดขยายออก ทำให้มีอาการปวดหลังตามมา ตลอดอายุครรภ์
  • เมื่อท้องเริ่มใหญ่ขึ้น การเดิน ลุก นั่ง ทำความลำบากต่อการเคลื่อนไหวของคุณแม่ ดังนั้นการทรงตัวต่างๆ จึงเปลี่ยนไป และไม่ถูกวิธี เช่น แอ่นตัวเวลาเดิน ก้มลงผิดท่า ก็นำมาซึ่งอาการปวดหลังได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:  ปวดหลัง เป็นสัญญาณร้ายบอกโรคหรือไม่ อยากรู้ต้องอ่านบทความนี้ !!

 

วิธีรับมือ ท้องไตรมาสแรก ปวดหลัง

เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ แล้วมีอาการปวดหลังร่วมด้วย ในเบื้องต้นคุณแม่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อเช็คร่างกายอย่างละเอียด จริงอยู่ การปวดหลังช่วงท้องอ่อนๆ อาจจะดีขึ้นในบางครั้ง หรือเป็นเรื่องปกติอย่างที่เราทราบกัน แต่เพื่อความปลอดภัยว่า ไม่มีอาการอื่นๆ แทรกซ้อน

 

1. คุณแม่ควรทราบถึงเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสม

คุณหมอจะทำการชั่งน้ำหนักเพื่อบันทึกและวางแผนการตั้งครรภ์ให้ในเบื้องต้น เช่น คำนวณค่า BMI ของผู้หญิงตั้งครรภ์ ว่าไม่ควรมีน้ำหนักเกิน 10-12 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์ และควรเพิ่มได้เดือนละกี่กิโลกรัมจึงจะเหมาะสมกับการแบกรับน้ำหนัก

 

2. ปรับพฤติกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการเดินบ่อยๆ หรือเดินเร็ว อีกทั้งไม่ควรยืนนานๆ เพราะจะไปกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด บริเวณช่วงเอวจะรับน้ำหนักเป็นเวลานานจนทำให้ปวดหลังล่าง หากต้องทำงานที่ยืนบ่อยๆ คุณแม่ควรมีเก้าอี้ไว้นั่งพักบ้าง

 

3. ปรับการทรงตัว

หากคุณแม่เคยออกกำลังกายมาก่อนจะทราบว่า การยืนเท้ากว้างเท่าสะโพกจะช่วยให้ร่างกายสมดุลในการรับน้ำหนัก ดังนั้น คุณแม่พยายามยืนเท้ากว้างเท่าช่วงสะโพกเสมอ อย่ายืนเท้าชิดไป หรือกว้างงเกินไปจะเสียการทรงตัว น้ำนักจะไปลงสะโพกจนเกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อและปวดหลังได้

 

4. พยายามอย่านั่งนานเกินไป

การนั่งอยู่กับที่นานเกินไป จะทำให้คุณแม่ปวดหลัง ปวดไหล่ได้ค่ะ เนื่องจากการนั่งทำงานนานๆ จะให้เผลอทำหลังโก่ง โค้งงอได้ และทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนล้า ดังนั้นทุก 1 ชั่วโมง ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย บิดร่างไปมา เดินไปมาเบาๆ  ที่สำคัญเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น เวลานั่งทำงานอย่าลืมหาหมอนมารองด้านหลังเพื่อพยุงไว้ด้วยค่ะ

 

5. เลือกสวมชุดชั้นในที่เหมาะสม

สิ่งหนึ่งที่แม่ท้องควรเตรียมไว้คือ เสื้อผ้าใหม่ และชุดชั้นในใหม่ โดยเฉพาะบราหรือยกทรง ที่ต้องรับน้ำหนักเต้านมขยายใหญ่ขึ้น เรื่องนี้ผู้หญิงที่มีขนาดเต้านมใหญ่แม้จะไม่ได้ท้อง จะทราบดีว่า นี่คือสาเหตุหลัก ของอาการปวดหลัง เนื่องจากต้องรับน้ำหนักของเต้านม จึงควรหาบราช่วยพยุงหน้าอกให้กระชับและไม่รัดรึงจนเกินไป จะลดอาการปวดหลังได้อย่างดี

 

6. ปรับเปลี่ยนเก้าอี้นั่งทำงาน

คุณแม่ ท้องอ่อนๆ ปวดหลัง ง่าย เนื่องจากหลายคนยังทำงานอยู่ ดังนั้น ควรปรับเก้าอี้ทำงานและคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม อย่างการปรับองศาหน้าจอคอมพ์ และระดับเก้าอี้ พนักเอน และควรหาเก้าอี้เล็กๆ วางไว้ใต้โต๊ะทำงาน เพิ่อวางพักเท้าด้วยค่ะ จะลดอาการเหน็บชาซึ่งอาจร้าวไปสู่หลังได้

 

ท้องอ่อนๆ ปวดหลัง ปรับท่านอน และเครื่องนอนให้เหมาะสม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: ปวดอุ้งเชิงกราน แม่ท้องหมดกังวล ง่ายๆ หายได้ด้วยตัวเอง

7. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

แม้คุณแม่จะสามารถยกของหนักได้เยอะๆ มาก่อน แต่เมื่อถึงคราวตั้งครรภ์ อย่าลืมว่า เรามีอีกหนึ่งที่ชีวิตที่อยู่ในท้อง การยกของหนัก ก้มผิดท่า จะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ โดยเฉพาะกระดูกอุ้งเชิงกรานต่อเนื่องไปถึงส่วนหลัง นอกจากนี้ การยกของหนักยังเสี่ยงอันตรายต่อมดลูก ยิ่งท้องอ่อนๆ ยิ่งเสี่ยงแท้งง่ายมากค่ะ

 

8. หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง

เนื่องจากการใส้รองเท้าส้นสูงจะใช้พลังในการทรงตัวค่อนข้างมาก ท่อนขาออกแรงเกร็งมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลอันตรายต่อหลัง เพราะต้องเขย่งตลอดเวลา การถ่ายเทน้ำหนักผิดจังหวะได้ง่าย เสี่ยงต่ออุบัติเหตุอีกด้วย

 

9. เตรียมอุปกรณ์การนอนให้เหมาะสม

โดยเฉพาะที่นอน ควรเลือกที่เหมาะกับคนท้อง ไม่แข็งเกินไป ไม่นุ่มเกินไป รวมถึงหมอนควรมีระดับรองคอที่พอดี ที่สำคัญคุณแม่ควรมีหมอนเพิ่มหลายใบหน่อยค่ะ เช่น หมอนหนุนเท้า ไว้วางเท้าให้สูงกว่าศีรษะตอนนอน และหมอนข้างเอ่าไว้ก่ายเวลาท้องโตขึ้น และรู้สึกอึดอัด หมอนต่างๆ จะช่วยพยุงร่างกายได้อย่างดี

 

10. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

อย่าละเลยการออกกำลังกาย แต่ควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป แรกๆ อาจห้ามเดินเร็ว แต่คุณแม่สามารถเดินช้าๆ รอบบ้านตอนเช้าได้ ลุกขึ้นแกว่งแขนบ้างระหว่างวัน พอผ่านไปสัก 3 เดือน ร่างกายเริ่มแข็งแรงแล้ว คุถณแม่อาจจะลองว่ายน้ำ และเล่นโยคะฝึกลมหายใจดูค่ะ วิธีนี้จะทำให้คลอดง่าย แล้วที่สำคัญที่สุด ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภัยเงียบที่ต้องระวัง ส่งผลร้ายต่อลูกในท้องได้
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภัยเงียบที่ต้องระวัง ส่งผลร้ายต่อลูกในท้องได้
อาการท้องผูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ หากแก้ไขไม่ทันอาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด
อาการท้องผูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ หากแก้ไขไม่ทันอาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด
แชร์ไอเท็มลับ ป้องกันท้องแตกลายได้อยู่หมัดฉบับแม่ตั้งครรภ์
แชร์ไอเท็มลับ ป้องกันท้องแตกลายได้อยู่หมัดฉบับแม่ตั้งครรภ์

 

 

ท้องอ่อนๆ ปวดหลัง โยคะแก้ปวดหลัง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:  เข็มขัดพยุงครรภ์ ตัวช่วยแก้อาการปวดหลัง ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรใส่

 

อาการแทรกซ้อนที่ควรระวังนอกจากปวดหลัง

แม้จะมีหลายวิธีเพื่อบรรเทาอาการปวดหลัง แต่คุณแม่อย่าลืมว่า ยิ่งคุณแม่มีอายุครรภ์ที่มากขึ้น เช่นตั้งแต่ ไตรมาสสาม ซึ่งอยู่ในช่วงใกล้คลอด คุณแม่จะยิ่งปวดหลังและมีอาการแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น

  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • ท้องผูกบ่อยๆ
  • มีอาการของริดสีดวงเกิดขึ้น
  • เจ็บท้องเป็นช่วงๆ
  • มีน้ำคร่ำไหล ถุงน้ำคร่ำรั่ว
  • มีภาวะเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

อาการต่างๆ เหล่านี้คุณแม่ต้องเตรียมรับมือไปพร้อมๆ กับอาการปวดหลังที่ตามมา แต่ทุกอย่างไม่น่ากลัวหรือมีอันตรายค่ะ เพียงแต่หมั่นดูแลสุขภาพ อย่าให้มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ และเลือกรับประทานอาหารที่ดี

 

สำหรับคุณแม่ท้องไตรมาสแรก หากมีอาการปวดหลังมากจนทนไม่ไหว ห้ามคุณแม่ซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด แม้จะเป็นยาที่คุณหมอเคยจ่ายมาให้รับประทานก็ตาม เพราะคุณหมอจ่ายยาตามอาการ และจะดูแลอย่างต่อเนื่อง ถ้ายังไม่หาย หรือมีอาการปวดร้าวไปถึงหลังช่วงบน ปวดร้าวลงขา ชาไปถึงน่อง คุณหมอก็จะหาสาเหตุและทำการรักษาอาการปวดหลังต่อไป

 

 

บทความที่น่าสนใจ

ท่ากายบริหารลดอาการปวดหลังสำหรับคุณแม่หลังคลอด

10 ท่าออกกำลังกายคนท้อง ทำได้ทุกไตรมาส พร้อมวิธีลดน้ำหนัก

"อุ้มลูกทีไร ปวดหลังทุกที" ปวดหลังหลังคลอด แบบนี้แก้อย่างไร

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับท้องอ่อนๆ มีอาการปวดหลัง ได้ที่นี่!

ท้องอ่อนๆ ปวดหลัง เกิดจจากอะไรคะ แบบนี้ปกติไหมคะ

ที่มา: 1 ,  2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 1
  • /
  • ท้องอ่อนๆ ปวดหลัง อันตรายไหม? มาดู 10 วิธีแก้ปวดหลังของแม่ท้อง
แชร์ :
  • วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
    บทความจากพันธมิตร

    วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส

  • เทคนิค! เลือกใช้ ยาสีฟัน ยังไง? ให้เหมาะกับตัวเองมาดูกัน!

    เทคนิค! เลือกใช้ ยาสีฟัน ยังไง? ให้เหมาะกับตัวเองมาดูกัน!

  • คนท้องใช้น้ำยาบ้วนปากได้ไหม คุณแม่ควรระวังเรื่องไหนบ้าง? มาดูกัน!

    คนท้องใช้น้ำยาบ้วนปากได้ไหม คุณแม่ควรระวังเรื่องไหนบ้าง? มาดูกัน!

app info
get app banner
  • วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
    บทความจากพันธมิตร

    วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส

  • เทคนิค! เลือกใช้ ยาสีฟัน ยังไง? ให้เหมาะกับตัวเองมาดูกัน!

    เทคนิค! เลือกใช้ ยาสีฟัน ยังไง? ให้เหมาะกับตัวเองมาดูกัน!

  • คนท้องใช้น้ำยาบ้วนปากได้ไหม คุณแม่ควรระวังเรื่องไหนบ้าง? มาดูกัน!

    คนท้องใช้น้ำยาบ้วนปากได้ไหม คุณแม่ควรระวังเรื่องไหนบ้าง? มาดูกัน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ