ระวังไว้ ถุงน้ำคร่ำรั่ว สัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณแม่ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน สังเกตได้จาก การที่คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดภาวะน้ำเดินก่อนคลอด เหมือนมีน้ำใส ๆ ไหลจากช่องคลอดลงหว่างขามากจนน่าตกใจ ทั้งที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด อาการนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในมดลูกไปถึงทารกได้ เรามาดูกันว่า อะไรคือปัจจัยทำให้เกิดภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วได้
ถุงน้ำคร่ำรั่ว น้ำเดินก่อนคลอด เกิดจากอะไร
ปกติแล้วภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว จะไม่ค่อยพบมากนัก แต่หากมีภาวะเช่นนี้ หรือที่เราเรียกว่า น้ำเดิน ก่อนคลอด หรือทางการแพทย์เรียกว่า PROM (Premature rupture of membranes) ซึ่งปกติแล้วจะเกิดตอน เจ็บครรภ์คลอด เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนดตั้งแต่ 37 สัปดาห์ (ประมาณ 3% ) หรือถึงกำหนดคลอด (ประมาณ 10%X เท่านั้น หากเกิดมีน้ำเดินก่อนการเจ็บครรภ์ นั่นคือสัญญาณอันตราย ที่บอกคุณแม่ท้องว่า กำลังมีภาวะครรภ์เสี่ยงแท้งบุตรหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องทำการผ่าคลอดก่อนกำหนด
บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 อาการผิดปกติของคนท้อง แค่เจออาการเดียวก็ต้องไป รพ. พบหมอทันที!
1. บริเวณปากมดลูกติดเชื้อ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา บริเวณปากช่องคลอดไปถึงปากมดลูกและเข้าไปยังโพรงมดลูก ซึ่งทำให้ถุงน้ำคร่ำอักเสบจนเกิดแตกได้ง่าย
2. ตั้งครรภ์ฝาแฝด
ทางการแพทย์ระบุว่า การตั้งครรภ์แฝดไม่ใช่การตั้งครรภ์ปกติ จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากผนังมดลูกนั้นต้องรับน้ำหนักทารก 2 คนเป็นอย่างน้อย จึงเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอดได้
3. แม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่
สารนิโคตินและสารพิษในบุหรี่คือตัวทำลายมดลูกอันดับต้น ๆ เลยค่ะ หากคุณแม่สูบบุหรี่ อาจทำให้มดลูกมีความอ่อนแอบวกกับสภาพร่างกายของคุณแม่ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ ยิ่งทำให้ถุงน้ำคร่ำรั่วได้ง่าย
4. มีโรคประจำตัวที่เคยผ่ามดลูกหรือมีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกมาก่อน
เรียกว่าเป็นบาดแผลที่ทำให้เกิดรอยรั่วของถุงน้ำคร่ำได้ง่าย หากคุณแม่เคยผ่าตัดมดลูกหรือมีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกบ่อย ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ หรือหากตั้งครรภ์แล้ว หมั่นปรึกษาคุณหมอเช็ดอาการของมดลูกสม่ำเสมอ
- เนื้องอกมดลูก
- ตรวจพบปากมดลูกสั้น
- ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- รกเกาะต่ำ
- รกลอกตัวก่อนกำหนด
- เลือดออกจากช่องคลอดบ่อย ๆ ช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร มีอาการแบบไหน ใกล้คลอดหรือยังแบบนี้
มาดูสัญญาณ และอาการถุงน้ำคร่ำรั่วว่าเป็นอย่างไร
ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่านี่คืออาการ “น้ำเดิน” ค่ะ เป็นอาการเดียวกับถุงน้ำคร่ำแตกจนไหลออกมา บางคนน้อย บางคนเยอะ แต่หากไหลมามากกว่าปกติแล้วเกิดเหตุการณ์แบบนี้ก่อนกำหนดคลอด เราจะทราบได้อย่างไรว่า นี่คือ ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
- หากอายุครรภ์แค่ 37 สัปดาห์หรือน้อยกว่านั้น แล้วมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด ให้สันนิษฐานได้เลยค่ะว่า กำลังเกิดภาวะถุงน้ำคร่ำแตก อาจจะคล้ายปัสสาวะรดกางเกงใน แต่คุณแม่ลองสังเกตให้ดีว่า นั่นไม่ใช่น้ำปัสสาวะ แล้วไปพบแพทย์ด่วน
- เกิดภาวะตกขาวแทรกซ้อน หมายถึง มีการติดเชื้อจากตกขาวมาก่อน แล้วนิ่งนอนใจ เหล่าเชื้อราและแบคทีเรีย ก็ไปทำลายมดลูกจนอักเสบ ทำให้ถุงน้ำคร่ำรั่วได้
ภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำคร่ำรั่ว
- อาจเกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอด ปากมดลูก เนื่องจากเจ้าเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ จะไปสร้างเอนไซม์กระตุ้นการบีบตัว หดรัดตัวของมดลูก คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกเจ็บท้องน้อย หากเจ้าเชื้อโรคนี้เข้าสู่มดลูกแล้ว จะทำให้เกิดรูรั่วอันเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ซึ่งอาจเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดและแท้งบุตรได้
- คุณแม่ตั้งครรภ์ลองจินตนาการดูว่า ทารกอยู่ในน้ำคร่ำเพื่ออาศัย หากถุงน้ำคร่ำรั่ว แตกจนน้ำไหลหมด หรือนานเกินไป จะทำให้ไม่เพียงพอต่อการผลิตออกซิเจนให้แก่ทารก ซึ่งจะทำให้ทารกเสียชีวิตใจครรภ์ได้
- แม่ท้องจะมีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ยิ่งในคุณแม่ที่เลือดออกบ่อย ๆ ช่วงท้องไตรมาสแรก อาจส่งผลให้ถุงน้ำคร่ำรั่วได้ง่าย เนื่องจากมดลูกไม่แข็งแรง อันตรายต่อชีวิตคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์ค่ะ
แพทย์จะรักษาภาวะถุงน้ำคร่ำรั่วอย่างไร
ก่อนอื่นคุณหมอซักประวัติ ถึงระยะเวลาตั้งครรภ์ (หากไม่ใช่แพทย์ประจำตัว) จากนั้นจะตรวจดูปริมาณน้ำคร่ำในช่องคลอดที่เหลือ
- คุณหมอจะให้คุณแม่ลองไอแรง ๆ ค่ะ เพื่อให้เกิดแรงดันไปกระทบให้น้ำคร่ำไหลอีกครั้ง และดูว่า ไหลมากน้อยแค่ไหน
- จะใช้วิธีตรวจหาเชื้อจากน้ำคร่ำที่ได้ตัวจากช่องคลอดโดยส่งไปทาง Lab เพราะคุณหมอจะพยายามหลีกเลี่ยงการตรวจภายในแบบเปิดปากมดลูกโดยตรงเพื่อลดการติดเชื้อ
- คุณหมออาจต้องใช้วิธีอัลตราซาวนด์อย่างละเอียดเพื่อดูถุงน้ำคร่ำ
- ตรวจสอบว่า มีความเสี่ยงที่ต้องทำการคลอดก่อนกำหนดไหม เนื่องจากปริมาณน้ำคร่ำและออกซิเจน ซึ่งคุณแม่อาจจะต้องนอนพักในโรงพยาบาลก่อนเพื่อรอดูอาการและขั้นตอนต่อไป
คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถป้องกันภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดได้อย่างไร
- ระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องต้องดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ค่ะ คอยจิบบ่อย ๆ สามารถดื่มนมและน้ำผลไม้คั้นสดได้ พยายามให้ร่างกายได้รับน้ำทุกชั่วโมง และดื่มน้ำให้ได้วันละ 1.5-2 ลิตร
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นไปที่โปรตีน เช่น กินไข่เพิ่มวันละ 4.5 ฟอง เพื่อสร้างโปรตีนในน้ำคร่ำ หรือเพิ่มโปรตีนจากอาหารอื่น ๆ อย่างเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ธัญพืช และพวกถั่วต่าง ๆ กินถั่วให้ได้วันละ 35-50 กรัมต่อวัน จะเป็นการเสริมสร้างโปรตีนให้กับเนื้อเยื่อในร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างดี
ภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว ไม่ใช่เรื่องปกติ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจนิ่งนอนใจว่า ระหว่างท้องอาจมีเลือดไหลบ้าง มีน้ำใส ๆ ออกมาบ้าง จริงอยู่อาการเหล่านี้ ดูเผิน ๆ คือเรื่องเล็กน้อย เกิดไม่บ่อย แต่หากปล่อยทิ้งไว้ จนมีอาการเจ็บจากถุงน้ำคร่ำแตก มดลูกบีบตัว ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด แม้ครรภ์จะใกล้คลอดแล้ว แต่การที่ทารกขาดออกซิเจนเพราะถุงน้ำคร่ำแตก เป็นเรื่องอันตรายอย่างมากค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกเอาหัวหรือก้นออก แม่ท้องดูอย่างไร ถ้าลูกไม่กลับหัวจะเกิดอะไรขึ้น
ปวดท้องคลอด คล้ายปวดท้องเข้าห้องน้ำ แม่ท้องแรกตกใจ! คลอดลูกแล้วเหรอเนี่ย
อย่ามัวแต่ห่วง สายสะดือพันคอทารก เพราะสายสะดือย้อย ก็วิกฤตไม่แพ้กัน ลูกในครรภ์เสี่ยงเสียชีวิต
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำคร่ำครั่ว ได้ที่นี่ !
ถุงน้ำคร่ำรั่ว น้ำเดินก่อนคลอด เกิดจากอะไรคะ อันตรายไหมคะ
ที่มา : samitivejhospitals, paolohospital, pobpad
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!