X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้อง ปวดก้นกบ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้หายปวด?

บทความ 5 นาที
คนท้อง ปวดก้นกบ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้หายปวด?

ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่มักเผชิญกับอาการปวดบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นปวดหลัง ปวดขา หรือปวดข้อมือ แม้กระทั่งอาการปวดก้นกบ ซึ่งอาจสร้างความเจ็บปวด และความกังวลให้กับคุณแม่เป็นอย่างมาก หลายคนอาจสงสัยว่าอาการ ปวดก้นกบ ตอนท้องอันตรายไหม และจะมีวิธีบรรเทาอาการปวดหรือเปล่า วันนี้ theAsianparent จะพาไปดูกันว่าปวดก้นกบตอนท้องเกิดจากอะไร และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง ไปดูกัน

 

ก้นกบอยู่ตรงไหน

ก้นกบ หรือกระดูกก้นกบ (Coccyx หรือ Tailbone) เป็นกระดูกชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่บริเวณส่วนปลายสุดของกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระดูกส่วนที่เชื่อมติดกับกระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) โดยกระดูกก้นกบนั้น มีหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกายเวลาที่เรานั่ง หากมีอาการกระดูกก้นกบอักเสบ หรือกระดูกก้นกบแตกหักร้าว ก็จะทำให้รู้สึกเจ็บก้นกบเวลานั่งนั่นเอง นอกจากนี้ ก้นกบยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณอุ้งเชิงกราน หากคุณแม่มีอาการปวดก้นกบมาก ๆ หรือกระดูกก้นกบอักเสบ ก็อาจทำให้มีอาการปวดเวลาถ่ายอุจจาระได้อีกด้วย

 

ปวดก้นกบ ตอนท้อง มีสาเหตุมาจากอะไร

ปวดก้นกบตอนท้อง เป็นอาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะเจอกันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งอาการปวดก้นกบตอนท้องนั้น เป็นผลมาจากฮอร์โมนรีแลกซิน ที่ร่างกายมีการสร้างขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งมีส่วนทำให้เอ็น และข้อต่ออุ้งเชิงกรานเกิดการนิ่มตัว ก้นและสะโพกของแม่ท้องมีการขยายตัวออก และมีไขมันหนาขึ้น รวมถึงเส้นประสาทบริเวณผิวก็มีการยืดขยายออกเช่นกัน ถ้าข้อต่อยืดขยาย หรือเคลื่อนไหวมากเกินไป ก็จะทำให้ปวด และเมื่อทารกโตขึ้น น้ำหนักครรภ์จะกดให้อุ้งเชิงกรานแบะออกจากกระดูกก้นกบ ซึ่งก็จะทำให้เกิดอาการปวดได้

 

อาการปวดก้นกบ

วิธีสังเกตอาการปวดก้นกบง่าย ๆ คุณแม่อาจใช้วิธีสังเกตอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดอย่างรุนแรงเมื่อนั่งลง
  • มีอาการเจ็บกระดูกก้นกบเมื่อเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน
  • มีอาการปวดมากเมื่อถูกสัมผัส หรือถูกกดทับบริเวณก้นกบ
  • ปวดหรือเจ็บกระดูกก้นกบมากขึ้น เมื่อมีอาการท้องผูก และจะรู้สึกดีมากขึ้นหลังจากมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ หรือถ่ายอุจจาระ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้องอ่อนเจ็บเสียวบริเวณก้นกบ ยิ่งท้องแก่ ยิ่งปวดก้นกบมาก แบบนี้ปกติไหม

 

ปวดก้นกบ

ปวดก้นกบ ตอนท้อง อันตรายไหม

อาการปวดก้นกบตอนท้องนั้น เป็นอาการปกติที่มักจะเกิดขึ้นกับคนท้องแทบจะทุกคน ซึ่งอาการปวดก้นกบนี้จะค่อย ๆ หายไปเองหลังจากคลอดแล้ว อย่างไรก็ตาม อาการปวดที่เกิดขึ้นนี้ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อทั้งคุณแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์ เพียงแต่อาจจะทำให้คุณแม่ท้องรู้สึกไม่สบายตัวจากอาการปวดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะตอนนั่ง ลุกยืน เดิน หรือจะทำอะไรก็รู้สึกเจ็บเสียวไปหมด

 

วิธีบรรเทาอาการปวดก้นกบตอนท้อง

สำหรับคุณแม่ท้องที่มีอาการปวดก้นกบ เรามีวิธีบรรเทาอาการปวดง่าย ๆ ทำได้ไม่ยากมาฝากค่ะ มาดูกันว่ามีวิธีบรรเทาอาการอย่างไรบ้าง

 

1. เปลี่ยนท่านอน

อาการปวดก้นกบนั้นเกิดจากการที่บริเวณก้นกบถูกกดทับมากเกินไป คุณแม่จึงควรเปลี่ยนท่านอนใหม่ โดยเลือกท่านอนที่ช่วยให้ไม่กระทบต่อบริเวณก้นกบมากนัก ซึ่งท่านอนที่แพทย์แนะนำนั้น คือ ท่านอนตะแคงซ้ายนั่นเอง ส่วนการนอนตะแคงขวานั้น แพทย์อาจไม่ค่อยแนะนำมากเท่าไหร่ ดังนั้นคุณแม่ควรหันมานอนตะแคงซ้ายเพื่อช่วยป้องกัน และบรรเทาอาการปวดก้นกบนะคะ

 

2. ประคบร้อน

อย่างที่ทราบกันว่าการประคบร้อน ช่วยบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี คุณแม่สามารถใช้กระเป๋าน้ำร้อนเพื่อช่วยลดอาการปวดก้นกบได้ โดยการนำกระเป๋าน้ำร้อนมาประคบไว้บริเวณก้นกบประมาณครึ่งชั่วโมง อาการปวดก็จะค่อย ๆ ทุเลาลงได้ค่ะ ซึ่งคุณแม่ควรระมัดระวังไม่ให้น้ำร้อนมากเกินไปนะคะ ควรใช้น้ำที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ไม่ร้อนจนเกินไป เพราะอาจทำให้แสบร้อนได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดหลัง เกิดจากสาเหตุใดและมีวิธีแก้อย่างไร ?

 

ปวดก้นกบ

 

3. ระวังการพลิกตัว

เมื่อคุณแม่พลิกตัวนั้น อาจต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากพลิกตัวไม่ดี ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณก้นกบได้ และอาจทำให้เกิดความรุนแรงมากกว่าเดิม โดยวิธีการพลิกตัวที่ถูกต้อง คุณแม่จะต้องงอเข่าทั้งสองข้างในขณะที่นอนตะแคง แล้วค่อย ๆ ยกสะโพกให้ลอยขึ้นจากพื้น แล้วพลิกไปอีกข้างหนึ่ง เพียงเท่านี้ ก็ไม่ทำให้เกิดอาการปวดก้นกบได้แล้วค่ะ

 

4. บริหารกล้ามเนื้อสะโพก

การบริหารกล้ามเนื้อสะโพกบ่อย ๆ จะช่วยป้องกันและลดอาการอักเสบซึ่งทำให้ปวดก้นกบลงได้ และยังช่วยให้อุ้งเชิงกรานขยายพร้อมสำหรับการคลอดมากขึ้นอีกด้วย โดยวิธีการบริหารกล้ามเนื้อสะโพกนั้น สามารถทำได้โดย

  • วิธีที่ 1 การยกก้น : เริ่มด้วยการนอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้น มือวางแนบลำตัว จากนั้นเกร็งกล้ามเนื้อสะโพก แล้วค่อย ๆ ยกสูงค้างไว้ นับ 1-5 แล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น
  • วิธีที่ 2 การเกร็งสะโพก : คุกเข่าบนเบาะข้างเตียงหรือเก้าอี้ เกร็งสะโพก ยกขาเหยียดตรงไปด้านหลัง แล้วนับ 1-5 และวางขาลงสลับทำกับอีกข้าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดซี่โครง อันตรายไหม วิธีป้องกันปวดซี่โครงทำอย่างไร?

 

ปวดก้นกบ

 

วิธีป้องกันอาการปวดก้นกบ

แม้ว่าอาการปวดก้นกบจะเกิดจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง และน้ำหนักตัวของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น แต่คุณแม่ก็สามารถใช้วิธีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการปวดก้นกบ ดังต่อไปนี้

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
  • นอนตะแคงซ้าย
  • หลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานาน ๆ
  • เลือกที่นั่ง หรือเก้าอี้ที่มีเบาะรอง
  • หากมีอาการปวดก้นกบอย่างรุนแรง คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี
  • งดทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการถูกกระแทกบริเวณก้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกดทับของกระดูกก้นกบมากเกินไป

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หากคุณแม่กำลังปวดก้นกบอยู่ อย่าลืมนำวิธีข้างต้นไปลองใช้กันได้นะคะ รับรองว่าจะช่วยลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้หากคุณแม่มีอาการปวดก้นกบอยู่ ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เพราะอาการนี้จะค่อย ๆ หายไปเมื่อคุณแม่คลอดลูกแล้วนั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ ?

คนท้องปวดท้องน้อย เจ็บท้องน้อย เป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือไม่?

คนท้องปวดหลังมาก อันตรายไหม? บริหารร่างกายแก้ปวดหลังอย่างไรดี

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • คนท้อง ปวดก้นกบ อันตรายไหม ทำอย่างไรให้หายปวด?
แชร์ :
  • ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

    ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  • ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

    ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ อาการเป็นอย่างไร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

  • ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ