เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าเดือนที่ 8 อีกไม่นานก็จะได้เจอหน้าลูกน้อยแล้ว แต่คงไม่มีใครอยากคลอดก่อนกำหนด ช่วงนี้คุณแม่ควรเฝ้าระวัง อาการครรภ์เป็นพิษ 8 เดือน ที่อาจส่งผลต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เรามาทำความรู้จักครรภ์เป็นพิษ สาเหตุ อาการ อันตรายจากครรภ์เป็นพิษ และวิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษกันค่ะ
ครรภ์เป็นพิษ คืออะไร
ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ มักเกิดหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ท้องแรก คุณแม่ที่เคยเป็นครรภ์เป็นพิษมาก่อน คุณแม่ที่มีลูกแฝด หรือมีภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต
ครรภ์เป็นพิษ เกิดจากอะไร
ครรภ์เป็นพิษ เกิดจากภาวะผิดปกติของรก ซึ่งโดยปกติแล้วรกจะฝังตัวบริเวณเยื่อบุผนังมดลูก แต่ในกรณีของครรภ์เป็นพิษ รกจะฝังตัวได้ไม่แน่น ส่งผลให้เกิดภาวะขาดเลือดและออกซิเจน ทำให้รกบางส่วนเกิดการเสื่อมสภาพและหลั่งสารพิษเข้าสู่กระแสเลือดของแม่ทีละน้อย
สารพิษเหล่านี้จะค่อยๆ สะสม ส่งผลร้ายแรงต่ออวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายของแม่ เช่น
อาการครรภ์เป็นพิษ 8 เดือน
จะรู้ได้อย่างไรว่าครรภ์เป็นพิษ? สังเกตได้จากสัญญาณเตือนของ อาการครรภ์เป็นพิษ 8 เดือน ที่ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่
- ความดันโลหิตสูง: 140/90 มิลลิเมตรปรอท หรือมากกว่านี้ วัดติดต่อกัน 2 ครั้งขึ้นไป ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- บวม: บวมตามใบหน้า มือบวม เท้าบวม หรือทั่วตัว
- ปัสสาวะมีโปรตีน: ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
- ปวดศีรษะรุนแรง: ปวดไม่ทุเลา กินยาแล้วไม่ดีขึ้น
- คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง: อาเจียนจนไม่สามารถทานอาหารหรือดื่มน้ำได้
- ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา: อาจเป็นสัญญาณของตับทำงานผิดปกติ
- สายตาพร่ามัว: เห็นภาพลอย มองไม่ชัด
- ทารกดิ้นน้อยลง: รู้สึกว่าทารกดิ้นน้อยลงกว่าปกติ
นอกจากสัญญาณเตือนข้างต้นแล้ว อาการอื่น ๆ ของครรภ์เป็นพิษ อาจรวมไปถึง รู้สึกเพลีย อ่อนแรง เวียนหัว หูอื้อ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก
สาเหตุของครรภ์เป็นพิษ
สาเหตุที่แน่ชัดของครรภ์เป็นพิษยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น
- การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนโลหิต: ในระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงทารก บางครั้งเส้นเลือดเหล่านี้ทำงานผิดปกติ ทำให้ความดันโลหิตสูง
- ระบบภูมิคุ้มกัน: ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอาจตอบสนองต่อรกของทารกมากเกินไป ส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม: คุณแม่ที่มีครอบครัวเป็นครรภ์เป็นพิษ มีโอกาสเป็นมากกว่า
ครรภ์เป็นพิษมีโอกาสหายไหม?
การรักษาครรภ์เป็นพิษทำได้โดยการผ่าคลอด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากอายุครรภ์เป็นหลัก หากอายุครรภ์ยังไม่สามารถทำการคลอดได้ แพทย์จะให้ยากระตุ้นปอด และพิจารณาว่าทารกจะสามารถอยู่ในครรภ์ได้นานที่สุดกี่วัน แต่หากอายุครรภ์สามารถคลอดได้ แพทย์จะทำการผ่าคลอดหรือเร่งคลอดเพื่อหยุดความรุนแรงของโรก หลังคลอดทั้งคุณแม่และลูกน้อยจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
กรณีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ นอนตะแคงข้างซ้าย ตรวจวัดความดันโลหิตและปัสสาวะเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนัก งดอาหารเค็ม เพื่อควบคุมอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ครรภ์เป็นพิษกินอะไรได้บ้าง?
ครรภ์เป็นพิษ อาหารที่ควรกิน
คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีน ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ปรึกษาแพทย์หรือโภชนาการ เพื่อวางแผนการทานอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายและทารกในครรภ์