กลัวความมืด อาการที่พบมากในเด็กหลายคน หรือในผู้ใหญ่บางคนที่ส่งผลทำให้ในช่วงเวลากลางคืนหรือก่อนนอนจำเป็นจะต้องเปิดไฟนอน แล้วแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อการนอนหลับของพวกเขาหรือไม่ นอกจากนี้เรามาดูสาเหตุ และวิธีการรักษา เพื่อที่จะได้ป้องกันและแก้ไขอาการกลัวความมืดของลูกเรากันค่ะ ไปดูกันค่ะ
โรคกลัวความมืด คืออะไร?
โรคกลัวความมืด หรือ Nyctophobia นั้นมาจากภาษากรีก 2 คำ คือคำว่า nyktos ที่แปลว่า กลางคืน และ phobos ที่แปลว่า ความกลัว เป็นอาการการตอบสนองของสมองที่มีต่อความมืด ซึ่งทำให้สมองหลั่งสารเคมีที่เพิ่มระดับการรับรู้ถึงความวิตกกังวลของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งในบางคนสามารถระงับความวิตกกังวลนี้ได้ แต่ในบางคนก็ไม่สามารถทำได้ และยิ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นความกลัวขั้นสุดจนไม่สามารถอยู่ในความมืดได้ ทั้งนี้อาการกลัวความมืดจะพบในเด็ก และจะบรรเทาลงเมื่อพวกเขามีอายุเพิ่มมากขึ้น
บทความที่น่าสนใจ : โรคแพนิคในเด็ก อาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง รับมืออย่างไรดี?
สาเหตุและที่มาของการกลัวความมืดคืออะไร?
ความกลัวเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของสมองที่มีต่อบางสิ่งบางอย่าง โดยอาการกลัวความมืดนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงของสมองที่ตอบสนองโดยไม่มีการกระตุ้นด้วยแสง และเพิ่มความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น โรคกลัวความมืด สาเหตุในบางกรณีอาการกลัวความมืดของบางบุคคลนั้นมีความเชื่อมโยงกับความกลัวความรุนแรง หรือการตกเป็นเหยื่อ ทั้งนี้ความรู้สึกกลัวความมืดนั้นจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับความมืดหรือเงามืด เมื่อบุคคลนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากความมืดปกคลุม พวกเขาจะเริ่มจินตนาการหรือกลัวภัยคุกคามที่รอพวกเขาอยู่
อาการของการกลัวความมืด เป็นอย่างไร?
อาจเป็นเรื่องยากที่จะแยกระหว่างความหวาดระแวงต่อความมืด กับอาการกลัวความมืดอย่างร้ายแรง ทั้งนี้อาการของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป โดยอาการทั่วไปของคนที่กลัวความมืดจะมีอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกประหม่าในสภาพแวดล้อมที่มืดมิด
- ไม่อยากออกไปไหนในเวลากลางคืน
- อาการที่แสดงออกอย่างเห็นได้ชัด อาทิ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้น เหงื่อออก ตัวสั่นจนสังเกตเห็นได้ชัด หรือแม้กระทั่งรู้สึกไม่สบายใจ หรือเป็นกังวลเมื่อถูกบังคับให้อยู่ในความมืด
- เวลานอนต้องเปิดไฟนอน ในช่วงเวลากลางคืน
ที่กล่าวมาด้านบนจะเป็นอาการทั่วไปสำหรับคนที่มีอาการกลัวความมืดแบบไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าหากบุคคลนั้น หรือลูกน้อยของคุณมีอาการกลัวความมืดเป็นอย่างมาก หรืออยู่ในขั้นรุนแรงจะมีอาการดังต่อไปนี้
- พยายามจะหนีออกจากห้องที่มืด
- โกรธ หรือแสดงพฤติกรรมต่อต้านเมื่อถูกบังคับหรือพยายามให้พวกเขาอยู่ในความมืด
- ไม่ออกไปข้างนอกเวลากลางคืนเด็กขาด ไม่ว่าจะกรณีใดกรณีตาม
- แน่นหน้าอก หรือเจ็บหน้าอก
- หายใจลำบาก
- หน้ามืดหรือวิงเวียนศีรษะ
- สูญเสียการควบคุมสติ หรือสติแตก
อาการกลัวความมืดของเด็ก จะเริ่มต้นเมื่อไหร่?
หากลูกของคุณอายุต่ำกว่า 2 ปี คุณสามารถสบายใจได้เลยว่าลูกของคุณจะยังไม่มีอาการกลัวความมืดแน่นอน เพราะว่าลูกของคุณใช้เวลา 9 เดือนที่อยู่ในครรภ์ที่มีความมืด ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาค่อนข้างที่จะคุ้นเคย นอกจากนี้ความมืดยังทำให้พวกเขาสงบลงมากกว่ากลัวอีกด้วย ดังนั้นลูกน้อยของคุณจะเริ่มมีความกลัวอื่น ๆ หรืออาการกลัวความมืด มักจะเริ่มต้นในวัยระหว่าง 3-6 ขวบ ทั้งนี้อาจเป็นปกติของเด็กที่อยู่ในวัยของการพัฒนา เป็นเรื่องที่เด็กวัยนี้จะเริ่มมีความกลัว โดยสิ่งที่มาพร้อมกับอาการกลัวความมืดของพวกเขานั้นมาจากสิ่ง ดังต่อไปนี้
- ผี
- สัตว์ประหลาด
- เสียงแปลก ๆ
- การนอนคนเดียว
สำหรับเด็กหลาย ๆ คน การนอนโดยเปิดไฟในช่วงเวลากลางคืนนั้นจะช่วยทำให้พวกเขานอนหลับได้ง่ายกว่า และหายจากความกลัว ทั้งนี้เมื่อความกลัวความมืดทำให้พวกเขานอนไม่หลับ อาจนำไปสู่การเกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง หรือความกลัวนี้จะถูกสะสมไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้
บทความที่น่าสนใจ : ภาวะนอนไม่หลับในเด็ก ลูกไม่ยอมนอน ทำอย่างไรดี
ปัจจัยแวดล้อมที่อาจส่งผลทำเด็กกลัวความมืด
บางครั้งอาการกลัวความมืดของเด็ก ๆ นั้นไม่ได้มาจากการตอบสนองของสมองของเขาเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ ได้เห็น หรือได้สัมผัส ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุทำให้พวกเขาเกิดอาการกลัวความมืดขึ้น โดยปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อเด็ก มีดังต่อไปนี้
- ผู้ปกครองมีความวิตกกังวลเอง เด็กที่อยู่ในช่วงวัยของการเรียนรู้ และการพัฒนาการด้านต่าง ๆ เมื่อพวกเขาเห็นว่าผู้ปกครองนั้นมีความกังวล หรือมีปัญหาบางอย่างก็อาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ หรือจินตนาการตามก็เป็นได้
- ผู้ปกครองปกป้องเด็กมากเกินไป การที่ผู้ปกครองเป็นวิตกกังวลหรือคิดแทนเด็กด้วยความเป็นห่วงมากจนเกินไปก็อาจนำไปสู่ความหวาดกลัวได้ เพราะว่าพวกเขาจะชินกับการที่ผู้ปกครองปกป้องดูและอยู่ตลอด จนไม่ได้พัฒนาด้านความกล้า หรือมีวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- เหตุการณ์ตึงเครียด การได้รับบาดเจ็บที่รุนแรง หรือเหตุการณ์ที่อาจเป็นบาดแผลในใจของเด็กอาจส่งผลทำให้พวกเขาเกิดความกลัวได้ อาทิ อุบัติเหตุทางรถยนต์ตอนกลางคืน การถูกลักพาตัว การถูกขังไว้ในห้องมืด หรือแม้แต่การเล่นซ่อนแอบในเวลากลางคืนและเกิดอุบัติเหตุการณ์ เป็นต้น
- พันธุศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเชื่อว่าการที่เด็ก หรือผู้ใหญ่บางคนที่มีความกลัวความมืด หรืออ่อนไหวต่อความมืดมากกว่าเด็กทั่วไปนั้นมาจากพันธุกรรม ซึ่งอาจจะมีบุคคลในครอบครัว หรือญาตินั้นมีอาการกลัวเช่นเดียวกัน
กลัวความมืด ส่งผลต่อเด็กอย่างไร?
การที่เด็กกลัวความมืดนั้นส่งผลต่อการเข้านอนของพวกเขาเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาไม่สามารถที่จะข่มตาให้หลับได้ในขณะที่ห้องของพวกเขานั้นมืด ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเปิดไฟเพื่อที่จะเข้านอน ดังนั้นหากลูกของคุณมีอาการกลัวความมืดคุณอาจจะต้องให้พวกเขาเปิดไฟนอนจนกว่าพวกเขาจะหลับ และค่อยมาปิดไฟเมื่อพวกเขาหลับไปแล้ว ทั้งนี้หากลูกน้อยของคุณสะดุ้งตื่นในเวลากลางคืนในความมืดก็อาจส่งผลทำให้พวกเขาเกิดความกลัวมากยิ่งขึ้นได้ หากพวกเขามีวิตกกังวลมากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา คุณควรพาพวกเขาไปพบแพทย์
กลัวความมืด วิธีแก้ ลูกกลัวความมืด รักษาได้อย่างไร?
โรคกลัวบางชนิดอาจไม่ต้องรับการรักษา แต่อาการกลัวความมืดนั้นอาจส่งผลต่อการนอนหลับของลูกคุณ ที่อาจทำให้พวกเขานอนหลับไม่เพียงพอ และอาจนำไปสู่นิสัยการนอนที่ผิดปกติ ดังนั้นจึงจะต้องเข้ารับการรักษา หากลูกของของคุณมีอาการดังต่อไปนี้ พวกเขาควรได้รับการรักษา
- ความมืดส่งผลทำให้พวกเขาเป็นวิตกกังวลมาก
- คุณรู้สึกว่าลูกของคุณมีอาการกลัวมากเกินไป หรือกลัวแบบไม่มีเหตุผล
- ลูกของคุณพยายามจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์บางอย่าง เนื่องจากความกลัว
- คุณรู้สึกได้ว่าพวกเขามีความกลัวความมืดยาวนานเป็นเวลา 6 เดือน หรือมากกว่า
ทั้งนี้หากลูกคุณมีอาการดังกล่าวก็ควรพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและหาหนทางในการรักษากันต่อไปนี้ โดยการรักษาก็มีหลากหลายวิธีทางสำหรับแต่ละบุคคล ซึ่งวิธีการรักษาส่วนใหญ่จะใช้วิธีดังต่อไปนี้ หรือมากกว่า
-
การทำจิตบำบัด (Cognitive behavioral therapy)
เทคนิคนี้จะเป็นการพูดคุยระหว่างลูกน้อยของคุณและแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยของคุณเข้าใจว่าความมืดนั้นส่งผลต่อสมองของพวกเขาอย่างไร และจะอธิบายเกี่ยวกับความมืดว่าสิ่งที่พวกเขากำลังเป็นวิตกกังวลนั้นเป็นอย่างไร และพวกเขาสามารถปรับเปลี่ยนความคิดเหล่านี้ได้อย่างไร
อาจฟังดูเป็นเรื่องแปลก แต่สิ่งที่เรากลัวนั้นสามารถถูกขจัดได้ด้วยการเผชิญหน้า ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะแนะนำให้ลูกน้อยของคุณนั้นอยู่ในความมืดระยะเวลาหนึ่ง และจะเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้น ก่อนที่จะเปิดรับแสงเข้ามา เพื่อให้พวกเขารู้สึกกังวลน้อยลง และทำให้พวกเขาเริ่มชินกับการอยู่ในความมืดได้นานยิ่งขึ้น
แพทย์บางท่านอาจสั่งจ่ายยาเพื่อรักษาอาการวิตกกังวลชั่วคราว หรือเพื่อส่งเสริมการนอนหลับที่ดีของลูกน้อยของคุณ เพราะสำหรับเด็กบางคนแล้วการกลัวความมืดอาจทำให้เขามีการพักผ่อนที่น้อย และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งยานี้ไม่สามารถรักษาอาการกลัวความมืดได้โดยตรง แต่เพื่อแก้ไขบางจุดเพื่อนำไปสู่การบำบัดเท่านั้น
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ อาการกลัวความมืดนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดใช่ไหมคะ และการนอนเปิดไฟก็ไม่จำเป็นเสมอไปสำหรับเด็กบางคน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากลูกของคุณมีอาการกลัว หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับความมืดมากเกินไปก็ควรพาเขาไปพบแพทย์นะคะ เพราะพวกเขาที่อยู่ในวัยกำลังเจริญโตนั้นต้องการการนอนหลับพักผ่อนที่เพียง
บทควาที่น่าสนใจ :
ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?
6 วีธีปราบเด็กไม่ยอมนอน เด็กดื้อไม่ยอมนอนต้องลองมาเจอแบบนี้ดูบ้าง
ทำไมลูกนอนกรน เด็กนอนกรน เกิดจากสาเหตุอะไร?
ที่มา : wellrestedbaby, medicalnewstoday, verywellmind, healthline
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!