X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?

บทความ 5 นาที
ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?

ใครบอกว่าเด็กไม่กัดฟัน เด็กก็กัดฟันเหมือนกันนะ มาดูกันดีกว่ามีวสาเหตุมาจากอะไร แล้วพ่อแม่อย่างเราทำอะไรได้บ้าง?

ลูกนอนกัดฟัน เป็นเรื่องปกติของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คุณจะเริ่มได้ยินพวกเขากัดฟันในช่วงการนอนหลับช่วงกลางวัน หรือในการนอนหลับช่วงกลางคืน ซึ่งนั่นอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการของฟัน หรือฟันที่กำลังจะขึ้นหรือหลุดในช่วงของวัยหัดเดินนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า ทำไมเด็กจะต้องเคี้ยวฟันตัวเอง และถ้าหาก ลูกนอนกัดฟัน ควรทำอย่างไรดี?

 

การบดฟัน หรือนอนกัดฟันคืออะไร

การนอนกัดฟัน ถูกพบได้บ่อย ๆ ในเด็ก มักเกิดขึ้นเมื่อฟันกรามด้านบนและฟันกรามด้านล่างขบเข้าหากัน เนื่องจากฟันขยับเข้าหากัน การนอนกัดฟันนั้นไม่ถือเป็นโรค แต่เป็นความผิดปกติของร่างกาย ที่อาจส่งผลทำให้เกิดอาการแย่ลงได้ ซึ่งปกติแล้วการนอนกัดฟันนั้นจะเกิดในช่วงของเวลานอนตอนกลางคืน ซึ่งกล้ามเนื้อกรามจะหดตัว หากมีการเกร็งกรามมากเกินไป ก็อาจทำให้ฟันสึกได้ แล้วผู้ที่นอนกัดฟันนั้นมักจะไม่รู้ตัวว่าตนเองนั้นนอนกัดฟันที่ส่งเสียงดังจนคนรอบข้างได้ยิน

บทความที่น่าสนใจ : เด็กฟันผุ เยอะมาก เกือบทั้งปากเลย ทำยังไงดี ทำยังไงให้หาย

 

การนอนกัดฟันเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง?

แพทย์ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการนอนบดฟันที่เกิดขึ้นว่าสามารถเกิดขึ้นในเด็กได้ประมาณ 14-17 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่วัยเด็ก หรือทันทีที่ฟันบนและฟันล่างเริ่มโผล่พ้นขึ้นมาจากเหงือก แต่เด็กส่วนใหญ่แล้วจะหยุดนอนกัดฟันเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ หรือในช่วงของการเริ่มต้นของการขึ้นของฟันแท้ แต่เด็กประมาณ 1 ใน 3 จะยังคงกัดฟันต่อไปจนเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้มีการคาดว่าประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี มีการนอนกัดฟัน และเมื่ออายุเกิน 60 ปี จะมีอัตราการนอนกัดฟันลดลงเหลือเพียงน้อยกว่า 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 

ลูกนอนกัดฟัน 1

เด็กนอนกัดฟัน

 

สาเหตุที่ลูกนอนกัดฟันคืออะไร?

สาเหตุที่แท้จริงของการนอนกัดฟันในเด็กนั้นไม่แน่ชัด ทั้งนี้ทันตแพทย์ยังไม่มีการปักใจเชื่อว่าการที่เด็กนอนกัดฟันนั้นมาจากสาเหตุใดกันแน่ โดยมีการสันนิษฐานตามลักษณะ และอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้

  • เด็กบางคนอาจบดฟันเพราะฟันบนและฟันล่างไม่อยู่ในแนวเดียวกัน
  • ทำเพื่อตอบสนองต่อความเจ็บปวด เช่น อาการปวดหู หรือการงอกของฟัน
  • เด็กบางคนอาจทำเพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งคล้ายกับการที่เรามักจะถูบริเวณผิวหนังที่มีการเจ็บปวดเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • สาเหตุจากความเครียด ความตึงเครียด หรือความโกรธ
  • เด็กที่มีอาการป่วยชนิดอื่นร่วมด้วย หรือเด็กที่ทานยาบางชนิดที่ส่งผลทำให้นอนกัดฟัน

 

ลูกนอนกัดฟัน ส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

การนอนกัดฟันในเด็กในหลายกรณีมักตรวจไม่พบผลร้าย หรืออาการข้างเคียงร้ายแรง แต่ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วย รวมถึงการส่งเสียงดังขณะกัดฟันและอาจทำให้คนในครอบครัวเกิดความรำคาญ ทั้งนี้การที่ลูกนอนกัดฟันจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาดังต่อไปนี้

 

  • ผลกระทบระยะสั้น เด็กนอนกัดฟัน

ผลกระทบระยะสั้นของการนอนกัดฟันในเด็กมักเป็นอาการปวดศีรษะ หรือปวดรอบหู เนื่องจากแรงกดทับจากการขบฟันและบดฟันในเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้เกิดการสึกหรอของสารเคลือบฟันจากการบด อาจทำให้เวลาเคี้ยวของเด็ก ๆ นั้นเกิดอาการเจ็บปวด หรือทำให้ฟันไวต่อความร้อน และความเย็นมากยิ่งขึ้น หากการกัดฟันของลูกน้อยของคุณนั้นเกิดจากการทานยา หรือการรักษาทางการแพทย์อื่น ๆ ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเปลี่ยนหรือลดการสั่งยา และอาจต้องเปลี่ยนแผนการรักษา ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

  • ผลกระทบระยะยาว เด็กนอนกัดฟัน

หากลูกน้องของคุณยังคงนอนกัดฟันต่อไปเรื่อย ๆ จนพวกเขาเติบโตขึ้น อาจส่งผลระยะยาวต่อเด็กได้ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับฟันหากเด็กกัดฟัน หรือบดฟันเป็นเวลานานนั้นไม่เพียงแค่สารเคลือบฟันจะสึกหรอเท่านั้น แต่ฟันของลูกน้อยของคุณอาจบิ่น แบน หรือเกิดรอยร้าว จนเกิดการแตกหักได้ ซึ่งถ้าหากมีการกรอฟันบ่อยครั้งจากการบดเคี้ยวฟันนั้น อาจส่งผลให้เกิดภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร หรือ Temporomandibular joint Disorder (TMD) ซึ่งส่งผลทำให้เกิดอาการปวดกรามมากขึ้น และทำให้เด็กเคี้ยวหรืออ้าปากได้ยากมากขึ้นด้วย

บทความที่น่าสนใจ : ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่? ฟันน้ำนมต้องดูแลอย่างไร

 

ลูกนอนกัดฟัน 2

เด็กนอนกัดฟัน

 

จะรู้ได้ยังไงว่าลูกนอนกัดฟัน หรือไม่

การที่คุณจะทราบว่าลูกน้อยของคุณนั้นนอนกัดฟันหรือไม่อาจเป็นเรื่องยาก เพราะพวกเขามักไม่ทราบว่าตนเองกัดฟันหรือไม่ เพราะว่าอาการนอนกัดฟันนั้นจะเกิดขึ้นขณะที่พวกเขานอนหลับ และไม่รู้ตัวนั่นเอง โดยคุณสามารถสังเกตได้ ดังต่อไปนี้

  • นอนร่วมห้องกับเขา การนอนร่วมห้องเดียวกันนั้นทำให้คุณทราบได้ทันทีว่าพวกเขานอนกัดฟันหรือไม่ เพราะการขบกันของฟันจะทำให้เกิดเสียง ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่ไม่ดังมาก จนไปถึงเสียงดังจนทำให้คุณนั้นตื่นจากนอนหลับก็เป็นได้
  • การบอกกล่าวของเด็กๆ การที่ลูกน้อยของคุณนอนกัดฟันนั้นนอกจากส่งผลต่อฟันแล้ว ยังส่งผลทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ปวดศีรษะบ่อย ปวดกราม หรือเวลาเคี้ยวแล้วรู้สึกเจ็บ เป็นต้น
  • อารมณ์ของพวกเขา ในช่วงระหว่างวันหากลูกคุณแสดงอาการโกรธ หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างนั้นอาจส่งผลทำให้ร่างกายของพวกเขานั้นจดจำความรู้สึกและแสดงออกทางพฤติกรรมในช่วงที่พวกเขานอนหลับ ซึ่งนั่นคือการกัดฟันนั่นเอง

ทั้งนี้หากคุณทราบว่าลูกน้อยของคุณมีอาการกัดฟัน ไม่ว่าจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ก็ตาม ก็ควรพาพวกเขาไปตรวจสุขภาพฟันและช่องปากกับทันตแพทย์ เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

 

การรักษาอาการนอนกัดฟันของเด็ก ทำได้อย่างไร?

เด็กส่วนใหญ่โตเร็วเกินกว่าที่พวกเขาจะนอนกัดฟัน แต่การสังเกตของผู้ปกครอง และการไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอนั้นก็สามารถช่วยรักษาอาการนอนกัดฟันได้เช่นกัน ในกรณีที่การนอนกัดฟัน หรือการบดฟันของลูกน้อยของคุณในเวลากลางคืนนั้นส่งผลทำให้ใบหน้า และกรามของพวกเขาเจ็บปวด หรือทำให้ฟันเกิดความเสียหาย ทันตแพทย์อาจจะให้เด็ก ๆ สวมเฝือกสบฟัน หรือฟันยางที่เหมือนกับของนักกีฬาสวมใส่เวลานอน เพื่อลดการกระทบกันของฟัน และอาจทำให้พวกเขาเลิกนอนบดฟันได้ในที่สุด หรืออาจจะต้องใส่จนกว่าฟันน้ำนมของพวกเขาจะหลุดหมด แต่อย่างไรก็ตามยังมีเด็กบางคนที่อาจจะต้องใส่จนกว่าความเครียดของพวกเขาจะลดลง

 

ลูกนอนกัดฟัน 3
บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

เด็กนอนกัดฟัน

 

สามารถป้องกันการนอนกัดฟันได้หรือไม่?

เนื่องจากการนอนกัดฟันนั้นเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติของเด็กต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการ ดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่หากการกัดฟันของลูกน้อยของคุณเกิดจากอารมณ์ ความโกรธ หรือความเครียดนั้นสามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยคุณสามารถเริ่มพูดคุยกับพวกเขาอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับความรู้สึกของพวกเขาในแต่ละวัน และช่วยจัดการความเครียดให้กับพวกเขาได้ หรือมีการทำกิจกรรมร่วมกันก่อนนอน เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ให้กับเด็ก ๆ ก่อนที่จะเข้านอนเพื่อทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจและนอนหลับได้เป็นอย่างดี และไม่นอนกัดฟันได้เช่นกัน

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หากเด็ก ๆ บ้านไหนที่กำลังนอนกัดฟันอยู่ หรือคุณพ่อคุณแม่ที่ยังไม่ทราบว่าลูกน้อยของคุณนอนกัดฟันหรือไม่ก็ลองไปสังเกตกันดูนะคะ เพราะนอกจากการนอนกัดฟันนั้นจะส่งผลต่อฟันของลูกน้อยของคุณทำให้สึกหรอแล้วยังส่งผลกระทบระยะยาวที่ไม่ดีต่อสุขภาพช่องปากของพวกเขาอีกด้วย ทั้งนี้คุณควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันตแพทย์ย่างน้องปีละ 1-2 ครั้งนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

5 ยาสีฟันเด็ก ที่ดีที่สุด ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณ

ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย

อาหารที่เด็กกินแล้วเสี่ยงฟันผุ ! คุณแม่ควรพึงระวัง เพื่อไม่ให้เด็กสูญเสียฟัน !

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?
แชร์ :
  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

  • เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

    เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

  • เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

    เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ