X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พฤติกรรมเลียนแบบของลูก ตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่

บทความ 5 นาที
พฤติกรรมเลียนแบบของลูก ตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่

ลูกเป็นนักลอกเลียนแบบโดยธรรมชาติ พวกเขาสังเกตสิ่งต่างๆ มากกว่าที่คุณคิด และก็แน่นอน พวกเขาจะเริ่มทำตามคุณ นี่เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองทำแล้วลูกจะเลียนแบบ และรวมถึงผลกระทบที่มีต่อลูก

คุณเคยมองดูลูกแล้วรู้สึกว่า การกระทำของลูกมันดูคุ้นแบบแปลกๆ ไหม หรือจะพูดให้ตรงจุดก็คือ คุณรู้สึกเหมือนกำลังมองเข้าไปในกระจกไหม ตั้งแต่ท่าตอนแต่งหน้า ไปจนถึงท่าโพสต์ตอนถ่ายเซลฟี่ หรือแม้กระทั่งท่าตอนหยิบบัตรเครดิตออกจากกระเป๋าที่ซูเปอร์มาร์เก็ต เด็กๆ สามารถเลียนแบบท่าทางพวกนี้ได้อย่างดีเยี่ยมเลย

คุณรู้ไหมว่าทำไมพวกเขาถึงเป็นนักลอกเลียนแบบที่เก่งที่สุดในโลก นั่นก็เพราะว่า เด็กๆ ให้ความสนอกสนใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัวอยู่ตลอดเวลา พวกเขาเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมด้วยการดูและฟังผู้อื่น สิ่งนี้เรียกว่า “การเรียนรู้โดยการสังเกต” และมันก็อาจจะเป็นดาบสองคมได้

ถึงแม้จะเป็นเรื่องดีที่ให้พวกเขาเลียนแบบพฤติกรรมและนิสัยในด้านบวก แต่นั่นก็หมายความว่า เราต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเรื่องการกระทำหรือคำพูดเมื่ออยู่ต่อหน้าลูก

ฉันอายุ 35 ตอนกลางวันฉันเป็นครู ส่วนกลางคืนเป็นนักเขียน ตอนนี้มีลูกสามคน อายุสาม ห้า และแปดขวบ ฉันต้องยอมรับเลยว่าไม่ได้หาข้อมูลเรื่องการเลี้ยงลูกอย่างถี่ถ้วนนัก และฉันก็ “ทำไปเรียนรู้ไป” อย่างที่เขาบอกนั่นแหละ เอาละ จากประสบการณ์ล้ำค่าของฉันในฐานะแม่ลูกสาม นี่คือเจ็ดสิ่งที่ฉันสังเกตว่าลูกเลียนแบบ และสิ่งที่ฉันเรียนรู้จากเรื่องนี้

 

พฤติกรรมเลียนแบบของลูก ตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่

 

พฤติกรรมเลียนแบบของลูก

 

1. การตอบสนอง

ไม่นานมานี้ฉันสังเกตว่าลูกฉันพูดคำว่า “ให้ตายสิ” หรือ “บ้าจริง” แบบใส่อารมณ์เกินไปมาก ฉันเลยถามว่าทำไมต้องใส่อารมณ์ขนาดนั้น แล้วลูกคนโตสุด (ฉลาดสุดด้วย)  พูดอย่างไร้กังวลว่า “แม่คิดว่าเราไปเอามาจากไหนล่ะ” ฉันคงลืมบอกไปใช่ไหม ว่าลูกพูดแบบนั้นพร้อมกับยักคิ้วหนึ่งข้างและแสยะยิ้มด้วย เป๊ะมาก เหมือนเป็นภาพสะท้อนของฉันเลย มันช่างน่าขัน น่ารัก และตลกมาก พูดจริงๆ ก็คือ ถ้าฉันไม่เลิกทำแบบนั้นนะ ฉันได้เปิดคณะละครแน่

 

2. มารยาท

ฉันเป็นคนเคร่งเรื่องมารยาทและกำชับให้ลูกมีมารยาทดีอยู่เสมอ ตัวฉันเองทักทาย รวมถึงบอกลาพนักงานขับแกร็บและพนักงานคิดเงินอย่างสุภาพ พูดขอร้องอย่างสุภาพและกล่าวคำขอบคุณเสมอ อีกทั้งเวลาเจอผู้สูงอายุ ฉันก็ยิ้มแย้มและพูดจาดีด้วย ลูกของฉันทุกคนทำตามนิสัยแบบนี้ และนั่นก็ถือเป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ของฉัน จำไว้เลยว่า การพูดแล้วลงมือทำ ย่อมดีกว่าพูดไปเรื่อย

 

3. การใช้เวลาว่าง

เมื่อฉันอยู่กับลูก เด็กๆ จะไปหยิบหนังสือหรือมานั่งตักฉัน เพื่อมานั่งอ่านหรือฟังนิทาน แต่เมื่ออยู่กับพ่อ เด็กๆ เหมือนโดนดึงเข้าไปหาโทรทัศน์ และถูกหลอกล่อให้ดูตอนใหม่ล่าสุดของพอว์เพโทรล หรือเป๊ปป้าพิก

สิ่งนี้มีคำอธิบายที่ง่ายมาก ฉันใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ไปกับการอ่าน ส่วนสามีของฉันดูเน็ตฟลิกซ์ นักลอกเลียนแบบมือฉมังพวกนี้ทำพฤติกรรมตามคนที่พวกเขาอยู่ด้วย โดยทำไปแบบไม่ได้ตั้งใจ

แต่ก็ฉันใช้เวลาว่างนั่งดูเว็บแอมะซอน ซาโลรา เอโซส และเว็บชอปปิงอื่นๆ ด้วยเหมือนกัน ที่แย่ก็คือ ลูกๆ ฉันเริ่มมีความสุขกับการมายืนข้างหลังและมาดูเว็บเป็นเพื่อนด้วย แย่จริงๆ ให้ตายสิ

 

4. นิสัยการกิน

นี่เป็นอีกเรื่องของการปะทะกันระหว่างพ่อและแม่นะ ตัวฉันทำอาหารให้ลูกเอง ใส่ผักเยอะๆ มีนม โยเกิร์ต ชีส ผลไม้ และทุกสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่พอพ่อกลับบ้าน ลูกก็เริ่มร้อง “สั่งแมคโดนัลด์ได้ไหม ไม่ก็ชานมไข่มุก” และมันก็เห็นได้ชัด ไม่ต้องเดาเลย

ใช่แล้ว เราต้องคอยระวังเรื่องอาหารการกิน และระวังเรื่องเงินที่ใช้ซื้ออาหาร ฉันภูมิใจที่จะบอกว่าลูกคนโตของฉัน พอจะมีความคิดเรื่องการกินเพื่อสุขภาพและการประหยัด เขาหยุดไม่ให้พ่อสั่งอาหาร โดยให้เหตุผลว่า “ไม่ดีต่อสุขภาพและเปลืองเงิน” อ๋อ ลูกได้ยินฉันพูดแบบนั้นบ่อยๆ น่ะ แต่ฉันก็ไม่แน่ใจว่าเวลาที่ฉันไม่อยู่ เขาจะห้ามพ่อแบบนี้หรือเปล่า

 

5. การซื้อของออนไลน์

ก่อนหน้านี้ฉันพูดเรื่องเลื่อนดูแอปชอปปิงในเวลาว่างไปแล้ว นั่นทำให้ฉันมีช่วงที่พลาดในการเลี้ยงลูก เรื่องมันเป็นแบบนี้นะ ลูกคนกลางอยากได้ของเล่น ฉันเลยบอกว่าไม่ได้หรอกนี่มันสามทุ่มแล้ว จะไปหาจากที่ไหนได้ ร้านของเล่นปิดหมดแล้ว ลูกก็หัวเราะแล้วบอกว่า “ได้สิ ก็แอมะซอนไพรม์ไง” แล้วก็ ฉันเคยทิ้งมือถือไว้โดยที่ลืมล็อคหน้าจอ แล้วเจอว่าของเล่นจากไหนไม่รู้ มาอยู่เต็มตะกร้าเลย จนวันนี้ฉันก็ยังไม่รู้ว่าลูกคนไหนเป็นคนทำเลยนะ

มันก็เป็นเรื่องตลกขบขันแหละนะ จนกระทั่งฉันนึกได้ว่า เด็กๆ คอยเฝ้าดูความถี่ในการซื้อของออนไลน์ของฉัน ไหนจะเรื่องที่ฉันชอบพูดถึงมันอีก นั่นไม่ใช่พฤติกรรมการซื้อของที่ดีที่จะสอนลูกเลย เพราะลูกจะเกิดความคิดว่า การซื้อของนั้นไม่มีขีดจำกัด จนไปถึงความคิดที่ว่า เงินไม่มีขีดจำกัด

ที่จริงแล้ว ตอนลูกเล่นสวมบทบาทกัน ฉันสังเกตว่าลูกๆ ไม่เคยใช้สิ่งที่คล้ายกับเงินจริงในการซื้อของเลย ลูกๆ ทำบัตรจากกระดาษที่หาได้ เอาไว้ใช้แตะ เหมือนกับที่ฉันใช้บัตรเครดิตเพื่อซื้อของ

ฉันรู้แหละว่านี่ปี 2020 แล้ว เราเริ่มกลายเป็นสังคมไร้เงินสดขึ้นเรื่อยๆ แต่ความคิดที่ว่าบัตรนี้สามารถใช้จ่ายได้ไม่จำกัด เป็นความคิดที่อันตรายสำหรับเด็ก การใช้ธนบัตรและเหรียญในการซื้อของ จะช่วยให้เด็กมีความคิดดีๆ ที่ว่าเงินมีวันหมด และเราต้องระมัดระวังการใช้จ่าย

 

พฤติกรรมเลียนแบบของลูก

เรื่องเงินของลูกก็คือเรื่องของเรา

แล้วฉันจะเขียนไปทำไม ฉันสามารถเขียนสิ่งที่ลูกเลียนแบบเราไปได้เรื่อยๆ ไม่มีจบสิ้น แต่ใจความสำคัญที่สุดก็คือ เราเป็นคุณครูคนแรกของลูก

แต่ต้องยอมรับว่าเราไม่ใช่ครูคนเดียวของลูก เพราะลูกก็สังเกตสิ่งที่ดูจากโทรทัศน์ด้วย แต่การที่ลูกจะเลียนแบบพฤติกรรมไหน ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมนั้นในรูปแบบไหน ลูกมีแนวโน้มสูงที่จะเลียนแบบพฤติกรรม ที่ได้รับการเสริมแรงในทางบวก

การนึกถึงบทเรียนชีวิตที่เราจะสอนลูกก็เป็นเรื่องสำคัญ มารยาท ค่านิยม มุมมองต่อโลก และทักษะทางการเงิน ต้องถูกบ่มเพาะตั้งแต่ยังเด็ก อย่ามองข้ามความสำคัญของการเป็นต้นแบบ วิธีการใช้เงินอย่างชาญฉลาดที่ปลูกฝังให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก

 

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเลียนแบบพ่อแม่ของลูก ได้ที่นี่!

เลียนแบบ ลูกมักจะเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ในเรื่องใดบ้างคะ

ที่มา : mamastory

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • /
  • พฤติกรรมเลียนแบบของลูก ตัวอย่างที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่
แชร์ :
  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ ติดแกลม สร้างภูมิคุ้มกันใจในยุคโซเชียล

    เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ ติดแกลม สร้างภูมิคุ้มกันใจในยุคโซเชียล

  • มาตรฐานรถโรงเรียน ควรเป็นแบบไหน? ความปลอดภัยที่ต้องไม่ละเลย

    มาตรฐานรถโรงเรียน ควรเป็นแบบไหน? ความปลอดภัยที่ต้องไม่ละเลย

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ ติดแกลม สร้างภูมิคุ้มกันใจในยุคโซเชียล

    เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ ติดแกลม สร้างภูมิคุ้มกันใจในยุคโซเชียล

  • มาตรฐานรถโรงเรียน ควรเป็นแบบไหน? ความปลอดภัยที่ต้องไม่ละเลย

    มาตรฐานรถโรงเรียน ควรเป็นแบบไหน? ความปลอดภัยที่ต้องไม่ละเลย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว