X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก อย่าให้อารมณ์ชั่ววูบทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ควรทำยังไง

บทความ 5 นาที
วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก อย่าให้อารมณ์ชั่ววูบทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ควรทำยังไง

วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก พ่อแม่คนไหนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวบ่อย โมโหง่าย ชอบตวาด ตะคอกใส่ลูก ต้องระวัง เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเกิดผลเสียต่อเด็กได้!!

วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก ที่พ่อแม่ควรรู้!

วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก อย่าให้อารมณ์ชั่ววูบทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ควรทำยังไง

การที่พ่อแม่ตวาดเสียงดัง อาจได้รับความสนใจจากลูกในช่วงเวลาสั้น ๆ ก็จริง แต่สิ่งสำคัญคือ สิ่งที่พ่อแม่ตะโกน หรือ ตะคอกใส่ลูกออกไปนั้นจะทำให้เด็กเข้าใจว่า การแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวแบบนี้ เป็นวิธีการสื่อสารที่ยอมรับได้ในสังคม เช่นเดียวกับการตีลูก เด็กจะเชื่อว่า การตี หรือ การแสดงพฤติกรรมแบบนี้จะช่วยแก้ปัญหา และ ลดความขัดแย้งได้ ดังนั้น พ่อแม่ควรพยายามอย่าใส่อารมณ์กับลูก อย่าใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พ่อแม่เริ่มรู้สึกว่า ตัวเองไม่พอใจให้ลองใช้ วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก กันดีกว่าค่ะ

ตะคอกใส่ลูกส่งผลกระทบกับลูกอย่างไรบ้าง

1. ลูกไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่

การตะคอก ถึงแม้ว่าจะใช้ได้ผลในระยะสั้น ๆ ก็จริง แต่การที่พ่อแม่ตะคอกใส่ลูกอยู่ตลอดเวลา หรือ การเสียงดังใส่ลูกทุกครั้งเวลาที่ต้องการให้ลูกหยุดพฤติกรรมอะไรบางอย่าง อาจจะทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเชื่อฟังพ่อแม่ลดน้อยลง แทนที่จะทำให้ลูกเชื่อฟังพ่อแม่มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน พ่อแม่หลายคนที่ต้องเป็นลูกน้อง หรือ เป็นพนักงาน คงรู้สึกไม่พอใจ หรือ ชอบใจนักเวลาที่โดนหัวหน้าตะคอกใส่เวลาที่คุณผิดพลาดเท่าไหร่ และ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคนในครอบครัวของคุณมักจะแก้ปัญหาด้วยการทะเลาะกันเสียงดังจนถึงขั้นลงไม้ลงมือ ด้วยเหตุผลที่ว่า คุณไม่อยากจะฟังคำพูดเหล่านั้น เพราะฉะนั้น การพูดเสียงดัง หรือ การตะคอกอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ และทำให้ลูกไม่เชื่อฟังหรือเกิดความรำคาญได้

2. ลูกจะหลบหน้าหรือหลีกหนีพ่อแม่

การตะคอกใส่ลูกมักทำให้ลูกมีความรู้สึกแย่ลง ทำให้เด็กรู้สึกโกรธ หรือ หลีกหนีไปให้ไกลจากพ่อแม่ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นปฎิกิริยาต่อต้านที่ลูกจะสะท้อนกลับมายังพ่อแม่ที่ตะโกนด่าทอลูกค่ะ ถึงแม้ว่าบางครั้งลูกอาจจะเงียบไม่ตอบโต้พ่อแม่ และ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปก็จริง แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งวิธีการนี้ไม่ได้ผลกลับลูกล่ะ ลูกมีการแสดงพฤติกรรมในทางตรงข้าม ไม่ยอมเชื่อฟัง และ หนีออกจากบ้านไป การกระทำเช่นนี้คุ้มที่จะเสี่ยงหรือไหมขึ้นอยู่กับพ่อแม่แล้ว

วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก อย่าให้อารมณ์ชั่ววูบทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ควรทำยังไง การใช้อารมณ์กับลูกบ่อยๆ อาจจะทำให้ลูกพยายามหลบหน้าพ่อแม่ได้

3. อาจทำให้ลูกเป็นเด็กเจ้าอารมณ์

การแสดงออกทางอารมณ์ของพ่อแม่ มักจะเกิดจากการที่พ่อแม่มีความรู้สึกไม่พอใจ หรือ ผิดหวังในตัวลูก การตะโกนว่าลูกแสดงให้เห็นว่าคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณได้กลายมาเป็นพ่อแม่แล้วการระงับอารมณ์เป็นส่งสำคัญ เพราะคุณแสดงออกทางอารมณ์แบบไหน ลูกก็จะเป็นเช่นนั้น เหมือนกระจกที่สะท้อนตัวตนคุณออกมา ถ้าพ่อแม่ไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ ก็ควรพยายามระงับอารมณ์คุณเอาไว่ให้ดีค่ะ

วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก อย่าให้อารมณ์ชั่ววูบทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ควรทำยังไง หากพ่อแม่เจ้าอารมณ์ ลูกก็จะเรียนรู้และซึมซับความเจ้าอารมณ์ได้เช่นกัน

4. การตะคอกใส่ลูกอันตรายกว่าที่คิด

ล่าสุดในงานวิจัยหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก พบว่า การตะโคกใส่ลูก การด่าทอด้วยการใช้คำที่รุนแรง การสาปแช่ง อาจเป็นอันตรายต่อเด็กเทียบเท่ากับการทำโทษเด็กทางร่างกายหรือการตีเลยทีเดียว เนื่องจากพวกเขาคิดว่าการที่เด็กได้รับประสบการณ์แบบนี้บ่อยๆ จะทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า หรือการแสดงพฤติกรรมต่อต่านสังคม แล้วแบบนี้พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี มาดูคำแนะนำหันค่ะ

วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก

สอนลูกอย่างไรให้เชื่อฟังแบบไม่ต้องตะคอก

1. ให้เวลากับตัวเอง

พ่อแม่ควรใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 15 - 20 นาทีให้จิตใจสงบ และใช้เวลานี้ในการทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำไปอธิบายให้ลูกฟังว่าคุณต้องการให้ลูกทำอะไร และหากลูกไ่ทำจะเกิดอะไรขึ้น

2. ลองคิดว่าถ้าตัวเองเป็นลูกจะคิดอย่างไร

ทุกคนล้วยเคยเป็นเด็ก และเคยมีความคิดที่ไม่เข้าใจผู้ใหญ่ ในขณะนีร้คุณเป็นผู้ใหญ่แล้วย่อมรู้ดีว่าเด็กคิดอะไร เช่น ในกรณีที่เด็กกำลังเล่นอยู่แต่แม่อยากให้มากินข้าวเดี๋ยวนั้น คุณอาจจะเผื่อเวลาให้ลูกได้เตรียมตัวสัก 10 นาที เพื่อให้เขาหยุดเล่นและมากินข้าว เพราะในขณะนั้นลูกอาจยังมีความรู้สึกสนุกหรือมีจินตนาการต่อเนื่องอยู่

วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก อย่าให้อารมณ์ชั่ววูบทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ควรทำยังไง

3. อธิบายให้ลูกเข้าใจ

หลังจากที่คุณใจเย็นลงแล้ว ให้เรียกลูกมาพูดคุย บอกว่าทำไมคุณถึงไม่พอใจในพฤติกรรมนี้ และ มีสิ่งไหนที่คุณต้องการให้ลูกทำในอนาคต เป็นการตกลงร่วมกันมากกว่าการบังคับให้ลูกทำอย่างไม่เต็มใจ เพราะถ้าทำแบบนั้รลูกอาจเกิดการต่อต้านได้อีกเช่นกัน

4. อย่าบั่นทอนกำลังใจของลูก

คำพูดของพ่อแม่เปรียบเสมือนแรงผลัก และ แรงฉุดของลู หากแม่พูดจาปลอบประโลมใจให้กำลังใจลูก ลูกก็จะมีกำลังใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในทางตรงข้าม เวลาที่ลูกทำอะไรแล้วพ่อแม่กลับไม่เชื่อใจลูก คาดหวังให้ลูกทำได้มากกว่านี้ ใช้คำพูดที่เปรียบเทียบ หรือ แสดงอาการว่าผิดหวังในตัวลูก สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกหมดกำลังใจ และ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเองได้ค่ะ

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

การเลี้ยงลูกไม่ใช่เรื่องง่าย การที่เด็กแต่ละคนจะเติบโตได้แต่ละคนต้องใช้การเอาใจใส่ของพ่อแม่ได้ด้วย การเลี้ยงลูกไม่ไม่มีกรอบ หรือ แนวทางที่แน่ชัด และ บางอย่างก็ไม่สามารถใช้กับได้กับเด็กทุกคน บางครั้งที่หลายๆ มีลูก ไม่ใช่แค่เฝ้าดูลูกให้เจริญเติบโต หลายครั้งเราก็เติบโตตามลูกไปด้วย เป็นกำลังใจให้พ่อแม่ทุกคนนะคะ

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ และ คอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และ ดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และ พร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่ และ เด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และ กิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย


source หรือ บทความอ้างอิง : psychologytoday.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิจัยชี้ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ผลเสียเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์นี่แหละจะทำให้ลูกมีปัญหา

หยุดดุด่าลูก ขู่ลูกว่าไม่รัก คำพูดต้องห้ามของพ่อแม่ที่ทำร้ายลูก

เห็นลูกดื้ออย่าเพิ่งดุอย่าเพิ่งด่า วิจัยบอกว่าเด็กดื้อจะประสบความสำเร็จมากกว่าเมื่อโตขึ้น

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิธีระงับอารมณ์โกรธลูก อย่าให้อารมณ์ชั่ววูบทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว พ่อแม่ควรทำยังไง
แชร์ :
  • ปล่อยให้ลูกได้ระบายบ้าง ให้ลูกระบายอารมณ์บ้างในบางครั้ง ก็ไม่แย่นะ

    ปล่อยให้ลูกได้ระบายบ้าง ให้ลูกระบายอารมณ์บ้างในบางครั้ง ก็ไม่แย่นะ

  • วิธีรับมือกับอารมณ์คนท้อง

    วิธีรับมือกับอารมณ์คนท้อง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ปล่อยให้ลูกได้ระบายบ้าง ให้ลูกระบายอารมณ์บ้างในบางครั้ง ก็ไม่แย่นะ

    ปล่อยให้ลูกได้ระบายบ้าง ให้ลูกระบายอารมณ์บ้างในบางครั้ง ก็ไม่แย่นะ

  • วิธีรับมือกับอารมณ์คนท้อง

    วิธีรับมือกับอารมณ์คนท้อง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ