วิตกกังวลต่อการแยกจาก การตอบสนองต่อความเครียดตามปกติตามวัยของเด็ก ซึ่งจะเริ่มเกิดเมื่อเด็กอายุ 6 – 8 เดือน ซึ่งในบางครั้งสามารถพัฒนาไปเป็นโรคแพนิคในเด็กก็ได้ อีกทั้งโรคแพนิคนั้นก็เป็นอีกหนึ่งโรค ที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะคาดไม่ถึงเป็นได้ ว่าจะเกิดขึ้นกับลูกน้อยของเรา ทั้งที่เพียงแค่รู้สึกว่าลูกอาจจะขี้กลัวเท่านั้น แต่อย่าลืมนะคะว่าโรคแพนิคนั้นน่ากลัวกว่าที่คุณคิด เรามาดูอาการกันดีกว่าค่ะว่าแตกต่างจากการที่ลูกขี้กลัวอย่างไร
จริงอยู่ที่ความวิตกกังวล เป็นเรื่องปกติของการตอบสนองทางความเครียด และอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งโรคแพนิค หรือ โรควิตกกังวล เป็นภาวะทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลในระดับสูงเป็นประจำซึ่งยากต่อการควบคุม โรควิตกกังวลอาจรบกวนความสามารถของเด็กในการทำกิจกรรมประจำวัน เช่น ไปโรงเรียน เข้าสังคม หรือรักษาความสัมพันธ์ ในบทความนี้ เราจะพิจารณาประเภทของความวิตกกังวลในเด็ก นอกจากนี้เรายังสำรวจสัญญาณ อาการ และการรักษาที่มีอยู่
โรควิตกกังวลต่อการแยกจาก
อาการแพนิค หรือ ความวิตกกังวลจากการแยกกันอยู่เป็นเรื่องปกติในเด็ก ไม่ได้ชี้ไปที่ความผิดปกติ ความวิตกกังวลนี้เป็นความรู้สึกกังวลเมื่อพ่อแม่หรือผู้ปกครองออกจากห้องหรือไม่ปรากฏให้เห็นอีกต่อไป โดยปกติเป็นไปได้ที่จะหันเหความสนใจของเด็กจากความรู้สึกนี้ ถ้าเด็กโตอารมณ์เสียเมื่อสมาชิกในครอบครัวจากไป และหากพวกเขาใช้เวลานานในการสงบสติอารมณ์ พวกเขาอาจกำลังประสบกับโรควิตกกังวลจากการถูกแยกทาง ความผิดปกตินี้พบได้บ่อยในเด็กอายุ 7-9 ปี และส่งผลกระทบต่อเด็กมากถึง 4% ในการใช้ชีวิต เด็กที่เป็นโรควิตกกังวลจากการพลัดพราก อาจปฏิเสธที่จะไปโรงเรียน แคมป์ หรือบ้านเพื่อน พวกเขาอาจขอให้ใครสักคนอยู่กับพวกเขาขณะนอนหลับ นอกจากนี้อาจมีอาการคิดถึงบ้านอย่างรุนแรงเมื่อไม่ได้อยู่กับครอบครัว
วิตกกังวลต่อการแยกจาก คืออะไร ?
ความวิตกกังวลต่อการแยกจาก หรือ separation anxiety ถือเป็นพัฒนาการปกติตามวัยของเด็ก ซึ่งจะเริ่มเกิดเมื่อเด็กอายุ 6 – 8 เดือน เพราะเด็กในวัยนี้เริ่มจะจดจำผู้คนและสถานที่ที่คุ้นเคยได้แล้ว เด็กเล็ก ๆ จะแสดงพฤติกรรมวิตกกังวลต่อการแยกจาก เช่นการร้องตามเมื่อคุณพ่อคุณแม่ไปทำงาน หรือการร้องไห้เมื่อไม่เห็นพ่อ-แม่ หรือผู้เลี้ยงดู
พฤติกรรมดังกล่าวจะลดลงเมื่อเด็กโตขึ้น และควรหายไปก่อนอายุ 5 ขวบ ความวิตกกังวลต่อการแยกจากในเด็กมีสาเหตุหลัก ๆ คือ การขาดความเข้าใจเรื่องการคงอยู่ของวัตถุ ( object permanent) และปัญหาการพัฒนาความรักความผูกพันกับผู้เลี้ยงดูในขวบปีแรก ทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นคงในความรัก
อย่างไรก็ตามความวิตกกังวลต่อการแยกจากแม้จะไม่ใช่ปัญหาที่ติดตัวเด็กไปจนโต แต่ก็ทำให้ผู้ปกครองหลาย ๆ คนเป็นกังวล บางรายอาจเลือกที่จะไม่ส่งลูกมาเรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ซึ่งจะทำให้เด็กเสียโอกาสในการพัฒนา และเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ในเด็กเล็ก ๆ ที่ความสามารถในการปรับตัวยังอยู่ในระยะพัฒนาการ
วิธีเตรียมพร้อมก่อนส่งลูกไปเรียน
- พูดคุยถึงข้อดีของการไปเรียน : เช่น มีคุณครูใจดีมีเพื่อนมากมาย มีของเล่นให้เลือกเยอะเป็นต้น
- ก่อนเปิดเทอมให้ขับรถผ่านหน้าโรงเรียนและชี้ชวนให้ดู : ในวันหลัง ๆ อาจพาลูกเข้าไปเล่นเครื่องเล่นแล้วไปเดินดูห้องเรียน ทำความรู้จักกับคุณครู กับสนามเด็กเล่น เป็นการสร้างความคุ้นเคยแบบค่อยเป็นค่อยไป
- พ่อแม่ควรมีท่าทีที่สงบระหว่างการแยกจาก : ไม่แสดงอาการละล้าละลัง อาจจะยิ้มให้ลูกและกระซิบว่า แม่รักลูกนะ เดี๋ยวแม่เลิกงานแล้วค่อยเจอกัน
- บอกเวลาที่ชัดเจนในการมารับ : ควรบอกกับลูกว่าจะมารับเวลาไหน จะทำให้เด็กมีความหวังรู้จักรอ ถึงแม้เด็กจะยังไม่เข้าใจเรื่องเวลา พ่อแม่อาจจะให้คุณครูช่วยตอบ และควรมารับให้ตรงเวลา โดยเฉพาะช่วงแรกเพราะการมารับช้าผิดเวลา จะยิ่งทำให้ลูกเกิดความไม่มั่นใจ และไม่ยอมมาในวันต่อ ๆ ไป
- เปิดโอกาสให้เด็กมีทางเลือก : เช่น เด็กอาจมีตุ๊กตาตัวโปรด หมอน ผ้าห่ม สิ่งที่เด็กคุ้นเคยและเป็นเสมือนตัวแทนพ่อแม่ ทำให้เขารู้สึกมั่นคงปลอดภัย ในช่วงแรกอาจอนุโลมให้เอาไปด้วย เพื่อให้ซึมซับว่ายังไงก็ต้องไปโรงเรียน
- เด็กแต่ละคนอาจมีระยะเวลาในการปรับตัวไม่เท่ากัน : ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางอารมณ์ การเลี้ยงดูและท่าทีของพ่อแม่
โรคตื่นตระหนก หรือ โรคแพนิค
โรคแพนิค เป็นความผิดปกติที่พบบ่อยในมนุษย์ช่วงอายุตั้งแต่ 17 ปีเป็นต้นไป และยังไม่มีประวัติการพบโรคแพนิคในเด็กที่ประเทศไทยมาก่อน โดยส่วนใหญ่จิตแพทย์มักจะจำแนกโรคแพนิคในเด็กให้เป็นโรค 3 โรค ดังนี้ โรคกลัวการแยกจาก (separation anxiety disorder), โรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder) และโรคกลัวสังคม (social phobia) ซึ่งการที่อาการของเด็ก ๆ นำไปสู่ทั้ง 3 โรคนี้จึงทำให้การรักษานั้นไม่ระบุว่าเด็กสามารถเป็นโรคแพนิคได้นั่นเอง มีการวิจัยหนึ่งกล่าวว่าโรคแพนิคในเด็กนั้นมีผลช่วยลดอัตราการเกิดโรคแพนิคในผู้ใหญ่ได้ เมื่อพวกเขาโตขึ้น ซึ่งโรคแพนิคสามารถรักษาให้หายได้โดย คุณต้องปรึกษาแพทย์ให้ถูกต้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกขี้กลัว ทำอย่างไรดี? วิธีช่วยลูกจัดการ และก้าวข้ามความกลัว
อาการของโรคแพนิค
แพนิคอาการ มีลักษณะอย่างไรบ้าง เนื่องจากการอาการในเด็กนั้นมักถูกวินิจฉัยให้เป็นโรคอื่น แต่อาการที่เด็ก ๆ ได้แสดงออก หรือการที่โรคกำเริบนั้นมักมีอาการเหมือนกับผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีอายุเกิน 17 ปีขึ้นไป โดยมีอาการดังต่อไปนี้
- เกิดอาการกลัวอย่างรุนแรง รู้สึกว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวเกิดขึ้น กระวนกระวายใจ โดยอาการเหล่านี้จะถูกแสดงออกมาโดยที่เราไม่อาจทราบสาเหตุได้
- วิงเวียนศีรษะ รู้สึกเหมือนหน้ามืด หรือรู้สึกไม่สบายท้อง อยากอาเจียน
- รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลียคล้ายคนจะเป็นลม มีเหงื่อออก ตัวสั่น และรู้สึกชาบริเวณมือ และเท้า
- หายใจถี่ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เจ็บที่หน้าอก หัวใจเต้นแรง และเร็วกว่าปกติ หรือมีความคิดว่าตัวเองกำลังจะตาย หรือกำลังจะหัวใจวายในไม่ช้า
- พวกเขาอาจดูหวาดกลัวในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การพบปะสังสรรค์ หรือพวกเขาอาจปฏิเสธที่จะพูดกับผู้อื่นหรือทำกิจกรรมประจำวัน
อาการทางกายของความวิตกกังวลอาจรวมถึง :
- สั่น
- หายใจถี่
- ผีเสื้อในท้อง (มวลท้อง)
- หน้าร้อน
- มือชื้น
- ปากแห้ง
- หัวใจเต้นเร็ว
- เด็กอาจพบว่ามันยากที่จะนอนหลับ ฝันร้าย มีสมาธิจดจ่อ และโกรธหรือหงุดหงิดเร็ว
โดยอาการแพนิคทั้งหมดนั้นจะเกิดขึ้นในเวลาไม่นานนัก เพียง 10-20 นาทีเท่านั้น พวกเขาก็จะมีอาการที่เบาลง กลายเป็นปกติ แต่สามารถเกิดซ้ำได้อีกเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างไรก็ตามในบางครั้งอาจทำให้ผู้ช่วยเหลือนั้นเข้าใจว่าเป็นอาการของคนที่กำลังหัวใจวายได้
อะไรที่ทำให้เกิดโรคแพนิคในเด็ก?
อาการแพนิคในเด็ก แพนิค เป็นเหมือนอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางจิตทั่วไป โดยส่วนใหญ่มักพบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นเหตุทำให้พวกเขาเกิดโรค หรือสามารถเพิ่มโอกาสในการเป็นได้มากยิ่งขึ้นเมื่อพวกเขาอยู่ในสถานการณ์ หรือพบเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอาการโดยที่พวกเขาไม่ทันตั้งตัว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการมีดังต่อไปนี้
- ปัจจัยทางพันธุกรรม การวิจัยแสดงให้เห็นว่า หากในครอบครัว หรือผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน (พ่อ แม่ พี่น้อง) ที่กำลังประสบกับโรคแพนิค หรือเคยมีประวัติอาการแพนิคมาก่อน มีแนวโน้มว่าเด็ก ๆ ในบ้านนั้นสามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
- โรคกลัวน้ำ โดยโรคดังกล่าวทำให้เกิดอาการแพนิค ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสิ่งที่พวกเขากลัวนั่นเอง
- มีภาวะทางสุขภาพจิตอื่น ๆ อยู่ก่อน อาทิ ภาวะซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) หรือโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (Post-Traumatic Stress Disorder : PTSD)
- สิ่งที่กระตุ้นทางอารมณ์ระยะสั้น หรือความคิดชั่ววูบ อาทิ การวางแผนการปลิดชีพตนเอง แต่ทำไม่สำเร็จ
- ความไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง
- สารบางชนิดที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพนิค เช่น คาเฟอีน เป็นต้น
- โรคตื่นตระหนก
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกกลัวการอาบน้ำ จะทำอย่างไรดีเมื่อเด็ก ๆ ไม่ชอบที่อาบน้ำ งอแงทุกครั้งที่อาบน้ำ
โรคตื่นตระหนก
เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคตื่นตระหนกจะมีอาการตื่นตระหนกโดยไม่คาดคิดสองครั้งหรือมากกว่านั้น
โรควิตกกังวลทางสังคม
เด็กที่เป็นโรควิตกกังวลทางสังคมจะกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ขั้นตอนการรับมือกับโรคแพนิคในเด็ก
เนื่องจากอาการแพนิคนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และอาจมีอาการ panic attack คือ การเกิดอาการแพนิคกะทันหัน ได้เช่นกัน โดยไม่คุณไม่สามารถรู้ หรือป้องกันได้ ดังนั้นคุณควรเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการรับมือสำหรับเด็กที่เป็นโรคนี้ เพื่อให้มั่นใจในสถานการณ์จริงคุณจะสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้ โดยมีวิธีดังต่อไปนี้
1. พยายามควบคุมอารมณ์ของพวกเขา
เด็กที่ตกอยู่ในอาการแพนิคนั้น พวกเขาจะแสดงอาการหายใจถี่ เหมือนเหนื่อยหอบ เนื่องจากพวกเขาอาจได้รับแรงกระตุ้นจากบางอย่าง หรืออารมณ์ความคิดของเขาขณะนั้นทำให้เขาเกิดอาการ โดยคุณจะต้องพยายามทำให้เขารู้สึกสงบลง ด้วยการพูดกับเขาด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน และผ่อนคลาย บอกให้พวกเขาหายใจเข้าออกลึก ๆ จนกว่าอาการของเขาจะบรรเทาลง
2. ฝึกการหายใจ
การเตรียมตัวก่อนเกิดสถานการณ์จริงนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญ ในบางครั้งการที่พวกเกิดอาการเขาอาจไม่สามารถควบคุมสติของตนเองได้ แต่หากเขา และคุณเตรียมการเรื่องนี้ไว้ก่อน อาจส่งผลทำให้อาการของเขาบรรเทาลงได้อย่างรวดเร็ว คุณควรฝึกเรื่องของการหายใจให้แก่พวกเขา เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ช่วยพวกเขาได้ในสถานการณ์จริง โดยให้เขาหายใจเข้า และกักลมไว้ในปอดเป็นเวลา 2-3 วินาที และค่อยปล่อยออกอย่างช้า ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ประโยชน์ของการนั่งสมาธิของเด็ก สอนให้ลูกนั่งสมาธิ สอนให้ลูกน้อยนั่งสมาธิ
3. สอนให้พวกเขาเข้าใจถึงโรค
อาการแพนิคนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับเด็ก และผู้ปกครอง เพราะว่าพวกเขาสามารถเริ่มแสดงอาการได้ตลอดเวลาจากสภาพแวดล้อมตัวของเขา ที่อาจทำให้เขาเกิดอาการวิตกกังวล หรือว่าทำให้เขารู้สึกเหมือนกำลังจะตายได้ตลอดเวลา โดยคุณเองจะต้องอธิบายให้พวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งพวกนี้ว่ามันเป็นเพียงแค่อาการชั่วคราวเท่านั้น หากผ่านเวลาไปเพียงไม่นานพวกเขาก็จะสามารถกลับมาหายใจเป็นปกติได้
4. กระตุ้นให้พวกเขาเผชิญหน้ากับความกลัว
ความกลัวเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้พวกเขาเกิดอาการแพนิค หรือสถานการณ์บางอย่างที่เป็นแผลบาดลึกภายในใจของพวกเขา คุณควรอยู่ข้าง ๆ เขา และคอยสนับสนุนให้พวกเขาเอาชนะความกลัวเหล่านั้น หรือแสดงให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เขากลัวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด อาทิ เด็กกลัวที่แคบ พวกเขาไม่สามารถอยู่ในที่แคบอย่างลิฟต์ หรือห้องที่มีขนาดเล็กปิดทึบได้ อาการแพนิค อาจลดลง โดยคุณอาจเริ่มต้นจากการพาพวกเขาเข้าไปอยู่ในนั้นพร้อมกับที่คุณคอยอยู่ข้าง ๆ เขา และทำให้พวกเขารู้สึกว่าการอยู่ที่แคบโดยมีคุณอยู่นั้นปลอดภัย และไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ซึ่งอาจส่งผลทำให้เขาลดความกลัว และโอกาสที่จะเกิดอาการแพนิคลงได้
5. เบี่ยงเบนความสนใจ หรือเปลี่ยนโฟกัส
หากพวกเขากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดอาการแพนิคขึ้นได้ คุณควรรีบเบี่ยงเบนความสนใจ หรือให้เขาเปลี่ยนไปโฟกัสกับสิ่งอื่นแทน ไม่ว่าจะเป็นของเล่นที่เขาชอบ อาการที่เขาอยากทาน หรือแม้แต่สถานที่ท่องเที่ยวที่เขาอยากไป ซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่นึกถึง ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองไม่ได้นั่นเอง
6. สร้างความมั่นใจให้กับเขาว่าเขาไม่ได้อยู่เพียงลำพัง
การรับฟังความคิดเห็นของเด็ก ๆ หรือการคอยช่วยเหลือกันภายในครอบครัว หรือระหว่างบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับเขาอย่างคุณครูเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะว่าคุณเองก็ไม่สามารถอยู่กับพวกเขาได้ตลอดเวลา คุณควรกระตุ้นให้เขาพูดความรู้สึก หรือระบายความในใจกับใครสักคนที่เขาไว้ใจ เพื่อลดอาการแพนิคที่อาจเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ และสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เขารู้สึกว่า เขาไม่ได้อยู่เพียงลำพัง แต่ยังคงมีคนคอยช่วยเหลือ และห่วงใยเขาอยู่
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
ถ้าหากว่าบุตรหลานมี อาการแพนิค ข้างต้น อาจเป็นความคิดที่ดีที่จะขอคำแนะนำจากแพทย์หากเด็กแสดงอาการวิตกกังวลที่ไม่บรรเทาลงด้วยเทคนิคการจัดการความวิตกกังวลที่บ้านหากความวิตกกังวลส่งผลต่อชีวิตในโรงเรียนหรือความสัมพันธ์ของเด็ก แพทย์หรือนักบำบัดสามารถช่วยได้
วิธีการรักษา โรคแพนิคในเด็ก
อย่างที่กล่าวมาในตอนแรกว่าโรคแพนิคนั้นสามารถรักษาให้หายได้นั้นเป็นเรื่องจริง เพราะว่าโรคนี้เกิดจากการวิตกกังวล กระวนกระวายใจ และทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ โดยวิธีที่นำมาใช้ในการรักษา และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้แก่
- การรักษาด้วยจิตบำบัด : จิตแพทย์นั้นจะเริ่มด้วยการทำความเข้าใจความวิตกกังวลของเด็ก เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น และจะเริ่มทำการบำบัดพฤติกรรมทางความคิดเป็นอย่างแรก เพื่อลดรูปแบบชุดความคิดที่มีทัศนคติเชิงลบที่เกิดขึ้น และยังมีการบำบัดอีกอย่างหนึ่งคือการบำบัดด้วยการลงมือปฏิบัติ และเผชิญหน้ากับความวิตกกังวลโดยตรง เพราะเชื่อว่าการทำเช่นนั้นสามารถทำให้การแสดงอาการของโรคนั้นเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น
- เภสัชวิทยา : นอกจากการรักษาด้วยการบำบัดแล้ว การใช้ยานั้นก็สามารถช่วยลดอาการของโรคแพนิคได้ ซึ่งจิตแพทย์อาจมีการกำหนดยาหลายประเภท เพื่อให้ผลการรักษานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการจ่ายยาเพื่อรักษาภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีผลพิสูจน์ได้ว่าอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคแพนิค นอกจากนี้ยังมีการใช้ Benzodiazepines หรือยากลุ่มยานอนหลับ เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามการจ่ายนั้นก็ถือว่ายังมีความเสี่ยงต่อร่างกายมากกว่าการบำบัด จะต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น
สังเกตได้ว่าโรคแพนิคในเด็ก หรือแม้แต่อาการ วิตกกังวลต่อการแยกจาก สามารถเกิดขึ้นกับเด็กคนไหนก็ได้ หากพวกเขาได้รับผลกระทบทางจิตใจ หรือเกิดความกลัวมากจนเกินไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่าการดูแลของผู้ปกครองนั้นอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกเขามีทัศนคติเชิงบวกมากกว่าทัศนคติเชิงลบ ทางที่ดีที่สุดผู้ปกครองควรใส่ใจลูกหลานของท่านให้มากยิ่งขึ้น และหมั่นหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคแพนิคในเด็กได้
พ่อแม่และผู้ดูแลสามารถมองหาสัญญาณทางร่างกายและอารมณ์และถามคำถามปลายเปิดกับเด็กเพื่อดูว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะมีความวิตกกังวลหรือไม่ เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความวิตกกังวลด้วยการสนับสนุนจากคนที่คุณรักและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต การบำบัดด้วยการพูดคุยและการใช้ยาอาจเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผล หากกลยุทธ์การดูแลที่บ้านไม่ช่วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาการชัก และ โรคลมชักในเด็ก ส่งผลอย่างไรกับสมองของลูก
เลี้ยงลูกแบบนี้ไง ลูกถึงเป็น โรคพฤติกรรมเกเรก้าวร้าว เด็กเกเร ไม่ใช่เรื่องเล็ก
โรคเด็กโตก่อนวัย เป็นอย่างไร? เมื่อลูกเป็นแบบนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไร
ที่มา : aacap, priorygroup, childmind, psychiatry
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!