X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง เลี้ยงลูก อย่างไร? ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ

บทความ 5 นาที
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง เลี้ยงลูก อย่างไร? ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ

การเลี้ยงลูก ถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ นอกจากจะต้องดูแลร่างกายเลี้ยงดูพวกเขาให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แล้ว การดูแลจิตใจก็ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเลี้ยงดูลูกด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการเลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อความรุนแรง สมัยก่อน เชื่อว่า การตีลูกนั้นจำเป็นในการอบรมสั่งสอน แต่ด้วยความไม่พอดีหรือไม่รู้ขีดจำกัดของการลงโทษจึงเผลอใช้ความรุนแรงในบางครอบครัว และอาจเข้าใจว่านี่คือวิธีแก้ปัญหาที่พ่อแม่ในทุกครอบครัวพึงกระทำ นอกจากนี้การเลี้ยงลูกด้วยการว่ากล่าวทำโทษด้วยถ้อยคำที่รุนแรง เพราะบางครอบครัวเลี้ยงลูกโดยใช้ทั้งการตีและดุด่าเด็กตั้งแต่เล็กจนโตจนกลายเป็นความชินชาต่อความรุนแรงที่กระทบต่อร่างกายและจิตใจ เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง

 

เลี้ยงลูก ไม่ใช้ความรุนแรง

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง

  1. สิ่งแวดล้อมและการอบรมเลี้ยงดูให้เด็กมีอารมณ์ที่มั่นคง
  2. ทัศนคติในการเลี้ยงลูกของพ่อแม่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของลูก
  3. สร้างทักษะในการจัดการกับปัญหาให้ลูก รู้จักการปรับตัวกับสถานการณ์
  4. การเลี้ยงลูกในช่วงวัยเด็กจึงส่งผลต่อพฤติกรรม บุคลิกภาพของเด็กเมื่อเติบโตขึ้น

 

ทั้งนี้การเลี้ยงลูกใน 4 ข้อ สามารถอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ว่า สมองส่วนที่ควบคุมดูแลเรื่องอารมณ์เริ่มทำงานตั้งแต่แรกเกิด เด็กที่ได้รับการดูแลอย่างอ่อนโยน ได้รับการโอบกอดสัมผัส มีการตอบสนองที่ดีก็จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของสมองส่วนนี้อย่างการเลี้ยงลูกตั้งแต่ช่วงแรกเกิดจนถึงวัย 6 ขวบจึงไม่ได้มีส่วนต่อพฤติกรรมของเด็กเท่านั้น แต่มีส่วนในการกำหนดโครงสร้างและการทำงานของสมองที่ควบคุมอารมณ์ ขณะที่เด็กถูกเลี้ยงดูอย่างละเลย ใส่ความรุนแรงทั้งตั้งใจเช่นการตีลูก และไม่ตั้งใจ เช่น เผลอใส่อารมณ์ แต่สมองก็จะเรียนรู้การกระทำที่ถูกละเลย การกระทำที่ก้าวร้าวนั้น และรับรู้หรือเข้าใจสังคมในทางบวกได้ยาก ฉะนั้นทางออกของปัญหาการเลี้ยงลูกในเรื่องความรุนแรง จึงต้องเริ่มต้นที่จากปัจจัยแวดล้อมในบ้านเป็นอันดับแรก

พ่อแม่ส่วนใหญ่เข้าใจว่า การเลี้ยงลูกเตรียมพร้อมในเรื่องเงิน ทั้งที่จริงแล้ว สิ่งที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ การเตรียมพร้อมตนเองในทางร่างกาย จิตใจและสังคม วางแผนการมีลูกทั้งคนแรกและคนที่สอง เพราะการมีลูกในจังหวะที่ไม่พร้อม อาจสร้างความลำบากในการเลี้ยงลูก มีความวิตกกังวลทั้งกับตัวเองและลูกได้ เช่น การมีลูกติดๆ กัน โดยทั่วไปคุณหมอแนะนำให้มีลูกห่างกันประมาณ 2-3 ปี เพราะเด็กอายุ 3 ขวบเริ่มดูแลตัวเองได้มากแล้ว เริ่มสนใจเล่นกับเพื่อน ไม่เกาะติดพ่อแม่มากเหมือนก่อน เมื่อมีน้องความรู้สึกก็ไม่กระทบกระเทือนมากเท่าไหร่ และคนน้องเองก็จะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่

 

ทำไมเลี้ยงลูก จึงไม่ควรตีลูกบ่อย ๆ

ทุกวันนี้เรามีการรณรงค์เรื่องความรุนแรงต่อเด็ก  ดังนั้น เราควรเลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ ความรุนแรงจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ถึงแม้ในประเทศไทยของเราจะยึดสุภาษิต รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี คนไทยจึงเลี้ยงลูกด้วยการอบรมสั่งสอนโดยการตีมาอย่างยาวนาน แต่วิธีนี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมที่สุด เพราะยังมีวิธีอื่น ๆ อีกมากมายที่พ่อแม่สามารถใช้ในการอบรมสั่งสอนเลี้ยงลูกได้ เช่น การแสดงสีหน้า น้ำเสียงที่ดุอย่างชัดเจน งดให้ทำกิจกรรมที่ชอบสักระยะจนกว่าพวกเขารู้สึกผิด ที่สำคัญ หากคุณเลี้ยงลูกด้วยการตีอย่างเดียว อาจส่งผลเสียต่อเด็ก ๆ นั่นคือ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงลบได้ในอนาคต เช่น

  • ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่มีความสุขดังเดิม
  • สภาพจิตใจของเด็กเปลี่ยนแปลงไป หรือมีการจดจำเพียงแต่ความเจ็บปวดจากการถูกตีมากกว่าความทรงจำที่ดี
  • ทำให้เด็กก้าวร้าวมากขึ้น
  • เด็กอาจมีพฤติกรรมที่แปลกๆ เช่นเห็นเรื่องความรุนแรงเป็นเรื่องธรรมดา
  • เด็กอาจมีการโต้ตอบที่รุนแรงกลับ เช่น การตะโกน ส่งเสียงดัง ทำร้ายพ่อแม่กลับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกยุคดิจิตอล VS. ยุคโบราณ

 

เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้ลูกขาดความรัก

พ่อแม่ควรตระหนักว่า เลี้ยงลูกแบบไหนเราจะมีลูกนิสัยแบบนั้น ดังนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา พ่อแม่ควรเริ่มศึกษาวิธีการเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง  เริ่มตั้งแต่ตอนที่ลูกรักยังเยาว์วัย และอยู่ในช่วงวัยกำลังจดจำ

1. เลี้ยงลูกโดยสร้างความมั่นใจให้เขา

บางครั้งเด็ก ๆ อาจเผลอกระทำผิดพลาด จะด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม พ่อแม่ควรคอยให้แนะนำ พร้อมตักเตือนอยู่ข้าง ๆ มากกว่าการตีและใช้ถ้อยคำรุนแรง อีกทั้งการเลี้ยงลูกไม่ควรห้ามการตัดสินใจของพวกเขา แต่อาจเป็นการพูดคุยด้วยเหตุผล หรืออาจกล่าวชมเชยบ้างหากลูกมีพฤติกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อให้เขามีความมั่นใจเมื่อทำสิ่งที่ถูกต้อง และพร้อมแก้ไขหากทำผิดพลาด

2. พ่อแม่ต้องกำหนดวินัยตนเองในการเลี้ยงลูก

วินัย หรือข้อปฏิบัติในการเลี้ยงลูก เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกครอบครัว การฝึกวินัยขั้นพื้นฐานในการเลี้ยงลูกแบบที่ไม่ใช้การบังคับหรือขู่เข็ญ จะช่วยให้เด็กได้รู้จักขอบเขตว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดควรระมัดระวัง เช่น ทำการบ้านให้เสร็จก่อนถึงจะอนุญาตให้ดูทีวี เล่นโทรศัพท์ หรือเล่นเกมส์ ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะต้องขัดใจลูกบ้าง แต่อาจเป็นผลดีที่ช่วยให้เด็ก ๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบในอนาคต

3. ใช้เวลาร่วมกันภายในครอบครัว

พ่อแม่อาจหาเวลาว่าง เช่น วันหยุดสุดสัปดาห์ พาลูก ๆ ไปทำกิจกรรมร่วมกัน โดยอาจเป็นการออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือพักผ่อนตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสวนสนุก สวนสัตว์ ทะเล เป็นต้น การเลี้ยงลูกแบบนี้ส่งผลให้เมื่อลูกเติบโตขึ้นไป พวกเขาอาจต้องการความส่วนตัวมากขึ้น จนมีเวลาอยู่กับคุณพ่อคุณแม่หรือสมาชิกคนอื่นในครอบครัวน้อยลง

4. พ่อแม่ต้องหมั่นพูดคุย และรับฟังกันอยู่เสมอ

เลี้ยงลูกแบบฝึกสอนให้เด็กรู้จักเปิดใจพูดคุย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น พวกเขาไม่ใช่แค่เด็กเล็ก ให้คิดว่าพวกเขาคือผู้ใหญ่คนหนึ่งที่สามารถการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รับฟังในสิ่งที่ลูกพูด และแสดงความคิดเห็นโดยไม่ใช้อารมณ์รุนแรง ก็นับว่าเป็นวิธีเลี้ยงลูกที่ดีมาก เพราะจะทำให้พวกเด็กไม่รู้สึกเหมือนตัวคนเดียว และเป็นการกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้ยิ่งแนบแน่น และเข้าใจกันมากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 11 คำถามชวนลูกคุยที่จะทำให้เข้าใจลูกมากขึ้น

เลี้ยงลูก ด้วยความเข้าใจ

เลี้ยงลูกดีก็ส่งผลต่อสังคมอย่างไร

เคยหรือไม่เวลาได้ยินข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงในเด็ก ไม่ว่าเด็กจะเป็นผู้กระทำ เป็นผู้ถูกกระทำหรือตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงเหล่านั้นโดยทางอ้อมนับวันข่าวคราวทำนองนี้ในบ้านเราจะมีมากขึ้น เกิดกับเด็กอายุน้อยลงเรื่อยๆ และดูเหมือนขีดขั้นของความรุนแรงก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ไม่มีใครอยากเลี้ยงลูกแล้วให้ลูกของเราเข้าไปอยู่ในวังวนของเรื่องเหล่านี้ ไม่ว่าจะในฐานะผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ และไม่มีใครปฏิเสธว่าจุดเริ่มของการตัด ลดทอนความรุนแรงของปัญหาอยู่ที่การอบรมเลี้ยงลูกที่บ้าน ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดทุกครั้งที่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่กระนั้นปัญหาดังกล่าวก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ บ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น

เพราะพ่อแม่เองไม่รู้ว่าแต่ละวันๆ ที่ผ่านไป การเลี้ยงลูกของตัวเองได้บ่มเพาะให้ลูกคุ้นชินกับความรุนแรงไปโดยไม่รู้ตัวอย่างนี้ใช่ “ความรุนแรง”กับลูกหรือเปล่า ซึ่งเลี้ยงลูกโดยการตี การทำร้ายทางกาย ไม่ใช่เรื่องเดียวที่เป็นความรุนแรงต่อเด็ก ยังมีการกระทำอื่นที่เราอาจคิดไม่ถึงเลยว่าเป็นการสร้างความรุนแรงต่อเด็กหรือลูกที่เรารักด้วย

1. เลี้ยงลูกโดยไม่ทำร้ายทางใจ

เช่น การเลี้ยงลูกอย่างลำเอียง รักพี่หรือน้องมากกว่า การใช้คำพูดที่กระทบกระเทือนใจไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เช่น ประโยคประเภทเกิดมาทำไม ทำไมชอบทำให้พ่อแม่ลำบาก เหล่านี้สามารถสะสมจนเกิดเป็นความน้อยเนื้อต่ำใจ ขาดความมั่นคงทางจิตใจ เพราะคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก นานวันเข้าก็อาจแสดงออกด้วยการกระทำที่รุนแรงจากน้อยแล้วค่อยพัฒนาไปหามากได้

2. อย่าปล่อยปละละเลย

เป็นข้อที่คนไม่ค่อยนึกถึงกัน ทั้งที่เกิดขึ้นในหลายครอบครัว โดยพื้นฐานเด็กทุกคนต้องการความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ การเลี้ยงลูกแบบปล่อยปละละเลย ทั้งจงใจหรือละเลยโดยไม่รู้ตัวนั้นเป็นการทำร้ายเด็ก อย่างหนึ่ง เช่น ไม่มีเวลาให้ลูก หรืออยู่ด้วยกันแต่ไม่ได้ใส่ใจลูกอย่างที่ควรจะเป็น อาจเพราะเหนื่อยจากงาน สนใจเรื่องตัวเองมากกว่า ยกหน้าที่ให้คนอื่นดูแลไปแล้ว คิดว่าให้สิ่งที่ดีและสำคัญกับชีวิตลูกแล้ว

2. เลี้ยงลูกอย่าให้ลูกขาดรัก

เด็กทุกคนต้องการเป็นที่รักและต้องการมีคนที่เขารัก เพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงทางใจให้เกิดขึ้นกับใจดวงน้อย ขณะเดียวกันพ่อแม่เองนอกจากต้องให้ความรักกับลูกแล้วยังต้องรักลูกให้เป็น เพื่อไม่ให้รักนั้นหวนกลับมาทำร้ายลูกแต่ก็มีพ่อแม่เลี้ยงลูกโดยการเพาะความรู้สึกบางอย่างให้ลูก เช่น รักอย่างตามอกตามใจเต็มที่ลูกก็จะเติบโตมาเป็นเด็กที่ปรับตัวยาก ขาดความอดทน หรือถ้ารักอย่างที่เข้าไปกะเกณฑ์จุกจิกลูกก็จะเติบโตเป็นเด็กที่รู้สึกว่า ตัวเองมีปมด้อย รู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรดี ซึ่งไม่เป็นผลดีกับตัวลูกเลย

ฉะนั้น เลี้ยงลูกด้วยความรักแต่ควรยืนอยู่บนความมีเหตุมีผลและให้โอกาสลูกได้เรียนรู้ด้วยตัวพวกเขาเองด้วย แม้ลูกในวัยนี้จะยังเด็กก็ควรให้เขาเริ่มเรียนรู้ขอบเขตของการกระทำ วินัยบ้างได้แล้ว ไม่ใช่ปล่อยตามใจไปเสียทุกเรื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : เลี้ยงลูกเชิงบวก วิธีเลี้ยงลูกเชิงบวก เลี้ยงลูกสอนลูกอย่างไรให้ลูกคิดบวก

เลี้ยงลูก ควรกอดลูกบ่อยๆ

เลี้ยงลูก ไม่ควรใช้ความรุนแรง

เลี้ยงลูกทางอ้อมโดยการเลียนแบบ

พ่อแม่ คือต้นแบบที่สำคัญเป็นผู้อบรมเลี้ยงดู เมื่อถึงวัยที่เด็กพร้อมซึมซับและเรียนรู้จากการเลียนแบบ โดยเฉพาะจากคนที่อยู่ใกล้ตัวทั้งพ่อแม่และคนในครอบครัว การปฏิบัติตัวของพ่อแม่ที่เลี้ยงลูก หรือปฏิบัติต่อกันเองหรือกับผู้คนในบ้านเป็นเหมือนฉากละครที่ลูกจะต้องได้ เห็นและสัมผัสอยู่ทุกวัน พ่อแม่จึงเป็นต้นแบบในการเลี้ยงลูกทางอ้อมจากอิทธิพลต่อคำพูด ท่าที การกระทำและวิธีคิดของลูกมาก

  • ถ้าพ่อแม่เป็นคนที่รักและเอื้ออาทรกับสัตว์ลูกก็จะเรียนรู้วิธีนั้นจากคุณ
  • ถ้าพ่อแม่เป็นคนที่เห็นสัตว์เดินผ่านมาแล้วต้องขอดึงหางสักหน่อย เตะสักที ลูกก็จะเรียนรู้ที่จะเล่นกับสัตว์เช่นนั้น
  • ถ้าพ่อแม่เป็นคนที่ใครขับรถปาดหน้า พูดจาไม่เข้าหูก็พร้อมสบถ ลูกก็จะเรียนรู้วิธีเหล่านั้น
  • ถ้าพ่อแม่ขัดแย้งกันแล้วตัดสินด้วยการมีปากเสียง ลงไม้ลงมือลูกก็จะเรียนรู้วิธีจัดการกับปัญหาด้วยวิธีเดียวกัน

เลี้ยงลูกผ่านพฤติกรรมก้าวร้าวไม่ต่างอะไรจากพฤติกรรมทางสังคมอื่นๆ ที่ลูกสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ที่พบเห็นไม่ว่าจากประสบการณ์ตรงหรือ ประสบการณ์ทางอ้อม ทุกวันนี้ในสังคมเราปลูกฝังแต่เรื่องของการแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันจนแทบจะ เข้าไปอยู่ในวิถีชีวิต เราอาจต้องทานกระแสเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้และรู้จักกับการดูแล แบ่งปันและนึกถึงผู้อื่นทั้งที่เป็นมนุษย์ด้วยกันและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย แม้วันนี้ลูกยังเล็กจะยังไม่เห็นภาพชัด แต่อย่างน้อยการได้เริ่มต้นเลี้ยงพวกเขาโดยสั่งสมสิ่งเหล่านี้ในหัวใจลูกก็เป็นพื้นฐาน ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้งอกงามไปพร้อมกับการเจริญเติบโตทางกาย

 

ปรับวิธีการเลี้ยงลูกโดยพ่อแม่หันมามองพฤติกรรมตัวเอง

การอบรมเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจากลักษณะเฉพาะของลูก สภาพแวดล้อมในครอบครัว เช่น เศรษฐกิจ เหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต หรือแม้แต่ลักษณะของตัวพ่อแม่ว่าเลี้ยงลูกแบบใด ซึ่งหากเราสามารถควบคุมทุกปัจจัยให้เอื้อต่อการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับลูกได้ก็เป็นเรื่องที่ดีและควรทำควบคู่กับการเลี้ยงลูก ซึ่งการปรับตัวเองนี้ไม่ได้ดีต่อลูกและครอบครัวเท่านั้นแต่ยังเป็นผลดีกับตัวเองในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนตัวเอง

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
  • สภาพอารมณ์ของตัวเองและคู่ เช่น ถ้าเป็นคนอารมณ์ร้อนก็ต้องหาวิธีควบคุมอารมณ์ตนเอง เตือนสติซึ่งกันและกัน
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เป็นอย่างไร การปฏิบัติต่อกันของพ่อแม่ด้วยความรักความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกัน จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น มั่นคง
  • ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก อย่าให้ประสบการณ์เหล่านั้นมาทำร้ายลูก แต่ใช้ประสบการณ์เหล่านั้น บวกกับความรัก ความเข้าใจที่คุณมีต่อลูกแล้วสร้างสรรค์เป็นวิธีการเลี้ยงดูลูกในแบบฉบับของตัวคุณเอง

ที่สำคัญ สังเกตหรือไม่ว่าทุกวันนี้พ่อแม่เลี้ยงลูกไปพร้อมกับสื่อ ทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโซเชียลมีเดีย โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ วิทยุ สร้างความคุ้นชินให้กับเด็กพ่อแม่ไม่สามารถไปกำหนดหรือกะเกณฑ์สื่อได้มากนัก จึงยากในการเลี้ยงลูกเพราะทุกวันนี้สภาพแวดล้อมทุกคนวนเวียนไปด้วยข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ การที่ได้เห็นภาพ ได้ยินเสียงการต่อสู้ ยิง เตะ ต่อย อยู่ทุกวันๆ จะเกิดเป็นความเคยชิน วันนี้อาจเลียนแบบเพื่อความสนุกสนาน แต่วันหนึ่งข้างหน้าวิธีการต่อสู้ การเข้าปะทะซึ่งเขาเห็นเป็นเรื่องธรรมดา

 

บทความที่น่าสนใจ :

ตีลูก หรือ ไม่ตี? การลงโทษมากกว่าการฝึกระเบียบวินัย

ประโยชน์ของการกอดและหอมลูก ที่คุณอาจยังไม่รู้

Time out ลงโทษแบบสงบแต่สยบลูกน้อยอย่างได้ผล

ที่มา: 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • เลี้ยงลูกอย่างไรให้ห่างความรุนแรง เลี้ยงลูก อย่างไร? ไม่ให้ลูกตกเป็นเหยื่อ
แชร์ :
  • เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นอัจฉริยะ เก่ง ฉลาด นิสัยดี แบบง่ายๆ คุณทำได้

    เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นอัจฉริยะ เก่ง ฉลาด นิสัยดี แบบง่ายๆ คุณทำได้

  • เลี้ยงลูกให้เป็นCEO จากแม่ที่เลี้ยงลูกสามคนโตมา เป็นหมอและCEO

    เลี้ยงลูกให้เป็นCEO จากแม่ที่เลี้ยงลูกสามคนโตมา เป็นหมอและCEO

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นอัจฉริยะ เก่ง ฉลาด นิสัยดี แบบง่ายๆ คุณทำได้

    เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นอัจฉริยะ เก่ง ฉลาด นิสัยดี แบบง่ายๆ คุณทำได้

  • เลี้ยงลูกให้เป็นCEO จากแม่ที่เลี้ยงลูกสามคนโตมา เป็นหมอและCEO

    เลี้ยงลูกให้เป็นCEO จากแม่ที่เลี้ยงลูกสามคนโตมา เป็นหมอและCEO

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ