X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

3 วิธีชนะการแท้งลูก การแท้งบุตร อาการแท้ง คุกคาม แท้งค้างคืออะไร

บทความ 5 นาที
3 วิธีชนะการแท้งลูก การแท้งบุตร อาการแท้ง คุกคาม แท้งค้างคืออะไร

“แท้ง” คำนี้คงไม่มีแม่ตั้งครรภ์คนไหนพึงปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นภาวะแท้งคุกคาม แท้งซ้ำซาก หรืออะไรก็ตามที่ต้องสูญเสียลูกในท้องไป แต่หากมันเคยเกิดขึ้นแล้ว เมื่อตั้งครรภ์ครั้งนี้ต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีก มาดูวิธีการว่าจะทำอย่างไรป้องกันไม่ให้เกิดการแท้งอีก ติดตามอ่านค่ะ

เรื่องสุดเศร้า แม่ท้องปวดท้องเหมือนปวดประจำเดือน แต่กลับเกิดเหตุไม่คาดฝัน การแท้งบุตร พร้อมคำแนะนำ 3 วิธีชนะการแท้งลูก

 

3 วิธีชนะการแท้งลูก อาการแท้ง

ภาวะแท้งคุกคาม การแท้งบุตร

คุณแม่ได้เล่าเรื่องราวสุดเศร้าไว้ว่า #แท้งคุกคาม อยากแชร์ประสบการณ์ที่แม่ ๆ หลายคนมักถามเรื่องปวดท้องน้อยค่ะ คือเราเพิ่งรู้ตัวว่า ตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน ก็หยุดทำงานหนักก่อนหน้านั้นก็ทำงานปกติ พอรู้ว่าท้องก็ดูแลตัวเองอย่างดี

หลังจากที่เราหยุดทำงานได้ประมาณเกือบ 2 อาทิตย์ ก็มีอาการเจ็บท้องปวดท้องเหมือนจะเป็นประจำเดือน เดินนิด ๆ หน่อย ๆ ก็เจ็บ เราก็คิดว่าเราคิดไปเองเลยไม่ได้ไปหาหมอ (ท้อง2) แต่มันไม่หยุดแค่นั้นเราปวดท้องหนักมากจนทำงานไม่ไหว ไปหาหมอคลีนิกที่เราไปฝากท้องเค้าก็บอกปวดท้องปกติ แล้วให้ยาแก้ปวดมากิน กลับมาบ้าน เราก็กินยาแต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันเบาลงเลย คืนนั้นปวดท้องจนไข้ขึ้นสูงมาก ช่วงเช้าเลยไปที่รพ.

เราไปถึงก็แจ้งพยาบาลว่ามีอาการปวดท้อง พยาบาลก็ให้เราเก็บปัสสาวะตอนที่เช็ดทำความสะอาดมีเลือดออกนิดหน่อย พยาบาลให้รอหมอใหญ่ประมาณ 10:00 น. เราก็นอนรอ ประมาณ 09:00น. เริ่มรู้สึกเหมือนเป็นประจำเดือนเลยขอเข้าห้องน้ำ

แค่เราถอดกางเกงออกก็มีก้อนเลือดเยอะมากไหลออกมา พยาบาลก็ให้ใส่ผ้าอนามัย

พอหมอใหญ่มาเค้าก็อัลตราซาวด์ดูน้องก็ปกติหัวใจก็เต้น ตัวก็ยังขยับ เค้าก็ตรวจภายในให้เราแล้วบอกว่ามดลูกอับเสบติดเชื้อมีภาวะแท้งคุกคาม หมอฉีดยากันแท้งให้ยาฆ่าเชื้อ 8 กระปุก แอดมิท 2 คืน ห้ามลุกจากเตียงแม้แต่เข้าห้องน้ำ ให้ฉี่ อึบนเตียงลำบากมาก แต่ก็ยังมีเลือดไหลตลอด แต่เราก็ยังมีความหวังว่ายังไงลูกก็อยู่กับเรา

พอถึงวันที่จะออกจาก รพ. หมอพาไปอัลตราซาวด์อีกครั้ง คำตอบที่ได้คือ

อ้าว!!คุณแม่ น้องไม่อยู่แล้วค่ะ น้องหลุดไปแล้ว

ช็อคมาก!! สั่นไปหมดเลือดที่ออกมา ที่เรากดลงชักโครกมันคือลูกของเรา เรากดลูกทิ้งลงไปกับมือ ได้แต่โทษตัวเองตลอดเวลาว่าเป็นเพราะเราดูแลเค้าไม่ดี สงสารลูกมากค่ะ ได้แต่รอให้เค้ากลับมาใหม่ สัญญาจะดูแลให้ดีที่สุด

ฝากแม่ ๆ ที่ถามเรื่องปวดท้อง ถ้ามีอาการปวดเมื่อไรแนะนำรีบไปพบคุณหมอเลยค่ะ ถ้าไม่อยากเป็นแบบเรา นี่คือรูปแรกและรูปสุดท้ายที่ได้เห็นลูก ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ (หมอบอกถ้าไปช้ากว่านี้อาจจะตกเลือดและเสียชีวิตทั้งแม่ทั้งลูก)

 

3 วิธีชนะการแท้งลูก อาการแท้ง

3 วิธีชนะการแท้งลูก อาการแท้ง

 

ทางทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ ขอแสดงความเสียใจด้วยนะคะ และขอขอบคุณคุณแม่ที่มาแชร์ประสบการณ์ เป็นการเตือนใจคุณแม่ท่านอื่น ๆ ให้ระมัดระวัง นอกจากนี้ เรายังมีข้อมูลดี ๆ เพื่อให้คุณแม่ป้องกันไว้ก่อน โดยเฉพาะช่วงท้องอ่อน ๆ หรือคนท้องไตรมาสแรก ดังนี้

 

3 วิธีชนะการแท้งลูก

3 วิธีชนะการแท้งลูก อาการแท้ง

3 วิธีชนะการแท้งลูก อาการแท้ง

 

วิธีที่ 1  ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ เรียกว่าเป็นปราการด่านแรก  เพราะเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาในตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่จะตามมา  แม่ท้องที่มีการวางแผน กับไม่มีการวางแผนในการตั้งครรภ์   จะให้ผลออกมาต่างกันอย่างมาก การตรวจสุขภาพก่อนการท้องก็เพื่อที่จะให้เกิดความปลอดภัย และไม่มีผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่   อย่าลืมว่า ผู้หญิงที่มีโรคประจำตัวกับผู้หญิงที่แข็งแรงเมื่อตั้งครรภ์จะให้ผลต่างกัน เนื่องจาก

1. การท้องอาจจะทำให้โรคที่เป็นอยู่แย่ลง

2. โรคหรือยาที่เป็นอยู่อาจจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น ผู้ที่รับประทานยาแก้ปวดบางชนิดเป็นต้น จะมีผลต่อลูกในท้องหรือเสี่ยงต่อการแท้งได้

3. แม่ท้องที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานยาเป็นประจำควรจะแจ้งคุณหมอก่อนการตั้งครรภ์ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์

4. สำหรับแม่ท้องที่เคยแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด คุณหมอจะได้หาสาเหตุเพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปสมบูรณ์

 

สรุปเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์   มีดังนี้

1. เตรียมความพร้อมด้วยการตรวจสุขภาพทั้งคุณแม่และคุณพ่อ หากมีปัญหาสุขภาพให้ทำการรักษาหรือควบคุมโรคก่อนที่จะวางแผนตั้งครรภ์  เช่น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจะต้องควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อน  หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรพยายามลดความอ้วนด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหารตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

2. หากวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรรับประทานกรดโฟลิกล่วงหน้า 2-3 เดือน เพื่อป้องกันความผิดปกติหรือพิการในทารก เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ และกระดูกสันหลังแหว่งหรือเปิดในทารก

บทความแนะนำ  แม่ท้องขาดกรดโฟลิกทำให้ลูกเสี่ยงพิการและพัฒนาการล่าช้า

3. ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งประวัติส่วนตัว ประวัติโรคที่เป็นให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดเพื่อวางแผนการดูแลรักษา และมาพบแพทย์เป็นระยะตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

บทความแนะนำ  ท้องแล้ว ควรฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี?

4. หลีกเลี่ยงการเดินทางหรือกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดผลต่อครรภ์ได้

5. คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกาย โดยปรึกษาคุณหมอถึงการออกกำลังกายที่ไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ และหมั่นตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง

 

แท้ง, วิธีป้องกันการแท้ง อาการแท้ง

วิธีที่ 2 สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ในช่วงไตรมาสแรก (1 – 3 เดือน)

1. หลีกเลี่ยงการเดินทางไกลหรือสัมผัสคนที่เป็นโรค เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนหรืออุบัติเหตุที่รุนแรง รวมทั้งการได้รับเชื้อโรคจากแหล่งแพร่โรคต่างๆ

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

2. ห้ามซื้อยามาทานเองในระหว่างตั้งครรภ์ โดยขาดความรู้หรือไม่ได้ปรึกษาคุณหมอ

3. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วย

บทความแนะนำ  บุหรี่มหันตภัยร้ายต่อลูกในครรภ์

4. พยายามพักผ่อนและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอ งดดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลมทุกชนิด รวมถึงอาหารต้องห้ามยามตั้งครรภ์ต่าง ๆ เช่น ของหมักดอง อาหารที่มีรสเค็ม เป็นต้น

บทความแนะนำ  อาหารสำหรับคนท้อง: อะไรควรกินอะไรควรเลี่ยง?

5. ไม่ควรอุ้มเด็ก หรือยกของหนักขณะตั้งครรภ์ เพราะนอกจากเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์แล้ว ยังมีผลต่อกระดูกสันหลังของคุณแม่ด้วย

6. พยายามอย่าเครียด หรือหาวิธีคลายเครียดอย่างเหมาะสม อาจจะใช้การฟังเพลง, การนวดเพื่อผ่อนคลาย รวมถึงการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่าจมอยู่กับปัญหา อาจมีการระบายความเครียดด้วยการพูดคุยกับเพื่อนหรือสามีก็จะช่วยให้ระบายและลดความเครียด รวมถึงอาจจะช่วยกันแก้ไขปัญหาได้อีกด้วย

 

 แท้ง, วิธีป้องกันการแท้ง อาการแท้ง

วิธีที่ 3  ยากันแท้ง

ยากันแท้ง  คือ   ยาฮอร์โมนพวกโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ หรือยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งมีทั้งชนิดฉีดและเป็นเม็ดใช้กิน ยานี้จะมีประโยชน์เฉพาะสำหรับผู้ที่ขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเท่านั้น  ยากันแท้งจะช่วยให้ผนังมดลูกคุณแม่หนาขึ้น ช่วยไม่ให้ผนังมดลูกหลุดง่ายเกินไป ที่สำคัญยากันแท้งจะต้องให้เพื่อป้องกันก่อนจะแท้ง คือ ก่อนที่จะมีเลือดออก โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติการแท้งมาก่อน ถ้าเริ่มให้เมื่อเลือดออกแล้วก็อาจจะได้ผลไม่เต็มที่นัก

ยากันแท้ง ใช้สำหรับใครบ้าง

1. คุณแม่ที่เคยแท้งมาก่อน คุณแม่กลุ่มนี้อาจยังไม่มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์แต่เคยมีประวัติแท้งมาก่อนคุณหมออาจพิจารณาให้ใช้ยากันแท้งค่ะ

บทความแนะนำ  5 ความกังวลของคนเคยแท้ง

2. คุณแม่ที่มีภาวะแท้งคุกคาม คือ ตั้งครรภ์ไปได้ระยะหนึ่ง  แล้วมีเลือดออกทางช่องคลอด เมื่อคุณหมอพิจารณาแล้วว่าคุณแม่อาจจะมีภาวะแท้งคุกคาม ก็จะฉีดยากันแท้งให้ ซึ่งคุณแม่บางคนใช้แล้วก็ป้องกันได้ ในขณะที่คุณแม่บางคนใช้แล้วไม่มีผลอะไรเลยค่ะ เพียงแต่เป็นวิธีการป้องกัน 

บทความแนะนำ  ภาวะแท้งคุกคามมีสาเหตุจากอะไร

ข้อควรระวังเมื่อได้รับยากันแท้ง

1. เมื่อคุณแม่ได้รับยานี้แล้ว คุณแม่ต้องนอนพักเฉย ๆ ห้ามทำงานเด็ดขาด ลุกเข้าห้องน้ำ หรือ ลุกทานข้าวได้ตามปกติ

2. ยากันแท้งนั้นคุณแม่ไม่ควรหาซื้อมาใช้เอง ควรจะปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ก่อนว่าร่างกายของเรามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้องใช้ยากันแท้ง ซึ่งตามปกติแล้วการจะใช้ยากันแท้งนั้นจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอที่ฝากครรภ์เท่านั้นนะคะ

แชร์ประสบการณ์ :

คุณแม่ท่านหนึ่งได้แชร์ประสบการณ์ไว้ว่า ขออนุญาตบอกเล่าเรื่องราว  เพราะตนเองก็เคยฉีดยากันแท้งมาแล้วค่ะ ตอนท้องลูกคนแรก  มีเลือดออกในช่วงไตรมาสแรก คุณหมอเกรงว่าจะแท้ง  จึงฉีดยากันแท้งไว้ หลังจากฉีดยาแล้ว ห้ามทำอะไรเลย ต้องนอนนิ่ง ๆ เป็นอาทิตย์เลยค่ะ ห้ามขึ้น-ลงบันได ห้ามเดินทางไปไหนมาไหน ลุกเข้าห้องน้ำได้เท่านั้น แต่ทุกอย่างก็ผ่านพ้นด้วยดีนะคะ ตอนนี้ลูกสาว 2 คนแล้วค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกคนนะคะ

 

สารพัดแท้งที่ควรรู้

แท้ง, วิธีป้องกันการแท้ง อาการแท้ง

การแท้งบุตร หมายถึง การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนที่ทารกที่คลอดออกมาจะมีชีวิตรอด  การแท้งแบ่งออกเป็น

1. แท้งคุกคาม (Threatened abortion) แม่ท้องจะมีอาการปวดท้องน้อย  มีเลือดออกทางช่องคลอดกระปริดกระปรอย เลือดออกไม่มาก แท้งกรณีนี้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกมีโอกาส 50% แต่ก็มีโอกาสแท้งประมาณ 50% เช่นกัน

2. แท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitable abortion) จะมีอาากรปวดท้องน้อยมากขึ้น มีเลือดออกทางช่องคลอดมากขึ้น บางครั้งมีการแตกของถุงน้ำคร่ำร่วมด้วยปากมดลูกเปิดแล้ว ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ ต้องสิ้นสุดด้วยการแท้ง

3. แท้งไม่ครบ (Incomplete abortion) เป็นการแท้งเพียงบางส่วนของทารกหรือของรกอีกส่วนหนึ่งยังเหลือค้างในโพรงมดลูก ทำให้แม่ตั้งครรภ์อาการปวดท้องน้อยมากและมีเลือดออกทางช่องคลอดมาก

4. แท้งครบ (Complete abortion) เป็นการแท้งทารกและรกออกมาทั้งหมด แม่ท้องจะมีอาการปวดท้องน้อย มีเลือดออก มีชิ้นเนื้อหลุดออกมาแล้วเลือดออกลดลงอาการปวดท้องหายไป

5. แท้งค้าง (Missed abortion) หมายถึง ทารกในครรภ์เสียชีวิตมานานกว่า 8 สัปดาห์ในครรภ์แม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกถึงอาการแบบคนท้องปกติ  คือ มดลูกมีขนาดโตขึ้น แล้วต่อมาอาการต่าง ๆ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียนหายไป และมดลูกมีขนาดเล็กลง เพราะทารกไม่มีการเจริญเติบโตนั่นเอง

6. แท้งเป็นอาจิณ (Habitual abortion) หมายถึงการแท้งติดต่อกันตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป สาเหตุเกิดจากปากมดลูกปิดไม่สนิท (Cervical incompetence) หรือ การขาดฮอร์โมนเพศหรือมีความผิดปกติของโครโมโซม

7. แท้งติดเชื้อ(Septic abortion) หมายถึง มีการแท้งร่วมกับมีการอักเสบติดเชื้อทำให้มีไข้ ปวดท้อง เลือดออกทางช่องคลอด

บทความแนะนำ  อาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะตั้งครรภ์บอกอะไร?

เรื่องการแท้ง  คงไม่มีใครชอบหรืออยากได้ยินเพราะมันกระทบกระเทือนจิตใจคุณแม่  ดังนั้น  การดูแลตนเองตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติ รวมถึงการไปพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง  เพื่อตรวจร่างกายของคุณแม่รวมถึงตรวจดูทารก  ทั้งจากการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ  การตรวจอัลตราซาวนด์  เพื่อป้องกันการแท้งและความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

ร่วมแชร์ประสบการณ์บอกเล่าเรื่องราวการตั้งครรภ์และการดูแลครรภ์จนถึงคลอด เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเป็นประโยชน์แก่ครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ

 

ที่มา

haamor

2

3

bumrungrad

Jasminepregnancypillow

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ตกเลือดคือการทำแท้งหรือไม่

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่ต้องเจอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 9

5 ความกังวลของคนเคยแท้ง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 3 วิธีชนะการแท้งลูก การแท้งบุตร อาการแท้ง คุกคาม แท้งค้างคืออะไร
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว