X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้น

บทความ 5 นาที
ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้น

หากคู่แต่งงานคิดวางแผนที่จะมีเจ้าตัวน้อย สิ่งสำคัญที่ควรทำ คือ การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งการตรวจสุขภาพเช่นนี้ไม่ได้มีดีแค่เฉพาะตรวจหาโรคร้าย หรือตรวจความแข็งแรงของร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นการตรวจหาโรคทางพันธุกรรมที่แอบแฝงอยู่ โรคทางพันธุกรรมคืออะไร และการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์มีการตรวจอะไรบ้าง ติดตามอ่าน

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันนะคะ เตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพต้องเตรียมตัวอย่างไร หลายคนอาจสงสัยในข้อนี้ และจะได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปรับการตรวจสุขภาพค่ะ

 

โรคทางพันธุกรรมคืออะไร

พญ.วีณา ครุฑสวัสดิ์ ผู้อำนวยการแพทย์และสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ การเจริญพันธุ์การมีบุตรยาก กล่าวว่า โรคทางพันธุกรรม คือ โรคที่มีความผิดปกติขององค์ประกอบของยีนหรือโครโมโซม เป็นโรคที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้   ทำได้แต่เพียงบรรเทาอาการไม่ให้เกิดขึ้นมากเท่านั้น  โรคทางพันธุกรรมเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากฝั่งพ่อหรือแม่พบได้ 3-5% ของประชากรทั่วไป โดยโรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อยและมักทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจอยู่เสมอ คือ โรคธาลัสซีเมีย และโรคดาวน์ซินโดรม

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์2

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ควรกระทำ  ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ไว้วางใจในคู่ครองของเรานะคะ  แต่การตรวจหาเชื้อโรคที่เป็นพาหะต่าง ๆ อาจแอบแฝงอยู่ในร่างกาย  แม้คุณและคู่สมรสจะไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงก็ตาม  การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานนั้น  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการติดโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากคู่สมรส  และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ลูก ซึ่งมีพ่อแม่บางคนอาจจะเป็นพาหะนำโรคโดยที่ไม่รู้ตัว

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์2

การเตรียมตัวก่อนการตรวจสุขภาพ ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

1. ก่อนเข้ารับการตรวจ ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย นอน 6-8 ชั่วโมง เนื่องจากการนอนไม่พออาจส่งผลต่อความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจ

2. งดการสูบบุหรี่ก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตสูง

3. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลต่อการตรวจ

4. หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพ ควรนำเอกสารติดตัวมาด้วย เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์

5. งดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ ทั้งนี้ สามารถจิบน้ำเปล่าได้

6. ยาประจำตัว สามารถทานก่อนตรวจสุขภาพได้ แต่ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ

7. สุขภาพเรียบร้อยแล้วสามารถทานอาหารได้ทันทีและไม่ทำให้ร่างกายอิดโรย

8. หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจเลือกสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายและสะดวกต่อการเจาะเลือด

9. โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้หญิง เช่น การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ แนะนำให้เว้นช่วงตรวจก่อนและหลังมีประจำเดือนประมาณ 7 วัน

10. หากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ

11. สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจหาความเสี่ยงเฉพาะโรค ควรปรึกษาศูนย์ตรวจสุขภาพก่อน เพื่อรับทราบเงื่อนไขการเตรียมตัวอย่างครบถ้วนก่อนเข้ารับการตรวจ

12. หากโปรแกรมสุขภาพมีการตรวจปัสสาวะ ควรปัสสาวะทิ้งเล็กน้อยก่อน แล้วจึงเก็บปัสสาวะตรงช่วงกลางตามปริมาณที่กำหนด

อ้างอิงจาก : 1

 

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์  มีขั้นตอนดังนี้

1. ซักประวัติ จะเป็นการสอบถามทั่วไป หรือสอบถามถึงปัญหาในปัจจุบัน สิ่งที่หมอจะซักถาม ได้แก่  ประวัติการคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิด ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อน ๆ  ประวัติการตรวจมะเร็งปากมดลูก ความผิดปกติเกี่ยวกับรอบประจำเดือน ประจำเดือนมาสม่ำเสมอหรือไม่  เป็นต้น

2. การตรวจร่างกายทั่วไปจะเป็นการตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายทั้งคู่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง   โดยคุณหมอจะตรวจดูว่ามีโรคบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์หรือไม่  เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ฯลฯ  การตรวจเช่นนี้จะตรวจทั่วไป คือ

- การวัดส่วนสูง

- ชั่งน้ำหนัก

- วัดความดันโลหิต

- ตรวจระบบหายใจ

- ตรวจระบบหัวใจ

- ตรวจเต้านม

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

- ตรวจหน้าท้อง

- ตรวจภายใน (กรณีมีความหากจำเป็น)

- ตรวจมะเร็งปากมดลูก

หากตรวจว่าพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด   ทั้งแพทย์เฉพาะทางและสูตินรีแพทย์ ซึ่งจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าสมควรให้มีการตั้งครรภ์ได้หรือไม่

บทความประกอบ:เกร็ดความรู้สุขภาพ สำหรับทุกวัย ห่างไกลโรค มีสุขภาพที่ดี และอายุยืนยาว

 

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์2

3. ตรวจกรุ๊ปเลือด ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

-  ให้ทราบว่าแต่ละคนมีเลือดกรุ๊ปใด เพื่อสะดวกในกรณีที่ต้องการเลือดฉุกเฉิน

-  ตรวจความเข้ากันของเลือด Hemoglobin Tying เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงว่ามีความผิดปกติของ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) หรือไม่ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรมและเป็นโรคหนึ่งที่เป็นกันมาก ซึ่งหากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคนี้ก็จะส่งผลกระทบเรื่องสุขภาพถึงลูก

-  ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ซึ่งเป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากพบว่ามีเชื้อแสดงว่าคุณเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์และสายเลือด ถ้าหากไม่มีการป้องกันให้ดีอาจทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อได้

-  ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน หากไม่มีภูมิคุ้มกันควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดไว้อย่างน้อยสามเดือน เพราะหากติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการหรือแท้งได้

-  ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ หากพบเชื้อจะได้ป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย  และคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการติดต่อไปสู่ลูก

 

4. การตรวจภายใน  เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการเตรียมตัวเป็นคุณแม่โดยจะเป็นการตรวจเพื่อดูว่ามดลูกและรังไข่ปกติดีหรือไม่ รวมทั้งตรวจช่องคลอด   เพราะมีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์และการคลอด เช่น อาจมีการอักเสบ มีเนื้องอกของมดลูกหรือรังไข่ มีพังผืดหรือมีถุงน้ำในรังไข่ เป็นต้น

 

5. การตรวจพิเศษอื่นๆ  กรณีนี้ถือเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจาก หากคุณหมอตรวจพบความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย จำเป็นต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่ม เช่น  ตรวจอัลตร้าซาวด์  หรือการตรวจส่องกล้อง  เป็นต้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคุณหมอ

บทความประกอบ:แพ็คเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน 2564

 

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์1

ราคาแพ็คเกจตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์โรงพยาบาลในกรุงเทพ

โรงพยาบาล

ชาย

หญิง

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

6,300

6,800

โรงพยาบาลพญาไท

3,000

3,500

โรงพยาบาลไทยนครินทร์

2,200

2,700

โรงพยาบาลนนทเวช

3,000

3,500

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน

3,200

3,500

โรงพยาบาลพระราม 9

3,000

3,500

โรงพยาบาลสินแพทย์

2,400

2,700

โรงพยาบาลศิครินทร์

2,000

2,300

โรงพยาบาลลาดพร้าว

2,200

2,500

โรงพยาบาลธนบุรี 2

4,092

4,477

โรงพยาบาลสุขุมวิท

2,880

3,280

โรงพยาบาลเทพธารินทร์

2,910

3,610

โรงพยาบาลเจ้าพระยา

2,600

3,100

โรงพยาบาลวิภาราม

2,500

2,800

โรงพยาบาลนครธน

3,000

3,500

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์

2,600

2,990

บทความประกอบ: ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานใช้เงินเท่าไหร่ ?

 

การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานและก่อนตั้งครรภ์  เพื่อเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพของว่าที่คุณพ่อคุณแม่  และยังทำให้ทราบว่าคุณมีโรคทางพันธุกรรมหรือไม่  เพื่อจะได้ไม่ส่งต่อไปยังลูกต่อไป คุณหมอคือผู้ที่จะให้คำแนะนำได้ดีที่สุด  กันไว้ดีกว่าแก้นะคะ

ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์3

 

อ้างอิงข้อมูลจาก :

https://health.sanook.com

https://frynn.com

https://wedding.kapook.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

NIFTY TEST ช่วยหาอาการดาวน์ซินโดรมตั้งแต่ในท้องแม่

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ที่ควรรู้ก่อนตั้งครรภ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เลี่ยงโรคทางพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้น
แชร์ :
  • เช็กด่วน!! อาการคนท้อง 1-2 สัปดาห์ ก่อนตรวจตั้งครรภ์ เป็นยังไงมาดูกัน!

    เช็กด่วน!! อาการคนท้อง 1-2 สัปดาห์ ก่อนตรวจตั้งครรภ์ เป็นยังไงมาดูกัน!

  • 7 โรคทางพันธุกรรม ที่ลูกอาจติดจากพ่อแม่ มีอะไรบ้าง จะรับมืออย่างไร

    7 โรคทางพันธุกรรม ที่ลูกอาจติดจากพ่อแม่ มีอะไรบ้าง จะรับมืออย่างไร

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • เช็กด่วน!! อาการคนท้อง 1-2 สัปดาห์ ก่อนตรวจตั้งครรภ์ เป็นยังไงมาดูกัน!

    เช็กด่วน!! อาการคนท้อง 1-2 สัปดาห์ ก่อนตรวจตั้งครรภ์ เป็นยังไงมาดูกัน!

  • 7 โรคทางพันธุกรรม ที่ลูกอาจติดจากพ่อแม่ มีอะไรบ้าง จะรับมืออย่างไร

    7 โรคทางพันธุกรรม ที่ลูกอาจติดจากพ่อแม่ มีอะไรบ้าง จะรับมืออย่างไร

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ