อัลตราซาวด์4มิติ บอกอะไรได้บ้าง ควรทำช่วงไหน ปลอดภัยหรือเปล่า
อัลตราซาวด์4มิติ เป็นการเก็บภาพแล้วมาเรียงต่อกันเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เสมือนจริงโดยใช้คลื่นเสียง โดยภาพที่ได้นั้นจะเหมือนกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือที่เรียกว่า Real time
เครื่องอัลตราซาวด์4มิตินั้น จะเก็บสะสมปริมาตรของเสียงที่สะท้อนที่ออกมาหากหัวตรวจ และแสดงภาพออกมาเป็นภาพที่มีความเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น
ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์4มิติ นี้ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการหาว หรือรอยยิ้ม ได้อย่างชัดเจน
อัลตราซาวด์ 4 มิติ
อัลตราซาวด์4มิติ มีหลักการทำงานอย่างไร?
- คุณหมอจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าทรานสดิวเซอร์ (transducer) ตรวจบริเวณท้องของคุณแม่
- อุปกรณ์ชนิดนี้จะส่งคลื่นเสียงในบริเวณท้องผ่านไปยังบริเวณมดลูก
- คลื่นเสียงจะส่งผ่านทารกในครรภ์ แล้วสะท้อนกลับมายังหัวตรวจ
- เครื่องตรวจจะทำการเก็บข้อมูลที่ได้จากคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมา แล้วส่งผลต่อไปที่หน้าจอ
- คุณแม่สะสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของลูกในท้องได้ ผ่านทางหน้าจอของเครื่องอัลตราซาวด์ 4 มิติ ได้อย่างชัดเจน
อัลตราซาวด์4มิติ ควรทำในช่วงไหน?
อัล ตราซาวด์4มิติ
การทำอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศของลูกนั้น สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 19 – 24 ของการตั้งครรภ์ แต่สำหรับการทำอัลตราซาวด์4มิตินั้น บ้างก็ว่าควรทำในระหว่างที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 27 – 32 สัปดาห์ ในขณะที่บางท่านก็แนะนำว่าควรทำเมื่อมีอายุครรภ์ระหว่าง 26 – 30 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม การตรวจด้วยอัลตราซาวด์4มิติ ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยจะช่วยให้สามารถมองเห็นภาพทารกได้ทั่วร่างกายและหากอายุครรภ์มากขึ้น ก็จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของลูกได้มากขึ้น แต่หากอายุครรภ์มากกว่า 35 สัปดาห์ขึ้นไปแล้วก็อาจจะเริ่มเห็นใบหน้าของลูกไม่ชัดนัก เนื่องจากทารกเริ่มกลับหัวและเข้าสู่ช่องเชิงกรานแล้ว
และหากคุณแม่ท่านใดที่ต้องการทำการตรวจด้วยอัลตราซาวด์4มิติ ก็ควรปรึกษาคุณหมอตั้งแต่เนิ่น ๆ นะครับ เพราะคุณหมอผู้ทำการตรวจจะเป็นผู้ให้คำตอบได้ดีที่สุด ว่าช่วงเวลาใดคือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
อัลตราซาวด์ 4 มิติ บอกอะไรได้บ้าง
อัลตราซา วด์4มิติ
- การเจริญเติบโต และพัฒนาการในครรภ์
- เพศของทารก
- ตำแหน่งทารก สายสะดือ และปริมาณน้ำคร่ำ
- โครงสร้างกะโหลกศรีษะและสมอง
- หัวใจ และการไหลเวียนเลือด
- กระดูกสันหลัง กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และไต
- แขน ขา มือ เท้า และนิ้ว
- ใบหน้า และอวัยวะต่าง ๆ บนใบหน้า
- อัตราการเจริญเติบโตของทารก ขนาดรอบศีรษะ ความยาวและน้ำหนัก
ข้อดีของการตรวจอัลตราซาวด์ 4 มิติ
อัลตราซ าวด์4มิติ
- คุณพ่อคุณแม่สามารถมองเห็นพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกในครรภ์ผ่านการตรวจอัลตราซาวด์แบบ 4 มิติได้อย่างชัดเจน เช่น สามารถมองเห็นว่าลูกกำลังหาว ดูดนิ้ว หรือยิ้ม
- ได้เห็นอวัยวะภายนอกของทารกในครรภ์ได้ชัดเจนกว่าการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ เช่น ใบหน้า แขน ขา นิ้วมือที่ดูเป็นมีความลึกและเป็นมิติมากขึ้น
- ทำให้ระยะเวลาในการไปตรวจครรภ์ของคุณแม่สั้นลง เพราะสามารถดูความสมบูรณ์ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้จากภาพที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์
- สร้างความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูกที่เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์และเฝ้ารอจนลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลก
อัลตราซาวด์ 4 มิติ
อัลตราซาวด์ 4 มิติ ปลอดภัยหรือไม่
จากการศึกษาวิจัยของสถาบันหลายแห่งพบว่า การทำอัลตราซาวด์4มิติ นั้นค่อนข้างที่จะมีความปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกในท้อง นอกจากนั้น การทำอัลตราซาวด์ 4 มิติ ยังสามารถช่วยให้คุณหมอตรวจสอบความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่อาจเกิดจะขึ้นตั้งแต่อยู่ในท้องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การได้รับคลื่นเสียง หรือรังสีต่าง ๆ ทั้งจากการตรวจอัลตราซาวด์ หรือจากการตรวจแบบอื่น ๆ หากได้รับในปริมาณที่มากหรือบ่อยเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อลูกในท้องได้เหมือนกัน ทางที่ดีคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้ตรวจถึงความเสี่ยงและความปลอดภัยก่อนทุกครั้งจะดีที่สุด
การอัลตร้าซาวด์มีประโยนช์อย่างไร
อ่านผลอัลตร้าซาวด์ง่ายๆ ประโยชน์ของการอัลตร้าซาวด์นอกจากจะช่วยตรวจดูความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ “ดูเพศของลูก”แล้วยังช่วยสร้างสัมพันธ์ทางสายตาระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ด้วยนอกจากนี้ยังช่วยกำหนดอายุครรภ์ที่แน่นนอน ระบุตำแหน่งของทารก หาสาเหตุของภาวะเลือดออกขณะตั้งครรภ์ “ดูพัฒนาการของทารกในครรภ์” ประเมินความผิดปรกติต่างๆ ของมดลูก รังไข่ ตรวจหาความผิดปรกติของกะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง โครงกระดูก แขนขา ทรวงอก ดูอวัยวะภายในและจำนวนนิ้วมือ นิ้วเท้าของทารก ไปจนถึงตรวจคัดกรองทารกในกลุ่มอาการดาวน์
วิธีอ่านผลอัลตร้าซาวด์
หากเป็นคุณหมอมืออาชีพหรือเป็นคุณแม่ที่เคยตั้งท้องมาแล้วก็คงไม่มีปัญหากับการอ่านผลอัลตร้าซาวด์ที่มีตัวย่อมากมายเต็มไปหมดแต่กับคุณแม่มือใหม่ “วิธีอ่านผลอัลตร้าซาวด์” ทำได้ดังนี้
- CRL = การวัดความยาวของทารก
- BDP = การวัดความกว้างของศีรษะ
- HC = การวัดเส้นรอบวงศีรษะ
- AC = การวัดเส้นรอบท้อง
- FL = การวัดความยาวกระดูกต้นขา
- AFI = การวัดน้ำคร่ำ
- EFW = การประเมินน้ำหนักทารก ซึ่งได้จากการคำนวนจาก 2 สูตรที่นิยมคือ สูตร Shepard (EFW/Shepard) หรือสูตร Haddlock (EFW/HAD)
- FHR (บางที่ใช้ Fetal Cardiac Pulsation) =อัตราการเต้นของหัวใจทารก
- Placental Site = ตำแหน่งรกที่เกาะมดลูก
- Placental Grading = ลักษณะเนื้อรกซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามอายุครรภ์
ที่มา momjunction
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทารกในครรภ์โตช้า อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง
คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง ห้ามดื่มอะไรบ้าง อะไรคือของแสลงที่คนท้องต้องระวัง
ผลไม้บำรุงครรภ์ ตลอด 9 เดือนที่อุ้มท้อง ต้องกินผลไม้อะไรบ้าง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!