จริงหรือ ถ้า คนอ้วนท้อง ลูกก็อ้วนด้วย !
ความอ้วนเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินชีวิต และปัจจุบันกลายเป็นโรคที่ต้องเข้ารับการรักษา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอย่างมากมาย และที่น่าเป็นห่วงก็คือ เมื่อ คนอ้วนท้อง มักจะมีปัญหาในเรื่องสุขภาพและความเสี่ยงที่จะเกิดกับลูกน้อยมีสูงทีเดียว
คำตอบ คือ เป็นเรื่องจริงค่ะ จากการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (JAMA) นำโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษา พบว่า
1. คนท้องอ้วน จะมีปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง และจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของทารกในครรภ์ตามไปด้วย ที่สำคัญจะทำให้ทารกที่อยู่ในครรภ์จะมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ
2. ขนาดของทารกในครรภ์มีผลต่อการคลอด คือ ขณะคลอดแม่อาจจะรู้สึกเจ็บอย่างทรมานและยาวนาน ถ้าคลอดผ่านทางช่องคลอดอาจเป็นอันตรายได้ทั้งแม่และลูก
3. ทารกตัวใหญ่มักคลอดยาก บางครั้งหัวคลอดออกมาแล้วแต่ไหล่ไม่ยอมออก เมื่อพยายามดึงอาจทำให้กระดูกไหปลาร้าหักได้ และช่องคลอดของแม่อาจจะฉีกขาดมากกว่าปกติด้วย
4. ทารกตัวใหญ่ทำให้มดลูกคุณแม่ยืดขยายมาก ดังนั้น ภายหลังคลอดมดลูกจะหดรัดตัวได้ไม่ดี ทำให้ตกเลือดหลังคลอดได้
5. การตกเลือดหลังคลอดอาจมีผลทำให้คุณแม่บางรายอาจจะต้องตัดมดลูกทิ้ง เพราะเลือดออกไม่หยุด ทำให้มีเลือดคั่งค้างในมดลูกมาก
เรื่องน่ารู้ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวที่เหมาะสมในช่วงตั้งครรภ์
1. ช่วงเดือนที่ 1-3 น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก เพราะคุณแม่บางคนมีอาการแพ้ท้องจนกินไม่ได้ก็มี น้ำหนักในช่วงนี้มักจะเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัม
2. ช่วงเดือนที่ 4-6 น้ำหนักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ประมาณสัปดาห์ละ 0.25 กิโลกรัม หรือเดือนละ 1-1.5 กิโลกรัม
3. ช่วงเดือนที่ 7-9 ช่วงนี้รูปร่างของคุณแม่จะมีเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม หรือประมาณเดือนละ 2-2.5 กิโลกรัม
วิธีการรักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์
1. เพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปอย่างมีความสุข สิ่งที่คุณแม่คนใหม่จำเป็นต้องปฏิบัติก็คือ การดูแลเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกต้องครบ 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่
2. แม่ท้องควรรับประทานโปรตีนเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ในส่วนของแร่ธาตุต่างๆ ก็จำเป็นไม่แพ้กัน เช่น ธาตุเหล็กที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
ข้อควรระวัง ไม่ควรรับประทานธาตุเหล็กร่วมกับแคลเซียม เนื่องจากแคลเซียมจะไปขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็กในระบบทางเดินอาหาร
3. ในช่วง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หากมีการคลื่นไส้อาเจียนก็ไม่จำเป็นต้องให้ธาตุเหล็กเสริมก็ได้ เนื่องจากจะทำให้อาการคลื่นไส้อาเจียนเพิ่มมากขึ้น
4. แม่ท้องควรรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นอื่น ๆ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ไอโอดีน แมกนีเซียม โซเดียม กรดโฟลิก
5. ส่วนอาหารที่ควรงดได้แก่ อาหารหมักดอง อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
จะเห็นว่า การรักษาน้ำหนักให้ได้ระดับที่มาตรฐานจะส่งผลต่อต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์ได้ ส่วนคุณแม่ท่านใดที่คลอดเจ้าตัวน้อยแล้ว มาบอกเล่าแบ่งปันประสบการณ์กันได้นะคะ
คนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน หรือที่เรียกว่า คนอ้วน ในปัจจุบัน เราถือว่าเป็นอาการของโรคชนิดหนึ่ง คือ “โรคอ้วน” แต่ระดับความร้ายแรงหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพมากน้อยขนาดไหน อยู่ที่ความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย โดยรวม แต่อย่างไรก็ดี มันเป็นอาการที่เพิ่มความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ให้เกิดมีมากกว่าคนที่มีน้ำหนักและรูปร่างอยู่ในเกณฑ์ปกติหลายเท่า ดังนั้นหากคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็ฯคนที่มีน้ำหนักมาก จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลและเฝ้าระวัง ตั้งแต่ มี อาการท้องเริ่มแรก กันเลยทีเดียว
สิ่งที่ต้องระวังในการตั้งครรภ์ของคนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก เราอาจจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้ อาจจะต้องพึ่งพาโฟเลตสูงสักหน่อย เนื่องจากมีการพบว่า คนอ้วนที่ท้องมักมีปัญหาทารกมีอาการพิการแต่กำเนิด ซึ่งสาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่สันนิษฐานว่า เกิดจากปริมาณสารอาหารไปเลี้ยงตัวอ่อนไม่เพียงพอ หรือมีปริมาณของไขมันและน้ำตาลเข้าไปมากเกิน ทำให้เกิดความผิดปกติในการพัฒนาอวัยวะ
ช่วงการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่คุณแม่อาจจะต้องเข้ารัยการตรวจร่างกายและเจาะเลือดบ่อยขึ้นกว่าคนปกติ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเบาหวาน และความดันขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการครรภ์เป็นพิษ ซึ่งมีความร้ายแรงมากถึงสูญเสียการตั้งครรภ์ หรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว จึงต้องตรวจบ่อยๆ เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ช่วงการคลอด ช่วงนี้ปัญหาที่พบมักได้แก่ปัญหาในการคลอดที่ยากลำบาก เนื่องจาก คุณแม่ที่อ้วน มักให้กำเนิดทารกที่มีขนาดร่างกายใหญ่กว่าปกติ ทำให้การทำคลอดตามธรรมชาติยาก แต่ในการผ่าตัดเพื่อทำคลอดก็สามารถช่วยได้ แต่อย่างไรก็ดี เราจะพบว่า ทารกที่มีขนาดร่างกายใหญ่หรือมีน้ำหนักมาก มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นเบาหวานสูงกว่าเด็กทั่วไปหลายเท่าตัว
นี่คือ สิ่งที่เป็นความเสี่ยงและต้องเฝ้าระวัง เมื่อ คนอ้วนท้อง แต่… ไม่ใช่ทุกรายที่จะมีปัญหา เพียงแต่ว่า มักมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีขนาดน้ำหนักปกติ จึงควรเฝ้าระวัง
ที่มา : manager.co.th, sg.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คุมน้ำหนักตอนท้องอย่างไร ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์พอดี
คุณแม่ตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!