X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคกระเพาะ โรคสุดฮิตที่เราไม่ควรมองข้าม สาเหตุเกิดจากอะไร?

บทความ 5 นาที
โรคกระเพาะ โรคสุดฮิตที่เราไม่ควรมองข้าม สาเหตุเกิดจากอะไร?

โรคกระเพาะ เมื่อเรานึกถึงโรคกระเพาะหรือโรคกระเพาะอาหารแล้ว ความรู้สึกปวดแสบ จุก เสียด และแน่นตรงบริเวณหน้าอกทั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังรับประทานอาหาร คนทั่วไปมักจะสรุปอาการกันเอาเองว่า เมื่อมีอาการปวดแสบหรือจุกแน่นบริเวณท้องหรือหน้าอก ก็จะตีความกันไปเลยว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบอย่างแน่นอน แต่อย่างไรแล้วเราไปดูกันดีกว่าว่า โรค กระเพาะ มีสาเหตุมาจากอะไร และจะรักษาอาการเบื้องต้นได้อย่าง?

 

บทความนี้ได้รับการตรวจสอบโดย นพ. วรณัฐ ปกรณ์รัตน์ (แพทย์จาก Good Doctor Technology แอปพลิเคชัน) | ตุลาคม 2565

 

โรค กระเพาะ

สาเหตุของโรคกระเพาะ (Gastritis) คืออะไร?

สาเหตุหลักของโรคกระเพาะ มาจากการเสียความสมดุลของกรดที่หลั่งออกมา จึงทำให้ไปทำลายเยื่อบุของกระเพาะอาหาร ซึ่งเยื่อบุของกระเพาะอาหารมีความต้านทานของกรดไม่ดีพอ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการเกิดโรคกระเพาะอาหารบ่อยที่สุดคือ การใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปเช่น ความเครียด ความกังวล ที่อาจจะพบได้บ่อยมากในสังคมกลุ่มคนทำงาน รวมไปถึงการรับประทานอาหารไม่ดี และละเลยการสนใจสุขภาพของตนเอง เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารที่มีรสจัดจนเกินไป การอดอาหาร การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการที่รับประทานยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบเป็นประจำ และอีกหนึ่งสาเหตุของโรคที่สำคัญคือ การติดเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เอชไพโลไร มีการถ่ายทอดมาจากคนสู่คน จากการรับประทานอาหารเชื้อจะเข้าสู่กระเพาะอาหารและเลื่อนเข้าสู่เซลล์เยื่อบุอาหาร ซึ่งเชื้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อีกด้วย

 

อาการ โรคกระเพาะ

อาการของโรคกระเพาะจะมีอาการปวดท้องเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังมากในบริเวณใต้ลิ้นปี่ เวลาที่ปวดมักจะมีความสัมพันธ์กับมื้ออาหาร เช่น ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร จะมีอาการที่ปวดแสบ จุกแน่น และจะมีอาการคลื่นไส้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กรณีที่เป็นแผลบริเวณลำไส้ส่วนต้นมักจะมีอาการปวดท้องหลังการรับประทานอาหาร 1-3 ชั่วโมง หรือขณะที่ท้องของเรากำลังว่าง จะปวดมากในช่วงเวลา บ่าย เย็น และตอนดึก อาการของเราจะดีขึ้นทันทีหลังจากได้รับประทานอาหาร ดื่มนม และรับประทานยาลดกรด

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคโครห์น กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

 

วิธีแก้ปวดท้องโรคกระเพาะอาหารเบื้องต้น

การรับประทานยา และการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตในเบื้องต้น ได้แก่

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
  • รับประทานอาหารอ่อน ที่สามารถย่อยได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด หรืออาหารจำพวกหมักดอง
  • หลีกเลี่ยงความเครียด ความกังวล ความกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช้สเตอรอยด์ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งที่ใช้ยา
  • รับประทานยาโรคกระเพาะตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง

 

การรักษาโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะ สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะจากการติดเชื้อ จะต้องทำการรักษาด้วยยาฏิชีวนะ เช่น  ยาคลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) ยาอะมอซิซิลลิน (Amoxicillin) ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เป็นต้น แต่หากผู้ป่วยมีสาเหตุของโรคมาจากสาเหตุอื่น ๆ แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ เพื่อประคองอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้น

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ จากการรับประทานยาบรรเทาปวด แพทย์จะแนะนำให้หยุดการรับประทานยานั้น และปรับเปลี่ยนตัวยาในกลุ่มเดียวกันแทน รวมไปถึงการหยุดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้อาการแย่ลง

 

ฝันว่ากินข้าวอร่อยมาก

โรคกระเพาะ อาหารที่ไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง?

ร่างกายของผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารอาจจะตอบสนองต่ออาหารในแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ผู้ป่วยในแต่ละรายควรที่จะสังเกตอาการของตนเองขณะรับประทานอาหารแต่ละชนิด และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้อาการป่วยนั้นแย่ลง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับอาหารประเภทที่มีรสจัด หรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด และอาหารที่มีไขมันสูง เช่น

  • อาหารทอด
  • ช็อกโกแลต นมช็อกโกแลต และโกโก้ร้อน
  • ชาเขียว ชาดำ หรือกาแฟ
  • เครื่องดื่มอัดแก๊ส เช่น น้ำอัดลม โซดา
  • น้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำส้มหรือน้ำเกรปฟลุต
  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หรือเบคอน
  • นมสด หรืออาหารที่ทำมาจากนมสดหรือครีม
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • พริกหรือพริกไทย เช่น พริกป่น พริกไทยป่น หรือซอสพริก

บทความที่เกี่ยวข้อง : 20 อาหารเสริมโอเมก้าสูง ต้องกินอะไร ดีต่อสุขภาพอย่างไร

 

เป็นโรคกระเพาะควรกินอาหารแบบไหน?

ในอาหารแต่ละชนิดที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ส่งผลต่อระบบของการย่อยอาหารของเรา และสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านระบบทางเดินอาหารอย่างโรคกระเพาะ ควรเลือกรับประทานอาหารที่ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร และมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการป่วยดังนี้

  • อาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยสารอาหาร เช่น พืชตระกูลถั่ว แครอท ข้าวโอ๊ต แอปเปิล เป็นต้น
  • อาหารปรุงโดยเลือกใช้ น้ำมันมะกอก เป็นหลัก
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ขนมปังโฮลวีท ซีเรียล ข้าวกล้อง เป็นต้น
  • อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ หรืออาหารที่มีฤทธิ์ด่าง เป็นผักชนิดต่าง ๆ
  • อาหารที่มี โพรไบโอติกส์ ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ และยีสต์ในกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กิมจิ กะหล่ำดอง ชาหมัก โยเกิร์ต เป็นต้น

นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบการย่อยของอาหาร หรือเรียกได้ว่าอาหารรักษาโรคกระเพาะอักเสบก็ได้ ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมการกินของตนเองให้เหมาะสม ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนที่จะเข้านอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ โดยให้หันมารับประทานอาหารในครั้งละน้อย ๆ แต่รับประทานให้บ่อยขึ้นแทน

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นเบาหวานคืออะไร?

 

การป้องกันโรคกระเพาะอักเสบ

การป้องกันโรคกระเพาะ สามารถทำได้โดยการรักษาความสะอาดในการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการเกิดโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น การล้างมือก่อน-หลัง รับประทานอาหาร การเลือกรับประทานอาหารที่สาะอาดถูกสุขลักษณะ และยังควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้ไม่ดี หรือ ทำงานได้ไม่ปกติ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ภาวะความเครียด และ ไม่ควรซื้อยาที่มีฤทธิ์กัดกระเพาะ

 

พฤติกรรมการรับประทาน และความสะอาดต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ห่างไกลจากโรค แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างในปัจจุบันนี้ ทำให้มีคนป่วยเป็นโรคกระเพาะอักเสบมากยิ่งขึ้น ด้วยพฤิตกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหารต่าง ๆ หากใครที่กำลังสงสัยว่าตัวเองมีโอกาสจะเป็นโรค ก็ควรพบแพทย์โดยด่วน เพื่อให้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัย และทำการรักษา ป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม และเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

โรคกรดไหลย้อน อาการเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร รักษายังไงไม่ให้เป็นอีก?

โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคทางพันธุกรรมที่พบในเด็ก

โรคเครียด เป็นยังไง? เช็คตัวเองด่วน แบบนี้เป็นโรคเครียดแล้วหรือยัง!

ที่มา : 1, 2

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

chonthichak88

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคกระเพาะ โรคสุดฮิตที่เราไม่ควรมองข้าม สาเหตุเกิดจากอะไร?
แชร์ :
  • อาการอ้วกในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร ควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก

    อาการอ้วกในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร ควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • อาการอ้วกในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร ควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก

    อาการอ้วกในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร ควรทำอย่างไรเมื่อลูกอ้วก

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว