สำหรับรายการ TAP Ambassador ของเราในสัปดาห์นี้ มาพร้อมกับประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะเป็นเรื่องที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านได้โพสไว้ในแอปพลิเคชัน theAsianparent โดยหัวข้อในวันนี้คือ “ โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคทางพันธุกรรมที่พบในเด็ก ” ซึ่งในวันนี้ theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันกับคุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก
โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม โรคปากแหว่งเพดานโหว่ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
อาการปากแหว่ง กับอาการเพนดานโหว่นั้นแตกต่างกัน ซึ่งเด็กที่มีอาการปากแหว่งนั้น ริมฝีปากของเด็กนั้นจะไม่เชื่อมต่อกัน ในกรณีของเด็กที่มีอาการเพดานโหว่นั้นก็จะคล้าย ๆ กัน คือบริเวณเพดานจะไม่เชื่อมกัน ซี่งทั้งสองอาจพบร่วมกันได้ ซี่งสำหรับสาเหตุนั้นจะมีอาการมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ที่การสร้างอวัยวะภายในท้องแม่นั้นไม่เชื่อมต่อกัน ซึ่งอาจเป็นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งแม่ดื่มแอลกฮอล์ แม่สูบบุหรี่ หรือความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการของโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ได้เช่นกัน หรือในระหว่างที่กำลังต้องท้องอ่อน ๆ คุณแม่ทานยาบางอย่าง จนทำให้การสร้างร่างกายทำให้ปาก หรือเพดานไม่เชื่อมต่อกัน รวมไปถึงการที่มีพันธุกรรม ในรุ่นปู่ย่าตายาย ก็อาจส่งผลมาเช่นเดียวกัน
บทความที่น่าสนใจ : ลูกเป็น ปากแหว่งเพดานโหว่ ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กลัวลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่
โรคปากแหว่งเพดานโหว่ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ( ภาพจาก shutterstock.com )
จะสามารถรู้ได้ตั้งแต่ตั้งท้องเลยไหม ว่าลูกที่กำลังจะคลอดจะเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่
ในกรณีที่โรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางโครโมโซม บางครั้งอาจจะตรวจเลือดแล้วไม่พบ ส่วนในกรณีที่มีพันธุกรรมของโรคนี้มาก่อน ก็อาจจะตรวจเจอได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะพบในตอนที่ท้องในช่วงไตรมาสท้าย ๆ แล้ว และค่อนข้างที่จะตรวจพบได้ยาก เพราะปากนั้นเล็กมาก บางการอัลตร้าซาวด์ก็อาจจะไม่พบได้
จะสามารถป้องกันหรือรักษาโรคทางพันธุกรรมได้หรือไม่ แล้วป้องกันหรือรักษาได้อย่างไรบ้าง
สำหรับโรคปากแหว่ง เพดานโหว่นั้น ไม่มีวิธีที่ป้องกันได้ รวมถึงยังไม่มีวิธการรักษาโดยการใช้ยา แต่จะเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดของโรคปากแหว่งเพดานโหว่นั้นค่อนข้างยาก หากเป็นแค่ปากแหว่ง ก็จะรักษาด้วยการเย็บปิด ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่ถือว่าเป็นปัญหา ซึ่งไม่สามารถทำการผ่าตัดได้เลยหลังคลอด ต้องใช้เวลารอให้ทารกอยุราว ๆ 3 – 6 เดือนก่อน เพื่อให้อวัยวะเริ่มใหญ่ขึ้น เด็กเริ่มโต แต่หากเป็นการผ่าตัดเด็กที่มีอาการเพดานโหว่ นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะเมื่อเพดานโหว่ จะทำให้เนื้อฟันตรงบริเวณที่เป็นหายไปด้วย ซึ่งรวมไปถึงจะต้องมีการตรวจหูด้วย เพราะในบางครั้ง การที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่นั้น จะเชื่อมไปถึงจมูก และหูด้วย ทำให้ต้องคอยเช็คว่ามีปัญหาทางการได้ยินหรือเปล่า เพราะบางครั้งเวลาทานอาหาร จะมีเศษอาหารที่หลุดขึ้นไปที่หู ทำให้หูติดเชื้อได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะหูชั้นกลาง ซึ่งการผ่าตัดเพดานโหว่นั้น ต้องปรึกษาแพทย์หลายฝ่ายมาก ๆ
บทความที่น่าสนใจ : ปากแหว่งเพดานโหว่ เกิดจากอะไร ป้องกันได้ไหม รักษาอย่างไร
โรคปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ไม่มีทางป้องกันได้ ( ภาพจาก shutterstock.com )
หากต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษา ควรจะพาลูกไปผ่าตัดตั้งแต่อายุเท่าไหร่
จริง ๆ แล้ว การประเมินจะขึ้นอยู่กับศัลยแพทย์ว่าควรจะผ่าตัดในตอนอายุเท่าไร แต่โดยส่วนใหญ่จะผ่าตัดปากแหว่งได้ในข่วง 3 – 6 เดือน ส่วนเพดานโหว่ จะต้องรออายุ 1 ขวบ ถึง 1ขวบครึ่ง ถึงจะผ่าตัดได้ และจะต้องรีบผ่าก่อนที่เด็กจะฝึกพูด เพราะจะส่งผลกระทบกับการพูดด้วย หากยิ่งแก้ไขได้เร็ว ก็จะทำให้เด็กพูดได้ใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด
ปากแหว่งกับเพดานโหว่ แบบไหนอันตรายกว่ากัน
สำหรับปากแหว่ง ถ้าแค่ผ่าตัดผิดเฉย ๆ ก็ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วงแล้ว แต่สำหรับเพดานโหว่นั้น จะมีเรื่องของการกลืน ที่เด็กจะกลืนนมไม่ได้ การติดเชื้อในช่องหู สำลักนมออกจากจมูก ซึ่งเพดานโหว่จะกระทบกับการใช้ชีวิตมากกว่า
เด็กปากแหว่งเพดานโหว่จะมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กทั่วไปไหม
สำหรับเด็กที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่ จะไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อสมอง พัฒนาการอย่างเดียวที่เด็กที่เป็นโรคนี้จะค่อนข้างช้ากว่าเด็กทั่วไปคือ พัฒนาการด้านการพูด พัฒนาการด้านการออกเสียง แต่พัฒนาการด้านอื่น ๆ จะไม่เกี่ยวกัน จะเร็วช้าขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู
และสำหรับหัวข้อ ” โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคทางพันธุกรรมที่พบในเด็ก ” นั้น ส่วนใหญ่มักจะรู้ในช่วงที่แรกคลอด หรืออาจจะพบตั้งแต่ตอนอัลตร้าซาวด์ สำหรับเรื่องการรักษา จะสามารถติดตามการรักษากับคุณหมอได้เลย แต่สิ่งที่อยากจะเน้นคือเรื่องการบูลลี่ ซึ่งต่อให้มีการผ่าตัดแก้ไขไปก็อาจจะยังมีปัญหาของการพูดไม่ชัด หรือมีปัญหาความสวย ความงาม เลยอยากจะเน้นเรื่องความแตกต่าง ในทุกความแตกต่างก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราอยู่ร่วมกันได้
คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาสมองและการเรียนรู้ของเด็ก
บทความที่เกี่ยวข้อง :
จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้อยสายตาสั้นและหูหนวก หรือลูกพัฒนาการช้า กันแน่
สังเกตอย่างไร? ว่า ลูกเป็นออทิสติก พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงต่อโรคนี้
โรคไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก และผลกระทบของโรคต่อพัฒนาการของลูก
ที่มา : คุณหมอแอม แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ
เจ้าของเพจ เรื่องเด็ก ๆ by หมอแอม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!