โรคกรดไหลย้อน เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในทุกวัย และมักสร้างความรำคาญใจ และไม่สบายใจ ให้กับผู้ที่เป็นอยู่เสมอ วันนี้ เราจะพาไปดูอาการ สาหตุ และ วิธีการรักษา สำหรับกรดไหลย้อน เพราะกรดไหลย้อน ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ
โรคกรดไหลย้อน คืออะไร?
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophagel Reflux Disease หรือ GERD) เป็นอาการที่เกิดจาก น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เกิดการไหลย้อนกลับขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งส่วนมากจะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร หรือ อาจเกิดจากด่างในลำไส้เล็ก โดยอาจไม่มีอาการของหลอดอาหารอักเสบ ซึ่งโรคกรดไหลย้อน สามารถพบได้ทั่วไปในคนไทย และเป็นโรคที่มีอัตราการพบผู้ป่วย สูงขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
- เกิดจากหลอดอาหารส่วนปลาย เกิดการคลายตัว โดยที่ยังไม่กลืนอาหาร
- เกิดจากความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือ เกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหาร เข้าไปในหลอดอาหาร
- เกิดจากความผิดปกติ ของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาหารตกค้าง อยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานานกว่าปกติ
- เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- เกิดจากพฤติกกรมในการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารแล้วนอน การรับประทานอาหารที่มีปริมาณไจมัน มากเกินไป เป็นต้น
- เกิดจากภาวะความเครียด โดยผู้ที่มีความเครียด จะมีภาวะหลอดอาหาร ที่มีความไวต่อสิ่งกระตุ้น เกิดการอ่อนไหวต่อกรด และเมื่อมีกรดมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดการไหลย้อนขึ้นมา
- เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเป็นโรคอ้วน การตั้งครรภ์ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น
อาการของโรคกรดไหลย้อน
อาการของกรดไหลย้อน ที่พบบ่อยในผู้ป่วย มีดังนี้
- แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก มักเกิดหลังจากรับประทานอาหาร
- มีอาการเรอเปรียว หรือ ขม ในปาก และลำคอ
- มีอาหารไหลย้อนขึ้นมา บริเวณลำคอ และภายในช่องปาก
- มีอาการจุก เสียด แน่นท้อง บริเวณลิ้นปี่
- คลื่นไส้ อาเจียน หลังจากรับประทานอาหาร
นอกจากอาการต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้ว โรคกรดไหลย้อน ยังอาจส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ ได้อีก ดังนี้
- เจ็บหน้าอก
- เสียงเปลี่ยน เสียงแหบ
- ไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง
- กลืนติดขัด รู้สึกเหมือนมีอะไรจุกในลำคอ
- อาการทางช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ฟันผุ
- โรคหืด หอบ แห้ง ๆ
วิธีรักษากรดไหลย้อน
วิธีรักษาเบื้องต้นด้วยตัวเอง
- หากมีอาการแสบร้อนกลางอก ให้นอนหมอนหนุนสูง หรือ ใช้ผ้า หนุนบริเวณเอวให้สูงขึ้น
- ออกกำลังกาย โดยการบริหารกล้ามเนื้อ บริเวณหน้าท้อง จะช่วยให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ทำงานได้ดีขึ้น
วิธีรักษากรดไหลย้อนด้วยการใช้ยา
-
ยาลดกรด
ยาลดกรด หรือ ยาลดการผลิตกรด เป็นยาที่ช่วยทำให้กรดไม่ไหลย้อน กลับขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร มักจะถูกใช้รักษาในผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากเป็นยาสามัญ และเป็นยาน้ำ ซึ่งง่ายต่อการรับประทาน เช่น ยา Cimetidine (Tagamet) ยา Ranitidine (Zantac) ยา Famotidine (Pepcid) และ ยา Nizatidine (Axid) เป็นต้น
2. ยาหยุดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร
ยาในกลุ่ม Proton-Pump Inhibitors (PPls) เป็นยาที่ทำหน้าที่ยับยังการผลิตของกรด ในกระเพาะอาหาร หรือ ทำให้ไม่มีการผลิตกรดในกระเพาะอาหารเลย ซึ่งยาชนิดนี้ จะมีผลข้างเคียง อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก อาการคลื่นไส้ และ ปวดศีรษะได้ เช่น ยา Esmeprazole (Nexium) ยา Omeprazole (Prilosec) ยา Rabeprazole (Aciphex) ยา Pantoprazole (Protonix) เป็นต้น
3. ยาปิดหูรูดกระเพาะอาหาร
ยากลุ่ม Prokinetic Agents ทำหน้าที่ช่วยให้หูรูดกระเพาะอาหาร ปิดลงได้สนิท เพื่อไม่ให้เกิดการไหลย้อน ซึ่งยากลุ่มนี้ มักจะใช้ร่วมกันกับยาลดกรด ตัวอย่างยาได้แก่ ยา Metoclopramide (Reglan) ยา Cisapride (Propulsid) ยา Erythmycin (Dispertab, Urecholine) เป็นต้น
วิธีป้องกันกรดไหลย้อน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ใรปริมาณที่มากเกินไปในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงการนอนทันที หลังจากรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือ ดื่มแอลกอฮอล
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีรสจัด และ อาหารที่มีไขมันสูง
- หลีกเลี่ยงการดื่ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนเข้านอน 2-3 ชั่วโมง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าทีรัดบริเวณหน้าท้อง
การวินิจฉัย โรคกรดไหลย้อน ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยโรค โดยการวินิจฉัย มาจากการดูอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก และอาจทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ และชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นใครที่สงสัยว่ากำลังเป็นโรคกรดไหลย้อนอยู่หรือไม่ ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่อไป
ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ
บทความที่น่าสนใจ :
โรคซึมเศร้า คืออะไร เป็นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาหายได้ หรือไม่? แล้วมีอาการเป็นอย่างไร!!
โรค กระเพาะ โรคสุดฮิตที่เราไม่ควรมองข้าม สาเหตุเกิดจากอะไร?
โรคงูสวัด คืออะไร อาการของโรคงูสวัดเป็นอย่างไร น่ากลัวหรือไม่ อันตรายใกล้ตัวควรระวัง!!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!