X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคโครห์น กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

บทความ 3 นาที
โรคโครห์น กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

เมื่อกล่าวถึงโรคโครห์น เชื่อว่าหลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่นัก โรคนี้เป็นอย่างไร มีอาการอย่างไร อาจส่งผลต่อคุณและลูกอย่างไร ไปติดตามกันครับ

โรคโครห์น คืออะไร

โรคโครห์น (Crohn’s disease) หรือโรคทางเดินอาหารอักเสบโครห์นนั้นเป็นโรคเรื้อรังที่อยู่ในกลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โดยเป็นโรคที่พบได้น้อยในคนเอเชียรวมถึงในประเทศไทย ประมาณ 0.5 – 4.2 รายต่อประชากร 1 แสนคน และพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ส่วนมากจะพบในเด็กโตหรือในช่วงอายุก่อน 20 ปี

David Hudesman ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับโรคนี้ว่า “เป็นอาการผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อแบคทีเรียในลำไส้” โดยการอักเสบในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากโรคโครห์นนั้น เกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วนของช่องทางเดินอาหาร ตั้งแต่ช่องปากลงไปจนถึงทวารหนัก

ปวดท้องเรื้อรัง

อาการโดยทั่วไปที่พบได้จาก โรคโครห์น นั้นจะมีอาการปวดข้อ มีผื่นขึ้น มีแผลในปาก ตาพร่าซึ่งสาเหตุที่แน่นอนของโรคโครห์นนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าอาจจะมาจากปัจจัยเสี่ยงจากการที่ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคที่ผิดปกติหรืออาจเป็นเพราะแบคทีเรียในกระเพาะอาหารครับ

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคโครห์น คลิกหน้าถัดไปเลยครับ

Advertisement

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคโครห์น

อาการของโรคโครห์นนั้นอาจเป็นอาการจากลำไส้อักเสบที่มีอาการรุนแรงปานกลางไปจนถึงรุนแรงมาก โดยปัจจัยกระตุ้นหรือความรุนแรงในแต่ละคนจะแตกต่างกันไปดังนั้นคุณอาจจะต้องสังเกตจากอาการต่อไปนี้

  • ท้องร่วง อาการท้องร่วงเป็นอาการทั่วไปที่มักจะพบได้ของผู้ที่เป็นโรคโครห์น บางครั้งอาจมีอาการปวดท้องร่วมกับอาการท้องเสียเรื้อรัง
  • เป็นไข้ หนาวสั่น โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจมีไข้ในบางครั้ง โดยอาจมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย

โรคโครห์น

  • เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีเลือดปนมากับอุจจาระ โดยในบางครั้งอาจถ่ายออกมาเป็นสีดำ
  • น้ำหนักลด ผอมลง และมีอาการเยื่ออาหาร
  • ตาพร่า ซึมเศร้า

หากคุณมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือพบว่าลูกของคุณมีอาการดังที่กล่าวมาและสงสัยว่าจะเป็นโรคโครห์น คุณควรรีบไปพบแพททย์เพื่อจะได้วินิจฉัยอาการได้อย่างถูกต้อง

หากสงสัยว่าเป็นโรคโครห์นควรทำอย่างไร ติดตามต่อหน้าถัดไปครับ

หากสงสัยว่าเป็นโรคโครห์นควรทำอย่างไร

โรคโครห์นเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย โดยจะมีอาการเป็นๆหายๆไปเรื่อยๆ ซึ่งการรักษานั้นอาจทำได้โดยการใช้ยาเพื่อต้านหรือลดอาการอักเสบของลำไส้ไปจนถึงการผ่าตัดรักษา

วิธีการดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคโครห์นนั้นควรกินอาหารอ่อนๆโดยอาจกินแต่น้อยและควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารประเภทนม อาหารรสจัด อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ นอกจากนั้นยังควรดื่มน้ำสะอาดมากๆ หรืออย่างน้อยวันละ 8 – 10 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายตามสมควรกับร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

วิธีเลือกนมให้ลูก ป้องกันอาการท้องผูกท้องเสีย

ถึงแม้ว่าโรคโครห์นจะยังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากคุณกินยาและปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำ โรคนี้ก็จะทุเลาลงและคุณก็จะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติครับ

 


ที่มา sg.theasianparent.com, haamor.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ผ้าเช็ดตัว แหล่งเชื้อโรคสู่ลูกน้อยที่คุณไม่คาดคิด

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคโครห์น กลุ่มโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว