TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกนอนเยอะเกินไป ลูกน้อยวัยทารกนอนมากเกินไปจะเป็นอะไรไหม?

บทความ 8 นาที
ลูกนอนเยอะเกินไป ลูกน้อยวัยทารกนอนมากเกินไปจะเป็นอะไรไหม?

เด็กทารกแรกเกิดที่ง่วงนอนมากเกินไป จะไม่ตื่นเป็นช่วงเวลาปกติเพื่อให้คุณแม่ป้อนนม และจะไม่ร้องงอแงหิวนมด้วยเสียงรบกวน เสียงดังต่าง ๆ เช่น เสียงสุนัขเห่า เสียงฟ้าร้องฟ้าผ่าจะไม่ทำให้ลูกตื่น ลูกนอนเยอะเกินไป บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี มันอาจจะมีเหตุผลบางอย่างซ่อนอยู่ วันนี้ theAsianparent จะพามาดูกันว่าลูกนอนเยอะเกินไปควรทำอย่างไร และมีวิธีไหนช่วยป้องกันลูกนอนเยอะบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

 

5 สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกนอนหลับ

ทารกนอน อย่าทำแบบนี้ 5 สิ่งที่ห้ามทำเกี่ยวกับการนอนของทารก เพราะการนอนสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็ก มีอะไรบ้างที่ห้ามทำเกี่ยวกับการนอนของทารก คุณพ่อคุณแม่ต้องอ่าน

 

1. อย่านับการนอนหลับสั้น ๆ ว่าเป็นการนอน

สำหรับเด็กทารกนั้นการนอนหลับอย่างที่เต็มที่ คือ การนอนที่นานกว่า 45 นาที การนอนสั้น ๆ หรือ การนอนที่ไม่ถึง 45 นาทีนั้นไม่ใช่การนอนหลับอย่างเต็มที่ Elizabeth Pantley คุณแม่ลูกสี่ผู้เขียนหนังสือชื่อ The No-Cry Nap Solution ได้ให้คำแนะนำว่า “การนอนหลับสั้น ๆ ของทารกอาจทำให้คุณเข้าใจผิดได้ว่าลูกนอนหลับเพียงพอแล้วในแต่ละวัน แต่ความจริงแล้วการนอนแบบสั้น ๆ หรือการนอนในระยะเวลาไม่นาน เป็นสาเหตุทำให้ทารกหงุดหงิด และร้องไห้บ่อย ๆ ได้ เพราะทารกจะไม่ได้รับประโยชน์และไม่ได้รับพลังงานอย่างเต็มที่เท่ากับการนอนหลับนาน ๆ ”

แม้จะไม่มีตัวเลขตายตัวที่จะบอกว่าทารกควรนอนกี่ชั่วโมงในแต่ละคืน แต่เรามีตารางการนอนของทารกแต่ละวัยที่ให้ตัวเลขเฉลี่ยคร่าว ๆ ไว้ให้ผู้ปกครองดูเป็นไอเดีย จำไว้ว่านี่เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น เด็กบางคนอาจจะนอนมากหรือน้อยกว่านี้ก็ถือเป็นเรื่องปกติ

ชั่วโมงการนอนของเด็กแต่ละวัย

  • เด็กแรกเกิดจะนอนประมาณวันละ 15 ชั่วโมง ซึ่งรวมทั้งเวลานอนปกติตอนกลางคืนและเวลานอนระหว่างวัน
  • เด็กอายุสามเดือนจะเริ่มนอนมากขึ้นในช่วงกลางคืนและนอนน้อยลงในช่วงกลางวัน แต่รวม ๆ กันก็ประมาณ 15 ชั่วโมงเหมือนกัน
  • เมื่ออายุถึง 6 เดือน เด็กจะนอนประมาณคืนละ 11 ชั่วโมง และจะนอนกลางวันวันละ 2 รอบเท่านั้น
  • เมื่ออายุ 9 เดือน เด็กจะนอนประมาณ 11-12 ชั่วโมงในแต่ละคืน และจะนอนกลางวัน 2 รอบ รอบละประมาณ 2-3 ชั่วโมง

 

2. อย่าเพิ่งรีบไปหาทันทีเมื่อลูกตื่น

เป็นเรื่องปกติ ที่ระหว่างนอนทารกอาจหลับ ๆ ตื่น ๆ บ้าง การที่พ่อแม่รีบวิ่งไปหาลูกเมื่อลูกตื่นแล้วร้อง อาจเป็นการกวนลูกหรือทำให้ลูกตื่นขึ้นมาทันทีแทนที่จะได้นอนต่อนาน ๆ ทารกต้องการความเงียบและความสงบในการนอน ตอนลูกเริ่มนอนก็เช่นกัน หากลูกไม่ยอมนอนเสียที พ่อแม่อาจปล่อยลูกไว้ในเปลคนเดียวนานประมาณ 30 นาที เพื่อให้บรรยากาศสงบ แล้วลูกจะนอนหลับง่ายขึ้น

 

3. อย่าปลุกลูก

สำหรับเด็กวัย 4 เดือนขึ้นไป อย่าปลุกลูก เว้นแต่จำเป็นจริง ๆ พ่อแม่หลายคนมักกังวลว่าถ้าลูกนอนตอนกลางวันนาน ๆ พอตกกลางคืนลูกจะหลับยาก Dr. Jennifer Shu กุมารแพทย์และผู้ร่วมเขียนหนังสือ Heading Home with Your Newborn ได้แนะนำว่า พยายามอย่าปลุกทารกที่กำลังหลับอยู่ เพราะเด็กหลายคนที่หลับนานช่วงกลางวัน ก็หลับนานในช่วงกลางคืนได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การปลุกลูกจากการนอนนาน ๆ ยังทำให้ลูกไม่ได้รับประโยชน์และไม่ได้รับพลังงานจากการนอนอย่างเต็มที่ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 วิธี ฝึกลูกนอนเร็ว เทคนิคที่ทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้น วิธีให้ลูกนอนง่าย ๆ

 

ลูกนอนเยอะเกินไป

 

4. อย่าเมินเฉยต่ออาการง่วง

Dr. Marc Weissbluth ผู้เขียนหนังสือ Healthy Sleep Habits, Happy Child ได้ให้คำแนะนำว่า พ่อแม่ไม่ควรเมินเฉย ๆ ต่ออาการแปลกของลูกเพราะนั่นอาจหมายถึงอาการง่วงได้ เด็กบางคนอาจไม่ได้แค่หาวเวลาง่วง แต่มีอาการอื่น ๆ มากมายที่บ่งบอกว่าลูกง่วง เช่น เปลือกตาตก ตาลอย หงุดหงิด ร้องไห้ หากคุณพบอาการดังกล่าวควรกล่อมลูกนอนทันที เพราะหากยังไม่ได้นอนเสียที อาจทำให้เด็กหรือทารกเข้าสู่ภาวะเหนื่อยมากเกินไป (overtired zone) และจะยิ่งงอแงเข้าไปอีก

 

5. อย่าใช้ผ้าห่มบ่อย

สมาคมกุมารเวชศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำว่าพ่อแม่ไม่ควรซื้อ ทั้งหมอน ผ้าห่ม ผ้านวมคลุมเตียง ผ้ารองผ้าห่ม ผ้านวมรอบเตียงมาวางไว้ใกล้บริเวณที่ทารกนอนหลับ เพราะเครื่องนอนที่วางไว้เยอะมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อทารกได้ เครื่องนอนเหล่านี้อาจทำให้เกิดการตายแบบกะทันหันหรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome) เช่น หากมีผ้านวมรอบเตียงอาจทำให้หน้าของเด็กไปซุกอยู่บริเวณผ้านวมขณะนอนหลับ และทำให้เด็กหายใจไม่ออกได้

SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก เมืองไทยเรียกว่าโรคใหลตายในทารก มักเกิดขึ้นในเด็กอายุระหว่าง 2-4 เดือน สิ่งเหล่านี้คือ 5 สิ่งที่พ่อแม่ควรระลึกไว้เพื่อป้องกันลูกน้อยจาก SIDS

  • ควรให้เด็กนอนหงาย เพราะเด็กจะสามารถหายใจเอาอากาศที่มีปริมาณออกซิเจนได้มากกว่าเด็กที่นอนคว่ำ อยู่ให้ห่างจากควันและกลิ่นบุหรี่
  • ต้องแน่ใจว่าเด็กได้นอนบนที่นอนที่แข็งพอ อย่าให้ลูกมานอนเตียงเดียวกันคุณ มันจะเพิ่มความเสี่ยงที่เครื่องนอนจะมาทับหรือคลุมลูกได้
  • อย่าให้ลูกนอนบนที่นอนที่อ่อนยวบ ย้ายตุ๊กตาและผ้าห่มที่หลวมจนเกินไปออกจากเตียงเวลาที่ลูกหลับ ให้ใช้ผ้าห่มที่สามารถหายใจผ่านได้เพื่อป้องกันเวลาที่ลูกนอนแล้วผ้าห่มมาคลุมหน้า หากคุณต้องการใช้แผ่นกันชนรอบเตียงลูก ควรใช้ผ้าที่ทอเหมือนผ้าตาข่ายที่สามารถหายใจผ่านได้ ต้องแน่ใจว่าแผ่นกันชนเตียงติดตั้งแบบสอดเข้าและออกสลับกันรอบลูกกรงเตียงเพื่อทำให้มันแน่นและมั่นคงไม่หลุดลงมาคลุมหน้าลูกน้อย
  • ห้องนอนลูกควรมีอุณหภูมิที่เย็นพอ ไม่อุ่นหรืออบอ้าวจนเกินไป อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับทารกคือ 25 – 26 องศาเซลเซียส อาจใช้จุกนมปลอมให้ทารกดูดเพื่อให้เด็กหลับสบายขึ้น

นมแม่สามารถลดความเสี่ยงของ SIDS ได้ นมแม่เป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพดีของลูกน้อยในหลาย ๆ ด้าน เพราะฉะนั้นแม้ไม่ได้รับการพิสูจน์ ก็ไม่มีอะไรเสียหายที่จะให้ลูกกินนมจากเต้า

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกนอนหนุนหมอน และผ้าห่มได้เมื่อไหร่ ทารกคออ่อนนอนหมอนได้ไหม?

 

ลูกนอนเยอะเกินไป

 

8 เทคนิคฝึกลูกให้นอนตรงเวลา ป้องกัน ลูกนอนเยอะเกินไป

1. สังเกตพฤติกรรมการนอนของลูก

แม้จะอ่านตำรามามากมาย อย่างไรก็แล้วแต่ เด็กแต่ละคนจะมีช่วงเวลาและนิสัยในการนอนไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งแรกเลยก็คือให้คุณแม่สังเกตว่าเจ้าตัวน้อยของเรานอนนานช่วงไหน และใช้ช่วงนั้นฝึกให้เขานอนยาวขึ้น

 

2. สอนให้ลูกรู้จักกลางวัน-กลางคืน

ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในท้องแม่ เมื่อคลอดออกมาแล้ว เป็นธรรมดาที่เขาจะยังไม่สามารถแยกระหว่างกลางวันและกลางคืนเองได้ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกตื่นบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสอนให้ลูกรู้ว่าช่วงไหนคือตอนกลางวัน และตอนกลางคืน เพื่อฝึกให้ลูกเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำและตื่นตั้งแต่เช้า

 

3. สร้างบรรยากาศให้เหมาะกับการนอน

ห้องนอนน่าอยู่ ชวนให้หลับ ก็จะช่วยให้หนูน้อยนอนยาวขึ้นได้เหมือนกันนะ ไม่ว่าจะเป็นการปรับอุณหภูมิห้องไม่ให้ร้อนหรือหนาวเกินไป จัดที่นอนที่อบอุ่นให้ลูก ใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว ปรับแสงไฟให้มืดหรือสลัว ๆ เสียงไม่ดังหนวกหู อาจมีเสียงพัดลมเบา ๆ เสียงนาฬิกาเดิน จะทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้น และทำให้ห้องดูไม่วังเวงเกินไป

บทความจากพันธมิตร
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF

บทความที่เกี่ยวข้อง : การจัดห้องนอนให้ลูกน้อย หลับสนิท หลับสบาย และเสริมสร้างพัฒนาการ

 

ลูกนอนเยอะเกินไป

 

4. ทำช่วงเวลาก่อนนอนให้เป็นกิจวัตร

ฝึกลูกให้นอนตรงเวลา โดยทำกิจวัตรประจำวันก่อนนอนแบบเดิม เช่น อาบน้ำอุ่น ใส่ชุดนอน กินนม แปรงฟัน กล่อมนอนโดยร้องเพลงหรือเล่านิทาน เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน พร้อมกล่าวราตรีสวัสดิ์กับลูกน้อย ซึ่งควรใช้คำพูดเดิมซ้ำ ๆ ทุกครั้ง น้ำเสียงโทนต่ำ ราบเรียบ แม้ลูกจะยังฟังไม่รู้เรื่องก็ไม่เป็นไร เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ว่า เมื่อพ่อแม่พูดคำนี้ น้ำเสียงแบบนี้บนที่นอน คือสัญญาณว่าได้เวลานอนแล้ว โดยทั่วไปลูกอาจร้องอยู่นาน 1-2 ชม. ในวันแรก ๆ แต่จะร้องน้อยลง และหยุดร้องภายใน 1-2 สัปดาห์


5. เพิ่มนมตอนกลางวัน งดมื้อดึกตอนกลางคืน

ลองเพิ่มนมหรืออาหารในช่วงกลางวันให้มากขึ้น โดยมื้อกลางวันอาจเพิ่มอาหารเสริมที่ให้พลังงานกับลูก ลูกจะได้อิ่มนานและอยู่ท้องไปจนถึงกลางคืน พอลูกอิ่มมาก ๆ หนังท้องตึง หนังตาก็หย่อนนั่นเอง แต่ควรงดมื้อดึกให้ไว หลังลูกอายุ 6 เดือน เพื่อช่วยให้ลูกนอนยาวขึ้น และดีต่อสุขภาพฟันด้วย

 

6. ปล่อยให้ลูกเล่นเต็มที่ในช่วงกลางวัน

การที่ลูกเล่นตอนกลางวัน ใช้พลังงานเต็มที่ เมื่อถึงเวลากลางคืน ลูก ๆ จะหมดแรงและทำให้หลับได้เร็วและยาวนานขึ้น เพราะฉะนั้น ในช่วงกลางวัน คุณแม่อาจเตรียมของเล่นหรือพื้นที่ให้ลูกอย่างเหมาะสม ปลอดภัย เช่น มีคอกกั้นบริเวณบ้าน เพื่อให้ลูกคลานเล่น แต่เตือนไว้นิดหนึ่งว่า เด็กบางคนอาจฝันร้ายได้จากการเล่นมากในช่วงเย็นหรือก่อนนอน ดังนั้นควรงดการเล่นอะไรที่ตื่นเต้นในช่วง 1 ชั่วโมงก่อนนอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกนอนกี่ชั่วโมง เทคนิคจัดตาราง การนอนของทารก เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี

 

ลูกนอนเยอะเกินไป

 

7. อย่าลุกหาลูกทันทีที่ลูกส่งเสียงร้อง

ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความใจแข็งของคุณแม่ แต่ต้องลองทำดู โดยกรณีที่ลูกนอนคนละห้อง เมื่อลูกร้องเรียก ให้แอบดูก่อนว่ามีปัญหาอะไร สามารถช่วยเหลือได้โดยไม่เปิดไฟสว่างจ้า แล้วจัดให้ลูกนอนลง ตบก้นลูกเบา ๆ โดยไม่ต้องอุ้ม รอจนลูกสงบ หากลูกร้องอีกให้รอประมาณ 5 นาทีแล้วค่อยเดินกลับไปหาลูก เมื่อลูกเริ่มสงบให้เดินออก ถ้าลูกร้องอีกก็ให้รอนานขึ้นครั้งละ 5 นาที เชื่อเถอะว่าลูกจะร้องไห้จนหลับไปเองในที่สุด ซึ่งหากทำเหมือนเดิมในคืนต่อไป ช่วงเวลาการร้องไห้ของลูกจะสั้นลงเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่จะหยุดร้องใน 1 สัปดาห์

 

8. หาสาเหตุที่ลูกตื่นกลางดึก

บางครั้งที่ลูกมีปัญหาตื่นกลางดึก อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดฟัน เวลาฟันขึ้น ให้แก้ไขโดยใช้นิ้วมือสะอาดนวดเหงือกบ่อย ๆ ปัญหาเจ็บป่วยอย่างผิวหนังแพ้ทำให้เกิดอาการคันมาก ปวดหูจากการอักเสบ คัดจมูกมากจากการเป็นหวัดหรือภูมิแพ้ ซึ่งการแก้ไขที่ต้นเหตุจะช่วยให้ลูกเป็นปกติได้ดังเดิม

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า หากลูกมีสุขภาพแข็งแรงและมีน้ำหนักตามเกณฑ์ คุณแม่สามารถปล่อยให้เขานอนหลับตามปกติได้นานถึง 4-5 ชั่วโมงโดยไม่ต้องปลุกขึ้นมาดื่มนม แต่กรณีที่หลับนานเกินไปหรือลูกมีภาวะสุขภาพไม่แข็งแรงที่คุณแม่จำเป็นต้องให้นมลูกอย่างเคร่งครัดทุก 2 ชั่วโมง ก็จำเป็นที่จะต้องปลุกเจ้าตัวน้อยให้ตื่นขึ้นมากินนมตามเวลาที่กำหนด วิธีปลุกทารกแรกเกิด สามารถทำได้ดังนี้

ขั้นตอนแรก : จับให้ลูกนอนหงายตามปกติ หากลูกกำลังนอนอยู่ในท่าตะแคงข้างหรือนอนคว่ำ

ขั้นตอนที่ 2 : ใช้มือทั้งสองข้างจับที่สะโพกของลูก แล้วดันไปมาซ้ายขวาสลับกัน คล้ายกับจะพลิกตัวลูกแต่ไม่ต้องพลิกจริง ๆ

ขั้นตอนที่ 3 : โยกตัวลูกเบา ๆ ไปสักพัก เจ้าตัวน้อยก็จะตื่นขึ้นมา

นอกจากนี้ก็อาจจะปลุกลูกด้วยการเกาท้องของเจ้าตัวน้อยเบา ๆ หรืออุ้มขึ้นจากที่นอนก็ได้เหมือนกัน แต่ต้องพยายามปลุกอย่างนุ่มนวลเพื่อไม่ให้ลูกตกใจสะดุ้งตื่นขึ้นมานั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำอย่างไรหากลูกไม่ยอมนอน เคล็ดลับทำให้ลูกนอนง่าย และไม่ตื่นช่วงกลางคืน

 

ลูกนอนเยอะเกินไป

 

พัฒนาการทางด้านอารมณ์มีผลกระทบต่อการนอนหรือไม่

โลกของลูก ๆ ของคุณจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเมื่อเขาได้ก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งการนอนนี้ (Leap) เด็ก ๆ ทุกคนจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป บางคนเริ่มจะหงุดหงิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนของพวกเขา พ่อแม่บางคนถึงกับตกใจที่ลูกแทบจะไม่นอนเลยก็มี ขณะที่บางคนก็นอนหลับเยอะกว่าปกติ บางคนก็เริ่มจะหลับตอนกลางวันเยอะกว่าและนอนน้อยในช่วงกลางคืน  พ่อแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือพัฒนาการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นกับเด็กทุกคน เมื่อเด็ก ๆ ผ่านช่วงนี้ไปแล้ว เขาก็สามารถนอนหลับได้ดีขึ้นแล้ว เด็ก ๆ บางคนจะมีวิธีการเรียนรู้ของเขาเอง  บางครั้งพวกเขาจะไม่นอนจนกระทั่ง พวกเขาได้ทำในสิ่งที่พวกเขากำลังอยู่ให้เสร็จเสียก่อน พ่อแม่อาจจะชักจูงเขาให้ทำอย่างอื่น เช่น อ่านหนังสือเพื่อกล่อมให้เขาได้พักผ่อน

 

โดยทั่วไปแล้ว หากลูกนอนหลับทั้งวัน ลูกนอนเยอะเกินไป คุณพ่อคุณแม่ควรจะกังวลแล้วค่ะ เพราะการที่ลูกไม่ได้รับอาหารเข้าร่างกายเลยนั้น ก็อาจส่งผลต่อพัฒนาการเด็กได้ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรให้นอนมากเกินไป เพราะลูกจำเป็นต้องกินอาหาร และเล่นของเล่น เพื่อพัฒนาการที่ดี

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

6 เคล็ดลับพา ลูกเข้านอน ลูกนอนหลับยาก แก้ปัญหายังไง?

ทารกหลับไม่สนิท ดิ้นไปมา ทำอย่างไร มีวิธีช่วยลูกนอนหลับสนิทไหม?

ลูกนอนหลับยากทำยังไง? วิธีทําให้ลูกหลับง่ายตอนกลางคืน แม่จะได้นอนสักที!

ที่มา : babysleepsite

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ลูกนอนเยอะเกินไป ลูกน้อยวัยทารกนอนมากเกินไปจะเป็นอะไรไหม?
แชร์ :
  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

    วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

  • ลูกไม่ยอมพูด? 7 กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษา ฝึกลูกให้พูดเก่ง ช่างเจรจา

    ลูกไม่ยอมพูด? 7 กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษา ฝึกลูกให้พูดเก่ง ช่างเจรจา

  • เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

    เปิดด้านใน! ลูกยางแดงดูดน้ำมูก แล้วคุณจะไม่อยากใช้ซ้ำอีกเลย!

  • วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

    วิจัยเผย! วิธีรักษาดาวน์ซินโดรมแบบใหม่ ช่วยตัดโครโมโซมที่เกินออกได้

  • ลูกไม่ยอมพูด? 7 กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษา ฝึกลูกให้พูดเก่ง ช่างเจรจา

    ลูกไม่ยอมพูด? 7 กิจกรรมพัฒนาทักษะภาษา ฝึกลูกให้พูดเก่ง ช่างเจรจา

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว