X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่รู้ไหม!!ยอดมดลูกบ่งบอกขนาดทารกในครรภ์

บทความ 5 นาที
แม่รู้ไหม!!ยอดมดลูกบ่งบอกขนาดทารกในครรภ์

ในช่วงที่ตั้งครรภ์เมื่อขนาดท้องของคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นตามขนาดของทารก การตรวจครรภ์ในแต่ละครั้งการวัดขนาดของยอดมดลูกสามารถบอกขนาดของทารกในครรภ์ได้ จะเป็นอย่างไร ติดตามอ่าน

ขนาดของยอดมดลูก ตําแหน่งมดลูกตั้งครรภ์

ยอดมดลูกบอกขนาดทารกในครรภ์

ตําแหน่งมดลูกตั้งครรภ์

ตําแหน่งมดลูกตั้งครรภ์

นพ.ฤชา ตั้งจิตธรรม พ.บ. สูตินรีแพทย์, โรงพยาบาลสระบุรี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ  การวัดยอดมดลูกกับขนาดทารกในครรภ์ไว้ ดังนี้

อายุครรภ์ 12 สัปดาห์         ยอดมดลูกจะสูงประมาณ  1/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว

อายุครรภ์ 16 สัปดาห์         ยอดมดลูกจะสูงประมาณ  2/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว

อายุครรภ์ 20 สัปดาห์        ยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์        ยอดมดลูกจะสูงกว่าระดับสะดือเล็กน้อย

อายุครรภ์ 28 สัปดาห์        ยอดมดลูกอยู่ 1/4 เหนือระดับสะดือ

อายุครรภ์ 32 สัปดาห์        ยอดมดลูกอยู่ 2/4 เหนือระดับสะดือ

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์        ยอดมดลูกอยู่ 3/4 เหนือระดับสะดือ

แม่รู้ไหม!!ยอดมดลูกบ่งบอกขนาดทารกในครรภ์

ขนาดของทารกในครรภ์

Growth of human fetus with female silhouette in weeks and months. Fetus and trimester, timeline and baby, belly and fetal, vector illustration

ตําแหน่งมดลูกตั้งครรภ์

เดือนที่ 1 ในช่วงนี้ทารกในครรภ์ยังเป็นตัวอ่อนงอกติดอยู่ในโพรงมดลูกจากเพียง 1 เซลล์ เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 150 เซลล์ภายใน 7 วัน อายุ 5 สัปดาห์ จะมีลำตัวยาว 7 มิลลิเมตร หรือมีขนาดเท่าเมล็ดถั่ว

เดือนที่ 2  เริ่มมีรูปร่างชัดเจนขึ้นแล้วค่ะ โดยส่วนหัวจะโตกว่าส่วนอื่น ๆ อย่างชัดเจน มีรูปหน้า  มีมือและเท้า เริ่มงอกออกมา หากอัลตราซาวด์ในช่วงปลายเดือน   จะเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวและจับอัตราการเต้นของหัวใจได้

Fetus, 9 Wochen

ตําแหน่งมดลูกตั้งครรภ์

เดือนที่ 3 ในช่วงเดือนที่ 3 นี้ รูปร่างของทารกจะเริ่มมีลักษณะคล้ายมนุษย์มากขึ้นแล้วค่ะ  ตัวของเจ้าหนูจะลอยอยู่ในน้ำคร่ำที่จะช่วยปกป้องทารกไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือนต่าง ๆ เริ่มมีนิ้วมือและนิ้วเท้า หัวใจจะเป็นรูปเป็นร่างทำงานเต็มที่  อวัยวะเพศเริ่มก่อตัวเป็นรูปร่าง แต่จะยังไม่สามารถแยกเพศได้นะคะ พอทารกอายุได้ 12 สัปดาห์  จะมีน้ำหนัก 14 กรัม และมีขนาดลำตัวยาว 3 นิ้ว

เดือนที่ 4   อวัยวะของทารกเริ่มเป็นรูปเป็นร่างสมบูรณ์มากขึ้น แต่ตัวยังผอมอยู่เพราะไม่มีชั้นไขมัน อวัยวะต่าง ๆ เริ่มสมบูรณ์มากขึ้น  ผิวบางจนมองเห็นเส้นเลือดได้  รกมีขนาดโตมากขึ้น  มีจำนวนเส้นประสาทและกล้ามเนื้อมากขึ้น  สามารถเตะ งอนิ้วมือนิ้วเท้า กลอกตาได้อวัยวะเพศพัฒนามากขึ้นจนสามารถบอกได้ว่าเป็นเพศใด

เดือนที่ 5  ตอนนี้ทารกน้อยมีขนาดลำตัวยาว ประมาณ 9 นิ้ว ร่างกายจะผลิตสารสีขาวข้น เรียกว่า เวอร์นิกซ์ มาเคลือบเพื่อปกป้องผิวตอนนี้เส้นผม  คิ้ว  ขนตาของหนูเริ่มงอกแล้วนะ มีการพัฒนาระบบประสาทสัมผัส  คือ  รับรู้รส  ได้กลิ่น  ได้ยินเสียง แต่ดวงตายังปิดอยู่  แต่สามารถรับรู้แสงสว่างจ้าได้  ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นพูดคุยกับลูกในท้อง  ให้ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือให้ฟังจะดีต่อพัฒนาการของทารกอย่างมากค่ะ  เจ้าหนูเริ่มเคลื่อนไหวบิดตัว เตะขา  โก่งตัว ขยับตัว ซึ่งแม่จะรู้สึกได้ชัดเจนขึ้นและเจ้าตัวน้อยเริ่มถ่ายปัสสาวะลงสู่น้ำคร่ำได้แล้วนะ

ยอดมดลูกบอกขนาดทารกในครรภ์

ตําแหน่งมดลูกตั้งครรภ์

เดือนที่ 6  การพัฒนาทางร่างกายจะช้าลงเล็กน้อยเพื่อให้อวัยวะภายใน  ได้แก่  ปอด  ระบบการย่อยอาหาร  ระบบภูมิคุ้มกันได้พัฒนาอย่างเต็มที่ ในช่วงนี้ทารกจะเริ่มมีเนื้อหนังมากขึ้น  เพราะมีไขมันมาสะสมใต้ชั้นผิวหนัง ในช่วงนี้ทารกจะได้ยินเสียงหัวใจของแม่  เสียงพูด  เสียงดนตรีชัดเจนและสามารถตอบสนองด้วยการขยับตัวหรือดิ้นตอบ  พอเข้าสู่สัปดาห์ที่ 26 ลูกจะเริ่มจำเสียงคุณแม่ได้

เดือนที่ 7  ตอนนี้เจ้าตัวน้อยในท้องคุณแม่เติบโตขึ้นมากเลยนะคะ  เปลือกตาเริ่มเปิด  นัยน์ตาพัฒนาไปมากจนสามารถมองเห็นแสงผ่านทางหน้าท้องแม่ได้  ต่อมรับรสพัฒนาได้มาก  อวัยวะสำคัญ ๆในร่างกายทำงานได้ค่อนข้างสมบูรณ์ เพียงแต่ปอดยังไม่พัฒนาเต็มที่เท่าที่ควร  หากทารกคลอดออกมาในช่วงเดือนนี้หรือที่เรียกว่าคลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสรอดชีวิตสูง

บทความแนะนำ  พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

เดือนที่ 8 ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น โตขึ้นจนแน่นท้องคุณแม่แล้วค่ะ เฉลี่ยน้ำหนักตัวจะเพิ่มเป็น 2 – 3 เท่า การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทำงานประสานกันได้ดีขึ้น  และอาจจะนอนอยู่ในท่ากลับหัวพร้อมจะคลอด  ทารกจะขยับตัวได้น้อยลงเพราะพื้นที่ในท้องแคบลง น้ำดีและน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไปจะสะสมอยู่ในลำไส้ของทารกไปจนถึงคลอด และจะถ่ายของเสียนี้ออกมาเมื่อคลอด  หรือที่เรารู้จักกันคือ  ขี้เทา  ในช่วงนี้คุณแม่อาจจะมีอาการเจ็บเตือนเนื่องจากมดลูกบีบตัวเกิดขึ้นได้  แต่เป็นการเจ็บท้องหลอกหรือเพื่อให้คุณแม่รู้ว่าหนูพร้อมจะคลอดออกมาแล้วค่ะ

บทความแนะนำ  เสียงจากคุณแม่ เมื่อลูกประสบภาวะสำลักขี้เทาจนเสียชีวิต

ยอดมดลูกบอกขนาดทารกในครรภ์

ตําแหน่งมดลูกตั้งครรภ์

เดือนที่ 9 พัฒนาการของทารกในช่วงนี้จะสมบูรณ์มากขึ้นเฉลี่ยน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม มีชั้นไขมันหนา ปอดทำงานได้ดีขึ้น  ท่านอนของทารกจะอยู่ในท่ากลับหัวกดปากมดลูกไว้เตรียมพร้อมคลอด ซึ่งคุณแม่อาจจะคลอดช่วงไหนก็ได้นะคะในช่วงเดือนที่ 9

แต่ถ้าช้ากว่าที่คุณหมอกำหนดไว้ 2 สัปดาห์แล้วยังไม่อาการเจ็บท้องคลอด  คุณหมออาจจะต้องเร่งคลอดเพราะออกซิเจนและสารอาหารจากรกเริ่มไม่ส่งไปเลี้ยงทารกแล้ว หรือที่เรียกกันว่ารกเสื่อม  จึงต้องนำทารกออกมาเพื่อความปลอดภัยของแม่และลูกค่ะ

บทความแนะนำ  ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร

ได้ทราบกันแล้วนะคะสำหรับขนาดของยอดมดลูก และพัฒนาการของทารกในครรภ์  ดังนั้น  ในระหว่างนี้คุณแม่ต้องดูแลตนเองให้ดีรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ จะได้รับสารอาหารเพียงพอสำหรับคุณแม่เองและทารกน้อย หากคุณแม่คนใดใกล้คลอดแล้วก็ขอให้คลอดอย่างปลอดภัย สุขภาพดีทั้งคุณแม่ คุณลูกนะคะ

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.ladyinter.com

https://www.iosociety.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

รู้ได้อย่างไรว่ามดลูกเข้าอู่แล้ว

จริงหรือไม่?? ขูดมดลูกช่วยให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้น

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่รู้ไหม!!ยอดมดลูกบ่งบอกขนาดทารกในครรภ์
แชร์ :
  • วิธีวัดความสูงยอดมดลูก ดูอายุ ขนาด และสุขภาพลูกในท้อง

    วิธีวัดความสูงยอดมดลูก ดูอายุ ขนาด และสุขภาพลูกในท้อง

  • การตั้งครรภ์ : รวมเคล็ดลับและความรู้เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ

    การตั้งครรภ์ : รวมเคล็ดลับและความรู้เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • วิธีวัดความสูงยอดมดลูก ดูอายุ ขนาด และสุขภาพลูกในท้อง

    วิธีวัดความสูงยอดมดลูก ดูอายุ ขนาด และสุขภาพลูกในท้อง

  • การตั้งครรภ์ : รวมเคล็ดลับและความรู้เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ

    การตั้งครรภ์ : รวมเคล็ดลับและความรู้เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ