วิธีทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องของมดลูกเข้าอู่ ว่ามันคืออะไร หลังคลอดมดลูกจะเข้าอู่ตอนไหน รู้ได้อย่างไรว่ามดลูกเข้าอู่แล้ว หลังคลอดมดลูกเข้าอู่กี่วัน วิธีทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว มดลูกเข้าอู่กี่วัน ทำได้โดยวิธีไหนบ้าง เรามาทำความเข้าใจเรื่องภาวะปกติของคุณแม่หลังคลอดกันก่อนดีกว่าค่ะ
ภาวะปกติของคุณแม่หลังคลอด มดลูกหลังคลอด
ตามปกติหลังคลอดแล้ว คุณแม่ที่มีภาวะผิดปกติหลังคลอด จะมีอาการ ดังนี้
- อัตราการเต้นของชีพจร การหายใจ อุณหภูมิร่างกาย และความดันโลหิตของคุณแม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- มดลูกหดตัวแข็ง ยอดมดลูกอยู่ต่ำกว่าระดับสะดือ
- คลำไม่พบรอยหยุ่นเหนือหัวหน่าว
- น้ำคาวปลาหรือเลือดออกไม่มากกว่าปกติ
- แผลฝีเย็บไม่บวม ไม่ปรากฏอาการอักเสบของแผล
- ไม่ปวดแผล หรือปวดถ่วงทวารหนัก
- ไม่มีอาการปวดท้อง กดหน้าท้องไม่เจ็บปวด
หลังคลอดมดลูกจะเข้าอู่ตอนไหน รู้ได้อย่างไรว่ามดลูกเข้าอู่แล้ว มดลูก เข้า อู่ กี่ วัน มดลูกเข้าอู่กี่วัน อาการ มดลูก ไม่ เข้า อู่
มดลูกหลังคลอด มดลูกหลังคลอด เป็นอย่างไร
มดลูกได้ทำหน้าที่อย่างหนัก คือโอบอุ้มเจ้าหนูตลอดระยะเวลา 9 เดือน เมื่อทารกน้อยออกมาลืมตาดูโลกแล้ว การเปลี่ยนแปลงของมดลูกเพื่อกลับสู่ภาวะปกติได้เริ่มขึ้นภายหลังคลอดทันที โดยระดับของยอดมดลูกจะลดลงอยู่ระหว่างสะดือกับหัวหน่าวและมีน้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ต่อจากนั้น 2 วันต่อมาหลังคลอดมดลูกจะหดรัดตัวและลดขนาดลงวันละ 1 เซนติเมตร จนในที่สุดเมื่อถึง 6 สัปดาห์ มดลูกจะมีน้ำหนักเท่ากับระยะก่อนตั้งครรภ์ คือ ประมาณ 50 กรัม ซึ่งถือว่าสิ้นสุดกระบวนการลดขนาดของมดลูกในระยะหลังคลอด
อาการมดลูกไม่เข้าอู่ และมดลูกเข้าอู่ แตกต่างกันอย่างไร
อาการมดลูกไม่เข้าอู่ การที่มดลูกเข้าอู่ คือ การที่มดลูกมีการหดรัดตัวกลับเข้าสู่สภาวะปกติในอุ้งเชิงกราน โดยมีการเปลี่ยนแปลงกล่าวคือ ระยะหลังคลอด เลือดไปเลี้ยงมดลูกจะลดลง เนื่องจากมีการหดรัดตัวและคลายตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก จึงบีบเส้นเลือดในโพรงมดลูก เมื่อเลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลง ทำให้ขนาดมดลูกเล็กลง ขณะเดียวกันก็เกิดลิ่มเลือดอุดตันและปิดหลอดเลือดที่มีรอยฉีกขาดให้ปิดแน่นเป็นการควบคุมการเสียเลือด หลังคลอดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเทอโรน จะลดลง ทำให้ขนาดของมดลูกเล็กลงเกือบเท่ากับระยะก่อนตั้งครรภ์ เมื่อมดลูกเข้าอู่ คุณแม่มักจะมีอาการปวดเสียวท้องน้อยโดยเกิดจากการที่มดลูกหลวม เมื่อตรวจร่างกายแล้วไม่พบอาการผิดปกติ ส่วนใหญ่หากอาการไม่รุนแรงก็ไม่ต้องทำการรักษา แต่กรณีที่ปวดท้องรุนแรงมาก อาจจะรักษาด้วยการเย็บเอ็นยึดมดลูกให้ตึงขึ้นหรืออาจจะตัดมดลูกทิ้ง ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคุณหมอ
มดลูกเข้าอู่ อาการ มดลูก ไม่ เข้า อู่ หลังคลอดมดลูกจะเข้าอู่ตอนไหน จะรู้ได้อย่างไรว่ามดลูกเข้าอู่แล้ว มดลูก เข้า อู่ กี่ วัน
การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับมดลูกเกิดขึ้นหลังคลอด
1. น้ำคาวปลา
หลังจากคลอดทารกแล้ว เยื่อบุมดลูกมีการเปื่อยและย่อยสลายหลุดออกมาปนกับน้ำเลือดประกอบด้วยเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรีย ซึ่งรวมเรียกว่า “น้ำคาวปลา” ในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลามีลักษณะเป็นสีแดงเข้ม เนื่องจากน้ำคาวปลาในระยะแรกนี้ ประกอบด้วยเลือดเป็นส่วนใหญ่ มีเยื่อบุมดลูกและเมือกปนเล็กน้อย นอกจากนั้นอาจจะมีขี้เทาทารก ขนอ่อนและไขมันทารกปนออกมาด้วย ลักษณะของน้ำคาวปลาปกติจะต้องไม่มีเลือดเป็นก้อน ๆ ปนออกมา
ต่อมาน้ำคาวปลาจะเริ่มเปลี่ยนจากสีแดงกลายเป็นสีแดงจาง ๆ หรือสีชมพู และจะจางลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีน้าตาล น้ำคาวปลาชนิดนี้ประกอบด้วยเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เมือก แบคทีเรีย และเศษของเยื่อบุมดลูก หลังจากนั้นสีน้ำคาวปลาจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวในวันที่ 10-14 หลังคลอด ประกอบไปด้วยเม็ดเลือดขาว และเมือกจำนวนมาก อาจมีเศษของเยื่อบุมดลูกและแบคทีเรียต่างๆเล็กน้อย
2. ปากมดลูก
หลังคลอดทันทีปากมดลูกจะมีลักษณะนุ่มมากและไม่เป็นรูปร่าง ปากมดลูกด้านในจะเปิดกว้างอยู่แต่จะค่อย ๆ ปิดให้แคบลง ภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด เมื่อมดลูกเข้าสู่สภาพปกติ ปากมดลูกด้านนอกจะไม่กลมเหมือนระยะก่อนคลอด แต่จะเหมือนมีรอยตะเข็บหรือรอยแยก
บทความที่น่าสนใจ : ปากมดลูกเปิดเป็นยังไง สัญญาณใกล้คลอดที่ควรรู้
3. ช่องคลอด
ระยะหลังคลอดช่องคลอดจะอ่อนนุ่มมาก รอยย่นภายในช่องคลอดจะลดน้อยลง เส้นผ่าศูนย์กลางของช่องคลอดจะกว้างกว่าระยะก่อนคลอด การแก้ไขช่องคลอดไม่กระชับ โดยวิธีฝึกขมิบช่องคลอดอย่างสม่ำเสมอ อีกอย่างหนึ่งหากคุณแม่หลังคลอดมีประจำเดือน และฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่เริ่มทำงานก็จะช่วยให้ช่องคลอดมีการหนาตัวขึ้น กระชับได้
ได้ทราบกันแล้วนะคะว่า มดลูกเข้าอู่คืออะไร หลังคลอดมดลูกจะเข้าอู่ตอนไหน รู้ได้อย่างไรว่ามดลูกเข้าอู่แล้ว และเกิดการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับมดลูกอย่างไรบ้าง ที่สำคัญหลังคลอดแล้วคุณแม่ควรดูแลตนเองให้มากเช่นเดียวกับช่วงตั้งครรภ์ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามนอนหลับพักผ่อน โดยอาศัยช่วงที่ลูกนอนหลับคุณแม่ก็งีบหลับตามไปด้วยนะคะ จะได้พักผ่อนทั้งแม่และลูก
อาการ มดลูก ไม่ เข้า อู่ มดลูก เข้า อู่ กี่ วัน
7 วิธีช่วยแม่หลังคลอดฟื้นตัว และทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
1. การอยู่ไฟ
ในสมัยโบราณคือการให้แม่หลังคลอดนอนอยู่บนกระดานแผ่นเดียว โดยมีเตาดินอยู่ห่างไม้กระดาน 1 เมตร ให้เตาอยู่แนวเดียวกับท้อง เพราะมีความเชื่อว่า ความร้อนจะทำให้แผลหายดี และทำให้มดลูกแห้งตัวเร็ว เข้าอู่เร็ว แต่ปัจจุบันสามารถใช้กระเป๋าน้ำร้อน กระเป๋าไฟฟ้า วางบริเวณหน้าท้อง เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และทำให้หน้าท้องแห้งเร็ว ลงได้บ้าง
ประโยชน์ของการอยู่ไฟ
- ช่วยขับน้ำคาวปลาที่ค้างอยู่ออกมาทั้งหมด
- กระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดี มีเลือดฝาด
- ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ทำให้ผิวพรรณผ่องใส
- ไม่เกิดอาการหนาวสะท้าน
- ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย มดลูกเข้าอู่เร็ว
- ทำให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
- ความร้อนช่วยในการฆ่าเชื้อโรค แผลแห้งเร็ว หน้าท้องแบน และช่วยลดอาการคัดตึงเต้านม
- แก้ปวดเมื่อย ปวดเอว กระชับกล้ามเนื้อ ฯลฯ
บทความที่น่าสนใจ : หลังคลอดกินยาสตรีได้ไหม อยากให้น้ำคาวปลาไหลดี มดลูกเข้าอู่เร็ว ทำอย่างไร
2. การนวดประคบสมุนไพร
จะช่วยให้คุณแม่ได้ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยลงได้หลังจากการคลอดลูก โดยการนำสมุนไพรมารวมใส่ไว้ในลูกประคบ เมื่อนำมานึ่งร้อนและนำมานวดประคบจะมีกลิ่นหอมระเหยออกมา นอกจากบรรเทาอาการปวดเมื่อยแล้ว ยังช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการบวมที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นหรือเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และยังช่วยทำให้เกิดการขับน้ำคาวปลา ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว หน้าท้องยุบเร็วขึ้น รวมถึงการประคบที่บริเวณทรวงอก จะช่วยลดอาการคัดเต้านม ลดความเจ็บปวด และหลั่งน้ำนมได้ดี
อาการ มดลูก ไม่ เข้า อู่ มดลูก เข้า อู่ กี่ วัน
3. การทับหม้อเกลือ
สำหรับคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติสามารถใช้วิธีนี้ได้หลังคลอด 10-12 วัน ส่วนแม่ผ่าคลอดนั้นจะต้องรออย่างน้อย 45-60 วัน โดยใช้หม้อดิน เตาถ่าน เกลือเม็ด ใบพลับพลึง สมุนไพรตำจนแหลก นำหม้อเกลือไปตั้งบนไฟให้ร้อน เมื่อได้ที่แล้วนำมาวางบนใบพลับพลึงห่อผ้าก่อนนำมาประคบ หลังการทับหม้อเกลือเสร็จ ควรนอนพักประมาณ 30 นาทีก่อนเข้ากระโจมเพื่ออบตัวด้วยสมุนไพรตามขั้นตอนต่อไป การทับหม้อจะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ลดการบวมน้ำ ทำให้หน้าท้องแบน กล้ามเนื้อกระชับ ขับน้ำคาวปลา ทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
บทความที่น่าสนใจ :100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 38 ท้องนอกมดลูกคืออะไร อันตรายไหม
4. การนั่งอิฐ
คือการนำอิฐแดงเผาไฟให้ร้อนห่อด้วยใบพรับพลึงนำไปวางไว้บนเก้าอี้ และให้คุณแม่หลังคลอดนั่งทับ ความร้อนจากอิฐที่เผาไฟ จะทำให้บริเวณปากช่องคลอดแห้งเร็ว ทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ว
5. การนั่งถ่าน
คือการให้แม่หลังคลอดมานั่งเก้าอี้ที่เจาะรูตรงกลาง ด้านล่างมีเตาถ่านติดไฟอยู่พร้อมทั้งสมุนไพรที่ใช้โรยบนถ่าน ไอระเหยจากสมุนไพรจะลอยไปสัมผัสบาดแผลบริเวณปากช่องคลอด เพื่อทำให้แผลแห้งเร็ว ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระชับคืนสู่สภาพปกติและมดลูกเข้าอู่เร็ว รวมถึงป้องกันการเกิดตกขาวด้วย ปัจจุบันไม่นิยมใช้วิธีนี้ทำกันเนื่องจากมีกรรมวิธีที่ยุ่งยากในการจัดเตรียมอุปกรณ์ และโรงพยาบาลจะมีการส่องไฟฟ้าบริเวณปากช่องคลอดจนแผลแห้งให้คุณแม่หลังคลอด
อาการ มดลูก ไม่ เข้า อู่ มดลูก เข้า อู่ กี่ วัน
6. การอบสมุนไพร
คือการอบตัวด้วยไอน้ำจากการต้มสมุนไพรจนเดือน โดยการนั่งในกระโจมหรือสุ่มไก่ที่ปิดมิดชิด เมื่อผิวหนังได้สัมผัสไอน้ำจะช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณคุณแม่เปล่งปลั่งสดชื่น มีน้ำมีนวลขึ้นได้
7. การเข้ากระโจม
แม่หลังคลอดอาจจะมีกลิ่นตัว การเข้ากระโจมเป็นการอบไอตัวด้วยสมุนไพรเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกตกค้างในร่างกาย ให้ระบายออกมาทางผิวหนัง ถ้าเพิ่มว่านนางคำ ว่านชักมดลูก ก็จะช่วยให้มดลูกหดรัดตัวได้ดี เข้าอู่ได้เร็วขึ้น แต่หากคุณแม่เป็นคนแพ้ง่ายควรสังเกตอาการจากการแพ้สมุนไพรบางชนิดด้วย
บทความที่น่าสนใจ :
แผลฝีเย็บ แผลหลังคลอด คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร
เมนูอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกันหลังคลอด 6 สูตร ประโยชน์ครบสำหรับคุณแม่ในช่วงอยู่ไฟ
อยู่ไฟหลังคลอด แม่หลังคลอดจำเป็นที่จะต้องอยู่ไฟไหม?
ที่มา : thebump
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!