เจาะน้ำคร่ำ สิ่งที่คุณแม่หลายท่านมีความวิตกกังวลเพราะว่ากลัวว่าทารกในครรภ์จะได้รับอันตราย ในความเป็นจริงแล้วการเจาะน้ำคร่ำนั้นทำเพื่อตรวจอะไร? ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือไม่ และการเจาะน้ำคร่ำสามารถบอกความเสี่ยงของโรคที่เกิดขึ้นกับทารกได้จริงหรือไม่ ไปติดตามกันค่ะ
การเจาะน้ำคร่ำคืออะไร?
การเจาะน้ำคร่ำ คือ การเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำจากถุงน้ำคร่ำเพื่อนำมาตรวจ แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงเข้าทางช่องท้องเข้าไปยังมดลูกโดยดูจากอัลตร้าซาวน์ และเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำ (ปริมาณน้อยกว่า 1 ออนซ์) ส่งไปห้องแล็บเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ตามความจำเป็นและความเสี่ยงที่แพทย์ต้องการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
บทความที่น่าสนใจ : น้ำคร่ำ คืออะไร? มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร
ทำไมต้องตรวจน้ำคร่ำ? ทำไมต้องมี การเจาะน้ำคร่ำ
การตรวจน้ำคร่ำจะสามารถบอกความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้ เช่นภาวะดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติทางโครโมโซม ขั้นตอนการตรวจดังกล่าวถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับทั้งตัวแม่และทารก แพทย์จึงมักแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมดังต่อไปนี้ทำการตรวจ:
- สังเกตเห็นความผิดปกติจากอัลตร้าซาวด์
- มีประวัติคนในครอบครัวมีความพิการแรกเกิด
- เคยให้กำเนิดทารกที่มีความพิการแรกเกิด
- มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในวันที่กำหนดคลอด
นอกจากนี้การเจาะน้ำคร่ำสามารถตรวจพบภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defect (NTD) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการไม่พัฒนาของสมองและกระดูกสันหลังของทารกในครรภ์ที่อาจนำไปสู่ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง และภาวะที่ทารกไม่มีสมองและกะโหลกศีรษะ
เจาะน้ำคร่ำ ต้องมีอายุครรภ์กี่สัปดาห์
คนท้องที่ต้องการเจาะน้ำคร่ำ ต้องมีอายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน อาทิ น้ำเดิน เลือดออก ติดเชื้อ หรือร้ายแรงถึงขั้น แท้งลูก คนท้องจึงไม่อาจเจาะน้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์ที่ต่ำกว่านี้ และนอกจากมีความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อนดังที่กล่าวมาแล้ว ขณะที่อายุครรภ์น้อย ๆ เซลล์ก็อาจไม่พอตรวจได้ด้วย
บทความที่น่าสนใจ : อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ
คุณแม่หลายท่านมีความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องของการเจาะน้ำคร่ำที่ฟังดูก็น่าจะต้องเจ็บปวดทรมาน และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากการเจาะเข้าไปยังบริเวณหน้าท้อง เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าขั้นตอนการเจาะถุงน้ำคร่ำแบบคร่าว ๆ นั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพื่อคลายกังวลให้กับคุณแม่
- เริ่มจากการอัลตร้าซาวด์ ตรวจดูท่าของเด็ก ตำแหน่งที่รกเกาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะผ่านรก หรือการเจาะที่จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
- จะทำความสะอาดหน้าท้อง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้องและผนังมดลูก เข้าสู่ถุงน้ำคร่ำ (น้ำที่อยู่รอบ ๆ ตัวทารก) และดูดน้ำคร่ำออกมาประมาณ 20 มิลลิลิตร (ประมาณ 2-4 ช้อนชา) เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ถอนเข็มออก ก็จะทำการปิดแผล รวม ๆ แล้วใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที
การตรวจน้ำคร่ำแม่นยำแค่ไหน?
- การตรวจน้ำคร่ำมีความแม่นยำประมาณ 99.4%
- บางครั้งการตรวจอาจไม่ได้ผลตามคาดเนื่องจากความผิดพลาดทางเทคนิค เช่น เก็บตัวอย่างน้ำคร่ำได้น้อยเกินไป หรือไม่สามารถเพาะเซลล์ให้เจริญเติบโตได้
อย่างไรก็ตาม การตรวจน้ำคร่ำไม่สามารถบ่งชี้ความผิดปกติทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นกับทารก แต่สามารถบอกเกี่ยวกับสภาวะผิดปกติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:
- ดาวน์ซินโดรม
- โรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ (Sickle cell)
- โรคซิสติกไฟโบรซิส (เยื่อหุ้มโป่งพอง)
- โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
- โรคเสื่อม (Tay-Sachs) หรือโรคอื่น ๆ ที่คล้ายกัน
การตรวจน้ำคร่ำยังสามารถใช้ตรวจหาความบกพร่องที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาท (โรคที่สมองและกระดูกไขสันหลังเจริญเติบโตผิดปกติ) เช่น สไปนาไบฟิดา (ภาวะกระดูกไขสันหลังบกพร่อง) และภาวะที่ทารกไม่มีสมองและกะโหลกศีรษะ การทำอัลตร้าซาวด์ในระหว่างการเจาะน้ำคร่ำยังอาจช่วยให้แพทย์ตรวจพบความบกพร่องอื่น ๆ ที่ไม่สามารถพบได้จากการตรวจน้ำคร่ำ เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคเท้าปุก หรือโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม ยังมีความผิดปกติแรกเกิดอื่น ๆ ที่ไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการทำอัลตร้าซาวด์และการตรวจน้ำคร่ำ
หากคุณกำลังจะตรวจน้ำคร่ำ คุณอาจอยากถือโอกาสถามคุณหมอเกี่ยวกับเพศของเด็กด้วย เพราะนี่ถือเป็นวิธีที่สามารถระบุเพศของเด็กได้แม่นยำที่สุดวิธีหนึ่ง คุณยังสามารถทำการตรวจน้ำคร่ำในช่วงไตรมาสที่ 3 เพื่อดูว่าปอดของเด็กเจริญเติบโตพร้อมสำหรับการคลอดแล้วหรือไม่ หรือเพื่อเช็กอาการติดเชื้อต่าง ๆ
บทความที่น่าสนใจ : ตรวจดาวน์ ฟรี คนท้องอายุ 35 ปีขึ้นไป คัดกรองดาวน์ซินโดรมทุกสิทธิการรักษา
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังเจาะน้ำคร่ำ
การเจาะน้ำคร่ำ แพทย์มักจะแนะนำให้คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 16-20 สัปดาห์ ซึ่งอยู่ในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ โดยการเจาะน้ำคร่ำมีโอกาสที่อาจทำให้แท้งบุตร (น้อยกว่า 1% หรือประมาณ 1 ใน 200 ถึง 400) นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเกิดการติดเชื้อ เกิดแผลที่ตัวเด็กหรือตัวคุณแม่ หรืออาจทำให้คลอดก่อนกำหนด แต่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำยังทำไปพร้อมกับการอัลตร้าซาวด์เพื่อดูตำแหน่งของเข็ม จึงลดอันตรายที่เข็มจะถูกตัวลูกในท้อง ถึงอย่างไรก็ตามหากคุณแม่บางท่านมีความจำเป็นที่จะต้องเจาะน้ำคร่ำก่อนอายุครรภ์ครบ 15 สัปดาห์ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้
- เกิดตะคริว
- มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย
- น้ำคร่ำไหลออกจากช่องคลอด (พบได้ยาก)
- การติดเชื้อในมดลูก (พบได้ยาก)
หลังจากเจาะน้ำคร่ำ คุณแม่ทำอะไรได้บ้าง?
หลังจากการเจาะน้ำคร่ำเสร็จสิ้น และรอผลตรวจ คุณแม่สามารถกลับมาพักผ่อนที่บ้านได้ตามปกติ แต่ควรงดการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก อาทิ ยกของหนัก ทำงานบ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย คุณแม่บางท่านอาจมีอาการปวด หรือรู้สึกไม่สบายร่างกายสามารถทานยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายได้ หากมีการแทรกซ้อนอื่นเพิ่มเติม และดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นให้รีบพบแพทย์ในทันที
เป็นอย่างไรบ้างคะ หวังว่าคุณแม่คงคลายกังวลได้บ้างสำหรับการเจาะน้ำคร่ำ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดใช่ไหมคะ ถึงแม้ว่าจะมีอาการแทรกซ้อนบ้างในบางกรณีแต่ก็ถือว่าพบได้ยากมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตามหากคุณแม่มีความประสงค์ไม่ต้องการเจาะน้ำคร่ำก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลได้นะคะ แพทย์อาจหาทางออก หรือให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดีที่สุดค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
8 เหตุผลทำไมควร มีเซ็กส์ตอนท้อง ในไตรมาสที่ 2 มีเซ็กส์ช่วงนี้ดียังไง?
หมอนัดตรวจครรภ์บ่อยแค่ไหน เดือนนี้หมอนัดแล้วไม่ไปได้ไหม ไปเดือนหน้าได้ไหม
อาหารคนท้องไตรมาส 2 สารอาหารแบบไหนบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการเจาะน้ำคร่ำ ได้ที่นี่!
เจาะน้ำคร่ำ ทำเพื่ออะไรคะ จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องไหมคะ
ที่มา: webmd, nhs, healthline
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!