X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิตามินบี 1 ขาดแล้วอาจเสียชีวิตจริงไหม แล้วดีต่อแม่ท้องอย่างไร ?

บทความ 8 นาที
วิตามินบี 1 ขาดแล้วอาจเสียชีวิตจริงไหม แล้วดีต่อแม่ท้องอย่างไร ?

ที่ใคร ๆ ก็พูดกันว่า วิตามินบี 1 ขาดแล้วตายจริงหรือ? ปัจจุบันมีการสำรวจว่าคนไทยมีภาวะการขาดวิตามินบี 1 จากการบริโภคอาหารไม่ครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน เนื่องจากวิตามินชนิดนี้ อยู่ในกลุ่มสารอาหารที่สามารถละลายในน้ำ ร่างกายจึงไม่กักเก็บไว้ใช้และขับออกมาจนหมดโดยอัตโนมัติ ดังนั้น คนปกติและคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรรับวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายเป็นประจำทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคขาดสารอาหาร อาการมือชา เท้าชา ลามไปถึงโรคหัวใจได้

 

ทำไมการขาด วิตามินบี 1 จึงเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่ว่าร่างกายจะขาดสารอาหารประเภทใดก็ตาม สามารถส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วย และเสี่ยงต่อโรคภัยขั้นร้ายแรงได้ ทั้งนี้ “วิตามินบี 1” หรือ “ไธอะมีน” (Thiamine) เป็นโคเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อ การเผาผลาญพลังงาน มีส่วนช่วยบำรุงสมอง ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย หากขาดหรือได้รับไม่เพียงพอ จะทำให้สูญเสียการควบคุม  ระบบประสาทไม่สั่งงาน มีความเสี่ยงต่อโรคเหน็บชา และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างเช่น ตัวบวม เริม ภูมิแพ้ และภาวะหัวใจเต้นเร็ว

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิตามินบี 12 ช่วยอะไร มีประโยชน์อย่างไร จำเป็นสำหรับคนท้องหรือไม่ ?

 

วิดีโอจาก : โตไปด้วยกัน Family Journey

 

สัญญาณบอกว่า คุณแม่ท้อง ทารก และผู้ใหญ่ กำลังขาดวิตามินบี 1

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า การขาดวิตามินบี 1 ทำให้เกิดโรคเหน็บชาได้ง่าย ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทุกวัย เช่น โรคเหน็บชาในทารก หรือ Infantile Beriberi พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตมากทั้งผู้ใหญ่และเด็กในประเทศที่นิยมรับประทานข้าวขัดสีหรือข้าวขาวเป็นหลัก โดยจะแสดงอาการ ดังนี้

 

อาการทั่วไป

  • รู้สึกเหนื่อยง่าย เมื่อยล้า ไม่ค่อยมีแรง
  • เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อารมณ์ไม่คงที่ ขี้ลืม มึนงงบ่อย ๆ

อาการขั้นรุนแรง

  • การเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กับระบบประสาท เช่น สมองไม่สั่งงานมือและเท้า
  • เกิดอาการชา ตามนิ้วมือ นิ้วเท้า
  • เป็นอัมพาต
  • ภาวะหัวใจวาย

 

ทั้งนี้สาเหตุการขาดวิตามินบี 1 มาจากการรับสารอาหารในแต่ละวันไม่เพียงพอ ประกอบกับ การบริโภคคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป จนทำให้ใช้ไธอะมีนเยอะ ในการเผาผลาญ อีกทั้งวิตามินได้ถูกทำลายจากการปรุงด้วยอุณหภูมิที่ร้อนจัด หรือถูกทำลายจาก แอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำ อากาศ เป็นประจำ รวมไปถึงการใช้ยาลดกรดในกระเพาะ และยาในกลุ่มซัลฟา เป็นต้น

 

ปริมาณวิตามินบี 1 ที่แนะนำในแต่ละวัน

  • ผู้ใหญ่ทั่วไป ควรได้รับวิตามินบี 1 จากอาหารวันละ 1-1.5 มิลลิกรัมต่อวัน
  • หากต้องรับวิตามินบี 1 ในรูปแบบของอาหารเสริม ควรได้รับปริมาณวันละ 25-500 มิลลิกรัมต่อวัน (ในรูปแบบของวิตามินบีรวม)
  • คุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นมบุตร ควรได้รับวิตามินบี 1 จากอาหารมากกว่า 1.6 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าขาดวิตามินบี 1 และคนดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ควรได้รับวิตามินบี 1 ปริมาณมากกว่าคนปกติ

 

“วิตามินบี 1” หรือ “ไธอะมีน” มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย เนื่องจากวิตามินบี 1 มีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ
  • มีส่วนสำคัญในกระบวนการย่อยคาร์โบไฮเดรตหรืออาหารจำพวกแป้ง
  • สำคัญต่อระบบประสาท ช่วยบำรุงสมอง สมาธิ สติปัญญาให้มีความจำดีขึ้น
  • บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานได้ดี
  • ป้องกันและรักษาอาการเหน็บชา และปลายประสาทต่าง ๆ
  • ลดอาการเมา มึนงง ขณะเดินทาง เช่น เมารถ เมาเครื่องบิน
  • ลดอาการปวด หลังทำฟัน เนื่องจากระบบประสาทได้รับความกระทบกระเทือน
  • มีส่วนช่วยรักษา โรคงูสวัด
  • ป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

วิตามินบี 1

 

แม่ท้องและคนทั่วไปสามารถรับวิตามินบี 1 จากอาหารประเภทใด

ปกติแล้ว ถ้าพูดถึงการเสริมวิตามินเสริมต่าง ๆ ให้แก่ร่างกาย คนทั่วไปมักจะนึกถึงการรับประทานในรูปแบบของอาหารเสริม แต่จริง ๆ แล้วในชีวิตประจำวัน เราสามารถรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 จากธรรมชาติได้ไม่ยาก

 

1. ข้าวไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี

เรามักจะถูกสอนว่า กินข้าวกล้อง ช่วยป้องกัน โรคเหน็บชา เรื่องนี้คือความจริงค่ะ เพราะในข้าวกล้องหรือข้าวไม่ขัดสีนั้นมีไธอะมีนสูง ซึ่งข้าวกล้อง 100 กรัมมีปริมาณวิตามินบี 1 ถึง 0.55 มิลลิกรัม

 

2. ข้าวเหนียวดำ

บ้านเราโชคดีที่มีข้าวหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกบริโภค หนึ่งในนั้นคือ ข้าวเหนียวดำ ซึ่งมักจะถูกนำมาทำเป็นของหวานแบบไทย ๆ ข้าวเหนียวดำที่มีความหนึบเหนียวอร่อย ให้ประโยชน์ทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งวิตามินบี 1 ซึ่งในปริมาณ 100 กรัมจะมีไธอะมีนถึง 0.55 มิลลิกรัม

3. เมล็ดทานตะวัน

พืชตระกูลถั่ว เป็นอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูงมาก ซึ่งเมล็ดทานตะวัน เป็นอีกหนึ่งธัญพืชสามารถรับประทานได้ตั้งแต่ต้นอ่อน และนำเมล็ดไปสกัดน้ำมัน รวมถึงเมล็ดที่ถูกนำมาอบเพื่อรับประทานเล่น ซึ่ง เมล็ดทานตะวันอบธรรมชาติ 100 กรัม จะมีวิตามินบี 1 สูงถึง 1.48 มิลลิกรัมทีเดียว

 

4. ถั่วแมคาเดเมีย

ถั่วแมคาเดเมีย ที่นำไปทำขนมเพื่อเพิ่มรสชาติและความอร่อย ทราบหรือไม่ว่า ถั่วชนิดนี้ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.71 มิลลิกรัม จากถั่ว 100 กรัม ทั้งนี้ต้องระวังปริมาณไขมันที่อยู่ในถั่วต่าง ๆ แม้จะเป็นไขมันที่ดี แต่ควรรับประทานอย่างเหมาะสมเช่นวันละ 35 กรัมต่อวัน

 

5. ถั่วเหลือง

คนทั่วไปนิยมดื่มน้ำนมถั่วเหลืองและนำเต้าหู้มาประกอบอาหาร นอกจากในถั่วเหลืองจะมีโปรตีนสูงแล้ว ในปริมาณ 100 กรัมให้วิตามินบี 1 อยู่ 0.73 มิลลิกรัม  และคุณแม่ท้องสามารถรับประทานได้ทุกวัน

 

6. ฝักและเมล็ดถั่วลันเตา

ถ้าพูดถึงถั่วลันเตาแบบฝักอ่อน สามารถนำมาผัดกับเนื้อสัตว์เป็นอาหาร หรือเครื่องเคียง ส่วนเมล็ดที่โตแล้วจะถูกนำมาประกอบอาหารอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน รวมถึงนำไปอบเป็นของว่างทานเล่น ทราบหรือไหมว่า ถั่วลันเตาแบบเมล็ดกลม ๆ มีไธอะมีนสูง อยู่ที่ 0.386 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมเลยค่ะ

 

วิตามินบี 1 สอง

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

 

7. ต้นหน่อไม้ฝรั่ง

ผักแสนอร่อยที่ถูกใจใครหลายคน หน่อไม้ฝรั่ง ถือเป็นแหล่งของไธอะมีนที่ดี โดยหน่อไม้ฝรั่ง 1 ถ้วย จะมีวิตามินบี 1 อยู่ 0.19 มิลลิกรัม ผักชนิดนี้ดีสำหรับแม่ท้อง เพราะให้ธาตุเหล็กสูงอีกด้วย

8. ขนมปังธัญพืชหรือโฮลวีต

สำหรับคุณแม่ท้อง อยากให้เลี่ยงขนมปังขาวไปก่อน โดยหันมารับประมาณขนมปังชนิดโฮลวีต หรือโฮลเกรน เพราะให้ไฟเบอร์สูงดีต่อระบบขับถ่าย แถมยังมีวิตามินบี 1 สูง 0.47 มิลลิกรัมต่อขนมปัง 1 แผ่นใหญ่หรือประมาณ 80-100 กรัม

 

9. เนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์ อย่าง หมูเนื้อแดง ไร้ไขมัน จะมีไธอะมีนเยอะมาก หากกำลังตั้งครรภ์ ควรเลือกบริโภคเนื้อไม่ติดมัน เช่น ส่วนสันในและสันนอก ซึ่งเนื้อหมูหรือเนื้อวัว 100 กรัม จะให้วิตามินบี 1 สูงถึง 1.12 มิลลิกรัม ทั้งนี้คุณแม่สามารถนำไปประกอบอาหารร่วมกับ ผักอื่น ๆ ที่กล่าวมาได้ค่ะ

 

10. ปลาเทราต์

ใครที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์เพราะกลัวย่อยยากหรือเบื่อปลาแซลมอนแล้ว ลองหันมากินปลาเทราต์ดูค่ะ เพราะในเนื้อปลาเทราท์ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ 0.43 มิลลิกรัม การกะปริมาณปลา ลองวัดจาก 8-10 ช้อนโต๊ะ จะเท่ากับ 100-150 กรัม

 

วิตามินบี 1 คล้ายสารอาหารที่ถูกมองข้าม เพราะคนส่วนใหญ่เน้นไปที่การรับประทานวิตามินบีรวม แบบอาหารเสริม แต่ความจริงแล้ว เราต้องใส่ใจกับอาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ที่ต้องเพิ่มและแบ่งสารอาหารไปสู่ทารก อีกทั้งคนปกติ หากขาดวิตามินบี 1 แล้ว จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ไตวาย โรคหัวใจล้มเหลว ไทรอยด์เป็นพิษ อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ถูกหลักโภชนาการ ย่อมเป็นผลดีต่อคนทุกเพศทุกวัยค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิตามินบี 2 ดีอย่างไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์จึงห้ามขาดวิตามินบี 2

ซีลีเนียม แร่ธาตุนี้ดียังไงต่อคนท้อง ร่างกายขาดอาจเป็นอันตรายได้

แมงกานีส ทำไมคนท้องต้องกิน ดีอย่างไร หาทานได้จากอาหารชนิดไหนบ้าง

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของวิตามิน B1 ได้ที่นี่ !

วิตามิน B1 หากขาดไปแล้วอันตรายจริงรึป่าวคะ

ที่มา : 1 , 2 , 3 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • วิตามินบี 1 ขาดแล้วอาจเสียชีวิตจริงไหม แล้วดีต่อแม่ท้องอย่างไร ?
แชร์ :
  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ