กินกะหล่ำปลีแล้วเป็นหมัน เป็นความเชื่อที่พูดกันปากต่อปากส่งต่อกันมาเป็นเวลานานหลายปี บางคนก็เชื่อจนไม่กินกะหล่ำปลีอีกเลย ส่วนบางคนก็ยังคงกินได้ตามสบาย ไม่ได้เชื่อ หรือไม่ได้หยุดกินใด ๆ ทั้งสิ้น มาดูกันดีกว่าจริง ๆ แล้วกินกะหล่ำปลีแล้วเป็นหมัน จริงหรือเปล่า
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกะหล่ำปลี
กะหล่ำปลี ถูกจัดอยู่ในวงศ์ของผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE) มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเมดิเตอเรเนีย และก็ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของโลก ซึ่งกะหล่ำปลีนั้นเป็นพืชที่ขึ้นง่าย ไม่ต้องดูแลมากขนาดของกะหล่ำปลีจะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่พื้นที่ปลูก และสายพันธุ์ โดยแยกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ กะหล่ำปลีธรรมดา กะหล่ำปลีแดง และกะหล่ำปลีใบย่น
บทความที่น่าสนใจ : อานุภาพกะหล่ำปลีบรรเทาอาการคัดเต้า
ประโยชน์ของกะหล่ำปลี
กะหล่ำปลีเป็นผักยอดฮิตที่นิยมนำมาทำอาหารกันเป็นอย่างมากในประเทศแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเมนู ต้ม ผัด นึ่ง หรือแม้แต่กินดิบ ๆ โดยสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด หรือตามซูเปอร์มาร์เก็ต แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วกะหล่ำปลีนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราเทียบเท่ากับผักชนิดอื่น ๆ เหมือนกัน เรามาดูกันดีกว่าว่ากะหล่ำปลีมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง
1. มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
กะหล่ำปลีมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดความเสียหายของเซลล์ในร่างกายของเราด้วยอนุมูลอิสระ โดยการที่ร่างกายของเรานั้นมีสารอนุมูลอิสระสะสมเป็นจำนวนมากอาจก่อให้เกิดการอักเสบ และเป็นโรคอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันมะเร็งได้บางชนิด โดยการวิจัยพบว่าการบริโภคพืชตระกูลกะหล่ำปลีอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์นั้นมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้หญิงลดลงมากถึง 33 เปอร์เซ็นต์
บทความที่น่าสนใจ : อยากเห็นอนาคตลูกสดใส รู้จักวิธีลดอนุมูลอิสระให้กับร่างกาย เพื่อที่จะได้อยู่กับลูกไปนานๆ
2. อุดมไปด้วยวิตามินซี
หลายคนอาจเข้าใจว่าผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเท่านั้นที่มีวิตามินซีสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผักหลายชนิดก็มีวิตามินสูงเช่นกัน โดยในกะหล่ำปลีนั้นมีวิตามินซีที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Recommended Dietary Allowances : RDA) ซึ่งวิตามินซีนั้นมีส่วนช่วยให้ร่างกายของเราสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้เป็นอย่างดี เพื่อมาสร้างคอลลาเจนที่ช่วยรักษาบาดแผล และเสริมภูมิคุ้มกันของเราให้ปราศจากโรคได้
3. เป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ดี
กะหล่ำปลีเป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ดี เส้นใยในกะหล่ำปลีช่วยให้บรรเทาอาการท้องผูก ปรับระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในกะหล่ำปลี 100 กรัมมีปริมาณไฟเบอร์ 5 กรัม หรือ 9 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
4. เสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง
กะหล่ำปลีมีสามารถสำคัญอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยเรื่องของกระดูก และการแข็งตัวของเลือดในร่างกายของเรา นั่นก็คือ วิตามินเค โดยมีปริมาณวิตามินเคมากถึง 68 ไมโครกรัมในกะหล่ำปลีปรุงสุก ซึ่งเป็นปริมาณที่เกือบจะถึงเกณฑ์ที่ร่างกายของเราต้องการใน 1 วัน สำหรับปริมาณวิตามินเคของผู้ชายจะอยู่ที่ 120 ไมโคกรัม และผู้หญิงอยู่ที่ 90 ไมโครกรัมต่อวันนั่งเอง ถึงอย่างไรก็ตามการที่ร่างกายของเราขาดวิตามินเคนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่บางคนที่มีอาการป่วยอย่างเช่น โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ ที่หากมีการได้รับวิตามินเคในปริมาณที่ต่ำเกินกว่าเกณฑ์ อาจทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง และมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในการที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน หรืออาจเกิดปัญหาเรื่องรอยฟกช้ำที่ไม่ได้พบบ่อยมากนัก
กะหล่ำปลีมีสามารถสำคัญอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยเรื่องของกระดูก และการแข็งตัวของเลือดในร่างกายของเรา
5. ช่วยต้านการอักเสบ
การอักเสบในระยะสั้น ๆ หรือเป็นแค่ชั่วคราวนั้นอาจส่งผลให้เกิดความเครียดแบบเฉียบพลัน แต่อาการอักเสบในระยะยาว หรือการเป็นโรคนั้นอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย และนำไปสู่ความเจ็บปวดที่รุนแรงได้ ดังนั้นการรักษาการอักเสบในระยะยาวนั้นจำเป็นที่จะต้องรักษาให้หายให้ไวมากที่สุด โดยในกะหล่ำปลีนั้นมีสารต้านอักเสบหลายชนิด ซึ่งรวมถึง สารชัลโฟราเฟน (sulforaphane) คือสารประกอบที่มีกำมะถันอยู่ในโมเลกุล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารประกอบกำมะถันที่พบในผักตระกูล Brassica หลายชนิดและ kaempferol ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ในการศึกษาวิจัยพบว่าในกะหล่ำปลีสีแดงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์ม้ามได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำน้ำสกัดจากกะหล่ำปลีมาต้านอาการผิวหนังอักเสบจากการทาครีมได้อีกด้วย
6. บำรุงหัวใจ
จากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่กินผักตระกูลกะหล่ำปลี ที่รวมถึงกะหล่ำบรัสเซลส์ กะหล่ำดอก และบร็อคโคลี่ มีโอกาสน้อยกว่า 46% ที่จะมีอาการปูนของหลอดเลือดในช่องท้อง ซึ่งหากเกิดอาการดังกล่าวนั้นอาจเป็นเหมือนสัญญาณเตือนของร่างกายเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ซึ่งการศึกษาสรุปได้ว่าการรับประทานผักตระกูลกะหล่ำปลีที่มาก สามารถป้องกันการสะสมของแคลเซียมและส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจของเราได้
บทความที่น่าสนใจ : บร็อคโคลี่ ผักสีเขียวเข้มที่ให้คุณประโยชน์มากมายต่อทารกน้อย
กินกะหล่ำปลีแล้วเป็นหมัน จริงหรือไม่?
หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “กินกะหล่ำปลีแล้วเป็นหมัน” ในความจริงแล้วไม่เป็นความจริง แต่การทานกะหล่ำปลีดิบ ๆ นั้นจะก่อให้เกิดโรคคอพอกมากกว่า โดยในกะหล่ำปลีดิบนั้นจะมีสารที่ทำลายตัวหนึ่งชื่อว่า กอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งสารตัวนี้จะเป็นตัวที่จะขัดขวางการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ที่เราได้รับในแต่ละวัน พบมากในพืชตระกูลกะหล่ำ บร็อคโคลี่ หัวผักกาด และพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ การทำงานของสารกอยโตรเจน เป็นการไปยับยั้งการการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายของเราได้รับไอโอดีนจากเลือดไม่เพียงพอ และอาจส่งผลทำให้เกิดโรคคอพอกในที่สุด ดังนั้นการทานพืชตระกูลกะหล่ำควรนำไปผ่านความร้อน ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ก่อนเพื่อสลายสารกอยโตรเจน แต่อย่างไรก็ตามกะหล่ำปลีดิบที่ดูเหมือนจะอันตรายถ้าได้รับประทานก็ไม่น่ากลัวขนาดนั้น เพราะการที่คุณจะได้รับปริมาณสารกอยโตรเจนจนเกิดโรคดังกล่าวจะต้องบริโภคกะหล่ำปลีดิบเป็นกิโล ๆ เลย
กินกะหล่ำปลีแล้วเป็นหมัน ไม่เป็นความจริง แต่การทานกะหล่ำปลีดิบ ๆ นั้นจะก่อให้เกิดโรคคอพอก
บทความที่น่าสนใจ : โรคคอพอก เด็กและคนท้องเป็นกันได้ เกิดจากร่างกายขาดไอโอดีนจริง ๆ หรือไม่
ผลกระทบต่อร่างกายอื่นของกะหล่ำปลี
กะหล่ำปลี เป็นพืชผักตระกูลกะหล่ำที่ให้สารอาหารมากมาย รวมทั้งไฟเบอร์ โฟเลต แคลเซียม โพแทสเซียม และวิตามินเอ วิตามินเอ และวิตามินเค กะหล่ำปลีมีสารไฟโตนิวเทรียนท์ (phytonutrients) ที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานกะหล่ำปลีในปริมาณมากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้
- ท้องอืด กะหล่ำปลีมีแรฟฟิโนส (Raffinose) ในปริมาณมาก ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ย่อยไม่ได้ ซึ่งน้ำตาลนี้เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนชนิดหนึ่งที่ผ่านลำไส้ของคุณโดยไม่ได้ย่อยและอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด และอาการอื่นๆ ได้ อาทิ เรอ ไม่สบายท้อง เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าวจะเกิดหลังจากที่ได้ทานกะหล่ำปลีไปแล้ว
- ท้องร่วง กะหล่ำปลีสีเขียวมีเส้นใย 5.8 กรัมต่อการให้บริการ 1 ถ้วย โดยรายงานหนึ่งจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน พบว่าเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำในกะหล่ำปลีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการรับประทานไฟเบอร์มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง หรือลำไส้อุดตันได้ นอกจากนี้ผู้ที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งจากเคมีบำบัด อาจต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานกะหล่ำปลีชั่วคราว เนื่องจากผักชนิดนี้อาจทำให้อาการท้องร่วงรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
การทานกะหล่ำปลีมาก ๆ ทำให้เกิดอาการท้องอืดและท้องร่วงได้
- ปฏิกิริยาระหว่างยา กะหล่ำปลีมีวิตามินเคในปริมาณสูง ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว การรับประทานกะหล่ำปลีมากเกินไปอาจรบกวนการใช้ยาลดความอ้วน แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานกะหล่ำปลีสีเขียว 2 ถ้วยต่อวัน มีส่วนช่วยให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินเคในปริมาณที่ต้องการโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสีย โดยการวิจัยของ University of Michigan Health System กล่าวว่า การบริโภคอาหารที่มีวิตามินเคสูงในปริมาณที่สม่ำเสมอและการ จำกัดปริมาณวิตามินเคให้อยู่ในปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันสามารถช่วยในการป้องกันปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายได้
บางครั้งความเชื่อ หรือคำพูดปากต่อปากก็อาจส่งผลทำให้เรากลัว ดังนั้นคุณควรศึกษาข้อมูลที่แท้จริงก่อน เพื่อความสบายใจ และการบริโภคผักหรือผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถึงอย่างไรก็ตามการทานกะหล่ำปลีไม่ได้ทำให้เป็นหมัน แต่อาจส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ ควรระวังในการรับประทานกันด้วยนะคะ
บทความที่น่าสนใจ :
วิธีคุมกําเนิด แบบไหนดีที่สุด! กินยาคุม ใส่ถุงยาง ฝังเข็มยาคุม หรือทำหมันเลยดีไหม
ผักผลไม้ 5 สี กินแล้วดีอย่างไร? เด็กกินได้ ผู้ใหญ่กินดี ประโยชน์เพียบ!!
ที่มา : healthline, health, livestrong, nstda
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!