X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคคอพอก เด็กและคนท้องเป็นกันได้ เกิดจากร่างกายขาดไอโอดีนจริง ๆ หรือไม่

บทความ 5 นาที
โรคคอพอก เด็กและคนท้องเป็นกันได้ เกิดจากร่างกายขาดไอโอดีนจริง ๆ หรือไม่

โรคคอพอก เป็นโรคที่คนไทยคุ้นเคยกันดี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นกันได้ แต่เราจะรู้ได้ยังไง ว่าใครที่มีความเสี่ยงเป็นคอพอก หรือกำลังป่วยเป็นคอพอกบ้าง วันนี้ theAsianparent Thailand จะมาแชร์วิธีสังเกตอาการคนที่เป็นคอพอกให้ได้รู้กัน พร้อมทั้งเล่าให้ฟังว่าโรคนี้เกิดจากอะไร เพื่อช่วยให้คุณแม่เฝ้าสังเกตและดูแลตัวเองและลูก ๆ ได้

 

โรคคอพอกคืออะไร

คอพอก เป็นภาวะความผิดปกติของร่างกาย เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมาผิดปกติ ซึ่งคนที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักมีก้อนเนื้อขนาดใหญ่อยู่ที่บริเวณด้านหน้าลำคอ จนอาจทำให้ไอ หายใจเสียงดังหวีด เสียงแหบ หายใจไม่ออก มีปัญหาในการกลืนอาหาร รวมทั้งบางคนอาจรู้สึกวิงเวียนร่วมด้วย ส่วนสาเหตุที่ทำให้ร่างกายผู้ป่วยผลิตฮอร์โมนออกมาผิดปกติ ก็อาจมาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • ร่างกายขาดสารไอโอดีน เด็กที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารที่มีไอโอดีน หรือเด็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศด้อยพัฒนา มักจะเป็นโรคคอพอก เนื่องจากไม่ค่อยได้รับประทานไอโอดีน และเมื่อร่างกายขาดไอโอดีน ต่อมไทรอยด์จะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนออกมาได้เพียงพอ แถมยังผลิตสาร TSH ออกมาเยอะเกินไป จนทำให้ต่อมไทรอยด์บริเวณคอขยายใหญ่ขึ้น
  • โรคเกรฟส์ หรือ Graves’ Disease เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์บริเวณด้านหน้าลำคอ ที่ทำงานผิดปกติ จนต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมาเป็นจำนวนมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจมีอาการรุนแรง จนไทรอยด์เป็นพิษ รวมทั้งระบบประสาทและระบบสมอง อาจได้รับผลกระทบด้วยในที่สุด
  • โรค Hashimoto’s Thyroiditis เป็นโรคต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง ที่เกิดจากการทำงานที่บกพร่องของภูมิคุ้มกัน พบได้บ่อย
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ พบได้ไม่บ่อยนัก เป็นโรคที่เกิดจากการขยายตัวของต่อมไทรอยด์ที่ด้านใดด้านหนึ่ง
  • การตั้งครรภ์ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ หากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมน HCG ออกมาได้ตามปกติ อาจส่งผลให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นได้
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบ ภาวะความผิดปกตินี้ จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนออกมาได้ไม่สมดุลกัน โดยอาจจะมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จนทำให้เด็ก ๆ รู้สึกเจ็บปวด เมื่อต้องกลืนอาหารลงคอ
  • การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ อาจมีส่วนทำให้ต่อมไทรอยด์ขยายตัวใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นคอพอกได้

บางคน สามารถหายจากโรคคอพอกได้เอง อย่างไรก็ตาม หากต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่เกินไป อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก ทั้งนี้ ถ้าคุณแม่สังเกตเห็นว่าตัวเองหรือลูกมีก้อนเนื้อที่คอ หรือคอบวมโต ควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพื่อรับการวินิจฉัย และให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคคอพอก เป็นอย่างไร ทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับโรคคอพอก 

 

โรคคอพอก

 

คนกลุ่มไหนที่เสี่ยงเป็นคอพอก

บางคนอาจจะเป็นคอพอกตั้งแต่เกิด หรือเป็นหลังจากเกิดที่ได้ไม่กี่ปี โดยกลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นคอพอกนั้น มักเป็นคนที่รับประทานเกลือไอโอดีนน้อย หรืออยู่ในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคคอพอกได้มากกว่าผู้ชาย และหากพ่อแม่ของเด็กเคยเป็นคอพอกมาก่อน เด็กก็อาจได้รับความเสี่ยงผ่านทางพันธุกรรมได้ รวมถึงหากตั้งครรภ์อยู่ ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่อาจผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ไม่สมดุลกัน นอกจากนี้ การรับประทานยารักษาโรคหัวใจ และยารักษาโรคทางจิตอย่างลิเทียม ก็อาจเป็นหนึ่งปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เป็นคอพอกได้ด้วย

 

คอพอก ป้องกันยังไงดี

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันคอพอกที่แน่ชัด แต่เราอาจช่วยตัวเองและเด็ก ๆ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ดังนี้

  • หมั่นรับประทานเกลือเสริมไอโอดีน หรืออาหารที่มีไอโอดีน เช่น อาหารทะเล สาหร่าย โยเกิร์ตรสธรรมชาติ โยเกิร์ตรสสตรอว์เบอร์รี หรือชีสสด เป็นต้น แต่ก็ไม่ควรรับประทานไอโอดีนเกินกว่า 150 ไมโครกรัมต่อวัน เพราะหากทานมากไป ก็อาจทำให้เป็นคอพอกได้เหมือนกัน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของหอย สาหร่าย เพราะอาหารเสริมอาจมีปริมาณไอโอดีนเกินกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวัน
  • เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอ หากมีความเสี่ยง ก็จะได้ทราบว่าต้องปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตยังไง
  • งดสูบบุหรี่ นอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคไทรอยด์ ใครว่าไทรอยด์ไม่น่ากลัว อันตรายกว่าที่คิด รู้ไว้ปลอดภัยกว่า

 

โรคคอพอก

 

หากว่าป่วยเป็นคอพอกแล้ว ก็สามารถดูแลตัวเองได้ง่าย ๆ หลังกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ดังนี้

  • ผสมน้ำผึ้งกับแอปเปิลไซเดอร์และน้ำเปล่า เพื่อดื่มในตอนที่ท้องว่าง วิธีนี้อาจช่วยให้ร่างกายดูดซึมไอโอดีน และลดอาการบวมของต่อมไทรอยด์ได้
  • ก่อนนอนให้ทาน้ำมันละหุ่งบริเวณที่เป็นคอพอก และนวดบริเวณเบา ๆ โดยที่ไม่ต้องล้างออก
  • ดื่มน้ำเลมอนคั้นสดผสมน้ำผึ้งและกระเทียมบดทุกเช้า โดยควรทานในตอนที่ท้องว่าง
  • ออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยให้ก้มคอไปด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า และด้านหลังเบา ๆ สลับกัน
  • รับประทานถั่วทุก ๆ เช้า 1 กำมือ เพื่อเพิ่มโอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 ให้ร่างกาย และช่วยลดอาการอักเสบบริเวณคอ
  • รับประทานน้ำมันปลา หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันปลา เพื่อช่วยเผาผลาญฮอร์โมนในร่างกาย

 

แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีป้องกันโรคนี้ แต่หากคุณแม่และน้อง ๆ หมั่นรับประทานไอโอดีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดูแลตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ และหมั่นทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงได้แล้วไม่มากก็น้อยค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก และผลกระทบของโรคต่อพัฒนาการของลูก

อาหารที่มีไอโอดีนสำหรับคนท้อง ป้องกันลูกในท้องสมองพิการได้จริงหรือไม่?

อาการโรคไทรอยด์ สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อย

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคคอพอก เด็กและคนท้องเป็นกันได้ เกิดจากร่างกายขาดไอโอดีนจริง ๆ หรือไม่
แชร์ :
  • โรคมาลาเรีย โรคหน้าฝนที่คุณแม่และน้อง ๆ ต้องระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อของยุงร้าย

    โรคมาลาเรีย โรคหน้าฝนที่คุณแม่และน้อง ๆ ต้องระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อของยุงร้าย

  • โรคผิวเผือก โรคที่เกิดได้กับเด็กแรกเกิด จะรู้ได้อย่างไร หากลูกเราเป็นโรคผิวเผือก

    โรคผิวเผือก โรคที่เกิดได้กับเด็กแรกเกิด จะรู้ได้อย่างไร หากลูกเราเป็นโรคผิวเผือก

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • โรคมาลาเรีย โรคหน้าฝนที่คุณแม่และน้อง ๆ ต้องระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อของยุงร้าย

    โรคมาลาเรีย โรคหน้าฝนที่คุณแม่และน้อง ๆ ต้องระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อของยุงร้าย

  • โรคผิวเผือก โรคที่เกิดได้กับเด็กแรกเกิด จะรู้ได้อย่างไร หากลูกเราเป็นโรคผิวเผือก

    โรคผิวเผือก โรคที่เกิดได้กับเด็กแรกเกิด จะรู้ได้อย่างไร หากลูกเราเป็นโรคผิวเผือก

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ