X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ ? 

บทความ 5 นาที
คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ ? 

คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา เกิดจากอะไร ? มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกทับเส้นประสาทขณะตั้งครรภ์หรือไม่ มีวิธีการรักษาอย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมคำตอบ พร้อมคำแนะนำเบื้องต้นเมื่อมีอาการปวดสะโพก มาให้แม่ ๆ แล้ว ไปดูกันเลย

 

คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา เกิดจากอะไรกันแน่ ?

การที่แม่ท้องมีอาการปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา อาจจะไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่า เป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาทเสมอไป แต่อาจจะเป็นอาการที่ผิดปกติของข้อเชิงกรานที่เกิดบริเวณสะโพก ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือรักษา อาจจะส่งผลทำให้อาการเรื้อรังขึ้นได้ ซึ่งการที่คุณแม่รู้สึกปวดสะโพกร้าวลงไปถึงขา อาจจะเป็นเพราะว่า รองรับน้ำหนักตัวและลูกน้อยในครรภ์ที่มากขึ้น โดยไตรมาสสุดท้าย ทำให้รอยต่อจากขาและสะโพกรับน้ำหนักมากเกินไป กระดูกเชิงกรานหลวม จึงทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บปวดได้

 

อาการที่มักพบได้บ่อย

  • ปวดบริเวณสะโพก ร้าวลงที่ขา แต่หาไม่เจอ
  • ปวดสะโพกเกิดขึ้นในช่วงที่เปลี่ยนท่า จากท่านั่งเป็นท่ายืน หรือขณะนอนพลิกตัว
  • ขาอ่อนแรง เมื่อยง่าย เมื่อเดินระยะไกล หรือเดินขึ้นที่สูง
  • รู้สึกปวดขณะหลับ หาท่านอนที่สบายไม่ได้ และนอนไม่เต็มอิ่ม
  • เมื่อออกกำลังกาย หรือเล่นโยคะ จะรู้สึกปวดสะโพกร้าวลงมาที่ขา
  • เมื่อนั่งนาน ๆ แล้วปวดก้น ต้นขา หาท่านั่งที่สบายไม่ได้ จนต้องนั่งตะแคงตัว
  • ชาสะโพก
  • อาการค่อย ๆ เป็นมากขึ้น หรือเป็นทันทีก็ได้
  • ชาลงเท้า

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ ท้องปวดหลัง สาเหตุและบรรเทาอาการอย่างไร

 

คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา

 

สาเหตุที่ทำให้แม่ท้องเกิดอาการ ปวดสะโพกร้าวลงขา

  • พฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง การนอนติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมไปถึงการนั่งด้วยท่านั่งที่ผิด
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้ร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักมาก ๆ อยู่ตลอด
  • มีความผิดปกติในเส้นประสาท
  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย และส่งผลให้มีอาการปวดหลังมาก
  • ตั้งครรภ์ และอายุเยอะ
  • มีโรคเกี่ยวกับกระดูกพรุน ทำให้ส่งผลให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

 

วิธีรักษาอาการเบื้องต้น

หากคุณแม่มีอาการปวดขึ้นมา สามารถบรรเทาอาการเบื้องต้น เพื่อให้อาการปวดร้าวลงขานั้นทุเลาลง โดยมีวิธีการรักษาเบื้องต้น ดังนี้

  • เมื่อเริ่มมีอาการปวดร้าวตั้งแต่สะโพก จนไปถึงขา ควรหยุดทำกิจกรรมทันที
  • นำน้ำแข็งมาประคบบริเวณที่มีอาการปวด ทุก ๆ 1 ชั่วโมง ครั้งละ 15 นาที จนอาการเริ่มทุเลาลง
  • บริหารกระดูกในบริเวณที่มีอาการปวด ควรบริหารด้วยท่าที่ถูกต้อง แต่หากทำแล้วมีอาการปวดมากกว่าเดิม ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
  • หากทำทุกทางแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

 

 

ท่ายืดแก้ปวดสะโพกร้าวลงขา สำหรับคนท้อง

การฝึกโยคะ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ คืนความสมดุลให้กับกล้ามเนื้อ ช่วยบรรเทาอาการปวดได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 ท่าโยคะช่วยลดอาการปวดหลัง

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • เก้าอี้ที่มั่นคง 1 ตัว
  • ลูกเทนนิส 1 ลูก

 

ท่าที่ 1 : นวดกดจุด

  • นำลูกเทนนิสที่เตรียมไว้ วางไว้ที่ใต้สะโพกที่ปวด และนั่งกดลูกเทนนิส
  • ถ้าจะให้น้ำหนักลงมาอีก ให้เอาขาอีกข้างพาดไว้ที่เข่าของขาอีกข้าง และคลึงตำแหน่งจุดปวด
  • หายใจเข้าลึก ๆ ปรับตามจุดที่ปวด สามารถค้างไว้ได้นานตามต้องการ

 

ท่าที่ 2 : ยืดกล้ามเนื้อ

  • ยืนด้านหลังของพนักเก้าอี้ เลือกเก้าอี้ที่มั่นคง และไม่มีล้อ
  • เอามือจับพนักเก้าอี้ ยืนแยกเท้าห่างกัน ให้ห่างจากช่วงสะโพกเล็กน้อยเพื่อความมั่นคงในการทรงตัว
  • ถอยสะโพกมาด้านหลัง เอามือเกาะเก้าอี้ไว้
  • สูดลมหายใจเข้า ยืดกระดูกสันหลังขึ้น หายใจออกพับตัวไปด้านหน้า ส่งสะโพกไปด้านหลัง
  • ถอยไปอีกนิด ดันสะโพกไปด้านหลัง แขม่วท้องและกดหน้าอกไปหาพื้น แขนจะอยู่ข้างหูของเรา
  • หายใจเข้ายกหลังขึ้น หายใจออกพับตัวลงมา ตามองไปที่เท้า
  • ทำประมาณ 10 – 15 / ครั้ง

 

ท่าที่ 3 : ยืดเส้นสาย

  • นำหัวเข่าด้านขวาตั้งขึ้นมาติดกับพนักเก้าอี้ เข่าด้านซ้ายติดกับพื้นที่มีหมอนรองรับ
  • มือขับเก้าอี้แน่น เพื่อให้ในการยืดตัวขึ้นมา
  • จากนั้นค่อย ๆ ย่อเข่าลงมาสองข้าง เพื่อให้เข่าด้านหลังใกล้พื้นที่สุด
  • หายใจเข้ายืดขึ้น หายใจออกย่อลง
  • ในช่วงแรกแม่ท้องควรทำ 5 ครั้งก่อน และค่อยเพิ่มจำนวนเรื่อย ๆ ตามที่ไหว

 

ท่าที่ 4 : ท่ายืดตัวผ่อนคลาย

  • หันหน้าเข้ากับเก้าอี้ และเลื่อนเก้าอี้เข้าหากำแพง เพื่อให้มือได้แตะกับกำแพงเพื่อพยุงตัวได้
  • นำขาขวาขึ้นมาวางบนเก้าอี้ เอาส้นเท้าวางไว้
  • หายใจเข้ายืดหลังขึ้น หายใจออกค่อย ๆ พับตัวลงมา
  • เอื้อมมือจับเก้าอี้ สามารถก้มได้ตามที่ไหว ถ้าไม่ไหวก็ก้มพอประมาณ
  • พยายามอย่ากดท้องมากเกินไป แค่ให้แตะขาพอ

 

ท่าที่ 5 : นั่งผ่อนคลาย

  • นั่งบนเก้าอี้ เอาขาข้างที่ปวดยกขึ้นมา เอาข้อเท้ามาวางไว้ที่เข่าอีกข้าง
  • จากนั้นเอามือวางไว้ที่ยก และค่อย ๆ กดเบา ๆ
  • จากนั้นเอามือทั้งสองจับพนักเก้าอี้ด้านหลัง เพื่อให้หลังได้ยืดผ่อนคลาย และได้ยืดตัว
  • พับตัวลงมาด้านหน้าเล็กน้อย ให้หน้าท้องแตะขาพอ และระวังกดทับท้องมากจนเกินไป

 

คำแนะนำเบื้องต้น สำหรับคนท้องที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

ในระหว่างวัน แนะนำให้คุณแม่นั่งในท่าขัดสมาธิ หรือใช้หมอนหนุนที่ด้านหลังเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ส่วนท่านอนของคุณแม่ แนะนำให้นอนในท่าตะแคงซ้าย จะช่วยให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายได้ดีขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือหากคุณแม่ ต้องการเข้าสปาเพื่อนวด ก็สามารถทำได้ แต่ให้เลือกร้านที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการนวดสำหรับคนท้อง โดยหลีกเลี่ยงการนวดกดจุดสะท้อนบริเวณต่าง ๆ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะคุณแม่ ๆ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อแม่ ๆ ที่กำลังมีปัญหาปวดร้าวลงขา และช่วยบรรเทาอาการปวดเหล่านี้ได้ แต่ถ้าหากทำแล้วยังไม่มีอาการที่ดีขึ้น หรือมีอาการที่แย่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ทันทีนะคะ

 

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
ผิวแตกลาย เกิดจากอะไร? พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลผิวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดควรรู้
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ท้องอ่อน ๆ ปวดหลัง อันตรายไหม? มาดู 10 วิธีแก้ปวดหลังของแม่ท้อง

ปวดหลัง เป็นสัญญาณร้ายบอกโรคหรือไม่ อยากรู้ต้องอ่านบทความนี้ !!

ที่นอนคนท้อง ควรเป็นแบบไหน? คนท้องนอนยังไงให้ห่างไกลอาการปวดหลัง

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ ? 
แชร์ :
  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

    คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

    คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ